กระตุ้นพ่อแม่พาลูกตรวจหู ลดเสี่ยงพิการ
ภายหลัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ หรือ รพ.เด็ก ดำเนินโครงการ “ลดคิวตรวจหู...ให้รู้ว่าหนูได้ยินไหม” ให้บริการตรวจวินิจฉัยภาวการณ์สูญเสียการได้ยินในเด็กเล็กโดยเครื่องมือตรวจ วัดการได้ยินระดับก้านสมองในวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างวันที่ 17 ก.พ.-30 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการสนับสนุนมอบเครื่องมือการตรวจวัดจากสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 ทำให้สามารถเพิ่มการตรวจรักษา ลดคิวรอตรวจได้ 300 คน และเมื่อเร็ว ๆ นี้ พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผยถึงความสำเร็จของโครงการและรับมอบเครื่องมือตรวจวัดการได้ยินระดับก้าน สมอง จาก พูลศรี จงแสงทอง ประธานสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 อย่างเป็นทางการ ที่ชั้น 13 อาคารสถาบันสุขภาพเด็กฯ
ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ กล่าวว่า จากสถิติในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าทารกแรกเกิด 1,000 คน มีทารกที่การได้ยินบกพร่อง 1-2 คน และมีอัตราเพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่า ส่วนในประเทศไทยทารกแรกเกิดมีอัตราเสี่ยงถึง 1.7 เท่าต่อเด็ก 1,000 คน ซึ่งการได้ยินนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพูดและพัฒนาการทางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ขวบแรก และหากการได้ยินบกพร่องก็จะส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร ความจำ พฤติกรรม การพัฒนาทางอารมณ์และสังคม ความสามารถในการเรียนรู้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ส่งต่อมารับการตรวจด้านโสต ศอ นาสิก ปีละ 16,000 คน และมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี
“กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กฯ ได้มีการให้บริการตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องมือตรวจวัดการได้ยินระดับก้านสมอง ในวันธรรมดาด้วยเครื่องมือเพียง 2 เครื่อง หนึ่งในนั้นมีอายุการใช้งานมานาน ทำให้ไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็กที่รอคิวตรวจจำนวนมาก บางรายต้องรอคิวตรวจการได้ยินนานถึง 6-7 เดือน อาจไม่ทันการในการรักษา เพราะเด็กที่ได้รับการรักษาช้าเกินกว่าอายุ 6 ขวบ จะทำให้พิการทางการได้ยินไปตลอด และด้วยความตั้งใจของสถาบันฯ ที่ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา จึงมีผู้ใหญ่ใจดีเล็งเห็นถึงปัญหาได้ให้การสนับสนุนมอบเครื่องมือการตรวจวัด การได้ยินระดับก้านสมองจำนวน 3 เครื่อง ทำให้สามารถร่นระยะเวลาคิวการตรวจผู้ป่วยได้ร่วม 300 คน หรือการลดคิวตรวจกว่า 1 เดือน และคาดว่า ในอนาคตอาจมีโครงการดี ๆ แบบนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง” พญ.ศิราภรณ์ กล่าว
ด้านคำแนะนำแก่ผู้ปกครอง พญ.ภาวินี อินทกรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผยว่า เนื่องจากเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิดไม่สามารถบอกได้ว่าเขาได้ยินหรือไม่ เพื่อให้การพบข้อบกพร่องของเด็กตั้งแต่มีอายุน้อยและฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะ สม ผู้ปกครองควรพาเด็กมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก ทันทีหากสงสัยว่ามีอาการผิดปกติทางการได้ยินหรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า กว่าเด็กวัยเดียวกัน อาทิ เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่สะดุ้งตกใจเวลามีเสียงดัง ไม่หันหาเสียง เด็กอายุระหว่าง 6 เดือน-1 ขวบ ไม่ตอบสนองต่อเสียง เรียกชื่อไม่หัน ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ และเด็กอายุ 1 ขวบ 8 เดือน-2 ขวบ ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/society/200993 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพหมู่คณะผู้บริหารจากสโมสรซอนต้ากรุงเทพ3 ภายหลัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ หรือ รพ.เด็ก ดำเนินโครงการ “ลดคิวตรวจหู...ให้รู้ว่าหนูได้ยินไหม” ให้บริการตรวจวินิจฉัยภาวการณ์สูญเสียการได้ยินในเด็กเล็กโดยเครื่องมือตรวจ วัดการได้ยินระดับก้านสมองในวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างวันที่ 17 ก.พ.-30 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการสนับสนุนมอบเครื่องมือการตรวจวัดจากสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 ทำให้สามารถเพิ่มการตรวจรักษา ลดคิวรอตรวจได้ 300 คน และเมื่อเร็ว ๆ นี้ พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผยถึงความสำเร็จของโครงการและรับมอบเครื่องมือตรวจวัดการได้ยินระดับก้าน สมอง จาก พูลศรี จงแสงทอง ประธานสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 อย่างเป็นทางการ ที่ชั้น 13 อาคารสถาบันสุขภาพเด็กฯ แพทย์กำลังตรวจการได้ยินของเด็กน้อย ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ กล่าวว่า จากสถิติในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าทารกแรกเกิด 1,000 คน มีทารกที่การได้ยินบกพร่อง 1-2 คน และมีอัตราเพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่า ส่วนในประเทศไทยทารกแรกเกิดมีอัตราเสี่ยงถึง 1.7 เท่าต่อเด็ก 1,000 คน ซึ่งการได้ยินนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพูดและพัฒนาการทางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ขวบแรก และหากการได้ยินบกพร่องก็จะส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร ความจำ พฤติกรรม การพัฒนาทางอารมณ์และสังคม ความสามารถในการเรียนรู้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ส่งต่อมารับการตรวจด้านโสต ศอ นาสิก ปีละ 16,000 คน และมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี “กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กฯ ได้มีการให้บริการตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องมือตรวจวัดการได้ยินระดับก้านสมอง ในวันธรรมดาด้วยเครื่องมือเพียง 2 เครื่อง หนึ่งในนั้นมีอายุการใช้งานมานาน ทำให้ไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็กที่รอคิวตรวจจำนวนมาก บางรายต้องรอคิวตรวจการได้ยินนานถึง 6-7 เดือน อาจไม่ทันการในการรักษา เพราะเด็กที่ได้รับการรักษาช้าเกินกว่าอายุ 6 ขวบ จะทำให้พิการทางการได้ยินไปตลอด และด้วยความตั้งใจของสถาบันฯ ที่ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา จึงมีผู้ใหญ่ใจดีเล็งเห็นถึงปัญหาได้ให้การสนับสนุนมอบเครื่องมือการตรวจวัด การได้ยินระดับก้านสมองจำนวน 3 เครื่อง ทำให้สามารถร่นระยะเวลาคิวการตรวจผู้ป่วยได้ร่วม 300 คน หรือการลดคิวตรวจกว่า 1 เดือน และคาดว่า ในอนาคตอาจมีโครงการดี ๆ แบบนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง” พญ.ศิราภรณ์ กล่าว ผู้ปกครองกำลังดูแลลูกน้อยที่นอรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ด้านคำแนะนำแก่ผู้ปกครอง พญ.ภาวินี อินทกรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มโสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผยว่า เนื่องจากเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิดไม่สามารถบอกได้ว่าเขาได้ยินหรือไม่ เพื่อให้การพบข้อบกพร่องของเด็กตั้งแต่มีอายุน้อยและฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะ สม ผู้ปกครองควรพาเด็กมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก ทันทีหากสงสัยว่ามีอาการผิดปกติทางการได้ยินหรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า กว่าเด็กวัยเดียวกัน อาทิ เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่สะดุ้งตกใจเวลามีเสียงดัง ไม่หันหาเสียง เด็กอายุระหว่าง 6 เดือน-1 ขวบ ไม่ตอบสนองต่อเสียง เรียกชื่อไม่หัน ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ และเด็กอายุ 1 ขวบ 8 เดือน-2 ขวบ ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/society/200993
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)