คัดกรอง “เด็กหูหนวกแต่กำเนิด” ยาก ค่าผ่าตัดแพงกว่า 7 แสนบาท ทำรักษาช้า เด็กเป็นใบ้

แสดงความคิดเห็น

ตรวจคัดกรองเด็กหูหนวกแต่กำเนิดยาก

กรมการแพทย์เผยคัดกรองเด็กหูหนวกแต่กำเนิดยาก พ่วงค่าผ่าตัดฝังแก้วหูเทียมแพงกว่า 7 แสนบาท ซ้ำไม่อยู่ในสิทธิบัตรทอง ทำเด็กรับการรักษาน้อย เพิ่มการเป็นใบ้ อ้อนของบดูแลคนพิการจาก พม. เพิ่มในการรักษา ด้าน “บิ๊กอู๋” เผย เตรียมจัดคอนเสิร์ตคนพิการครั้งใหญ่ระดมทุนช่วยผ่าตัดหูคนพิการ

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เดินทางมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อร่วมบรรยายพิเศษ “การบูรณาการแผนและการดำเนินงานการพัฒนาวัยเด็กและผู้สูงอายุ”

วันที่ (5 ม.ค.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เดินทางมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อร่วมบรรยายพิเศษ “การบูรณาการแผนและการดำเนินงานการพัฒนาวัยเด็กและผู้สูงอายุ” ในการประชุมผู้บริหารระดับสูง สธ. ซึ่งมี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการ สธ. เป็นประธาน โดย พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนตามกลุ่มวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่ง พม. ก็มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานทั้ง 2 กลุ่มวัย อย่างกลุ่มวัยเด็กต้องมีการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการ ซึ่งการลงทุนกับเด็กนั้นจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมามากถึง 7 เท่า อย่างไรก็ตาม พม. คงไม่สามารถทำงานเพียงฝ่ายเดียวได้ ต้องมีการบูรณาการร่วมกันหลายกระทรวง อย่าง สธ. ก็มีการทำงานร่วมกันมาตลอด ในเรื่องการดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก เป็นต้น

ทั้งนี้ ในการประชุม นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ สธ. ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเด็กพิการทางหู ว่า ประเทศไทยมีเด็กแรกเกิดปีละประมาณ 700,000 คน โดยประมาณการว่ามีเด็กพิการหูหนวกชนิดที่สามารถรักษาได้อยู่ประมาณ 1,000 กว่าราย จากการอิงข้อมูลสถิติของทั่วโลก โดยเด็กที่มีปัญหาพิการหูหนวกตั้งแต่กำเนิด หากไม่ได้รับการรักษาจะกระทบกับพัฒนาการด้านการพูด ทำให้เป็นใบ้ด้วย จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฝังแก้วหูเทียม ซึ่งยิ่งได้รับการผ่าตัดเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี โดยเฉพาะภายใน 1 ปีแรก จะช่วยให้เด็กสามารถพูดได้เหมือนเด็กปกติ แต่ปัญหาคือเรื่องของการคัดกรองในเด็กเล็กทำได้ยาก อีกทั้งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เฉพาะแก้วหูเทียมอย่างเดียวราคาถึง 700,000 บาท และยังไม่ได้บรรจุในชุดสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) โดยในปี 2559 มีเด็กพิการหูหนวกแต่กำเนิดที่ได้รับการรักษาโดยการฝังแก้วหูเทียมด้วยเงินกองทุนสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพผู้พิการของพม.เพียง5รายเท่านั้น

นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ สธ.

“นอกจากปัญหาเรื่องค่ารักษาที่สูงมากแล้ว การจะฟื้นฟูให้เด็กสามารถพูดได้ต้องมีการฝึกสอน ฝึกพูดอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของพ่อแม่ด้วย เพราะเท่าที่ผ่านมาเด็กบางคนที่ได้รับการผ่าตัดแล้วก็สามารถพูดจาได้คล่องแคล่วเลย แต่บางคนพูดได้ แต่อาจจะไม่เต็มร้อย ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับกระบวนการดูแลหลังการผ่าตัด” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวและว่า สำหรับการค้นหาเด็กหูหนวกแต่กำเนิดให้เจอ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติกำลังดำเนินการอยู่ ส่วนโรงพยาบาลที่สามารถทำการผ่าตัดได้มีที่โรงพยาบาลราชวิถี โรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลศูนย์บางแห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการอบรมเพิ่มศักยภาพแพทย์ด้านโสต ศอ นาสิก ในโรงพยาบาลสังกัด สธ. ให้สามารถทำการผ่าตัดฝังแก้วหูเทียมได้ ทั้งนี้ ในอนาคตหากสามารถค้นหาเด็กพิการหูหนวกเพิ่มขึ้นก็อยากจะของบประมาณจากกองทุนสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพผู้พิการของพม.ในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นเช่นกัน

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่คงต้องมีการพิจารณากันอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม พม.มีการเตรียมการจัดคอนเสิร์ตของผู้พิการขนาดใหญ่ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อนำเงินรายได้มาสนับสนุนการผ่าตัดหูคนพิการด้วย

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9600000001274 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ม.ค.60
วันที่โพสต์: 6/01/2560 เวลา 10:40:58 ดูภาพสไลด์โชว์ คัดกรอง “เด็กหูหนวกแต่กำเนิด” ยาก ค่าผ่าตัดแพงกว่า 7 แสนบาท ทำรักษาช้า เด็กเป็นใบ้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ตรวจคัดกรองเด็กหูหนวกแต่กำเนิดยาก กรมการแพทย์เผยคัดกรองเด็กหูหนวกแต่กำเนิดยาก พ่วงค่าผ่าตัดฝังแก้วหูเทียมแพงกว่า 7 แสนบาท ซ้ำไม่อยู่ในสิทธิบัตรทอง ทำเด็กรับการรักษาน้อย เพิ่มการเป็นใบ้ อ้อนของบดูแลคนพิการจาก พม. เพิ่มในการรักษา ด้าน “บิ๊กอู๋” เผย เตรียมจัดคอนเสิร์ตคนพิการครั้งใหญ่ระดมทุนช่วยผ่าตัดหูคนพิการ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เดินทางมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อร่วมบรรยายพิเศษ “การบูรณาการแผนและการดำเนินงานการพัฒนาวัยเด็กและผู้สูงอายุ” วันที่ (5 ม.ค.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เดินทางมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อร่วมบรรยายพิเศษ “การบูรณาการแผนและการดำเนินงานการพัฒนาวัยเด็กและผู้สูงอายุ” ในการประชุมผู้บริหารระดับสูง สธ. ซึ่งมี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการ สธ. เป็นประธาน โดย พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนตามกลุ่มวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่ง พม. ก็มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานทั้ง 2 กลุ่มวัย อย่างกลุ่มวัยเด็กต้องมีการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการ ซึ่งการลงทุนกับเด็กนั้นจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมามากถึง 7 เท่า อย่างไรก็ตาม พม. คงไม่สามารถทำงานเพียงฝ่ายเดียวได้ ต้องมีการบูรณาการร่วมกันหลายกระทรวง อย่าง สธ. ก็มีการทำงานร่วมกันมาตลอด ในเรื่องการดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก เป็นต้น ทั้งนี้ ในการประชุม นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ สธ. ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเด็กพิการทางหู ว่า ประเทศไทยมีเด็กแรกเกิดปีละประมาณ 700,000 คน โดยประมาณการว่ามีเด็กพิการหูหนวกชนิดที่สามารถรักษาได้อยู่ประมาณ 1,000 กว่าราย จากการอิงข้อมูลสถิติของทั่วโลก โดยเด็กที่มีปัญหาพิการหูหนวกตั้งแต่กำเนิด หากไม่ได้รับการรักษาจะกระทบกับพัฒนาการด้านการพูด ทำให้เป็นใบ้ด้วย จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฝังแก้วหูเทียม ซึ่งยิ่งได้รับการผ่าตัดเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี โดยเฉพาะภายใน 1 ปีแรก จะช่วยให้เด็กสามารถพูดได้เหมือนเด็กปกติ แต่ปัญหาคือเรื่องของการคัดกรองในเด็กเล็กทำได้ยาก อีกทั้งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เฉพาะแก้วหูเทียมอย่างเดียวราคาถึง 700,000 บาท และยังไม่ได้บรรจุในชุดสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) โดยในปี 2559 มีเด็กพิการหูหนวกแต่กำเนิดที่ได้รับการรักษาโดยการฝังแก้วหูเทียมด้วยเงินกองทุนสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพผู้พิการของพม.เพียง5รายเท่านั้น นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ สธ. “นอกจากปัญหาเรื่องค่ารักษาที่สูงมากแล้ว การจะฟื้นฟูให้เด็กสามารถพูดได้ต้องมีการฝึกสอน ฝึกพูดอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของพ่อแม่ด้วย เพราะเท่าที่ผ่านมาเด็กบางคนที่ได้รับการผ่าตัดแล้วก็สามารถพูดจาได้คล่องแคล่วเลย แต่บางคนพูดได้ แต่อาจจะไม่เต็มร้อย ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับกระบวนการดูแลหลังการผ่าตัด” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวและว่า สำหรับการค้นหาเด็กหูหนวกแต่กำเนิดให้เจอ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติกำลังดำเนินการอยู่ ส่วนโรงพยาบาลที่สามารถทำการผ่าตัดได้มีที่โรงพยาบาลราชวิถี โรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลศูนย์บางแห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการอบรมเพิ่มศักยภาพแพทย์ด้านโสต ศอ นาสิก ในโรงพยาบาลสังกัด สธ. ให้สามารถทำการผ่าตัดฝังแก้วหูเทียมได้ ทั้งนี้ ในอนาคตหากสามารถค้นหาเด็กพิการหูหนวกเพิ่มขึ้นก็อยากจะของบประมาณจากกองทุนสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพผู้พิการของพม.ในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นเช่นกัน พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่คงต้องมีการพิจารณากันอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม พม.มีการเตรียมการจัดคอนเสิร์ตของผู้พิการขนาดใหญ่ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อนำเงินรายได้มาสนับสนุนการผ่าตัดหูคนพิการด้วย ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9600000001274

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...