หนุ่มใหญ่ชาวอังกฤษ “ตาบอด” สนิท เพราะพิษคอนแทคเลนส์
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายสตีเฟน เซาเตอร์ อดีตวิศวกรวัย 63 ปี ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส หลังมีอาการติดเชื้อที่หาได้ยากจากการใช้คอนแทคเลนส์
วิศวกรหนุ่มใหญ่วัยเกษียณจากหมู่บ้านบรอนตัน เมืองเดวอน ประเทศอังกฤษ เริ่มมีอาการอักเสบที่ดวงตาเมื่อเดือนมกราคมปีที่ผ่านมา โดยเขาพบจุดสีแดงภายในดวงตา ซึ่งทำให้เขาเจ็บปวดทรมานอย่างมากจนไม่สามารถข่มตาหลับได้ตลอดทั้งคืน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน เขาจึงตัดสินใจไปพบแพทย์
ด้านแพทย์วินิจฉัยว่า เขามีอาการของ Acanthamoeba Keratitis (AK) หรือการติดเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในน้ำ ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในแหล่งน้ำตามธรรมชาติและภายในบ้านพักอาศัย ทำให้กระจกตาอักเสบรุนแรง และอาการกระจกตาอักเสบนี้เป็นอาการที่หาได้ยาก แต่ผู้ที่เป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 85 เกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์โดยไม่มีการรักษาความสะอาดที่ดีพอ ซึ่งสุขอนามัยที่ไม่ดีเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว
วิธีรักษาทางเดียวที่สามารถทำได้ก็คือ การปลูกถ่ายกระจกตา แต่ผลการรักษาจะทำให้เขากลับมามองเห็นได้อีกเพียงบางส่วน และต้องคอยหยอดยาฆ่าเชื้อในดวงตาต่อไป ทั้งนี้ อัตราการเกิดโรคนี้ในสหราชอาณาจักร คิดเป็นเพียง 1 ใน 50,000 ของคนที่ใช้คอนแทคเลนส์ในแต่ละปี และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นของผู้ที่เป็นโรคนี้ที่จะมีโอกาสตาบอดสนิท
ที่มา : metro.co.uk
ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/680552 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายสตีเฟน เซาเตอร์ อดีตวิศวกรวัย 63 ปี สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายสตีเฟน เซาเตอร์ อดีตวิศวกรวัย 63 ปี ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส หลังมีอาการติดเชื้อที่หาได้ยากจากการใช้คอนแทคเลนส์ วิศวกรหนุ่มใหญ่วัยเกษียณจากหมู่บ้านบรอนตัน เมืองเดวอน ประเทศอังกฤษ เริ่มมีอาการอักเสบที่ดวงตาเมื่อเดือนมกราคมปีที่ผ่านมา โดยเขาพบจุดสีแดงภายในดวงตา ซึ่งทำให้เขาเจ็บปวดทรมานอย่างมากจนไม่สามารถข่มตาหลับได้ตลอดทั้งคืน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน เขาจึงตัดสินใจไปพบแพทย์ ด้านแพทย์วินิจฉัยว่า เขามีอาการของ Acanthamoeba Keratitis (AK) หรือการติดเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในน้ำ ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในแหล่งน้ำตามธรรมชาติและภายในบ้านพักอาศัย ทำให้กระจกตาอักเสบรุนแรง และอาการกระจกตาอักเสบนี้เป็นอาการที่หาได้ยาก แต่ผู้ที่เป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 85 เกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์โดยไม่มีการรักษาความสะอาดที่ดีพอ ซึ่งสุขอนามัยที่ไม่ดีเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว วิธีรักษาทางเดียวที่สามารถทำได้ก็คือ การปลูกถ่ายกระจกตา แต่ผลการรักษาจะทำให้เขากลับมามองเห็นได้อีกเพียงบางส่วน และต้องคอยหยอดยาฆ่าเชื้อในดวงตาต่อไป ทั้งนี้ อัตราการเกิดโรคนี้ในสหราชอาณาจักร คิดเป็นเพียง 1 ใน 50,000 ของคนที่ใช้คอนแทคเลนส์ในแต่ละปี และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นของผู้ที่เป็นโรคนี้ที่จะมีโอกาสตาบอดสนิท ที่มา : metro.co.uk ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/680552
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)