เจาะเลือดแม่ระหว่างตั้งท้อง คัดกรอง-ลดเสี่ยงดาวน์ซินโดรม

แสดงความคิดเห็น

หญิงสาวตั้งครรภ์

กว่าผู้หญิงคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย และในช่วงเวลาระหว่าง 9 เดือน คุณแม่ทุกคนล้วนคาดหวังและวิตกกังวลสูง ทั้งเรื่องสุขภาพของทารกในครรภ์ พัฒนาการของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะที่ครบถ้วนสมบูรณ์ปราศจากโรคทางพันธุกรรมซึ่งเป็นที่ปรารถนาของพ่อแม่ทุกคน

ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้คู่สามีภรรยาแต่งงานเมื่ออายุมากขึ้น เป็นสาเหตุให้เราพบทารกกลุ่มดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เพิ่มมากขึ้น จึงควรจะมาทำความรู้จักกับกลุ่มอาการดาวน์และวิธีตรวจคัดกรองที่ไม่ต้องเจ็บตัวเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป

พญ.มัธชุพร สุขประเสริฐ หัวหน้าศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ร.พ.ปิยะเวท กล่าวว่า โรคดาวน์ซินโดรมหรือกลุ่มอาการดาวน์ เป็นความผิดปกติของพันธุกรรมที่เป็นมาแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 มีจำนวน 3 แท่ง หรือผิดปกติที่โครงสร้างของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ทำให้ทารกที่เกิดมาเป็นโรคดาวน์ซินโดรม มีความพิการ อาทิ หัวใจและลำไส้อุดตัน มีความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า แขนขาสั้นมีระดับสติปัญญา(IQ)ระหว่าง20-50หรือภาวะปัญญาอ่อนเป็นต้น

ส่วนใหญ่ทารกมักจะเสียชีวิตในระยะแรกเกิด หรือมีอายุไขเฉลี่ย 40 ปี กลุ่มนี้พบได้ 1 คนในทารกเกิดใหม่ 800 คน การทำอัลตราซาวด์เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบอกถึงโรคทางพันธุกรรมได้ จึงต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสอบความผิดปกติซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรค่อนข้างสูง

แต่ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ ในการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ เพียงแค่เจาะเลือดคุณแม่ 10 มิลลิลิตร ก็สามารถตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมของลูกได้และสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์11สัปดาห์ขึ้นไปให้ผลแม่นยำสูงถึง99%

นอกจากนี้ ยังตรวจความผิดปกติอื่นๆ ได้ เช่น ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ หรือกลุ่มความผิดปกติที่พบบ่อยคือ การมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง เช่น กลุ่มดาวน์ซิน โดรม โครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง กลุ่มพาทัวซินโดรม (Patau syndrome) และกลุ่มเอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward"s Syndrome) คือโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง โดย ใช้หลักการจากการที่ทารกในครรภ์รับสารอาหาร และขับของเสียออกทางสายรก ซึ่งเชื่อมต่อกับมารดา โดยจะมีดีเอ็นเอของลูกผ่านเข้าไปในระบบเลือดของแม่ ทำให้ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมได้จากดีเอ็นเอของลูกที่ปะปนมากับเลือดแม่ระหว่างตั้งครรภ์

เมื่อเทียบกับเจาะน้ำคร่ำแล้ว วิธีนี้จะลดความเสี่ยงในการแท้งบุตร มีอัตราคลาดเคลื่อน 0.1% เทียบกับการเจาะน้ำคร่ำที่อาจผิดพลาดถึง5% วิธีนี้นับเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคุณแม่ ที่ต้องการคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมที่พบบ่อยในช่วงตั้งครรภ์

ที่มา : นสพ.ข่าวสด

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1433304328

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 มิ.ย.58
วันที่โพสต์: 4/06/2558 เวลา 10:29:05 ดูภาพสไลด์โชว์ เจาะเลือดแม่ระหว่างตั้งท้อง คัดกรอง-ลดเสี่ยงดาวน์ซินโดรม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หญิงสาวตั้งครรภ์ กว่าผู้หญิงคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย และในช่วงเวลาระหว่าง 9 เดือน คุณแม่ทุกคนล้วนคาดหวังและวิตกกังวลสูง ทั้งเรื่องสุขภาพของทารกในครรภ์ พัฒนาการของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะที่ครบถ้วนสมบูรณ์ปราศจากโรคทางพันธุกรรมซึ่งเป็นที่ปรารถนาของพ่อแม่ทุกคน ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้คู่สามีภรรยาแต่งงานเมื่ออายุมากขึ้น เป็นสาเหตุให้เราพบทารกกลุ่มดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เพิ่มมากขึ้น จึงควรจะมาทำความรู้จักกับกลุ่มอาการดาวน์และวิธีตรวจคัดกรองที่ไม่ต้องเจ็บตัวเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป พญ.มัธชุพร สุขประเสริฐ หัวหน้าศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ร.พ.ปิยะเวท กล่าวว่า โรคดาวน์ซินโดรมหรือกลุ่มอาการดาวน์ เป็นความผิดปกติของพันธุกรรมที่เป็นมาแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 มีจำนวน 3 แท่ง หรือผิดปกติที่โครงสร้างของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ทำให้ทารกที่เกิดมาเป็นโรคดาวน์ซินโดรม มีความพิการ อาทิ หัวใจและลำไส้อุดตัน มีความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า แขนขาสั้นมีระดับสติปัญญา(IQ)ระหว่าง20-50หรือภาวะปัญญาอ่อนเป็นต้น ส่วนใหญ่ทารกมักจะเสียชีวิตในระยะแรกเกิด หรือมีอายุไขเฉลี่ย 40 ปี กลุ่มนี้พบได้ 1 คนในทารกเกิดใหม่ 800 คน การทำอัลตราซาวด์เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบอกถึงโรคทางพันธุกรรมได้ จึงต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสอบความผิดปกติซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรค่อนข้างสูง แต่ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ ในการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ เพียงแค่เจาะเลือดคุณแม่ 10 มิลลิลิตร ก็สามารถตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมของลูกได้และสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์11สัปดาห์ขึ้นไปให้ผลแม่นยำสูงถึง99% นอกจากนี้ ยังตรวจความผิดปกติอื่นๆ ได้ เช่น ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ หรือกลุ่มความผิดปกติที่พบบ่อยคือ การมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง เช่น กลุ่มดาวน์ซิน โดรม โครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง กลุ่มพาทัวซินโดรม (Patau syndrome) และกลุ่มเอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward"s Syndrome) คือโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง โดย ใช้หลักการจากการที่ทารกในครรภ์รับสารอาหาร และขับของเสียออกทางสายรก ซึ่งเชื่อมต่อกับมารดา โดยจะมีดีเอ็นเอของลูกผ่านเข้าไปในระบบเลือดของแม่ ทำให้ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมได้จากดีเอ็นเอของลูกที่ปะปนมากับเลือดแม่ระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อเทียบกับเจาะน้ำคร่ำแล้ว วิธีนี้จะลดความเสี่ยงในการแท้งบุตร มีอัตราคลาดเคลื่อน 0.1% เทียบกับการเจาะน้ำคร่ำที่อาจผิดพลาดถึง5% วิธีนี้นับเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคุณแม่ ที่ต้องการคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมที่พบบ่อยในช่วงตั้งครรภ์ ที่มา : นสพ.ข่าวสด ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1433304328

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...