แพทย์เตือน! ดูสุริยุปราคาผ่านกล้องมือถือ ถึงขั้นตาบอดได้

แสดงความคิดเห็น

ปรากฏการณ์สุริยุปราคา

ในวันที่ (9 มีนาคม 2559) จะมีปรากฏการณ์สุริยุปราคาเกิดขึ้น ซึ่งสามารถมองเห็นได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย แพทย์แนะ ห้ามดูสุริยุปราคาด้วยตาเปล่า หรือดูผ่านกล้องมือถือ หวั่นส่งผลต่อดวงตาถึงขั้นตาบอด

นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ภายในวันที่ 9 มีนาคม2559 ทุกภูมิภาคของประเทศไทยจะเกิดสุริยุปราคาบางส่วน ทำให้ประชาชนจำนวนมากมีความตื่นตัวเพื่อที่จะรอชมปรากฏการณ์ธรรมชาติในครั้งนี้ ซึ่งปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือ การชมสุริยุปราคาด้วยตาเปล่า จะส่งผลกระทบต่อดวงตาโดยตรง เนื่องจากดวงอาทิตย์นอกจากจะให้ความร้อนแล้ว ยังให้แสงสว่างที่มีความเข้มสูงมาก จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะสำหรับสังเกตเท่านั้น ห้ามดูด้วยตาเปล่า แว่นกันแดด หรือฟิล์มเอกซเรย์ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ยังมีประสิทธิภาพในการกรองแสงไม่เพียงพอ แสงอาทิตย์จะทำลายเซลล์ประสาทตาจนตาบอดถาวรได้

วิธีดูสุริยุปราคาที่ปลอดภัย คือ หากสังเกตทางตรงต้องใช้กล้องโทรทรรศน์สำหรับดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ หรือกล้องโทรทรรศน์ที่ติดฟิลเตอร์กรองแสง หรือสังเกตทางอ้อมโดยใช้ฉากรับแสง สังเกตรูปร่างของเงาที่ทาบลงบนฉากนั้น สามารถใช้อุปกรณ์ที่หาได้ใกล้ตัว เช่น กระดาษทึบ เจาะรูเล็ก ๆ ให้แสงลอดผ่าน แล้วทาบเงาลงบนพื้นผิวอื่น จะเห็นเงาที่ทอดลงเป็นวงกลมเว้าไปบางส่วน สัดส่วนเท่ากับขนาดของคราสในเวลานั้น เรียกว่าหลักการของ “กล้องรูเข็ม” นอกจากนี้การรับชมปรากฏการณ์ดังกล่าวผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความปลอดภัยไม่เสี่ยงกับปัญหาต่อดวงตา

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเน้นย้ำถึงกระแสการถ่ายภาพบนโลกออนไลน์ในขณะนี้ อาจมีกลุ่มคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือถ่ายภาพการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาโดยตรงซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะกล้องโทรศัพท์มือถือ มีเลนส์รวมแสง ยิ่งทวีกำลังของแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ดวงตาบอดได้ทันที นอกจากนี้ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานของตนเองในการชมปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อดวงตาของบุตรหลานของท่านได้

ขอบคุณ... http://www.aripfan.com/eclipse-2016/

ที่มา: aripfan.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย8มี.ค.59
วันที่โพสต์: 9/03/2559 เวลา 11:09:00 ดูภาพสไลด์โชว์ แพทย์เตือน! ดูสุริยุปราคาผ่านกล้องมือถือ ถึงขั้นตาบอดได้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ปรากฏการณ์สุริยุปราคา ในวันที่ (9 มีนาคม 2559) จะมีปรากฏการณ์สุริยุปราคาเกิดขึ้น ซึ่งสามารถมองเห็นได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย แพทย์แนะ ห้ามดูสุริยุปราคาด้วยตาเปล่า หรือดูผ่านกล้องมือถือ หวั่นส่งผลต่อดวงตาถึงขั้นตาบอด นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ภายในวันที่ 9 มีนาคม2559 ทุกภูมิภาคของประเทศไทยจะเกิดสุริยุปราคาบางส่วน ทำให้ประชาชนจำนวนมากมีความตื่นตัวเพื่อที่จะรอชมปรากฏการณ์ธรรมชาติในครั้งนี้ ซึ่งปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือ การชมสุริยุปราคาด้วยตาเปล่า จะส่งผลกระทบต่อดวงตาโดยตรง เนื่องจากดวงอาทิตย์นอกจากจะให้ความร้อนแล้ว ยังให้แสงสว่างที่มีความเข้มสูงมาก จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะสำหรับสังเกตเท่านั้น ห้ามดูด้วยตาเปล่า แว่นกันแดด หรือฟิล์มเอกซเรย์ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ยังมีประสิทธิภาพในการกรองแสงไม่เพียงพอ แสงอาทิตย์จะทำลายเซลล์ประสาทตาจนตาบอดถาวรได้ วิธีดูสุริยุปราคาที่ปลอดภัย คือ หากสังเกตทางตรงต้องใช้กล้องโทรทรรศน์สำหรับดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ หรือกล้องโทรทรรศน์ที่ติดฟิลเตอร์กรองแสง หรือสังเกตทางอ้อมโดยใช้ฉากรับแสง สังเกตรูปร่างของเงาที่ทาบลงบนฉากนั้น สามารถใช้อุปกรณ์ที่หาได้ใกล้ตัว เช่น กระดาษทึบ เจาะรูเล็ก ๆ ให้แสงลอดผ่าน แล้วทาบเงาลงบนพื้นผิวอื่น จะเห็นเงาที่ทอดลงเป็นวงกลมเว้าไปบางส่วน สัดส่วนเท่ากับขนาดของคราสในเวลานั้น เรียกว่าหลักการของ “กล้องรูเข็ม” นอกจากนี้การรับชมปรากฏการณ์ดังกล่าวผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความปลอดภัยไม่เสี่ยงกับปัญหาต่อดวงตา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเน้นย้ำถึงกระแสการถ่ายภาพบนโลกออนไลน์ในขณะนี้ อาจมีกลุ่มคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือถ่ายภาพการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาโดยตรงซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะกล้องโทรศัพท์มือถือ มีเลนส์รวมแสง ยิ่งทวีกำลังของแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ดวงตาบอดได้ทันที นอกจากนี้ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานของตนเองในการชมปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อดวงตาของบุตรหลานของท่านได้ ขอบคุณ... http://www.aripfan.com/eclipse-2016/

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...