คนไทย‘ชีวิตติดจอ’8-10ชม.ต่อวันควรป้องกันถนอมดวงตา...ก่อนสาย
ในอดีต โรคทางสายตาโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ทำให้คนในวัยหนุ่มสาวมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันจากการสำรวจและศึกษาสถิติการเป็นโรคทางสายตาในประเทศไทยพบว่า อัตราการเกิดโรคทางสายตาเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
จากผลสำรวจสุขภาพสายตาคนไทยปี 2549 ระบุว่า มีคนไทยไม่น้อยกว่า 15 ล้านคน มีสายตาผิดปกติ คาดว่าจะมีคนไทยตาบอด 369,013 คน สายตาเลือนลาง 987,993 คน และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆทุกปี เพราะไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่ ที่มีการใช้สายตาทำงานมากขึ้น ส่งผลทำให้ “อายุตา” สูงมากกว่าอายุของตัวเรา
โดยปัจจุบันพบว่าเกือบ 50% ของคนไทยทั้งประเทศ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกวัน ในการเรียน หรือการทำงาน โดยใช้เวลาส่วนใหญ่กับการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือเช็กเมลอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ นอกจากการเรียน และการทำงานแล้ว ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานในปัจจุบันที่อยู่ใน ยุค Look At “ME Generation” หรือ Gen Me ยุคที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากกว่ามนุษย์ด้วยกันเอง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “สังคมก้มหน้า” ที่ผู้คนรอบตัวต่างจดจ้องอยู่กับ “หน้าจอ” ของตัวเอง หรือเรียกได้ว่า “ชีวิตติดจอ” โดยไม่สนใจคนรอบข้าง ทำให้เราใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
พญ.วรางคณา ทองคำใส จักษุแพทย์ หัวหน้าฝ่ายบริการทางการแพทย์ สนง.บรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า คนยุคใหม่มีไลฟ์สไตล์แบบ “ชีวิตติดจอ” ใช้จอต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น จอคอมพิวเตอร์ จอแท็บเล็ต หรือ จอสมาร์ทโฟน ในการอัพเดทสถานะ โซเชียลมีเดีย เล่นเกม ดูหนัง ดูซีรีส์ ส่งข้อความ ซื้อของออนไลน์ ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ทำให้เราใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งพบว่า อัตราการใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์และจอต่าง ๆ โดยเฉลี่ยวันละ 8-10 ชั่วโมงทีเดียว
ซึ่งการที่คนเราใช้สายตาส่วนใหญ่ในการจ้องมองหน้าจอ หรือจ้องตัวหนังสือที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงจอสมาร์ทโฟนนาน ๆ นั้น จะส่งผลให้กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก เพิ่มโอกาสที่จะทำให้สายตาเสียได้มากกว่าการอ่านหนังสือ หรือทำงานในกระดาษ
จากสถิติพบว่า ถ้าคนเราใช้สายตาอยู่กับหน้าจอต่อเนื่องมาก กว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน จะทำให้เกิดอาการตาเบลอ ตาแห้ง แสบตา สู้แสงไม่ได้ ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณไม่รู้ตัว และหากเราใช้สายตามากขึ้น ความรุนแรงของอาการจะยิ่งมากจนเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่น ซินโดรม (computer vision syndrome) ซึ่งนอกจากจะมีอาการทางสายตาแล้ว ยังมีอาการของกล้ามเนื้อด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยบ่า ต้นคอ ถ้าปวดมากอาจทำให้นอนไม่หลับ และพักผ่อนไม่เพียงพอ และเป็นสาเหตุของโรคอื่นตามมาได้
ฉะนั้น เราควรเริ่มดูแลและถนอมสายตาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนสายเกินแก้ เพราะดวงตาของเรามีคู่เดียวไม่มีอะไหล่เปลี่ยน หากต้องทำงานหน้าจอคอมพ์ หรือใช้สมาร์ทโฟน ควรหมั่นพักสายตา และกะพริบตาบ่อย ๆ อย่างน้อย 10-15 ครั้งต่อนาที รวมถึงนั่งทำงานในที่มีแสงสว่างเพียงพอ ปรับขนาดตัวหนังสือให้อ่านง่าย ไม่เล็กเกินไป ที่สำคัญควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสายตา เช่น วิตามินเอ ที่ผลงานวิจัยระบุว่า ช่วยในการมองเห็น และยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดภาวะตาแห้ง
และเลือกรับประทานผลไม้ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะพบมากในผักและผลไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลเบอรี่ต่าง ๆ เช่น บิลเบอรี่ สตรอเบอรี่ แครนเบอรี่ ราสเบอรี่ และแบล็คเคอร์แรนต์ เป็นต้น โดยมีการวิจัยพบว่า ผลไม้ตระกูลเบอรี่ มีแอนโธไซยานิน ช่วยคลายความเหนื่อยล้าของดวงตา ช่วยการมองเห็นในเวลากลางคืน และช่วยให้การไหลเวียนเลือดในเส้นเลือดฝอยดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซี อี และไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยปกป้องและถนอมดวงตาไม่ให้โดนทำลาย
นอกจากการบำรุงสุขภาพตาแล้ว สุขภาพร่างกายก็สำคัญ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ดวงตาดีขึ้น หากต้องออกแดด หรือขับรถควรสวมแว่นกันแดด และควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพดวงตาปีละครั้ง หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น ตาแดง ปวดตา หรือเคืองตา ควรรีบพบจักษุแพทย์.ทีมเดลินิวส์ 38 article@dailynews.co.th
ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=218920
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.พ.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ในอดีต โรคทางสายตาโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ทำให้คนในวัยหนุ่มสาวมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันจากการสำรวจและศึกษาสถิติการเป็นโรคทางสายตาในประเทศไทยพบว่า อัตราการเกิดโรคทางสายตาเพิ่มสูงขึ้นทุกปี หญิงสาวกำลังใช้งานคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคจากผลสำรวจสุขภาพสายตาคนไทยปี 2549 ระบุว่า มีคนไทยไม่น้อยกว่า 15 ล้านคน มีสายตาผิดปกติ คาดว่าจะมีคนไทยตาบอด 369,013 คน สายตาเลือนลาง 987,993 คน และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆทุกปี เพราะไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่ ที่มีการใช้สายตาทำงานมากขึ้น ส่งผลทำให้ “อายุตา” สูงมากกว่าอายุของตัวเรา โดยปัจจุบันพบว่าเกือบ 50% ของคนไทยทั้งประเทศ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกวัน ในการเรียน หรือการทำงาน โดยใช้เวลาส่วนใหญ่กับการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือเช็กเมลอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ นอกจากการเรียน และการทำงานแล้ว ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานในปัจจุบันที่อยู่ใน ยุค Look At “ME Generation” หรือ Gen Me ยุคที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากกว่ามนุษย์ด้วยกันเอง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “สังคมก้มหน้า” ที่ผู้คนรอบตัวต่างจดจ้องอยู่กับ “หน้าจอ” ของตัวเอง หรือเรียกได้ว่า “ชีวิตติดจอ” โดยไม่สนใจคนรอบข้าง ทำให้เราใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว พญ.วรางคณา ทองคำใส จักษุแพทย์ หัวหน้าฝ่ายบริการทางการแพทย์ สนง.บรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า คนยุคใหม่มีไลฟ์สไตล์แบบ “ชีวิตติดจอ” ใช้จอต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น จอคอมพิวเตอร์ จอแท็บเล็ต หรือ จอสมาร์ทโฟน ในการอัพเดทสถานะ โซเชียลมีเดีย เล่นเกม ดูหนัง ดูซีรีส์ ส่งข้อความ ซื้อของออนไลน์ ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ทำให้เราใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งพบว่า อัตราการใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์และจอต่าง ๆ โดยเฉลี่ยวันละ 8-10 ชั่วโมงทีเดียว ซึ่งการที่คนเราใช้สายตาส่วนใหญ่ในการจ้องมองหน้าจอ หรือจ้องตัวหนังสือที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงจอสมาร์ทโฟนนาน ๆ นั้น จะส่งผลให้กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก เพิ่มโอกาสที่จะทำให้สายตาเสียได้มากกว่าการอ่านหนังสือ หรือทำงานในกระดาษ จากสถิติพบว่า ถ้าคนเราใช้สายตาอยู่กับหน้าจอต่อเนื่องมาก กว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน จะทำให้เกิดอาการตาเบลอ ตาแห้ง แสบตา สู้แสงไม่ได้ ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณไม่รู้ตัว และหากเราใช้สายตามากขึ้น ความรุนแรงของอาการจะยิ่งมากจนเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่น ซินโดรม (computer vision syndrome) ซึ่งนอกจากจะมีอาการทางสายตาแล้ว ยังมีอาการของกล้ามเนื้อด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยบ่า ต้นคอ ถ้าปวดมากอาจทำให้นอนไม่หลับ และพักผ่อนไม่เพียงพอ และเป็นสาเหตุของโรคอื่นตามมาได้ ฉะนั้น เราควรเริ่มดูแลและถนอมสายตาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนสายเกินแก้ เพราะดวงตาของเรามีคู่เดียวไม่มีอะไหล่เปลี่ยน หากต้องทำงานหน้าจอคอมพ์ หรือใช้สมาร์ทโฟน ควรหมั่นพักสายตา และกะพริบตาบ่อย ๆ อย่างน้อย 10-15 ครั้งต่อนาที รวมถึงนั่งทำงานในที่มีแสงสว่างเพียงพอ ปรับขนาดตัวหนังสือให้อ่านง่าย ไม่เล็กเกินไป ที่สำคัญควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสายตา เช่น วิตามินเอ ที่ผลงานวิจัยระบุว่า ช่วยในการมองเห็น และยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดภาวะตาแห้ง และเลือกรับประทานผลไม้ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะพบมากในผักและผลไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลเบอรี่ต่าง ๆ เช่น บิลเบอรี่ สตรอเบอรี่ แครนเบอรี่ ราสเบอรี่ และแบล็คเคอร์แรนต์ เป็นต้น โดยมีการวิจัยพบว่า ผลไม้ตระกูลเบอรี่ มีแอนโธไซยานิน ช่วยคลายความเหนื่อยล้าของดวงตา ช่วยการมองเห็นในเวลากลางคืน และช่วยให้การไหลเวียนเลือดในเส้นเลือดฝอยดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซี อี และไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยปกป้องและถนอมดวงตาไม่ให้โดนทำลาย นอกจากการบำรุงสุขภาพตาแล้ว สุขภาพร่างกายก็สำคัญ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ดวงตาดีขึ้น หากต้องออกแดด หรือขับรถควรสวมแว่นกันแดด และควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพดวงตาปีละครั้ง หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น ตาแดง ปวดตา หรือเคืองตา ควรรีบพบจักษุแพทย์.ทีมเดลินิวส์ 38 article@dailynews.co.th ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=218920 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.พ.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)