ไข 6 คำถามสารพัน "โรคต้อ" ที่คุณควรรู้

แสดงความคิดเห็น

โรคเกี่ยวกับ "ดวงตา" ที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกันดี นอกจากอาการตาบอดแล้ว ยังมีอีกหนึ่งโรคนั่นคือ "โรคต้อตา" ซึ่งมีอยู่หลายชนิด แต่เชื่อได้ว่าแม้โรคต้อตาจะคุ้นหูและเป็นที่รู้จักกันมายาวนาน แต่ความรู้เกี่ยวกับโรคเหล่านี้อาจยังไม่ลึกซึ้งนัก และยังมีความเชื่อและความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องอยู่หลายประการ

ทั้งนี้ "ตาต้อ" เป็นคำรวมๆ เรียกโรคตาหลายชนิด ในความเป็นจริง คำว่า "ต้อ" แปลว่าโรคตาที่ทำให้ตามัว แต่มักใช้เรียกชื่อโรคตาหลายๆ ชนิดว่าต้อ ซึ่งโรคต้อแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน และมีเรื่องที่ควรทำความรู้และความเข้าใจ เพื่อรักษาตาของตนเองให้ปลอดภัยจากโรคต้อเหล่านี้มีอยู่ 4 ชนิดคือ

ไข 6 คำถามสารพัน "โรคต้อ" ที่คุณควรรู้

1.โรคต้อลม (Pinguecular) มีลักษณะเป็นเยื่อสีขาวหรือขาวเหลืองบริเวณตาขาวข้างๆ ตาดำ เกิดจากการถูกสิ่งระคายเคืองต่อเยื่อบุตา เช่น ลม ฝุ่น แสงแดด มาเป็นเวลานาน มักทำให้มีอาการเคืองตาง่าย ไม่ทำให้ตามัวหรือบอด

2.โรคต้อเนื้อ (Pterygium) เป็นโรคที่ต่อเนื่องมาจากโรคต้อลม แต่เยื่อบุตาลามเข้ามาถึงบริเวณกระจกตาดำ (cornea) เป็นลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อสีขาวออกแดงบริเวณกระจกตาด้านหัวตาหรือหางตา เกิดจากการถูกสิ่งระคายเคืองมาเป็นเวลานานหลายปี ทำให้มีอาการเคืองตาและตาแดงบริเวณต้อเนื้อเมื่อถูกสิ่งระคายเคือง ไม่ทำให้ตามัวหรือบอด

3.โรคต้อกระจก (Cataract) เป็นโรคที่เกิดจากการขุ่นของเลนส์ตาในลูกตา ทำให้การมองเห็นภาพมีลักษณะคล้ายเป็นหมอกหรือควันขาวๆ บัง ส่วนมากมักเป็นจากการเสื่อมสภาพของเลนส์ตาตามอายุ แต่อาจเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดหลังอุบัติเหตุต่อดวงตาได้ มักทำให้ตามัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจมองไม่เห็นในที่สุดถ้าไม่ได้รับการรักษา

4.โรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นโรคที่มีความดันในลูกตาสูงจากการระบายออกของน้ำเลี้ยงในลูกตาน้อยผิดปกติ ทำให้ลูกตาแข็งขึ้นจนกระทั่งกดขั้วประสาทตา ทำให้มีการเสียของลานสายตา การมองเห็น จนกระทั่งตาบอดสนิทในที่สุด

สำหรับคำถามหรือความเชื่อเกี่ยวกับ โรคต้อต่างๆ นั้น ทีมข่าวคุณภาพชีวิต ASTVผู้จัดการออนไลน์ ได้เรียบเรียงข้อมูลจากคู่มือสุขภาพตาดี สำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งจัดทำโดยภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนี้

1.โรคต้อลม สาเหตุเกิดจากลม และการใส่แว่นจะป้องกันโรคได้ อย่างที่กล่าวไปแล้วนั้นว่าสาเหตุของโรคต้อลมนั้นเกิดได้ทั้งจากลม ฝุ่น หรือแสงแดดจ้าๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคแล้ว ยังจะทวีความรุนแรงของโรคสำหรับผู้ที่เป็นโรคต้อลมอยู่แล้ว ให้มีอาการเคืองตามากขึ้นและลุกลามมากขึ้นด้วย ซึ่งแว่นตาจะสามารถช่วยป้องกันลมเฉพาะจากด้านหน้าได้เท่านั้น ยังมีโอกาสที่ลม ฝุ่น และแสงแดดจะสัมผัสกับดวงตาจนทำให้เกิดอาการระคายเคืองมากยิ่งขึ้น ทางที่ดีคือควรให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลม ฝุ่น หรือแสงแดดจ้าๆ จะเป็นประโยชน์กว่า

2.โรคต้อเนื้อ เกิดจากการกินเนื้อ และหลังลอกต้อเนื้อห้ามกินเนื้อสัตว์ เรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างแรง เช่นกันอย่างที่กล่าวถึงโรคต้อเนื้อไปแล้วว่าเกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อ บุบริเวณข้างตาดำ จากการสัมผัสสิ่งระคายเคือง แม้จะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการกินอาการประเภทเนื้อสัตว์แต่อย่างใด ที่สำคัญการกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์หลังลอกต้อเนื้อ ก็ไม่ได้ทำให้แผลเกิดอาการอักเสบหรือเกิดต้อเนื้อขึ้นใหม่อย่างที่เข้าใจกัน สามารถกินได้ตามปกติ

3.ทุกคนมีสิทธิเป็นโรคต้อกระจก- โรคต้อกระจกเกิดจากการเสื่อมสภาพของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ตาที่มีลักษณะใสมีสีขาวหรือขาวอมน้ำตาลมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมนุษย์ทุกคนอายุมากขึ้นก็จะเกิดอาการเสื่อมสภาพของเลนส์ตาทุกคน เมื่อความขุ่นของเลนส์ตามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดปัญหาตามัวก็จะเรียกว่าเป็นต้อกระจก ทุกคนจึงมีสิทธิเป็นโรคต้อกระจกแน่นอน แต่อาจเป็นตั้งแต่อายุน้อยหรือมากซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

4.โรคต้อกระจกสามารถใช้ยาหยอดตารักษาให้หายได้ - ปัจจุบันยังไม่มียาหยอดตาหรือยากินที่สามารถรักษาโรคต้อกระจกให้หายขาดได้ การรักษาที่ได้ผลคือการผ่าตัด หรือเรียกว่าการลอกต้อ โดยเอาเลนส์ธรรมชาติที่ขุ่นเป็นต้อกระจกออก และใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทน โดยวิธีการเอาเลนส์ตาที่เป็นต้อกระจกออก อาจใช้วิธีการดันออกหรือใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสลายออกก็ได้ขึ้นกับการ ตัดสินใจของจักษุแพทย์ แต่ยังไม่มีการใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดโรคต้อกระจก

5.โรคต้อหินเป็นแล้วต้องผ่าตัดอย่างเดียว - ความจริงแล้วโรคต้อหินเองก็มีหลายชนิด การรักษาจึงมีหลากหลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตาลดความดันลูกตา หรือกินยาลดความดันตา การใช้แสงเลเซอร์ และการผ่าตัด โดยกรณีที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดไม่ใช่การผ่าเอาหินหรือของแข็งออกจากตา แต่เป็นการผ่าตัดเพื่อเปิดทางระบายน้ำเลี้ยงในลูกตาออก ทำให้ความดันตาลดลงและไม่เป็นอันตรายต่อขั้วประสาทตา

6.โรคต้อต่างๆ เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ - โรคต้อลมและต้อเนื้อเป็นโรคที่เกิดจากการสัมผัสสิ่งระคายเคืองจึงไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุเกิดจากการเสื่อมของเลนส์ตาตามสภาพ ไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่นกัน แต่โรคต้อกระจกในเด็กหรือเป็นแต่กำเนิดในบางรายอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคต้อหินเป็นเป็นได้ทั้งเป็นและไม่เป็นโรคทางพันธุกรรม แต่ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคต้อหิน เมื่ออายุเกิน 40 ปีควรได้รับการตรวจวัดความดันตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเฝ้าระวังโรคต้อหินที่อาจเกิดขึ้นได้

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000142547 (ขนาดไฟล์: 185)

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 พ.ย.56 )

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 17/11/2556 เวลา 03:11:29 ดูภาพสไลด์โชว์ ไข 6 คำถามสารพัน "โรคต้อ" ที่คุณควรรู้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โรคเกี่ยวกับ "ดวงตา" ที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกันดี นอกจากอาการตาบอดแล้ว ยังมีอีกหนึ่งโรคนั่นคือ "โรคต้อตา" ซึ่งมีอยู่หลายชนิด แต่เชื่อได้ว่าแม้โรคต้อตาจะคุ้นหูและเป็นที่รู้จักกันมายาวนาน แต่ความรู้เกี่ยวกับโรคเหล่านี้อาจยังไม่ลึกซึ้งนัก และยังมีความเชื่อและความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องอยู่หลายประการ ทั้งนี้ "ตาต้อ" เป็นคำรวมๆ เรียกโรคตาหลายชนิด ในความเป็นจริง คำว่า "ต้อ" แปลว่าโรคตาที่ทำให้ตามัว แต่มักใช้เรียกชื่อโรคตาหลายๆ ชนิดว่าต้อ ซึ่งโรคต้อแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน และมีเรื่องที่ควรทำความรู้และความเข้าใจ เพื่อรักษาตาของตนเองให้ปลอดภัยจากโรคต้อเหล่านี้มีอยู่ 4 ชนิดคือ ไข 6 คำถามสารพัน \"โรคต้อ\" ที่คุณควรรู้ 1.โรคต้อลม (Pinguecular) มีลักษณะเป็นเยื่อสีขาวหรือขาวเหลืองบริเวณตาขาวข้างๆ ตาดำ เกิดจากการถูกสิ่งระคายเคืองต่อเยื่อบุตา เช่น ลม ฝุ่น แสงแดด มาเป็นเวลานาน มักทำให้มีอาการเคืองตาง่าย ไม่ทำให้ตามัวหรือบอด 2.โรคต้อเนื้อ (Pterygium) เป็นโรคที่ต่อเนื่องมาจากโรคต้อลม แต่เยื่อบุตาลามเข้ามาถึงบริเวณกระจกตาดำ (cornea) เป็นลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อสีขาวออกแดงบริเวณกระจกตาด้านหัวตาหรือหางตา เกิดจากการถูกสิ่งระคายเคืองมาเป็นเวลานานหลายปี ทำให้มีอาการเคืองตาและตาแดงบริเวณต้อเนื้อเมื่อถูกสิ่งระคายเคือง ไม่ทำให้ตามัวหรือบอด 3.โรคต้อกระจก (Cataract) เป็นโรคที่เกิดจากการขุ่นของเลนส์ตาในลูกตา ทำให้การมองเห็นภาพมีลักษณะคล้ายเป็นหมอกหรือควันขาวๆ บัง ส่วนมากมักเป็นจากการเสื่อมสภาพของเลนส์ตาตามอายุ แต่อาจเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดหลังอุบัติเหตุต่อดวงตาได้ มักทำให้ตามัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจมองไม่เห็นในที่สุดถ้าไม่ได้รับการรักษา 4.โรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นโรคที่มีความดันในลูกตาสูงจากการระบายออกของน้ำเลี้ยงในลูกตาน้อยผิดปกติ ทำให้ลูกตาแข็งขึ้นจนกระทั่งกดขั้วประสาทตา ทำให้มีการเสียของลานสายตา การมองเห็น จนกระทั่งตาบอดสนิทในที่สุด สำหรับคำถามหรือความเชื่อเกี่ยวกับ โรคต้อต่างๆ นั้น ทีมข่าวคุณภาพชีวิต ASTVผู้จัดการออนไลน์ ได้เรียบเรียงข้อมูลจากคู่มือสุขภาพตาดี สำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งจัดทำโดยภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนี้ 1.โรคต้อลม สาเหตุเกิดจากลม และการใส่แว่นจะป้องกันโรคได้ อย่างที่กล่าวไปแล้วนั้นว่าสาเหตุของโรคต้อลมนั้นเกิดได้ทั้งจากลม ฝุ่น หรือแสงแดดจ้าๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคแล้ว ยังจะทวีความรุนแรงของโรคสำหรับผู้ที่เป็นโรคต้อลมอยู่แล้ว ให้มีอาการเคืองตามากขึ้นและลุกลามมากขึ้นด้วย ซึ่งแว่นตาจะสามารถช่วยป้องกันลมเฉพาะจากด้านหน้าได้เท่านั้น ยังมีโอกาสที่ลม ฝุ่น และแสงแดดจะสัมผัสกับดวงตาจนทำให้เกิดอาการระคายเคืองมากยิ่งขึ้น ทางที่ดีคือควรให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลม ฝุ่น หรือแสงแดดจ้าๆ จะเป็นประโยชน์กว่า 2.โรคต้อเนื้อ เกิดจากการกินเนื้อ และหลังลอกต้อเนื้อห้ามกินเนื้อสัตว์ เรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างแรง เช่นกันอย่างที่กล่าวถึงโรคต้อเนื้อไปแล้วว่าเกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อ บุบริเวณข้างตาดำ จากการสัมผัสสิ่งระคายเคือง แม้จะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการกินอาการประเภทเนื้อสัตว์แต่อย่างใด ที่สำคัญการกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์หลังลอกต้อเนื้อ ก็ไม่ได้ทำให้แผลเกิดอาการอักเสบหรือเกิดต้อเนื้อขึ้นใหม่อย่างที่เข้าใจกัน สามารถกินได้ตามปกติ 3.ทุกคนมีสิทธิเป็นโรคต้อกระจก- โรคต้อกระจกเกิดจากการเสื่อมสภาพของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ตาที่มีลักษณะใสมีสีขาวหรือขาวอมน้ำตาลมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมนุษย์ทุกคนอายุมากขึ้นก็จะเกิดอาการเสื่อมสภาพของเลนส์ตาทุกคน เมื่อความขุ่นของเลนส์ตามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดปัญหาตามัวก็จะเรียกว่าเป็นต้อกระจก ทุกคนจึงมีสิทธิเป็นโรคต้อกระจกแน่นอน แต่อาจเป็นตั้งแต่อายุน้อยหรือมากซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล 4.โรคต้อกระจกสามารถใช้ยาหยอดตารักษาให้หายได้ - ปัจจุบันยังไม่มียาหยอดตาหรือยากินที่สามารถรักษาโรคต้อกระจกให้หายขาดได้ การรักษาที่ได้ผลคือการผ่าตัด หรือเรียกว่าการลอกต้อ โดยเอาเลนส์ธรรมชาติที่ขุ่นเป็นต้อกระจกออก และใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทน โดยวิธีการเอาเลนส์ตาที่เป็นต้อกระจกออก อาจใช้วิธีการดันออกหรือใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสลายออกก็ได้ขึ้นกับการ ตัดสินใจของจักษุแพทย์ แต่ยังไม่มีการใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดโรคต้อกระจก 5.โรคต้อหินเป็นแล้วต้องผ่าตัดอย่างเดียว - ความจริงแล้วโรคต้อหินเองก็มีหลายชนิด การรักษาจึงมีหลากหลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตาลดความดันลูกตา หรือกินยาลดความดันตา การใช้แสงเลเซอร์ และการผ่าตัด โดยกรณีที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดไม่ใช่การผ่าเอาหินหรือของแข็งออกจากตา แต่เป็นการผ่าตัดเพื่อเปิดทางระบายน้ำเลี้ยงในลูกตาออก ทำให้ความดันตาลดลงและไม่เป็นอันตรายต่อขั้วประสาทตา 6.โรคต้อต่างๆ เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ - โรคต้อลมและต้อเนื้อเป็นโรคที่เกิดจากการสัมผัสสิ่งระคายเคืองจึงไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุเกิดจากการเสื่อมของเลนส์ตาตามสภาพ ไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่นกัน แต่โรคต้อกระจกในเด็กหรือเป็นแต่กำเนิดในบางรายอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคต้อหินเป็นเป็นได้ทั้งเป็นและไม่เป็นโรคทางพันธุกรรม แต่ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคต้อหิน เมื่ออายุเกิน 40 ปีควรได้รับการตรวจวัดความดันตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเฝ้าระวังโรคต้อหินที่อาจเกิดขึ้นได้ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000142547 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...