โรคทางตา...ภัยเงียบที่ควรระวัง
ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อชีวิตมนุษย์เมื่อกล่าวถึงโรคทางตาที่สามารถทำให้ตาบอดได้โรคต้อหินและโรคจอประสาทตาหลุดลอก เป็นโรคที่ติดอันดับต้นๆที่ทำให้ตาบอดได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีอาการใดๆ เป็นสัญญาณเตือนภัย
พญ.ชมพูนุท ภูมิรัตนประพิณจักษุแพทย์ เฉพาะทางโรคต้อหินโรงพยาบาลหัวเฉียวกล่าวว่าจากการสำรวจในประเทศไทย พบว่า คนไทยเป็นโรคต้อหิน และโรคตาบอดที่เกิดจากต้อหิน ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน มากกว่า 80 % ของผู้ป่วยโรคต้อหินไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองเป็นโรคต้อหิน และผู้ป่วย 90 % มักไม่มีอาการแสดงใดๆ การวินิจฉัยเป็นจากการตรวจพบโดยการมาตรวจตาทั่วไป จึงทำให้บางครั้งกว่าจะรู้ตัว ขั้วประสาทตาก็ถูกทำลายมาก สูญเสียการมองเห็นบางส่วนไปแล้ว
ต้อหินเป็นการผิดปกติที่ขั้วประสาทตาที่ถูกกดและทำลาย จากความดันลูกตาที่สูงขึ้น หรือในความดันตาปกติก็พบได้ การกดและทำลายขั้วประสาทตาจะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีผลทำให้ลานสายตา หรือความกว้างของการมองเห็นแคบลงเรื่อยๆ หากไม่ทำการรักษา หรือตรวจพบแล้วไม่รักษาต่อเนื่อง ตัวโรคไม่สามารถคุมได้ก็จะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด
โดยทั่วไปโรคต้อหินแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ต้อหินมุมเปิด เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการมีความดันลูกตาที่สูง การมีความดันลูกตาสูงเรื้อรัง ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีอาการแสดงใดๆ จนการดำเนินโรคเป็นไปถึง 40-50 % จึงจะเริ่มแสดงอาการ และต้อหินชนิดมุมปิด พบได้มากขึ้นในตาคนเอเชีย รวมถึงคนไทย เนื่องจากทรงลูกตาที่เล็กทำให้มีมุมตาที่แคบ ทำให้เกิดการระบายน้ำในลูกตาบริเวณมุมตาได้ไม่ดี ส่งผลให้ความดันลูกตาสูงขึ้น ถ้าเป็นแบบเรื้อรังมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าเป็นแบบเฉียบพลันจะทำให้คนไข้มีอาการปวดตา ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียนได้ ซึ่งเป็นภาวะรีบด่วนที่ต้องมาโรงพยาบาล
ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคต้อหิน มักพบอยู่ในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในรายที่อายุมากกว่า 70 ปี มีโอกาสเป็นโรคต้อหินมากกว่าคนอายุ 40 ปี 6 - 7 เท่า, มีประวัติคนในครอบครัวและญาติสายตรงเป็นต้อหิน, มีระดับความดันลูกตาสูงเกิน 21 มิลลิเมตรปรอท, สายตาสั้น หรือยาวมาก, โรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไมเกรน โรคที่ทำให้เส้นเลือดผิดปกติหรือตีบตัน, โรคเรื้อรังทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ เส้นเลือดจอประสาทตาอุดตัน, ประวัติการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำเป็น, ประวัติอุบัติเหตุรุนแรงทางตา หรือผ่าตัดตามาก่อน
การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน ประกอบด้วยการตรวจตาประเมินภาวะต้อหินโดยจักษุแพทย์, การทำลานสายตา ประเมินความกว้างของการมองเห็น, การตรวจสแกนขั้วประสาทตา และเส้นใยประสาท, การถ่ายรูปขั้วประสาทตา พญ.พวงเพชร นาคะพงศ์จักษุแพทย์ เฉพาะทางโรคจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาโรงพยาบาลหัวเฉียวกล่าวว่าจอประสาทตาหลุดลอก เป็นภาวะที่ชั้นจอประสาทตาบริเวณด้านหลังของลูกตา ซึ่งทำหน้าที่รับภาพและแปลเป็นสัญญาณประสาท ได้เกิดหลุดลอกออกมาจากเนื้อเยื่อด้านหลัง ทำให้เนื้อเยื่อจอประสาทตาบริเวณที่หลุดลอกออกมานั้นขาดสารอาหารและออกซิเจน ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ และหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน จอประสาทตาบริเวณดังกล่าวจะสูญเสียการทำงานอย่างถาวร ทำให้ตามองไม่เห็นในที่สุด
สาเหตุของจอประสาทตาหลุดลอก สามารถเกิดได้หลายประการ ได้แก่ ประเด็นแรกจอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรู หรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา ทำให้มีน้ำไหลเข้า เกิดการแยกของจอประสาทตา มักเกิดจากดวงตามีการกระทบกระแทกอย่างรุนแรง และจอประสาทตาเสื่อมในผู้ป่วยสายตาสั้น หรือเกิดรูขาดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ เป็นสาเหตุของจอประสาทตาลอกบ่อยที่สุด ประเด็นที่สองจอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง เกิดจากการดึงรั้งของพังผืดที่จอประสาทตาหรือในน้ำวุ้นตา ทำให้จอประสาทตาหลุดลอก มักพบในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอตาระยะท้าย ซึ่งมีเส้นเลือดงอกผิดปกติที่จอรับภาพ และมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของน้ำวุ้นลูกตา หรือจอประสาทตาอย่างรุนแรงจนเกิดชั้นพังผืด และประเด็นสุดท้ายจอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาดที่จอตา เกิดจากการอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ทำให้มีน้ำรั่วซึมขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคคอรอยด์อักเสบ เนื้องอกที่จอประสาทตา หรือพบในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ ภาวะไตวาย เป็นต้น
อาการของผู้ที่มีอาการจอประสาทตาหลุดลอกเบื้องต้น คือ มองเห็นแสงไฟคล้ายๆไฟแฟลชกล้องถ่ายรูป ในการมองเห็นเหมือนมีอะไรมาบดบัง หรือมองเห็นเงาลักษณะเป็นจุดหรือใยแมงมุมลอยไปมา และส่งผลให้การมองเห็นลดลงได้อย่างรวดเร็ว โดยโรคจอประสาทตาลอก สามารถเกิดได้ทุกอายุ แต่จะพบบ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นมากได้แก่ สายตาสั้นมาก เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน มีประวัติครอบครัวที่จอประสาทตาลอก ผ่าตัดต้อกระจก เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ที่มีอาการดังกล่าวจึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจจอประสาทตาโดยละเอียด ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากภาวะผิดปกติชนิดใด และต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีใด หากจักษุแพทย์ตรวจพบรูขาดที่จอประสาทตา และยังไม่มีจอประสาทตาลอก อาจให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์รอบรอยขาด หากพบมีการลอกตัวของจอประสาทตา การรักษาอาจมีตั้งแต่การฉีดก๊าซเข้าไปในตา การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา และการทำผ่าตัดน้ำวุ้นตา ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
ปัจจุบัน คลินิกตา โรงพยาบาลหัวเฉียว มีทีมแพทย์เฉพาะทางโรคต้อหินและโรคจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาพร้อมด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย ทำให้การรักษาสามารถทำได้อย่างครบวงจร การตรวจพบได้เร็ว ได้รับการรักษาเร็ว ช่วยให้การมองเห็นเป็นปกติได้ อย่าละเลยที่จะดูแลดวงตาของคุณและคนที่คุณรัก
ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/advertorial/detail/362 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การตรวจโรคตา ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อชีวิตมนุษย์เมื่อกล่าวถึงโรคทางตาที่สามารถทำให้ตาบอดได้โรคต้อหินและโรคจอประสาทตาหลุดลอก เป็นโรคที่ติดอันดับต้นๆที่ทำให้ตาบอดได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีอาการใดๆ เป็นสัญญาณเตือนภัย พญ.ชมพูนุท ภูมิรัตนประพิณจักษุแพทย์ เฉพาะทางโรคต้อหินโรงพยาบาลหัวเฉียวกล่าวว่าจากการสำรวจในประเทศไทย พบว่า คนไทยเป็นโรคต้อหิน และโรคตาบอดที่เกิดจากต้อหิน ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน มากกว่า 80 % ของผู้ป่วยโรคต้อหินไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองเป็นโรคต้อหิน และผู้ป่วย 90 % มักไม่มีอาการแสดงใดๆ การวินิจฉัยเป็นจากการตรวจพบโดยการมาตรวจตาทั่วไป จึงทำให้บางครั้งกว่าจะรู้ตัว ขั้วประสาทตาก็ถูกทำลายมาก สูญเสียการมองเห็นบางส่วนไปแล้ว ต้อหินเป็นการผิดปกติที่ขั้วประสาทตาที่ถูกกดและทำลาย จากความดันลูกตาที่สูงขึ้น หรือในความดันตาปกติก็พบได้ การกดและทำลายขั้วประสาทตาจะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีผลทำให้ลานสายตา หรือความกว้างของการมองเห็นแคบลงเรื่อยๆ หากไม่ทำการรักษา หรือตรวจพบแล้วไม่รักษาต่อเนื่อง ตัวโรคไม่สามารถคุมได้ก็จะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด โดยทั่วไปโรคต้อหินแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ต้อหินมุมเปิด เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการมีความดันลูกตาที่สูง การมีความดันลูกตาสูงเรื้อรัง ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีอาการแสดงใดๆ จนการดำเนินโรคเป็นไปถึง 40-50 % จึงจะเริ่มแสดงอาการ และต้อหินชนิดมุมปิด พบได้มากขึ้นในตาคนเอเชีย รวมถึงคนไทย เนื่องจากทรงลูกตาที่เล็กทำให้มีมุมตาที่แคบ ทำให้เกิดการระบายน้ำในลูกตาบริเวณมุมตาได้ไม่ดี ส่งผลให้ความดันลูกตาสูงขึ้น ถ้าเป็นแบบเรื้อรังมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าเป็นแบบเฉียบพลันจะทำให้คนไข้มีอาการปวดตา ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียนได้ ซึ่งเป็นภาวะรีบด่วนที่ต้องมาโรงพยาบาล ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคต้อหิน มักพบอยู่ในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในรายที่อายุมากกว่า 70 ปี มีโอกาสเป็นโรคต้อหินมากกว่าคนอายุ 40 ปี 6 - 7 เท่า, มีประวัติคนในครอบครัวและญาติสายตรงเป็นต้อหิน, มีระดับความดันลูกตาสูงเกิน 21 มิลลิเมตรปรอท, สายตาสั้น หรือยาวมาก, โรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไมเกรน โรคที่ทำให้เส้นเลือดผิดปกติหรือตีบตัน, โรคเรื้อรังทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ เส้นเลือดจอประสาทตาอุดตัน, ประวัติการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำเป็น, ประวัติอุบัติเหตุรุนแรงทางตา หรือผ่าตัดตามาก่อน การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน ประกอบด้วยการตรวจตาประเมินภาวะต้อหินโดยจักษุแพทย์, การทำลานสายตา ประเมินความกว้างของการมองเห็น, การตรวจสแกนขั้วประสาทตา และเส้นใยประสาท, การถ่ายรูปขั้วประสาทตา พญ.พวงเพชร นาคะพงศ์จักษุแพทย์ เฉพาะทางโรคจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาโรงพยาบาลหัวเฉียวกล่าวว่าจอประสาทตาหลุดลอก เป็นภาวะที่ชั้นจอประสาทตาบริเวณด้านหลังของลูกตา ซึ่งทำหน้าที่รับภาพและแปลเป็นสัญญาณประสาท ได้เกิดหลุดลอกออกมาจากเนื้อเยื่อด้านหลัง ทำให้เนื้อเยื่อจอประสาทตาบริเวณที่หลุดลอกออกมานั้นขาดสารอาหารและออกซิเจน ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ และหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน จอประสาทตาบริเวณดังกล่าวจะสูญเสียการทำงานอย่างถาวร ทำให้ตามองไม่เห็นในที่สุด สาเหตุของจอประสาทตาหลุดลอก สามารถเกิดได้หลายประการ ได้แก่ ประเด็นแรกจอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรู หรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา ทำให้มีน้ำไหลเข้า เกิดการแยกของจอประสาทตา มักเกิดจากดวงตามีการกระทบกระแทกอย่างรุนแรง และจอประสาทตาเสื่อมในผู้ป่วยสายตาสั้น หรือเกิดรูขาดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ เป็นสาเหตุของจอประสาทตาลอกบ่อยที่สุด ประเด็นที่สองจอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง เกิดจากการดึงรั้งของพังผืดที่จอประสาทตาหรือในน้ำวุ้นตา ทำให้จอประสาทตาหลุดลอก มักพบในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอตาระยะท้าย ซึ่งมีเส้นเลือดงอกผิดปกติที่จอรับภาพ และมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของน้ำวุ้นลูกตา หรือจอประสาทตาอย่างรุนแรงจนเกิดชั้นพังผืด และประเด็นสุดท้ายจอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาดที่จอตา เกิดจากการอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ทำให้มีน้ำรั่วซึมขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคคอรอยด์อักเสบ เนื้องอกที่จอประสาทตา หรือพบในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ ภาวะไตวาย เป็นต้น อาการของผู้ที่มีอาการจอประสาทตาหลุดลอกเบื้องต้น คือ มองเห็นแสงไฟคล้ายๆไฟแฟลชกล้องถ่ายรูป ในการมองเห็นเหมือนมีอะไรมาบดบัง หรือมองเห็นเงาลักษณะเป็นจุดหรือใยแมงมุมลอยไปมา และส่งผลให้การมองเห็นลดลงได้อย่างรวดเร็ว โดยโรคจอประสาทตาลอก สามารถเกิดได้ทุกอายุ แต่จะพบบ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นมากได้แก่ สายตาสั้นมาก เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน มีประวัติครอบครัวที่จอประสาทตาลอก ผ่าตัดต้อกระจก เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่มีอาการดังกล่าวจึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจจอประสาทตาโดยละเอียด ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากภาวะผิดปกติชนิดใด และต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีใด หากจักษุแพทย์ตรวจพบรูขาดที่จอประสาทตา และยังไม่มีจอประสาทตาลอก อาจให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์รอบรอยขาด หากพบมีการลอกตัวของจอประสาทตา การรักษาอาจมีตั้งแต่การฉีดก๊าซเข้าไปในตา การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา และการทำผ่าตัดน้ำวุ้นตา ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบัน คลินิกตา โรงพยาบาลหัวเฉียว มีทีมแพทย์เฉพาะทางโรคต้อหินและโรคจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาพร้อมด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย ทำให้การรักษาสามารถทำได้อย่างครบวงจร การตรวจพบได้เร็ว ได้รับการรักษาเร็ว ช่วยให้การมองเห็นเป็นปกติได้ อย่าละเลยที่จะดูแลดวงตาของคุณและคนที่คุณรัก ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/advertorial/detail/362
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)