ผลวิจัยชี้ “โฟเลท ไอโอดีน เหล็ก” ป้องกันพิการแต่กำเนิดได้ 50%
สมาคมเพื่อเด็กพิการฯ จี้ รบ.บรรจุ “โฟเลท ไอโอดีน ธาตุเหล็ก” เข้าชุดสิทธิประโยชน์ สปสช.หลังวิจัยพบป้องกันพิการแต่กำเนิดได้ 50% หวังลดยอดทารกไทยพิการแต่กำเนิดที่พุ่งสูงถึง 4 หมื่นรายต่อปี ด้าน 8 โรงเรียนแพทย์จับมือทำคู่มือป้องกันดูแล ให้ความรู้หมอ พยาบาล ชุมชนทั่วประเทศ
ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) แถลงข่าว “ผนึกกำลังหยุดความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย” ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า วันที่ 3 ธ.ค.เป็น “วันคนพิการสากล” แม้ไทยจะมีการทำงานเพื่อพัฒนาสิทธิความเท่าเทียมของผู้พิการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังขาดความเข้าใจเรื่องป้องกันความพิการแต่กำเนิด ซึ่งแต่ละปีพบเด็กเกิดใหม่พิการ 24,000-40,000 คน จากทั้งพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะโภชนาการ ซึ่งสามารถป้องกันได้ โดยจะต้องเร่งผลักดันใน 4 เรื่อง คือ 1.กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสร้างระบบดูแลรักษาแบบองค์รวม 2.ให้ความรู้ด้านการป้องกันเพื่อลดอุบัติการณ์ 3.บรรจุ Triferdine ซึ่งประกอบด้วยโฟเลท ไอโอดีน และธาตุเหล็ก ให้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้ประชาชน โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์เข้าถึงอย่างเท่าเทียม ซึ่งปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ผลิตยาดังกล่าวและกรมอนามัยแจกจ่ายให้โรงพยาบาลต่างๆ แต่แพทย์ไม่กล้าใช้ เนื่องจากยังไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ 4.สร้างเครือข่ายระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ให้ชุมชนดูแลกันเอง ซึ่งรัฐบาลควรให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เพราะหากประเทศไทยมีเด็กไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์มาก จะไม่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
“อยากให้รัฐผลักดันการให้สารโฟเลท ไอโอดีน และธาตุเหล็ก แก่หญิงตั้งครรภ์อย่างจริงจัง เพราะเป็นสารสำคัญในการสร้างตัวอ่อน โดยเฉพาะโฟเลทที่มีการวิจัย ยืนยันว่า สามารถช่วยป้องกันความพิการแต่กำเนิดได้ถึง 50% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และออสเตรเลีย ได้มีการเสริมสารโฟเลทในขนมปัง เค้ก หรืออาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ประชากรทุกคนได้รับสารโฟเลท แต่เมืองไทยยังไม่ถึงขั้นนั้น” ศ.พญ.พรสวรรค์ กล่าว
ศ.พญ.พรสวรรค์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้โรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง ได้แก่ รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.สงขลานครินทร์ ม.ธรรมศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า ได้ร่วมจัดทำคู่มือคัดกรองป้องกันความพิการใน 5 กลุ่มโรคที่พบบ่อย ได้แก่ 1.อาการดาวน์ซินโดรม 2.หลอดประสาทไม่ปิด 3.ปากแหว่งเพดานโหว่ 4.แขนขาพิการแต่กำเนิด และ 5.กล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชนน์ เพื่อนำไปอบรมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และชุมชน ใน 22 จังหวัด ตั้งแต่ป้องกันปัจจัยเสี่ยง อาทิ การกินยาโรคลมชัก ยารักษาสิว ที่จะรบกวนการสร้างตัวอ่อนทำให้เกิดโรคหลอดประสาทไม่ปิด ซึ่งมีอาการตั้งแต่กระดูกสันหลังโหว่ เนื้อสมองยื่น รุนแรงไปจนถึงไร้กะโหลกศีรษะ และเสียชีวิต นอกจากนี้ ยังสามารถป้องกันได้ด้วยโภชนาการ โดยเฉพาะการกินโฟเลท ซึ่งมีในผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักบุ้ง ตำลึง เป็นต้น นอกจากคู่มือสำหรับบุคลากรสาธารณสุขแล้ว ยังจัดทำ Home Program เพื่อให้ชุมชนและครอบครัวดูแลผู้พิการได้
ขอบคุณ… http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000147292 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สมาคมเพื่อเด็กพิการฯ จี้ รบ.บรรจุ “โฟเลท ไอโอดีน ธาตุเหล็ก” เข้าชุดสิทธิประโยชน์ สปสช.หลังวิจัยพบป้องกันพิการแต่กำเนิดได้ 50% หวังลดยอดทารกไทยพิการแต่กำเนิดที่พุ่งสูงถึง 4 หมื่นรายต่อปี ด้าน 8 โรงเรียนแพทย์จับมือทำคู่มือป้องกันดูแล ให้ความรู้หมอ พยาบาล ชุมชนทั่วประเทศ ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) แถลงข่าว “ผนึกกำลังหยุดความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย” ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า วันที่ 3 ธ.ค.เป็น “วันคนพิการสากล” แม้ไทยจะมีการทำงานเพื่อพัฒนาสิทธิความเท่าเทียมของผู้พิการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังขาดความเข้าใจเรื่องป้องกันความพิการแต่กำเนิด ซึ่งแต่ละปีพบเด็กเกิดใหม่พิการ 24,000-40,000 คน จากทั้งพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะโภชนาการ ซึ่งสามารถป้องกันได้ โดยจะต้องเร่งผลักดันใน 4 เรื่อง คือ 1.กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสร้างระบบดูแลรักษาแบบองค์รวม 2.ให้ความรู้ด้านการป้องกันเพื่อลดอุบัติการณ์ 3.บรรจุ Triferdine ซึ่งประกอบด้วยโฟเลท ไอโอดีน และธาตุเหล็ก ให้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้ประชาชน โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์เข้าถึงอย่างเท่าเทียม ซึ่งปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ผลิตยาดังกล่าวและกรมอนามัยแจกจ่ายให้โรงพยาบาลต่างๆ แต่แพทย์ไม่กล้าใช้ เนื่องจากยังไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ 4.สร้างเครือข่ายระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ให้ชุมชนดูแลกันเอง ซึ่งรัฐบาลควรให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เพราะหากประเทศไทยมีเด็กไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์มาก จะไม่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ “อยากให้รัฐผลักดันการให้สารโฟเลท ไอโอดีน และธาตุเหล็ก แก่หญิงตั้งครรภ์อย่างจริงจัง เพราะเป็นสารสำคัญในการสร้างตัวอ่อน โดยเฉพาะโฟเลทที่มีการวิจัย ยืนยันว่า สามารถช่วยป้องกันความพิการแต่กำเนิดได้ถึง 50% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และออสเตรเลีย ได้มีการเสริมสารโฟเลทในขนมปัง เค้ก หรืออาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ประชากรทุกคนได้รับสารโฟเลท แต่เมืองไทยยังไม่ถึงขั้นนั้น” ศ.พญ.พรสวรรค์ กล่าว ศ.พญ.พรสวรรค์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้โรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง ได้แก่ รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.สงขลานครินทร์ ม.ธรรมศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า ได้ร่วมจัดทำคู่มือคัดกรองป้องกันความพิการใน 5 กลุ่มโรคที่พบบ่อย ได้แก่ 1.อาการดาวน์ซินโดรม 2.หลอดประสาทไม่ปิด 3.ปากแหว่งเพดานโหว่ 4.แขนขาพิการแต่กำเนิด และ 5.กล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชนน์ เพื่อนำไปอบรมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และชุมชน ใน 22 จังหวัด ตั้งแต่ป้องกันปัจจัยเสี่ยง อาทิ การกินยาโรคลมชัก ยารักษาสิว ที่จะรบกวนการสร้างตัวอ่อนทำให้เกิดโรคหลอดประสาทไม่ปิด ซึ่งมีอาการตั้งแต่กระดูกสันหลังโหว่ เนื้อสมองยื่น รุนแรงไปจนถึงไร้กะโหลกศีรษะ และเสียชีวิต นอกจากนี้ ยังสามารถป้องกันได้ด้วยโภชนาการ โดยเฉพาะการกินโฟเลท ซึ่งมีในผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักบุ้ง ตำลึง เป็นต้น นอกจากคู่มือสำหรับบุคลากรสาธารณสุขแล้ว ยังจัดทำ Home Program เพื่อให้ชุมชนและครอบครัวดูแลผู้พิการได้ ขอบคุณ… http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000147292
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)