ห่วงคนไทยเสพโซเซียลยามดึก เสี่ยง 'โรคต้อหิน' ทำตาบอดได้
กระทรวงสาธารณสุขเตือนคนปิดไฟดูทีวี สมาร์ทโฟนในความมืด เสี่ยงเกิดโรค "เทคโนโลยีซินโดรม" สร้างความเครียดผู้ใช้ ทำให้ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเกิดโรคต้อหินถึงขั้นตาบอดได้ แนะอายุ 40 ปี พบจักษุแพทย์ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจค้นหาโรคต้อหิน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป 5-7 เท่าตัว...
เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 57 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 6 มีนาคมของทุกปี เป็น "วันต้อหินโลก" ซึ่งโรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นสาเหตุตาบอดอันดับ 2 ของโลก รองจากตาต้อกระจก ประมาณการว่า มีคนตาบอดทั่วโลก 4.5 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นถึง 11.2 ล้านคน ในปี พ.ศ.2563 ผู้ป่วยโรคต้อหินส่วนใหญ่ร้อยละ 90 มักจะไม่ค่อยรู้ตัวมาก่อน เนื่องจากโรคต้อหินมีอาการค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น องค์กรต้อหินโลก (World Glaucoma Association) ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นชมรม หรือสมาคมแพทย์ต้อหินจากกว่า 75 ประเทศทั่วโลก จึงได้รณรงค์ให้ทราบถึงอันตรายของโรคต้อหิน เพื่อป้องกันตาบอดและสูญเสียการมองเห็น นอกจากนี้ ยังให้ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจตา และการดูแลถนอมดวงตาให้เป็นปกติให้ได้นานมากที่สุด
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสถิติสาธารณสุข ปี 2555 พบผู้ป่วยโรคต้อหิน ทั่วประเทศ 17,687 ราย ชายหญิงพอๆ กัน พบมากสุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,831 ราย ภาคกลาง 4,352 ราย กรุงเทพมหานคร 3,486 ราย ภาคเหนือ 3,084 ราย และภาคใต้ 1,934 ราย โดยในคนปกติทั่วไปที่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคต้อหินประมาณร้อยละ 1 ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นต้อหินมากถึงร้อยละ 5-7 หรือมากกว่าคนปกติ 5-7 เท่าตัว แนวโน้มผู้ป่วยโรคนี้ จะมากขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งขณะนี้ไทยมีประมาณ 3.5 ล้านคน ได้กำชับให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ รณรงค์ให้ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาปีละ 1 ครั้ง และผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป พบจักษุแพทย์ปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจหาโรคแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดปัญหาการสูญเสียการมองเห็นจากโรคต้อหินได้ จัดบริการตรวจตาให้ผู้ป่วยเบาหวานทุกราย เพื่อค้นหาโรคและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
ทางด้าน นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี กล่าวว่า โรคต้อหิน เป็นกลุ่มโรคของดวงตา โรคนี้จะมีการทำลายของเส้นประสาทตาจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญคือ เกิดจากความดันในลูกตาสูง ทั้งจากการสร้างน้ำในลูกตามากเกินไป หรือระบายออกน้อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ คนเป็นจะไม่รู้ตัว ขึ้นกับชนิดของต้อหิน แล้วมีผลให้ลานสายตาแคบลงเรื่อยๆ จนสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาโรคนี้และได้ผลดี ทั้งการใช้ยาหยอดตา เลเซอร์ ผ่าตัด มีเครื่องมือที่สอดไปเพื่อระบายน้ำในลูกตา อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับการตรวจและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นเรื่องสำคัญมาก หากปล่อยทิ้งไว้จนสูญเสียการมองเห็น แม้จะรักษาความดันได้เป็นปกติ แต่สายตาจะไม่กลับคืนเป็นปกติ หรือเรียกว่า สูญเสียอย่างถาวรหากบอดแล้วบอดเลยหรือตาพร่ามัวตลอดชีวิต
"ที่น่าห่วงเป็นอย่าง ยิ่งในขณะนี้ พบว่า สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคต้อหิน อีกอย่างหนึ่งคือความเครียด ทำให้เกิดความดันลูกตาขึ้นได้ ซึ่งขณะนี้ประชาชนมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ โทรทัศน์ จนทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า เทคโนโลยีซินโดรม ซึ่งเทคโนโลยีซินโดรม ไม่ได้ทำให้เกิดจุดรับภาพจอตาเสื่อม หรือตาบอด แต่จะทำให้เกิดความล้าของสายตา ตาแห้ง เนื่องจากต้องใช้สายตาเพ่งที่ภาพ หรือตัวอักษรที่มีขนาดเล็กและอยู่ในจอ การเพ่งจะทำให้ม่านตาขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้ที่นิยมปิดไฟดูทีวี เล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด มีแอพพลิเคชั่นมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟชบุ๊ก หรือไลน์ต่างๆ การส่องไฟฉายอ่านหนังสือ จะมีความเสี่ยงเกิดเทคโนโลยีซินโดรมได้ง่าย เพราะต้องใช้สายตากำกับตลอดเวลา จะทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาแห้ง เครียดตลอดเวลา ยิ่งรายละเอียดเยอะตายิ่งทำงานหนัก"นพ.ฐาปนวงศ์กล่าว
นพ.ฐาปน วงศ์ กล่าวอีกว่า การใช้เทคโนโลยีมาก ไม่ว่าจะดูเพื่อความบันเทิง ดูข่าวสารทั่วโลกนาน คุยกัน ความระทึกต่างๆ จะทำให้ผู้ใช้เกิดความเครียด โดยอาการเตือนของความเครียด จะเริ่มรู้สึกแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล กะพริบตาบ่อย ปวดเมื่อยล้าที่กระบอกตา สายตาพร่า มองเห็นไม่ชัด บางคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย วิธีรักษาด้วยตนเอง สามารถทำได้ง่ายๆ คือให้นอนหลับเป็นเวลา 7 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะเป็นการรักษาที่ให้ผลดีที่สุด และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อเพิ่มน้ำให้ตาให้ชุ่มชื้นขึ้น หรือทำประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าขนหนูหนา หรือผ้าเช็ดหน้าพับ 3 ส่วน นำไปแช่น้ำที่มีน้ำแข็งจนเย็น บิดหมาดๆ วางปิดตั้งแต่ขมับให้ทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก หากหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นใหม่อีกครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา นอกจากนี้ ควรเปิดไฟดูทีวี การอ่านหนังสือในที่แสงสว่างเพียงพอ ดีที่สุดควรใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็น ใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสม คือใช้นานประมาณ 25 นาที และให้พัก 5 นาที หรือใช้นาน 30 นาที และพัก 10 นาที เปลี่ยนอิริยาบถสลับกันไปจะช่วยได้ให้เหมาะสมถ้าไม่จำเป็นอย่ายุ่งกับเทคโนโลยีให้ควบคุมใจตัวเอง
ทั้งนี้ ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 พบคนไทย อายุ 6 ปีขึ้นไป ดูทีวี 57 ล้านคน และล่าสุด ปี 2555 คนไทยใช้คอมพิวเตอร์ 21 ล้านกว่าคน ใช้โทรศัพท์มือถือ 44 ล้านกว่าคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในกรุงเทพมหานครมากที่สุดร้อยละ 84 ภาคกลางร้อยละ 75 ภาคเหนือร้อยละ 68 ภาคใต้ร้อยละ 67 ต่ำสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 64
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/407830 (ขนาดไฟล์: 167)
ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ดวงตากำลังจ่องจอคอมพิวเตอร์ กระทรวงสาธารณสุขเตือนคนปิดไฟดูทีวี สมาร์ทโฟนในความมืด เสี่ยงเกิดโรค "เทคโนโลยีซินโดรม" สร้างความเครียดผู้ใช้ ทำให้ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเกิดโรคต้อหินถึงขั้นตาบอดได้ แนะอายุ 40 ปี พบจักษุแพทย์ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจค้นหาโรคต้อหิน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป 5-7 เท่าตัว... เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 57 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 6 มีนาคมของทุกปี เป็น "วันต้อหินโลก" ซึ่งโรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นสาเหตุตาบอดอันดับ 2 ของโลก รองจากตาต้อกระจก ประมาณการว่า มีคนตาบอดทั่วโลก 4.5 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นถึง 11.2 ล้านคน ในปี พ.ศ.2563 ผู้ป่วยโรคต้อหินส่วนใหญ่ร้อยละ 90 มักจะไม่ค่อยรู้ตัวมาก่อน เนื่องจากโรคต้อหินมีอาการค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น องค์กรต้อหินโลก (World Glaucoma Association) ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นชมรม หรือสมาคมแพทย์ต้อหินจากกว่า 75 ประเทศทั่วโลก จึงได้รณรงค์ให้ทราบถึงอันตรายของโรคต้อหิน เพื่อป้องกันตาบอดและสูญเสียการมองเห็น นอกจากนี้ ยังให้ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจตา และการดูแลถนอมดวงตาให้เป็นปกติให้ได้นานมากที่สุด สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสถิติสาธารณสุข ปี 2555 พบผู้ป่วยโรคต้อหิน ทั่วประเทศ 17,687 ราย ชายหญิงพอๆ กัน พบมากสุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,831 ราย ภาคกลาง 4,352 ราย กรุงเทพมหานคร 3,486 ราย ภาคเหนือ 3,084 ราย และภาคใต้ 1,934 ราย โดยในคนปกติทั่วไปที่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคต้อหินประมาณร้อยละ 1 ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นต้อหินมากถึงร้อยละ 5-7 หรือมากกว่าคนปกติ 5-7 เท่าตัว แนวโน้มผู้ป่วยโรคนี้ จะมากขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งขณะนี้ไทยมีประมาณ 3.5 ล้านคน ได้กำชับให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ รณรงค์ให้ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาปีละ 1 ครั้ง และผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป พบจักษุแพทย์ปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจหาโรคแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดปัญหาการสูญเสียการมองเห็นจากโรคต้อหินได้ จัดบริการตรวจตาให้ผู้ป่วยเบาหวานทุกราย เพื่อค้นหาโรคและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ทางด้าน นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี กล่าวว่า โรคต้อหิน เป็นกลุ่มโรคของดวงตา โรคนี้จะมีการทำลายของเส้นประสาทตาจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญคือ เกิดจากความดันในลูกตาสูง ทั้งจากการสร้างน้ำในลูกตามากเกินไป หรือระบายออกน้อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ คนเป็นจะไม่รู้ตัว ขึ้นกับชนิดของต้อหิน แล้วมีผลให้ลานสายตาแคบลงเรื่อยๆ จนสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาโรคนี้และได้ผลดี ทั้งการใช้ยาหยอดตา เลเซอร์ ผ่าตัด มีเครื่องมือที่สอดไปเพื่อระบายน้ำในลูกตา อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับการตรวจและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นเรื่องสำคัญมาก หากปล่อยทิ้งไว้จนสูญเสียการมองเห็น แม้จะรักษาความดันได้เป็นปกติ แต่สายตาจะไม่กลับคืนเป็นปกติ หรือเรียกว่า สูญเสียอย่างถาวรหากบอดแล้วบอดเลยหรือตาพร่ามัวตลอดชีวิต "ที่น่าห่วงเป็นอย่าง ยิ่งในขณะนี้ พบว่า สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคต้อหิน อีกอย่างหนึ่งคือความเครียด ทำให้เกิดความดันลูกตาขึ้นได้ ซึ่งขณะนี้ประชาชนมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ โทรทัศน์ จนทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า เทคโนโลยีซินโดรม ซึ่งเทคโนโลยีซินโดรม ไม่ได้ทำให้เกิดจุดรับภาพจอตาเสื่อม หรือตาบอด แต่จะทำให้เกิดความล้าของสายตา ตาแห้ง เนื่องจากต้องใช้สายตาเพ่งที่ภาพ หรือตัวอักษรที่มีขนาดเล็กและอยู่ในจอ การเพ่งจะทำให้ม่านตาขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้ที่นิยมปิดไฟดูทีวี เล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด มีแอพพลิเคชั่นมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟชบุ๊ก หรือไลน์ต่างๆ การส่องไฟฉายอ่านหนังสือ จะมีความเสี่ยงเกิดเทคโนโลยีซินโดรมได้ง่าย เพราะต้องใช้สายตากำกับตลอดเวลา จะทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาแห้ง เครียดตลอดเวลา ยิ่งรายละเอียดเยอะตายิ่งทำงานหนัก"นพ.ฐาปนวงศ์กล่าว นพ.ฐาปน วงศ์ กล่าวอีกว่า การใช้เทคโนโลยีมาก ไม่ว่าจะดูเพื่อความบันเทิง ดูข่าวสารทั่วโลกนาน คุยกัน ความระทึกต่างๆ จะทำให้ผู้ใช้เกิดความเครียด โดยอาการเตือนของความเครียด จะเริ่มรู้สึกแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล กะพริบตาบ่อย ปวดเมื่อยล้าที่กระบอกตา สายตาพร่า มองเห็นไม่ชัด บางคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย วิธีรักษาด้วยตนเอง สามารถทำได้ง่ายๆ คือให้นอนหลับเป็นเวลา 7 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะเป็นการรักษาที่ให้ผลดีที่สุด และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อเพิ่มน้ำให้ตาให้ชุ่มชื้นขึ้น หรือทำประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าขนหนูหนา หรือผ้าเช็ดหน้าพับ 3 ส่วน นำไปแช่น้ำที่มีน้ำแข็งจนเย็น บิดหมาดๆ วางปิดตั้งแต่ขมับให้ทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก หากหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นใหม่อีกครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา นอกจากนี้ ควรเปิดไฟดูทีวี การอ่านหนังสือในที่แสงสว่างเพียงพอ ดีที่สุดควรใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็น ใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสม คือใช้นานประมาณ 25 นาที และให้พัก 5 นาที หรือใช้นาน 30 นาที และพัก 10 นาที เปลี่ยนอิริยาบถสลับกันไปจะช่วยได้ให้เหมาะสมถ้าไม่จำเป็นอย่ายุ่งกับเทคโนโลยีให้ควบคุมใจตัวเอง ทั้งนี้ ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 พบคนไทย อายุ 6 ปีขึ้นไป ดูทีวี 57 ล้านคน และล่าสุด ปี 2555 คนไทยใช้คอมพิวเตอร์ 21 ล้านกว่าคน ใช้โทรศัพท์มือถือ 44 ล้านกว่าคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในกรุงเทพมหานครมากที่สุดร้อยละ 84 ภาคกลางร้อยละ 75 ภาคเหนือร้อยละ 68 ภาคใต้ร้อยละ 67 ต่ำสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 64 ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/407830 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)