ลูกจ้างผับประสาทหูเสื่อม งานวิจัยจี้สถานบันเทิงคุมระดับเสียง

แสดงความคิดเห็น

บรรยากาศภายในผับ น.ส.จารุชา กะภูทิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ร.พ. สุรินทร์ กล่าวถึงการวิจัยเชิงสำรวจโดยคณะวิจัย ถึงสถานการณ์การสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังของพนักงานในสถานบันเทิงประเภท ดิสโก้เธคว่า ปัจจุบันกฎหมายกำหนดมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม เรื่องเสียง กำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานไม่เกินวันละ ๗ ชั่วโมง อยู่ในสถานที่ที่มีความดังเสียงติดต่อกันไม่เกินเก้าสิบเดซิเบล (เอ) โดยเสียงที่ดังเกินกำหนดถือว่ามีผลต่อการเกิดโรคประสาทหูเสื่อม หรือหูหนวก ซึ่งเมื่อเกิดความสูญเสียแบบถาวรจะไม่สามารถรักษาได้ โดยการป้องกันสามารถทำได้โดยไม่อยู่ในสถานที่ที่เสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน

น.ส.จารุชากล่าวต่อว่า ผลการสำรวจโดยการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ของพนักงานในสถานบันเทิงประเภทดิสโก้เธคในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ๓ แห่ง ในพนักงาน ๑๐๖ คน ช่วงเดือนก.ย.-ต.ค.๒๕๕๔ พบว่า พนักงานกลุ่มนี้จะต้องสัมผัสเสียงดังติดต่อกันประมาณ ๖-๗ ชั่วโมง โดยร้อยละ ๙๔.๓ ไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง เนื่องจากต้องรับออร์เดอร์จากลูกค้าตลอดเวลา สำหรับผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน พบว่า พนักงานสูญเสียการได้ยินหูข้างใดข้างหนึ่ง ร้อยละ ๑๕.๐๙ อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังร้อยละ ๗๙.๒๕ และสถานบันเทิงทั้ง๓แห่งที่ตรวจมีระดับความดังเสียงตั้งแต่๙๑-๑๐๐เดซิเบล(เอ)

"การทำงานในสภาพที่มีเสียงดังตลอดเวลานั้นจำเป็นต้องสับเปลี่ยนหน้าที่ ให้พนักงานไม่ได้รับเสียงติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งเชื่อว่าสถานบันเทิงส่วนใหญ่เกือบทั่วประเทศยังมีพนักงานที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะสูญเสียการได้ยินถาวร ดังนั้น จำเป็นต้องควบคุมระดับเสียงให้ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ และให้พนักงานใส่อุปกรณ์ป้องกัน หรือให้หมุนเวียนหน้าที่ไม่ให้สัมผัสกับเสียงดังติดต่อกัน ก็จะช่วยป้องกันภาวะโรคประสาทหูเสื่อมได้" น.ส.จารุชากล่าว

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๗ ก.ย.๕๕
วันที่โพสต์: 3/10/2555 เวลา 14:06:38 ดูภาพสไลด์โชว์ ลูกจ้างผับประสาทหูเสื่อม งานวิจัยจี้สถานบันเทิงคุมระดับเสียง

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บรรยากาศภายในผับน.ส.จารุชา กะภูทิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ร.พ. สุรินทร์ กล่าวถึงการวิจัยเชิงสำรวจโดยคณะวิจัย ถึงสถานการณ์การสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังของพนักงานในสถานบันเทิงประเภท ดิสโก้เธคว่า ปัจจุบันกฎหมายกำหนดมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม เรื่องเสียง กำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานไม่เกินวันละ ๗ ชั่วโมง อยู่ในสถานที่ที่มีความดังเสียงติดต่อกันไม่เกินเก้าสิบเดซิเบล (เอ) โดยเสียงที่ดังเกินกำหนดถือว่ามีผลต่อการเกิดโรคประสาทหูเสื่อม หรือหูหนวก ซึ่งเมื่อเกิดความสูญเสียแบบถาวรจะไม่สามารถรักษาได้ โดยการป้องกันสามารถทำได้โดยไม่อยู่ในสถานที่ที่เสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน น.ส.จารุชากล่าวต่อว่า ผลการสำรวจโดยการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ของพนักงานในสถานบันเทิงประเภทดิสโก้เธคในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ๓ แห่ง ในพนักงาน ๑๐๖ คน ช่วงเดือนก.ย.-ต.ค.๒๕๕๔ พบว่า พนักงานกลุ่มนี้จะต้องสัมผัสเสียงดังติดต่อกันประมาณ ๖-๗ ชั่วโมง โดยร้อยละ ๙๔.๓ ไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง เนื่องจากต้องรับออร์เดอร์จากลูกค้าตลอดเวลา สำหรับผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน พบว่า พนักงานสูญเสียการได้ยินหูข้างใดข้างหนึ่ง ร้อยละ ๑๕.๐๙ อยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังร้อยละ ๗๙.๒๕ และสถานบันเทิงทั้ง๓แห่งที่ตรวจมีระดับความดังเสียงตั้งแต่๙๑-๑๐๐เดซิเบล(เอ) "การทำงานในสภาพที่มีเสียงดังตลอดเวลานั้นจำเป็นต้องสับเปลี่ยนหน้าที่ ให้พนักงานไม่ได้รับเสียงติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งเชื่อว่าสถานบันเทิงส่วนใหญ่เกือบทั่วประเทศยังมีพนักงานที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะสูญเสียการได้ยินถาวร ดังนั้น จำเป็นต้องควบคุมระดับเสียงให้ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ และให้พนักงานใส่อุปกรณ์ป้องกัน หรือให้หมุนเวียนหน้าที่ไม่ให้สัมผัสกับเสียงดังติดต่อกัน ก็จะช่วยป้องกันภาวะโรคประสาทหูเสื่อมได้"

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...