นวักรรม ‘รีเล็กซ์’ ผ่าตัดแบบแผลเล็ก เทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติ

แสดงความคิดเห็น

เมื่อเกิดความผิดปกติจากการมองเห็นของดวงตา หลาย ๆ คนคงไม่สามารถประกอบภารกิจ หรือดำเนินชีวิตประจำวันต่าง ๆ ไปได้อย่างราบรื่น การได้เห็นโลกกว้างก็ดูจะหม่นหมองลง แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ดวงตากลับมาเห็นชัดขึ้นได้ด้วย การผ่าตัดแบบแผลเล็ก!

นวักรรม ‘รีเล็กซ์’ ผ่าตัดแบบแผลเล็ก เทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติ นพ.เอกเทศ ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาภาวะสายตาผิดปกติ ระดับนานาชาติ (TRSC Inter-national LASIK Center) ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสายตาผิดปกติว่า เป็นภาวะที่ดวงตามีกำลังการรวมแสงไม่พอดีกับขนาดของลูกตา ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด ได้แก่ ภาวะสายตา สั้น ยาว เอียง ซึ่งสายตายาวสามารถแบ่งเป็นสายตายาวแต่กำเนิด และสายตายาวตามอายุ โดยภาวะสายตาที่มีปัญหามากที่สุดในวัยรุ่น และวัยกลางคน คือ สายตาสั้น เนื่องจากมองไกลไม่ชัดด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้แว่นสายตา หรือคอนแทคท์เลนส์ ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะได้มองเห็นในระยะไกล เช่น ขับรถ เล่นกีฬา การเกิดภาวะสายตาผิดปกติ โดยเฉพาะสายตาสั้น พบว่า มีปัจจัยการเกิดจากพันธุกรรมสูงมากที่สุด นอกจากนั้นบางส่วนเกิดจากสิ่งแวด ล้อม และพฤติกรรม

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคท์เลนส์ได้ การผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยได้ ซึ่งในประเทศไทยมีการรักษาสายตาด้วยวิธี พีอาร์เค (Photorefractive keratectomy: PRK) และ เลสิค (Laser In-situ Keratomileusis: LASIK) มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี

นวักรรม ‘รีเล็กซ์’ ผ่าตัดแบบแผลเล็ก เทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติ แต่ในปัจจุบันมีการนำเทคโน โลยีการรักษาด้วย รีเล็กซ์ (Refractive Lenticule Extraction : ReLEx) เข้ามาใช้ในการรักษาสายตาผิดปกติ ซึ่งสามารถใช้รักษาสายตาสั้นได้ตั้งแต่ 100 ถึงประมาณ 1,300 โดยมีสายตาเอียงร่วมด้วยไม่เกิน 500 โดยการรักษาแบบรีเล็กซ์นี้เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ใช้หลักการเดียวกับ เลสิค และ พีอาร์เค ที่มีในอดีต โดยเป็นการเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาให้มีกำลังการรวมแสงพอดีสำหรับการมอง เห็นด้วยตาเปล่า การปรับกระจกตาจะทำได้โดยนำเนื้อกระจกตาออกบางส่วนเพื่อปรับความโค้งของผิว หน้ากระจกตา

“การผ่าตัดแบบในอดีตแม้จะใช้หลักการเดียวกันแต่จะเกิดแผลใหญ่ที่ผิวของกระจกตา เช่น กรณีรักษาด้วยวิธีพีอาร์เค โดยจะมีแผลถลอกขนาดใหญ่ส่งผลทำให้ไม่สบายตาเป็นอย่างมากหลังการผ่าตัดและ ต้องใช้เวลาพักฟื้นยาวนานกว่าจะใช้งานด้านการมองเห็นได้ตามปกติ หรือมิฉะนั้นจะต้องแยกชั้นกระจกตาเป็นแผ่นขึ้นมาเสียก่อน ส่วนในกรณีของการรักษาแบบเลสิคไม่ว่าจะเป็นแบบดั้งเดิมที่มีการใช้ใบมีดแยก ชั้นกระจกตา หรือ Femto LASIK โดยใช้ Femto second Laser ในการแยกชั้นกระจกตาก็เช่นกัน”

สำหรับการผ่าตัดแบบรีเล็กซ์ กระจกตาจะไม่ถูกแยกเปิดเป็นแผ่น โดยจะใช้เครื่องเลเซอร์ในการแยกชั้นกระจกตา ที่ไม่ทำอันตรายใด ๆ ต่อผิวตา การแยกชั้นนี้จะทำให้เกิดชิ้นกระจกตาอยู่ภายในเนื้อกระจกตาเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า Lenticule ซึ่งเป็นชิ้นกระจกตาส่วนเกินซึ่งจะถูกนำออกจากตัวกระจกตาโดยแพทย์ที่ทำ การผ่าตัดผ่านแผลขนาดความยาว 2-5 มิลลิเมตร เท่านั้น

“คนไข้จะมีขนาดแผลที่เล็กมาก โดยการรักษาจะรบกวนกระจกตาน้อยกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น ๆ ส่งผลให้มีผลข้างเคียงเกิดน้อยลง เช่น การเกิดภาวะตาแห้งหลังผ่าตัด นอกจากนั้น พบว่า การมองเห็นในที่มีแสงน้อยผู้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีรีเล็กซ์มักจะมีคุณภาพ การมองเห็นโดยเฉลี่ยดีกว่าการผ่าตัดวิธีอื่น ๆ แต่ผู้ที่มีความหนาของกระจกตาน้อยมาก ๆ และผู้ที่มีโรคตารุนแรง เช่น ต้อหิน ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้”

ด้านการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา นพ.เอกเทศ กล่าวว่า ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องมาตรวจและรับข้อมูล ข้อดี ข้อจำกัด รวมถึงความเสี่ยง โอกาสการเกิดปัญหาต่างๆทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งมีการตรวจสายตาและสุขภาพตาอย่างละเอียดโดยแพทย์ที่จะทำการผ่าตัด เพื่อให้แน่ใจว่า ดวงตามีความแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถเข้ารับการผ่าตัดด้วยระดับความปลอดภัยสูงตามมาตรฐาน และไม่มีลักษณะข้อห้ามในการผ่าตัด

“ในการผ่าตัดจริงนั้นการรักษาแบบรีเล็กซ์จะเป็นการผ่าตัดระดับย่อย จึงทำให้การผ่าตัดใช้เพียงหยอดยาชา โดยผู้เข้ารับการรักษาจะไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด และสามารถรักษาดวงตาได้พร้อมกันทั้ง 2 ข้างในคราวเดียว โดยจะใช้เวลาทั้ง 2 ข้างประมาณ 15 นาที

สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพดวงตา หลังผ่าตัดเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะครอบฝาครอบตาไว้เพื่อป้องกันการขยี้ตาและป้องกันการติดเชื้อ หลังการผ่าตัด รวมทั้งผู้เข้ารับการรักษาสามารถกลับบ้านได้แต่ต้องกลับมาตรวจดวงตาในวัน รุ่งขึ้น การดูแลหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ จะต้องมีการหยอดยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบ โดยคนไข้จะต้องพยายามไม่ให้น้ำเข้าตา 3 วัน และที่สำคัญต้องหยอดน้ำตาเทียมเป็นประจำในช่วงสัปดาห์แรกหลังการรักษา”

ภายหลังการรักษาคนไข้สามารถ มองเห็นได้ทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัด แต่การมองเห็นจะยังไม่คมชัด อาจมองเห็นเหมือนมีหมอกบาง ๆ แต่ในวันรุ่งขึ้นการมองเห็นมักจะอยู่ในระดับที่สามารถขับรถได้อย่างปลอดภัย การคืนความคมชัดของการมองเห็นในช่วงแรกนี้อาจจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์จึงจะมอง เห็นได้ในระดับปกติ

การดูแลรักษาดวงตาให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดนั้น ในความเป็นจริงแล้วดวงตาของคนเราไม่ต้องการการดูแลรักษาเป็นพิเศษแต่จะอยู่ ในลักษณะการเฝ้าระวังมากกว่า เช่น มีการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุก1-2 ปี เพื่อตรวจหาโรคตาบางอย่างที่มีความอันตราย แต่หากมีอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เช่น โรคต้อหินบางประเภท ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โรคจะได้ไม่ลุกลามมากขึ้น. ทีมวาไรตี้

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/201739/นวัตกรรม+‘รีเล็กซ์’+ผ่าตัดแบบแผลเล็กเทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติ

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ธ.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 17/12/2556 เวลา 04:55:03 ดูภาพสไลด์โชว์ นวักรรม ‘รีเล็กซ์’ ผ่าตัดแบบแผลเล็ก เทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อเกิดความผิดปกติจากการมองเห็นของดวงตา หลาย ๆ คนคงไม่สามารถประกอบภารกิจ หรือดำเนินชีวิตประจำวันต่าง ๆ ไปได้อย่างราบรื่น การได้เห็นโลกกว้างก็ดูจะหม่นหมองลง แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ดวงตากลับมาเห็นชัดขึ้นได้ด้วย การผ่าตัดแบบแผลเล็ก! นวักรรม ‘รีเล็กซ์’ ผ่าตัดแบบแผลเล็ก เทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกตินพ.เอกเทศ ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาภาวะสายตาผิดปกติ ระดับนานาชาติ (TRSC Inter-national LASIK Center) ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสายตาผิดปกติว่า เป็นภาวะที่ดวงตามีกำลังการรวมแสงไม่พอดีกับขนาดของลูกตา ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด ได้แก่ ภาวะสายตา สั้น ยาว เอียง ซึ่งสายตายาวสามารถแบ่งเป็นสายตายาวแต่กำเนิด และสายตายาวตามอายุ โดยภาวะสายตาที่มีปัญหามากที่สุดในวัยรุ่น และวัยกลางคน คือ สายตาสั้น เนื่องจากมองไกลไม่ชัดด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้แว่นสายตา หรือคอนแทคท์เลนส์ ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะได้มองเห็นในระยะไกล เช่น ขับรถ เล่นกีฬา การเกิดภาวะสายตาผิดปกติ โดยเฉพาะสายตาสั้น พบว่า มีปัจจัยการเกิดจากพันธุกรรมสูงมากที่สุด นอกจากนั้นบางส่วนเกิดจากสิ่งแวด ล้อม และพฤติกรรม สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคท์เลนส์ได้ การผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยได้ ซึ่งในประเทศไทยมีการรักษาสายตาด้วยวิธี พีอาร์เค (Photorefractive keratectomy: PRK) และ เลสิค (Laser In-situ Keratomileusis: LASIK) มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี นวักรรม ‘รีเล็กซ์’ ผ่าตัดแบบแผลเล็ก เทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติแต่ในปัจจุบันมีการนำเทคโน โลยีการรักษาด้วย รีเล็กซ์ (Refractive Lenticule Extraction : ReLEx) เข้ามาใช้ในการรักษาสายตาผิดปกติ ซึ่งสามารถใช้รักษาสายตาสั้นได้ตั้งแต่ 100 ถึงประมาณ 1,300 โดยมีสายตาเอียงร่วมด้วยไม่เกิน 500 โดยการรักษาแบบรีเล็กซ์นี้เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ใช้หลักการเดียวกับ เลสิค และ พีอาร์เค ที่มีในอดีต โดยเป็นการเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาให้มีกำลังการรวมแสงพอดีสำหรับการมอง เห็นด้วยตาเปล่า การปรับกระจกตาจะทำได้โดยนำเนื้อกระจกตาออกบางส่วนเพื่อปรับความโค้งของผิว หน้ากระจกตา “การผ่าตัดแบบในอดีตแม้จะใช้หลักการเดียวกันแต่จะเกิดแผลใหญ่ที่ผิวของกระจกตา เช่น กรณีรักษาด้วยวิธีพีอาร์เค โดยจะมีแผลถลอกขนาดใหญ่ส่งผลทำให้ไม่สบายตาเป็นอย่างมากหลังการผ่าตัดและ ต้องใช้เวลาพักฟื้นยาวนานกว่าจะใช้งานด้านการมองเห็นได้ตามปกติ หรือมิฉะนั้นจะต้องแยกชั้นกระจกตาเป็นแผ่นขึ้นมาเสียก่อน ส่วนในกรณีของการรักษาแบบเลสิคไม่ว่าจะเป็นแบบดั้งเดิมที่มีการใช้ใบมีดแยก ชั้นกระจกตา หรือ Femto LASIK โดยใช้ Femto second Laser ในการแยกชั้นกระจกตาก็เช่นกัน” สำหรับการผ่าตัดแบบรีเล็กซ์ กระจกตาจะไม่ถูกแยกเปิดเป็นแผ่น โดยจะใช้เครื่องเลเซอร์ในการแยกชั้นกระจกตา ที่ไม่ทำอันตรายใด ๆ ต่อผิวตา การแยกชั้นนี้จะทำให้เกิดชิ้นกระจกตาอยู่ภายในเนื้อกระจกตาเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า Lenticule ซึ่งเป็นชิ้นกระจกตาส่วนเกินซึ่งจะถูกนำออกจากตัวกระจกตาโดยแพทย์ที่ทำ การผ่าตัดผ่านแผลขนาดความยาว 2-5 มิลลิเมตร เท่านั้น “คนไข้จะมีขนาดแผลที่เล็กมาก โดยการรักษาจะรบกวนกระจกตาน้อยกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น ๆ ส่งผลให้มีผลข้างเคียงเกิดน้อยลง เช่น การเกิดภาวะตาแห้งหลังผ่าตัด นอกจากนั้น พบว่า การมองเห็นในที่มีแสงน้อยผู้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีรีเล็กซ์มักจะมีคุณภาพ การมองเห็นโดยเฉลี่ยดีกว่าการผ่าตัดวิธีอื่น ๆ แต่ผู้ที่มีความหนาของกระจกตาน้อยมาก ๆ และผู้ที่มีโรคตารุนแรง เช่น ต้อหิน ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้” ด้านการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา นพ.เอกเทศ กล่าวว่า ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องมาตรวจและรับข้อมูล ข้อดี ข้อจำกัด รวมถึงความเสี่ยง โอกาสการเกิดปัญหาต่างๆทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งมีการตรวจสายตาและสุขภาพตาอย่างละเอียดโดยแพทย์ที่จะทำการผ่าตัด เพื่อให้แน่ใจว่า ดวงตามีความแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถเข้ารับการผ่าตัดด้วยระดับความปลอดภัยสูงตามมาตรฐาน และไม่มีลักษณะข้อห้ามในการผ่าตัด “ในการผ่าตัดจริงนั้นการรักษาแบบรีเล็กซ์จะเป็นการผ่าตัดระดับย่อย จึงทำให้การผ่าตัดใช้เพียงหยอดยาชา โดยผู้เข้ารับการรักษาจะไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด และสามารถรักษาดวงตาได้พร้อมกันทั้ง 2 ข้างในคราวเดียว โดยจะใช้เวลาทั้ง 2 ข้างประมาณ 15 นาที สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพดวงตาหลังผ่าตัดเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะครอบฝาครอบตาไว้เพื่อป้องกันการขยี้ตาและป้องกันการติดเชื้อ หลังการผ่าตัด รวมทั้งผู้เข้ารับการรักษาสามารถกลับบ้านได้แต่ต้องกลับมาตรวจดวงตาในวัน รุ่งขึ้น การดูแลหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ จะต้องมีการหยอดยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบ โดยคนไข้จะต้องพยายามไม่ให้น้ำเข้าตา 3 วัน และที่สำคัญต้องหยอดน้ำตาเทียมเป็นประจำในช่วงสัปดาห์แรกหลังการรักษา” ภายหลังการรักษาคนไข้สามารถ มองเห็นได้ทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัด แต่การมองเห็นจะยังไม่คมชัด อาจมองเห็นเหมือนมีหมอกบาง ๆ แต่ในวันรุ่งขึ้นการมองเห็นมักจะอยู่ในระดับที่สามารถขับรถได้อย่างปลอดภัย การคืนความคมชัดของการมองเห็นในช่วงแรกนี้อาจจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์จึงจะมอง เห็นได้ในระดับปกติ การดูแลรักษาดวงตาให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดนั้น ในความเป็นจริงแล้วดวงตาของคนเราไม่ต้องการการดูแลรักษาเป็นพิเศษแต่จะอยู่ ในลักษณะการเฝ้าระวังมากกว่า เช่น มีการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุก1-2 ปี เพื่อตรวจหาโรคตาบางอย่างที่มีความอันตราย แต่หากมีอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เช่น โรคต้อหินบางประเภท ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โรคจะได้ไม่ลุกลามมากขึ้น. ทีมวาไรตี้ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/201739/นวัตกรรม+‘รีเล็กซ์’+ผ่าตัดแบบแผลเล็กเทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติ เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ธ.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...