รพ.เด็ก รณรงค์ลดอัตราตาบอดในเด็กไทย

แสดงความคิดเห็น

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา อธิบดีกรมการแพทย์ (กลาง) พร้อมด้วย นพ.สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์ (ขวาสุด) พญ.ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์ และผู้บริหารจากมูลนิธิเอสซีลอร์วิชั่น ฟาวน์เดชั่น ร่วมรณรงค์ตาบอดในเด็ก

องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันสายตาโลก World Sight Day ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 10 ต.ค. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงร่วมกับ มูลนิธิเอสซีลอร์วิชั่น ฟาวน์เดชั่น จัดกิจกรรมรณรงค์มุ่งลดอัตราตาบอดในเด็กไทย ในงาน “โครงการลดอัตราตาบอดในเด็กไทย : Better Sight for Child” ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี(รพ.เด็ก)

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ ซึ่งมาเป็นประธานในงาน กล่าวว่า จากการสำรวจในช่วงปี 2549-2550 พบว่า ประชากรไทยมีความชุกของตาบอดร้อยละ 0.59 และสายตาเลือนรางร้อยละ 1.57 ส่วนโรคที่เป็นสาเหตุของตาบอดที่สำคัญ คือ โรคต้อกระจก, โรคต้อหิน, โรคของจอตา, โรคที่ทำให้ตาบอดในเด็ก และโรคของกระจกตา โรคตาเป็นโรคหนึ่งที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านจักษุวิทยา เพื่อลดอัตราสภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางของประชากร ตามกรอบแนวคิด Vision 2020 ขององค์การอนามัยโลก

ทฤษฎี ตุลอนุกิจ จากบริษัท เอสซีลอร์ ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมอบแว่นที่เหมาะสมให้กับครอบครัวบุตรคำ นอกจากนี้ นพ.สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์ รอง ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า อัตราความชุกของสภาวะตาบอดในเด็กไทยอายุ 1-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 0.11 เป็นอัตราที่สูงกว่าประมาณการขององค์การอนามัยโลกที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 0.04 สาเหตุของการตาบอดในเด็กไทยเกิดจากโรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนด และภาวะสายตาผิดปกติ ที่ไม่ได้รับการแก้ไข การแก้ไข จึงต้องมุ่งเน้นการควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายคือ เด็กที่มีปัญหาภาวะสายตาผิดปกติให้ได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ และได้รับแว่นตาอันแรกที่เหมาะสม เพื่อลดอัตราการตาบอดในอนาคต ด้าน พญ.ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ กล่าวว่า สาเหตุของตาบอดในเด็กไทย 1 ใน 3 จากสายตาสั้นแล้วไม่ได้ใส่แว่นที่เหมาะสม โรคนี้ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์มากมาย แต่ต้องให้ความรู้และใส่ใจว่า ถ้าเด็กมีปัญหาต้องนำมาวัดสายตาและหาแว่นที่เหมาะสม และต้องมีการติดตามที่ดีด้วย ซึ่งเด็กไทยที่เป็นโรคตาบอดตาใสมีนับล้านๆคนที่ได้ใส่แว่นที่เหมาะสมมีเพียง1ใน3เท่านั้น

ในงานยังได้พา “ครอบครัวบุตรคำ” คือ น้องโต๋ว–กันต์อเนก บุตรคำ อายุ 7 ขวบ เป็นโรคสายตาขี้เกียจ มาร่วมพูดคุยด้วย โดยคุณแม่ วิภา บอกว่า ลูกเป็นเด็กปกติ แต่ชอบดูทีวีใกล้ๆ แล้วเอามือลูบนัยน์ตา ทีแรกไม่ได้เอะใจ จนกระทั่งเข้าเรียนอนุบาล 2 คุณครูบอกว่า ลูกเขียนงานช้ากว่าคนอื่นๆ และต้องเพ่งกระดาน จึงได้พามาหาคุณหมอ พบว่าลูกเป็นโรคสายตาขี้เกียจ หากไม่ได้รับการรักษาที่ดี อาจทำให้เด็กตาบอดได้ในอนาคต ตอนนี้มองเห็นปกติแต่ต้องสวมแว่นที่เหมาะสมกับสายตาเขาด้วย. โดย: ทีมข่าวหน้าสตรี

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/life/375934

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 14/10/2556 เวลา 03:50:43 ดูภาพสไลด์โชว์ รพ.เด็ก รณรงค์ลดอัตราตาบอดในเด็กไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา อธิบดีกรมการแพทย์ (กลาง) พร้อมด้วย นพ.สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์ (ขวาสุด) พญ.ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์ และผู้บริหารจากมูลนิธิเอสซีลอร์วิชั่น ฟาวน์เดชั่น ร่วมรณรงค์ตาบอดในเด็ก องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันสายตาโลก World Sight Day ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 10 ต.ค. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงร่วมกับ มูลนิธิเอสซีลอร์วิชั่น ฟาวน์เดชั่น จัดกิจกรรมรณรงค์มุ่งลดอัตราตาบอดในเด็กไทย ในงาน “โครงการลดอัตราตาบอดในเด็กไทย : Better Sight for Child” ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี(รพ.เด็ก) นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ ซึ่งมาเป็นประธานในงาน กล่าวว่า จากการสำรวจในช่วงปี 2549-2550 พบว่า ประชากรไทยมีความชุกของตาบอดร้อยละ 0.59 และสายตาเลือนรางร้อยละ 1.57 ส่วนโรคที่เป็นสาเหตุของตาบอดที่สำคัญ คือ โรคต้อกระจก, โรคต้อหิน, โรคของจอตา, โรคที่ทำให้ตาบอดในเด็ก และโรคของกระจกตา โรคตาเป็นโรคหนึ่งที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านจักษุวิทยา เพื่อลดอัตราสภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางของประชากร ตามกรอบแนวคิด Vision 2020 ขององค์การอนามัยโลก ทฤษฎี ตุลอนุกิจ จากบริษัท เอสซีลอร์ ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมอบแว่นที่เหมาะสมให้กับครอบครัวบุตรคำนอกจากนี้ นพ.สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์ รอง ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า อัตราความชุกของสภาวะตาบอดในเด็กไทยอายุ 1-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 0.11 เป็นอัตราที่สูงกว่าประมาณการขององค์การอนามัยโลกที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 0.04 สาเหตุของการตาบอดในเด็กไทยเกิดจากโรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนด และภาวะสายตาผิดปกติ ที่ไม่ได้รับการแก้ไข การแก้ไข จึงต้องมุ่งเน้นการควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายคือ เด็กที่มีปัญหาภาวะสายตาผิดปกติให้ได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ และได้รับแว่นตาอันแรกที่เหมาะสม เพื่อลดอัตราการตาบอดในอนาคต ด้าน พญ.ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ กล่าวว่า สาเหตุของตาบอดในเด็กไทย 1 ใน 3 จากสายตาสั้นแล้วไม่ได้ใส่แว่นที่เหมาะสม โรคนี้ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์มากมาย แต่ต้องให้ความรู้และใส่ใจว่า ถ้าเด็กมีปัญหาต้องนำมาวัดสายตาและหาแว่นที่เหมาะสม และต้องมีการติดตามที่ดีด้วย ซึ่งเด็กไทยที่เป็นโรคตาบอดตาใสมีนับล้านๆคนที่ได้ใส่แว่นที่เหมาะสมมีเพียง1ใน3เท่านั้น ในงานยังได้พา “ครอบครัวบุตรคำ” คือ น้องโต๋ว–กันต์อเนก บุตรคำ อายุ 7 ขวบ เป็นโรคสายตาขี้เกียจ มาร่วมพูดคุยด้วย โดยคุณแม่ วิภา บอกว่า ลูกเป็นเด็กปกติ แต่ชอบดูทีวีใกล้ๆ แล้วเอามือลูบนัยน์ตา ทีแรกไม่ได้เอะใจ จนกระทั่งเข้าเรียนอนุบาล 2 คุณครูบอกว่า ลูกเขียนงานช้ากว่าคนอื่นๆ และต้องเพ่งกระดาน จึงได้พามาหาคุณหมอ พบว่าลูกเป็นโรคสายตาขี้เกียจ หากไม่ได้รับการรักษาที่ดี อาจทำให้เด็กตาบอดได้ในอนาคต ตอนนี้มองเห็นปกติแต่ต้องสวมแว่นที่เหมาะสมกับสายตาเขาด้วย. โดย: ทีมข่าวหน้าสตรี ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/life/375934 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...