สธ.แนะผู้ป่วยเรื้อรังพกยาติดตัวเดินทางปีใหม่-ผู้ป่วยจิตเวชห้ามดื่มเหล้าเสี่ยงกำเริบ
กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังจัดเตรียมและพกยาติดตัวระหว่างเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวในวันหยุดยาวฉลองเทศกาลปีใหม่ เพื่อป้องกันอาการกำเริบเพราะขาดยา โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช ห้ามดื่มเหล้า เนื่องจากฤทธิ์แอลกอฮอล์จะต้านฤทธิ์ยา ทำให้ผู้ป่วยอาการกำเริบได้
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้มีวันหยุดยาวติดต่อกัน 5 วัน ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางไปท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนา เพื่อพบปะญาติ พี่น้อง ในการเดินทางวันหยุดยาวที่กล่าวมา หากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีอาการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคทางจิตเวช เป็นต้น จะต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ขอให้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเดินทาง ปฏิบัติตัวและกินยาตามแพทย์สั่ง โดยจัดเตรียมยาประจำตัวที่รับประทานประจำไปด้วย เพื่อป้องกันอาการกำเริบจากการขาดยา รวมทั้งจดชื่อยาติดตัวไปด้วยเผื่อทำยาหายช่วงเดินทาง สามารถเข้าไปตรวจรักษาและขอรับยาเดิมได้ที่โรงพยาบาล
โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งขณะนี้มีคนไทยป่วยประมาณ 6 แสนคน สาเหตุการป่วยส่วนหนึ่งเกิดมาจากปัญหาการดื่มสุรา ข้อมูลจากโรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคจิตเวชที่มีปัญหาจากการดื่มสุรา พบว่าในปี 2555 มีผู้ป่วยโรคจิตจากการดื่มสุราเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่แผนกผู้ป่วยนอก 5,028 ราย และเป็นผู้ป่วยใน 1,661 ราย ผู้ป่วยในแต่ละรายจะใช้เวลารักษาตัวประมาณ 2-5 สัปดาห์ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยครั้งละ 10,000 บาท ทั้งนี้ หากไม่เข้ารับการรักษาและปล่อยให้อาการรุนแรงจะเป็นเหตุทำให้ก่อความรุนแรง เช่น คลุ้มคลั่ง ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ก่ออาชญากรรม ทุบตี ฆ่าผู้อื่นด้วยวิธีโหดร้ายได้
ดังนั้น ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งความสุข ขอให้คนในครอบครัวช่วยกันสอดส่องดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดูแลให้กินยาตามที่แพทย์กำหนด อย่าให้ขาดยา โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวชควรหากิจกรรมให้ทำร่วมกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่โดดเดี่ยว รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และสร้างความเพลิดเพลิน ประการสำคัญระวังอย่าให้เครียด ไม่ให้ดื่มสุรา เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์โดยตรงกับสมอง และมีผลต้านฤทธิ์กับยาที่แพทย์ใช้รักษาเพื่อควบคุมอาการ จะทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการได้
พญ.พรรณพิมลกล่าวอีกว่า ขอให้ญาติช่วยกันสังเกตสัญญาณเตือนอาการทางจิตกำเริบ 6 ประการ คือ นอนไม่หลับ หงุดหงิด มีความคิดแปลกๆ พฤติกรรมก้าวร้าว หวาดกลัว และ ฉุนเฉียวง่าย ขอให้รีบพาไปพบแพทย์หรือโทรปรึกษาที่สายด่วน 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณ … http://www.mcot.net/site/content?id=52bd6d2b150ba0c5070001b6#.Ur9_ZDcrWyg
(สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ธ.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ยาจำนวนหลายเม็ด กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังจัดเตรียมและพกยาติดตัวระหว่างเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวในวันหยุดยาวฉลองเทศกาลปีใหม่ เพื่อป้องกันอาการกำเริบเพราะขาดยา โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช ห้ามดื่มเหล้า เนื่องจากฤทธิ์แอลกอฮอล์จะต้านฤทธิ์ยา ทำให้ผู้ป่วยอาการกำเริบได้ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้มีวันหยุดยาวติดต่อกัน 5 วัน ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางไปท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนา เพื่อพบปะญาติ พี่น้อง ในการเดินทางวันหยุดยาวที่กล่าวมา หากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีอาการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคทางจิตเวช เป็นต้น จะต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ขอให้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเดินทาง ปฏิบัติตัวและกินยาตามแพทย์สั่ง โดยจัดเตรียมยาประจำตัวที่รับประทานประจำไปด้วย เพื่อป้องกันอาการกำเริบจากการขาดยา รวมทั้งจดชื่อยาติดตัวไปด้วยเผื่อทำยาหายช่วงเดินทาง สามารถเข้าไปตรวจรักษาและขอรับยาเดิมได้ที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งขณะนี้มีคนไทยป่วยประมาณ 6 แสนคน สาเหตุการป่วยส่วนหนึ่งเกิดมาจากปัญหาการดื่มสุรา ข้อมูลจากโรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคจิตเวชที่มีปัญหาจากการดื่มสุรา พบว่าในปี 2555 มีผู้ป่วยโรคจิตจากการดื่มสุราเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่แผนกผู้ป่วยนอก 5,028 ราย และเป็นผู้ป่วยใน 1,661 ราย ผู้ป่วยในแต่ละรายจะใช้เวลารักษาตัวประมาณ 2-5 สัปดาห์ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยครั้งละ 10,000 บาท ทั้งนี้ หากไม่เข้ารับการรักษาและปล่อยให้อาการรุนแรงจะเป็นเหตุทำให้ก่อความรุนแรง เช่น คลุ้มคลั่ง ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ก่ออาชญากรรม ทุบตี ฆ่าผู้อื่นด้วยวิธีโหดร้ายได้ ดังนั้น ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งความสุข ขอให้คนในครอบครัวช่วยกันสอดส่องดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดูแลให้กินยาตามที่แพทย์กำหนด อย่าให้ขาดยา โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวชควรหากิจกรรมให้ทำร่วมกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่โดดเดี่ยว รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และสร้างความเพลิดเพลิน ประการสำคัญระวังอย่าให้เครียด ไม่ให้ดื่มสุรา เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์โดยตรงกับสมอง และมีผลต้านฤทธิ์กับยาที่แพทย์ใช้รักษาเพื่อควบคุมอาการ จะทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการได้ พญ.พรรณพิมลกล่าวอีกว่า ขอให้ญาติช่วยกันสังเกตสัญญาณเตือนอาการทางจิตกำเริบ 6 ประการ คือ นอนไม่หลับ หงุดหงิด มีความคิดแปลกๆ พฤติกรรมก้าวร้าว หวาดกลัว และ ฉุนเฉียวง่าย ขอให้รีบพาไปพบแพทย์หรือโทรปรึกษาที่สายด่วน 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ขอบคุณ … http://www.mcot.net/site/content?id=52bd6d2b150ba0c5070001b6#.Ur9_ZDcrWyg (สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ธ.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)