ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ฯ แนะคนไทยเร่งปรับพฤติกรรมเสี่ยงตาบอด
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทยเดินหน้าสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของโรคทางตาให้แก่สังคมไทยให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการป้องกันและการดูแลรักษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ในโอกาสครบรอบ 100 ปีจักษุแพทย์ไทย
นายแพทย์ธีรวีร์ หงษ์หยก ประธานคณะอนุกรรมการข่าวสารสัมพันธ์เพื่อประชาชน ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคทางตาที่พบมากขึ้นในสังคมไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมาคือการติดเชื้อที่กระจกตาจากคอนแทคเลนส์และโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (ComputerVision Syndrome) ซึ่งมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งลักษณะอาการและการป้องกันได้ดังนี้
1.การติดเชื้อที่กระจกตา เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์ ผู้ป่วยมักจะมีอาการตาแดง ปวดตา ตามัว น้ำตาไหล มองสู้แสงไม่ได้ มีขี้ตา เปลือกตาบวม และอาจเห็นจุดสีขาวอยู่บนกระจกตาได้ ซึ่งหากไม่ได้ทำการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นจุดขาวที่เกิดขึ้นจะลุกลามเกิดเป็นหนองสีขาวในช่องหน้าลูกตา ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ดวงตา เช่น กระจกตาทะลุ ต้อหิน ต้อกระจก ไปจนถึงตาบอด
สำหรับการลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่ดวงตาสามารถทำได้โดยผู้ใช้เองต้องดูแลรักษาเลนส์อย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ห้ามไม่ให้เลนส์สัมผัสกับน้ำไม่ใส่เลนส์เกินอายุเลนส์ที่แนะนำ ไม่ใช้คอนแทคเลนส์มือสองและควรเปลี่ยนเลนส์บ่อย ๆ ที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพตาและตรวจวัดค่าสายตาหรือเลนส์ที่เหมาะสมอย่างน้อยทุก 6-12 เดือน
2.โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) การใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกินความจำเป็น จะทำให้เกิดอาการทางตาต่าง ๆ ตามมาได้ สามารถพบผู้ป่วยได้มากถึง 70% ของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นประจำและมักพบได้บ่อยขึ้นในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี สาเหตุหลักเกิดจากแสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต รวมถึงผิวหน้าจอที่สามารถสะท้อนแสงจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ มาสู่ตา จึงทำให้ปวดตา ล้าตาได้ง่าย อีกทั้งการกระพริบตาน้อยลงขณะที่อยู่หน้าจอจะทำให้น้ำตาระเหย ตาแห้ง แสบตา แพ้แสง หรือตามัว เมื่ออาการสะสมเรื่อย ๆ อาการจะหนักขึ้น และปวดบริเวณศีรษะ คอ บ่า ไหล่
การป้องกันสามารถทำได้โดยการกระพริบตาบ่อยขึ้นเวลาอยู่หน้าจอและการพักสายตาเป็นระยะตามกฎ20-20-20 คือ ทุก 20 นาที ให้พักสายตาอย่างน้อง 20 วินาที โดยการมองไกล ๆ 20 เมตร หรือหลับตาพักก็ได้ รวมทั้งการปรับท่าทางการทำงาน ตำแหน่งของหน้าจอ ใช้แว่นสายตาที่เหมาะสม จะช่วยลดอาการต่าง ๆ ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับสาเหตุของการตาบอดและสายตาเลือนลางในประเทศไทยพบว่า 4 อันดับแรก คือ 1.โรคต้อกระจก (69.7%) 2.โรคทางจอประสาทตา (13.2%) 3.โรคต้อหิน (4%) และ 4.ความผิดปกติทางสายตา (4%)
ดังนั้นราชวิทยาลัยฯจึงมุ่งให้ความสำคัญในการลดจำนวนผู้ป่วยโรคต้อกระจก เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุในพื้นที่ห่างไกล โดยร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ริเริ่มโครงการ "รวมใจ...ไร้ตาบอดจากต้อกระจก 2560" ซึ่งโครงการดังกล่าวเสนอให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อปรับกระบวนการทำงานมุ่งเน้นการคัดกรองค้นหาผู้ที่มีตาบอดจากต้อกระจกในชุมชน จัดให้เข้าสู่ระบบการขึ้นทะเบียนและรอผ่าตัดโดยเร็ว (Fast Track)
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1434091843
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทยเดินหน้าสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของโรคทางตาให้แก่สังคมไทยให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการป้องกันและการดูแลรักษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ในโอกาสครบรอบ 100 ปีจักษุแพทย์ไทย แพทย์กำลังตรวจสายตาผู่ป่วย นายแพทย์ธีรวีร์ หงษ์หยก ประธานคณะอนุกรรมการข่าวสารสัมพันธ์เพื่อประชาชน ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคทางตาที่พบมากขึ้นในสังคมไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมาคือการติดเชื้อที่กระจกตาจากคอนแทคเลนส์และโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (ComputerVision Syndrome) ซึ่งมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งลักษณะอาการและการป้องกันได้ดังนี้ 1.การติดเชื้อที่กระจกตา เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์ ผู้ป่วยมักจะมีอาการตาแดง ปวดตา ตามัว น้ำตาไหล มองสู้แสงไม่ได้ มีขี้ตา เปลือกตาบวม และอาจเห็นจุดสีขาวอยู่บนกระจกตาได้ ซึ่งหากไม่ได้ทำการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นจุดขาวที่เกิดขึ้นจะลุกลามเกิดเป็นหนองสีขาวในช่องหน้าลูกตา ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ดวงตา เช่น กระจกตาทะลุ ต้อหิน ต้อกระจก ไปจนถึงตาบอด สำหรับการลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่ดวงตาสามารถทำได้โดยผู้ใช้เองต้องดูแลรักษาเลนส์อย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ห้ามไม่ให้เลนส์สัมผัสกับน้ำไม่ใส่เลนส์เกินอายุเลนส์ที่แนะนำ ไม่ใช้คอนแทคเลนส์มือสองและควรเปลี่ยนเลนส์บ่อย ๆ ที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพตาและตรวจวัดค่าสายตาหรือเลนส์ที่เหมาะสมอย่างน้อยทุก 6-12 เดือน 2.โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) การใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกินความจำเป็น จะทำให้เกิดอาการทางตาต่าง ๆ ตามมาได้ สามารถพบผู้ป่วยได้มากถึง 70% ของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นประจำและมักพบได้บ่อยขึ้นในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี สาเหตุหลักเกิดจากแสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต รวมถึงผิวหน้าจอที่สามารถสะท้อนแสงจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ มาสู่ตา จึงทำให้ปวดตา ล้าตาได้ง่าย อีกทั้งการกระพริบตาน้อยลงขณะที่อยู่หน้าจอจะทำให้น้ำตาระเหย ตาแห้ง แสบตา แพ้แสง หรือตามัว เมื่ออาการสะสมเรื่อย ๆ อาการจะหนักขึ้น และปวดบริเวณศีรษะ คอ บ่า ไหล่ การป้องกันสามารถทำได้โดยการกระพริบตาบ่อยขึ้นเวลาอยู่หน้าจอและการพักสายตาเป็นระยะตามกฎ20-20-20 คือ ทุก 20 นาที ให้พักสายตาอย่างน้อง 20 วินาที โดยการมองไกล ๆ 20 เมตร หรือหลับตาพักก็ได้ รวมทั้งการปรับท่าทางการทำงาน ตำแหน่งของหน้าจอ ใช้แว่นสายตาที่เหมาะสม จะช่วยลดอาการต่าง ๆ ได้มากขึ้น ดวงตาจากการส่องกล้อง ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับสาเหตุของการตาบอดและสายตาเลือนลางในประเทศไทยพบว่า 4 อันดับแรก คือ 1.โรคต้อกระจก (69.7%) 2.โรคทางจอประสาทตา (13.2%) 3.โรคต้อหิน (4%) และ 4.ความผิดปกติทางสายตา (4%) ดังนั้นราชวิทยาลัยฯจึงมุ่งให้ความสำคัญในการลดจำนวนผู้ป่วยโรคต้อกระจก เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุในพื้นที่ห่างไกล โดยร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ริเริ่มโครงการ "รวมใจ...ไร้ตาบอดจากต้อกระจก 2560" ซึ่งโครงการดังกล่าวเสนอให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อปรับกระบวนการทำงานมุ่งเน้นการคัดกรองค้นหาผู้ที่มีตาบอดจากต้อกระจกในชุมชน จัดให้เข้าสู่ระบบการขึ้นทะเบียนและรอผ่าตัดโดยเร็ว (Fast Track) ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1434091843
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)