“ตาบอดกลางคืน” โรคกรรมพันธุ์-ขาดวิตามินเอ

แสดงความคิดเห็น

ดวงตา

หมอชี้ตาบอดกลางคืน เกิดจากกรรมพันธุ์ ทำการมองเห็นกลางคืนแย่ลงตั้งแต่อายุ 20 เผย ขาดวิตามินเอทำบอดกลางคืนได้เช่นกัน

นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงอาการตาบอดกลางคืน ว่า เนื่องจากจอตาของคนเราจะมีเซลล์อยู่สองชนิดคือ Rod cells รับแสงในเวลากลางคืน และ Cone cells รับแสงในเวลากลางวัน ซึ่งหาก Rod cells เสียหายก็จะมีอาการตาบอดกลางคืนได้ ปกติคนเราจะมองเห็นไม่ได้ดีนักในเวลากลางคืนอยู่แล้ว แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการมองเห็นภาพในเวลากลางคืนได้แย่กว่าคนปกติทั่วไป ส่วนใหญ่เกิดจากกรรมพันธุ์ คือ ถูกกำหนดมาตั้งแต่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยจะมีการมองเห็นในเวลากลางคืนที่แย่ลงเรื่อย ๆ เริ่มตั้งแต่อายุ 20 - 40 ปีทั้งนี้การมองเห็นระดับต่ำสุดของแต่ละคนอาจแตกต่างกันบอกไม่ได้ว่าแต่ละคนจะถึงจุดไหน

นพ.ไพศาล กล่าวต่อว่า การขาดวิตามินเอก็มีส่วนทำให้มีอาการตาบอดกลางคืนได้ เพราะวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการทำงานของ Rod cells แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยพบการขาดวิตามินเอ อาการนี้จึงมักจะเกิดจากกรรมพันธุ์เท่านั้น ซึ่งอาการตาบอดกลางคืนยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผลเป็นที่ยอมรับ การทานวิตามินเออาจช่วยชะลอได้บ้าง แต่อาจเกิดผลเสียกรณีทานมากเกินไป ผู้ป่วยอาจใส่แว่นกันแดดป้องกันแสง หรือใช้อุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยสายตาเลือนลางช่วยในกรณีที่การมองเห็นแย่ลงมาก ปัจจุบันมีการวิจัยใช้เซลล์บำบัดในการรักษา แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันถึงผลการวิจัย

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000048025 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 พ.ค.59
วันที่โพสต์: 16/05/2559 เวลา 10:06:47 ดูภาพสไลด์โชว์ “ตาบอดกลางคืน” โรคกรรมพันธุ์-ขาดวิตามินเอ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดวงตา หมอชี้ตาบอดกลางคืน เกิดจากกรรมพันธุ์ ทำการมองเห็นกลางคืนแย่ลงตั้งแต่อายุ 20 เผย ขาดวิตามินเอทำบอดกลางคืนได้เช่นกัน นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงอาการตาบอดกลางคืน ว่า เนื่องจากจอตาของคนเราจะมีเซลล์อยู่สองชนิดคือ Rod cells รับแสงในเวลากลางคืน และ Cone cells รับแสงในเวลากลางวัน ซึ่งหาก Rod cells เสียหายก็จะมีอาการตาบอดกลางคืนได้ ปกติคนเราจะมองเห็นไม่ได้ดีนักในเวลากลางคืนอยู่แล้ว แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการมองเห็นภาพในเวลากลางคืนได้แย่กว่าคนปกติทั่วไป ส่วนใหญ่เกิดจากกรรมพันธุ์ คือ ถูกกำหนดมาตั้งแต่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยจะมีการมองเห็นในเวลากลางคืนที่แย่ลงเรื่อย ๆ เริ่มตั้งแต่อายุ 20 - 40 ปีทั้งนี้การมองเห็นระดับต่ำสุดของแต่ละคนอาจแตกต่างกันบอกไม่ได้ว่าแต่ละคนจะถึงจุดไหน นพ.ไพศาล กล่าวต่อว่า การขาดวิตามินเอก็มีส่วนทำให้มีอาการตาบอดกลางคืนได้ เพราะวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการทำงานของ Rod cells แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยพบการขาดวิตามินเอ อาการนี้จึงมักจะเกิดจากกรรมพันธุ์เท่านั้น ซึ่งอาการตาบอดกลางคืนยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผลเป็นที่ยอมรับ การทานวิตามินเออาจช่วยชะลอได้บ้าง แต่อาจเกิดผลเสียกรณีทานมากเกินไป ผู้ป่วยอาจใส่แว่นกันแดดป้องกันแสง หรือใช้อุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยสายตาเลือนลางช่วยในกรณีที่การมองเห็นแย่ลงมาก ปัจจุบันมีการวิจัยใช้เซลล์บำบัดในการรักษา แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันถึงผลการวิจัย ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000048025

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...