เจาะลึกการรักษา ภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
‘โรคหลอดเลือดสมอง’ เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ซึ่งทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง อาจเป็นได้ทั้งการตีบ อุดตัน หรือฉีกขาด ส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดและมีก้อนเลือดกดทับสมอง เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้
สำหรับสถานการณ์ของโรค นพ.ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาประสาทวิทยาด้านหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ เผย โรคดังกล่าวอยู่ในกลุ่มประสาทวิทยาที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากความเสื่อมสภาพสะสมของเซลล์ในร่างกายที่กำหนดโดยยีน เริ่มตั้งแต่ช่วงวัย 20 ปี และจะแสดงอาการชัดเจนในช่วงวัย 50 ปี โดยการดำเนินของโรคนั้นขึ้นกับปัจจัยภายนอกที่จะเข้าไปเร่งให้การเสื่อมสภาพเร็วขึ้น อาทิ ลักษณะนิสัยการกิน สภาพแวดล้อม ความดันโลหิต การดื่มสุรา หรือการสูบบุหรี่
ทั้งนี้จากรายงานในปี พ.ศ.2542 พบว่า ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 44,587 ราย สาเหตุใหญ่ของความพิการและเสียชีวิตเนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับมืออาการที่เกิดอย่างปัจจุบันทันด่วน รวมถึงการตัดสินใจกำหนดวิธีรักษาของแพทย์ด้วย เพราะภาวะของโรคหลอดเลือดสมองนี้ แม้คนไข้จะมาถึงทันเวลาและอยู่ในมือแพทย์ที่ดีที่สุด แต่ความเสี่ยงจากการเสียชีวิตก็ยังมีอยู่ถึงร้อยละ 6 ขึ้นอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญ
อาการที่ใช้สังเกตว่าสมองขาดเลือด คือ การชาตามแขนขา ใบหน้า หรือร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง มีการสื่อสารบกพร่องสับสน เห็นภาพซ้อน ตาพร่า ทรงตัวลำบาก วิงเวียนและปวดหัวโดยไม่มีสาเหตุ ในบางรายที่รุนแรงมากอาจเป็นลมหมดสติ
อย่างไรก็ตาม การแสดงออกทางร่างกายที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระดับความรุนแรงของสมองส่วนที่ขาดเลือด ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงจากโรคประจำตัวของคนไข้ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจและลิ้นหัวใจร่วมด้วย
โดยทั่วไปถ้าอาการเกิดยังไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด (T-PA) เพื่อสลายก้อนเลือดที่อุดตัน แต่บางกรณีแพทย์จะตัดสินใจงดใช้เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียตามมากับผู้ป่วยบางกลุ่ม หรือเข้าข่ายข้อห้ามสำคัญคือ ขนาดของการขาดเลือด (Stroke) ยิ่งใหญ่มากเท่าไหร่ ก่อยิ่งอันตรายสำหรับการใช้ยาละลายลิ่มเลือดมากขึ้นเท่านั้น
หากเข้าข่ายข้อหาแล้วจะรักษาอย่างไร? นพ.ฤกษ์ชัย ตอบว่า ต้องผ่าตัดยกกะโหลกศีรษะออก เพื่อปล่อยให้สมองฝั่งที่บวมขยายตัวออกโดยไม่ไปกดทับอีกฝั่ง ช่วยรักษาส่วนที่ยังดีอยู่ไว้ได้ โอกาสที่ผลการรักษาจะออกมาดีก็มีมากขึ้น อีกประการหนึ่งคือ Stroke ขนาดใหญ่สามารถมีเลือดออกมาเองได้ การให้ T-PA จึงอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุด แต่ระหว่างนั้นรักษาคนไข้ด้วยวิธีอื่นด้วย เช่น ให้ยาบางตัว หรือให้นอนยกหัวสูงเพื่อลดสมองบวม หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการทำนายโรค ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 6-7 วัน จะทำซีทีสแกนซ้ำอีกครั้งเพื่อดูผล ถ้าสมองยุบแล้ว จัดเตรียมกระบวนการทำกายภาพบำบัด เมื่อคนไข้พร้อมอีกครั้ง ก็จะใส่กะโหลกกลับเข้าไป
ท้ายที่สุด นพ.ฤกษ์ชัย ฝากเตือนว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคเกี่ยวกับความเสื่อมที่มีปัจจัยภายนอกเป็นตัวเร่ง ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ลดการดื่มสุรา สูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่มของความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในหลอดเลือด ซึ่งต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษและควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ตามวาระ เพราะทั้งหมดนี้มีผลโดยตรงกับการชะลอความเสื่อมของร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้ดีที่สุด : ทีมเดลินิวส์ออนไลน์ takecareDD@gmail.com
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article (ขนาดไฟล์: 167) /822/114509
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สื่อทางการแพทย์ แสดงอาการ ภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ซึ่งทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง อาจเป็นได้ทั้งการตีบ อุดตัน หรือฉีกขาด ส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดและมีก้อนเลือดกดทับสมอง เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้ สำหรับสถานการณ์ของโรค นพ.ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาประสาทวิทยาด้านหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ เผย โรคดังกล่าวอยู่ในกลุ่มประสาทวิทยาที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากความเสื่อมสภาพสะสมของเซลล์ในร่างกายที่กำหนดโดยยีน เริ่มตั้งแต่ช่วงวัย 20 ปี และจะแสดงอาการชัดเจนในช่วงวัย 50 ปี โดยการดำเนินของโรคนั้นขึ้นกับปัจจัยภายนอกที่จะเข้าไปเร่งให้การเสื่อมสภาพเร็วขึ้น อาทิ ลักษณะนิสัยการกิน สภาพแวดล้อม ความดันโลหิต การดื่มสุรา หรือการสูบบุหรี่ ทั้งนี้จากรายงานในปี พ.ศ.2542 พบว่า ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 44,587 ราย สาเหตุใหญ่ของความพิการและเสียชีวิตเนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับมืออาการที่เกิดอย่างปัจจุบันทันด่วน รวมถึงการตัดสินใจกำหนดวิธีรักษาของแพทย์ด้วย เพราะภาวะของโรคหลอดเลือดสมองนี้ แม้คนไข้จะมาถึงทันเวลาและอยู่ในมือแพทย์ที่ดีที่สุด แต่ความเสี่ยงจากการเสียชีวิตก็ยังมีอยู่ถึงร้อยละ 6 ขึ้นอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญ อาการที่ใช้สังเกตว่าสมองขาดเลือด คือ การชาตามแขนขา ใบหน้า หรือร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง มีการสื่อสารบกพร่องสับสน เห็นภาพซ้อน ตาพร่า ทรงตัวลำบาก วิงเวียนและปวดหัวโดยไม่มีสาเหตุ ในบางรายที่รุนแรงมากอาจเป็นลมหมดสติ อย่างไรก็ตาม การแสดงออกทางร่างกายที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระดับความรุนแรงของสมองส่วนที่ขาดเลือด ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงจากโรคประจำตัวของคนไข้ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจและลิ้นหัวใจร่วมด้วย โดยทั่วไปถ้าอาการเกิดยังไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด (T-PA) เพื่อสลายก้อนเลือดที่อุดตัน แต่บางกรณีแพทย์จะตัดสินใจงดใช้เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียตามมากับผู้ป่วยบางกลุ่ม หรือเข้าข่ายข้อห้ามสำคัญคือ ขนาดของการขาดเลือด (Stroke) ยิ่งใหญ่มากเท่าไหร่ ก่อยิ่งอันตรายสำหรับการใช้ยาละลายลิ่มเลือดมากขึ้นเท่านั้น หากเข้าข่ายข้อหาแล้วจะรักษาอย่างไร? นพ.ฤกษ์ชัย ตอบว่า ต้องผ่าตัดยกกะโหลกศีรษะออก เพื่อปล่อยให้สมองฝั่งที่บวมขยายตัวออกโดยไม่ไปกดทับอีกฝั่ง ช่วยรักษาส่วนที่ยังดีอยู่ไว้ได้ โอกาสที่ผลการรักษาจะออกมาดีก็มีมากขึ้น อีกประการหนึ่งคือ Stroke ขนาดใหญ่สามารถมีเลือดออกมาเองได้ การให้ T-PA จึงอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุด แต่ระหว่างนั้นรักษาคนไข้ด้วยวิธีอื่นด้วย เช่น ให้ยาบางตัว หรือให้นอนยกหัวสูงเพื่อลดสมองบวม หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการทำนายโรค ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 6-7 วัน จะทำซีทีสแกนซ้ำอีกครั้งเพื่อดูผล ถ้าสมองยุบแล้ว จัดเตรียมกระบวนการทำกายภาพบำบัด เมื่อคนไข้พร้อมอีกครั้ง ก็จะใส่กะโหลกกลับเข้าไป ท้ายที่สุด นพ.ฤกษ์ชัย ฝากเตือนว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคเกี่ยวกับความเสื่อมที่มีปัจจัยภายนอกเป็นตัวเร่ง ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ลดการดื่มสุรา สูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่มของความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในหลอดเลือด ซึ่งต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษและควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ตามวาระ เพราะทั้งหมดนี้มีผลโดยตรงกับการชะลอความเสื่อมของร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้ดีที่สุด : ทีมเดลินิวส์ออนไลน์ takecareDD@gmail.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/822/114509
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)