หญิงจีนหวิดตาบอด เพราะ 'นอนเล่นมือถือ' วันละหลายชั่วโมง
ซั่งไห่ เดลี่ - สตรีจีนหวิดมองไม่เห็นตลอดชีวิต หลังจ้องจอมือถือวันละหลายชั่วโมงจนจอประสาทตาหลุดลอก หมอชี้แบ่งเวลาใช้งานให้สมดุล อย่าเล่นเกินความจำเป็น
รายงานข่าว (23 ก.พ.) กล่าวว่า สตรีจีนแซ่หลิวรายหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียง ต้องทนทุกข์กับภาวะ “จอประสาทตาเสื่อม” อย่างมิอาจหลีกเลี่ยง หลังหญิงสาวเล่นโทรศัพท์มือถือในห้องที่ปิดไฟจนมืดสนิทโดยเฉลี่ยวันละ 2-3 ชม.มานาน ซึ่งหลิวเผยว่าตนเองเริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติของดวงตาข้างขวาในสัปดาห์ก่อน โดยมักจะมองวัตถุผิดสัดส่วนจากความเป็นจริง และเหมือนเห็นหมอกควันจางๆ อยู่ตลอดเวลา
“เมื่อคุณหมอปิดตาข้างซ้ายของฉัน ทุกอย่างที่ฉันเห็นด้วยตาข้างขวานั้นดูไม่ชัดเจนไปเสียหมด อย่างเช่นวัตถุรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากก็กลายเป็นทรงรีๆ กลมๆ แทน” ทั้งนี้นายแพทย์ผู้ทำการรักษาระบุว่า หลิวประสบกับภาวะจอประสาทตาบางส่วนหลุดลอก ซึ่งเป็นผลมาจากการจ้องจอโทรศัพท์มือถือในที่มืดเป็นเวลานานเกินไป
ด้านนายเจ้า ปิงคุน จักษุแพทย์ในมณฑลเจ้อเจียง กล่าวว่า การจดจ้องจอภาพของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในที่มืดหรือมีแสงสว่างไม่เพียงพอ นานๆ หลายชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อซิลิอารี (Ciliary muscle) หรือกล้ามเนื้อยึดเลนส์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมเลนส์สายตาให้มีการปรับโฟกัสสั้น-ยาว เพื่อมองภาพวัตถุในระยะทางต่างๆ ได้ชัดเจน เกิดการชำรุดเสียหายขึ้นมาได้
นอกจากนั้น ภาวะจอประสาทตาหลุดลอกยังสามารถนำไปสู่ภาวะตาบอดสนิทถาวรอีกด้วย โดยจักษุแพทย์จำนวนมากต่างยืนยันว่าผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่องล้วนมีพฤติกรรมลักษณะดังกล่าวเป็นต้นเหตุ โดยเฉพาะผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภทในชีวิต ประจำวัน
ก่อนหน้านี้ในเดือน พ.ย. 2556 ชายชาวจีนรายหนึ่งจากมณฑลฝูเจี้ยน ต้องสูญเสียการมองเห็นของดวงตาข้างขวา หลังเขาใช้เวลากว่า 10 ชม.ของแต่ละวันนั่งอยู่หลังจอคอมพิวเตอร์ เพื่อดำเนินธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพดวงตากระตุ้นเตือนคนรุ่นใหม่ให้ใช้อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์อย่างสมเหตุสมผล และจัดแบ่งเวลาใช้งานและพักสายตาให้สมดุลอยู่เสมอ
ขอบคุณ http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9570000021508 (ขนาดไฟล์: 166)
(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพ คนนอนเล่นมือถือในที่มืด เป็นภาพตัวอย่างการใช้ โทรศัพท์มือถือในที่มืด ซึ่งแพทย์ชี้ว่าหากกระทำพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเวลานานติดต่อกัน อาจเสี่ยงต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อมจนนำไปสู่การตาบอดถาวรได้ (ภาพ - เอเยนซี) ซั่งไห่ เดลี่ - สตรีจีนหวิดมองไม่เห็นตลอดชีวิต หลังจ้องจอมือถือวันละหลายชั่วโมงจนจอประสาทตาหลุดลอก หมอชี้แบ่งเวลาใช้งานให้สมดุล อย่าเล่นเกินความจำเป็น รายงานข่าว (23 ก.พ.) กล่าวว่า สตรีจีนแซ่หลิวรายหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียง ต้องทนทุกข์กับภาวะ “จอประสาทตาเสื่อม” อย่างมิอาจหลีกเลี่ยง หลังหญิงสาวเล่นโทรศัพท์มือถือในห้องที่ปิดไฟจนมืดสนิทโดยเฉลี่ยวันละ 2-3 ชม.มานาน ซึ่งหลิวเผยว่าตนเองเริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติของดวงตาข้างขวาในสัปดาห์ก่อน โดยมักจะมองวัตถุผิดสัดส่วนจากความเป็นจริง และเหมือนเห็นหมอกควันจางๆ อยู่ตลอดเวลา “เมื่อคุณหมอปิดตาข้างซ้ายของฉัน ทุกอย่างที่ฉันเห็นด้วยตาข้างขวานั้นดูไม่ชัดเจนไปเสียหมด อย่างเช่นวัตถุรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากก็กลายเป็นทรงรีๆ กลมๆ แทน” ทั้งนี้นายแพทย์ผู้ทำการรักษาระบุว่า หลิวประสบกับภาวะจอประสาทตาบางส่วนหลุดลอก ซึ่งเป็นผลมาจากการจ้องจอโทรศัพท์มือถือในที่มืดเป็นเวลานานเกินไป ด้านนายเจ้า ปิงคุน จักษุแพทย์ในมณฑลเจ้อเจียง กล่าวว่า การจดจ้องจอภาพของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในที่มืดหรือมีแสงสว่างไม่เพียงพอ นานๆ หลายชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อซิลิอารี (Ciliary muscle) หรือกล้ามเนื้อยึดเลนส์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมเลนส์สายตาให้มีการปรับโฟกัสสั้น-ยาว เพื่อมองภาพวัตถุในระยะทางต่างๆ ได้ชัดเจน เกิดการชำรุดเสียหายขึ้นมาได้ นอกจากนั้น ภาวะจอประสาทตาหลุดลอกยังสามารถนำไปสู่ภาวะตาบอดสนิทถาวรอีกด้วย โดยจักษุแพทย์จำนวนมากต่างยืนยันว่าผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่องล้วนมีพฤติกรรมลักษณะดังกล่าวเป็นต้นเหตุ โดยเฉพาะผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภทในชีวิต ประจำวัน ก่อนหน้านี้ในเดือน พ.ย. 2556 ชายชาวจีนรายหนึ่งจากมณฑลฝูเจี้ยน ต้องสูญเสียการมองเห็นของดวงตาข้างขวา หลังเขาใช้เวลากว่า 10 ชม.ของแต่ละวันนั่งอยู่หลังจอคอมพิวเตอร์ เพื่อดำเนินธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพดวงตากระตุ้นเตือนคนรุ่นใหม่ให้ใช้อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์อย่างสมเหตุสมผล และจัดแบ่งเวลาใช้งานและพักสายตาให้สมดุลอยู่เสมอ ขอบคุณ http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9570000021508 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)