แบคทีเรียเข้าสมอง

แสดงความคิดเห็น

คอลัมน์ : พบแพทย์จุฬา - เชื้อแบคทีเรียสามารถก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เส้นเลือดในสมองอักเสบอุดตัน ก่อให้เกิดอัมพาต อัมพฤกษ์ หรือเกิดฝีในสมอง โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ จำต้องมีสภาวะเกื้อหนุน ได้แก่ ตัวเชื้อซึ่งมีคุณสมบัติทะลุทะลวงเข้าในเยื่อหุ้มสมอง และขึ้นกับผู้ป่วยว่ามีระบบป้องกันเชื้อโรคดีหรือไม่

โดยปกติโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดได้ทุกอายุ โดยที่ชนิดของเชื้อในต่างกลุ่มอายุจะต่างกันออกไปบ้าง ตั้งแต่ในช่วงทารกจนถึง 1-3 เดือน ในเด็กโต ผู้ใหญ่ และคนแก่อายุมากกว่า 50-60 ปี เชื้อที่พบบ่อย คือ Streptococcus pneumonia, Hemophilus influenza, Neisseria meningitdis ทั้งนี้ จะมี “กลุ่มพิเศษ” คือ ทารก คนแก่ และมารดาที่คลอดบุตรใหม่ๆ รวมทั้งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อเอชไอวี มีตับแข็ง ติดสุราเรื้อรัง จากที่เป็นมะเร็งหรือได้รับสารกดภูมิคุ้มกัน หรือมีโรคแพ้ภูมิตนเอง ปัจจัยเอื้อให้เชื้อรุกล้ำเข้าในสมองได้ง่ายขึ้น เช่น กะโหลกศีรษะแตกร้าวทำให้เยื่อหุ้มสมองฉีกขาด และมีช่องทางติดต่อระหว่างโครงสร้างภายนอกสมอง เช่น โพรงจมูก รูหู กับเยื่อหุ้มสมอง คนที่มีหูน้ำหนวก มีโพรงไซนัสอักเสบเป็นหนอง รากฟันติดเชื้อ

การติดเชื้อที่เกิดทั่วไป มักจะเกิดจากการที่มีเชื้อกองกระจุกอยู่ในโพรงจมูกส่วนหลัง โดยได้เชื้อมาจากการถูกไอ จามรดโดยที่ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไข้ ปวดเมื่อย และเมื่อรุกล้ำเข้าหลอดเลือดในสองได้ ก็จะเข้าไปในน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีจะเสียชีวิต หรือถ้ารักษาช้าไป แม้ไม่ตายก็จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้พิการตลอดชีวิต

เชื้อบางชนิดอาจเข้าร่างกายจากการกิน เช่น เชื้อ Listeria monocytogenes อีกตัว คือ Streptococcus agalactiae(Streptococcus group B) เชื้อแบคทีเรียอีกชนิดที่อาจเข้าร่างกายทางการกินอาหารที่ไม่สุก หรือสัมผัสกับเนื้อหมูที่มีเชื้อขณะชำแหละได้แก่ Streptococcus suis เชื้อบางชนิดยังอาศัยตัวกลางก่อนเข้าสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง เช่น เกิดการติดเชื้อในลิ้นหัวใจ และเกิดก้อนอักเสบที่มีเชื้อภายในหลุดลอยไปยังเส้นเลือดในสมองเกิดเส้นเลือดอักเสบ ฝีสมอง เส้นเลือดตัน หรือ พองจนแตก เกิดอัมพาต

ดังนั้นควรรักษาสุขอนามัย ออกกำลังสม่ำเสมอ กินอาหาร สะอาด ปรุงสุก ผักผลไม้สดต้องล้างสะอาด ถ้ามีไอ จาม ต้องหลักเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อจากตัวเองสู่คนอื่นโดยการปิดปาก ปิดจมูก หลีกเลี่ยงที่แออัด และกินอาหารควรมีช้อนกลาง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมาะจุฑา ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ที่มา: มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 21/06/2556 เวลา 02:45:33

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คอลัมน์ : พบแพทย์จุฬา - เชื้อแบคทีเรียสามารถก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เส้นเลือดในสมองอักเสบอุดตัน ก่อให้เกิดอัมพาต อัมพฤกษ์ หรือเกิดฝีในสมอง โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ จำต้องมีสภาวะเกื้อหนุน ได้แก่ ตัวเชื้อซึ่งมีคุณสมบัติทะลุทะลวงเข้าในเยื่อหุ้มสมอง และขึ้นกับผู้ป่วยว่ามีระบบป้องกันเชื้อโรคดีหรือไม่ โดยปกติโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดได้ทุกอายุ โดยที่ชนิดของเชื้อในต่างกลุ่มอายุจะต่างกันออกไปบ้าง ตั้งแต่ในช่วงทารกจนถึง 1-3 เดือน ในเด็กโต ผู้ใหญ่ และคนแก่อายุมากกว่า 50-60 ปี เชื้อที่พบบ่อย คือ Streptococcus pneumonia, Hemophilus influenza, Neisseria meningitdis ทั้งนี้ จะมี “กลุ่มพิเศษ” คือ ทารก คนแก่ และมารดาที่คลอดบุตรใหม่ๆ รวมทั้งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อเอชไอวี มีตับแข็ง ติดสุราเรื้อรัง จากที่เป็นมะเร็งหรือได้รับสารกดภูมิคุ้มกัน หรือมีโรคแพ้ภูมิตนเอง ปัจจัยเอื้อให้เชื้อรุกล้ำเข้าในสมองได้ง่ายขึ้น เช่น กะโหลกศีรษะแตกร้าวทำให้เยื่อหุ้มสมองฉีกขาด และมีช่องทางติดต่อระหว่างโครงสร้างภายนอกสมอง เช่น โพรงจมูก รูหู กับเยื่อหุ้มสมอง คนที่มีหูน้ำหนวก มีโพรงไซนัสอักเสบเป็นหนอง รากฟันติดเชื้อ การติดเชื้อที่เกิดทั่วไป มักจะเกิดจากการที่มีเชื้อกองกระจุกอยู่ในโพรงจมูกส่วนหลัง โดยได้เชื้อมาจากการถูกไอ จามรดโดยที่ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไข้ ปวดเมื่อย และเมื่อรุกล้ำเข้าหลอดเลือดในสองได้ ก็จะเข้าไปในน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีจะเสียชีวิต หรือถ้ารักษาช้าไป แม้ไม่ตายก็จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้พิการตลอดชีวิต เชื้อบางชนิดอาจเข้าร่างกายจากการกิน เช่น เชื้อ Listeria monocytogenes อีกตัว คือ Streptococcus agalactiae(Streptococcus group B) เชื้อแบคทีเรียอีกชนิดที่อาจเข้าร่างกายทางการกินอาหารที่ไม่สุก หรือสัมผัสกับเนื้อหมูที่มีเชื้อขณะชำแหละได้แก่ Streptococcus suis เชื้อบางชนิดยังอาศัยตัวกลางก่อนเข้าสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง เช่น เกิดการติดเชื้อในลิ้นหัวใจ และเกิดก้อนอักเสบที่มีเชื้อภายในหลุดลอยไปยังเส้นเลือดในสมองเกิดเส้นเลือดอักเสบ ฝีสมอง เส้นเลือดตัน หรือ พองจนแตก เกิดอัมพาต ดังนั้นควรรักษาสุขอนามัย ออกกำลังสม่ำเสมอ กินอาหาร สะอาด ปรุงสุก ผักผลไม้สดต้องล้างสะอาด ถ้ามีไอ จาม ต้องหลักเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อจากตัวเองสู่คนอื่นโดยการปิดปาก ปิดจมูก หลีกเลี่ยงที่แออัด และกินอาหารควรมีช้อนกลาง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมาะจุฑา ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...