เตือนภัยไข้เลือดออก อุณหภูมิลด-ระวังช็อก

แสดงความคิดเห็น

รายงานพิเศษ : สถิติ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 พ.ค. 2556 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 35,150 ราย เสียชีวิต 40 ราย เมื่อเทียบกับปี 2555 ทั้งปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยตลอดทั้งปี 40,000 ราย เสียชีวิต 70คนถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเพราะตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนเมื่อฝนเริ่มมา!!

โรคไข้เลือดออกถือเป็นปัญหาโรคติดเชื้อที่ สำคัญ โดย ศ.คลินิก (พิเศษ) พญ. สุจิตรา นิมมานนิตย์ อดีตผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และที่ปรึกษาศูนย์ความร่วมมือในการรักษาโรคไข้เลือดออกองค์การอนามัยโลกและ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ร.พ.เด็ก) ซึ่งศึกษาและทำงานเรื่องไข้เลือดออกมายาวนาน อธิบายว่า ปัจจุบันไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของไทย โดยเชื้อไข้เลือดออก หรือ เดงกี มีทั้งสิ้น 4 สายพันธุ์ มียุงลายเป็นพาหะ ยิ่งประชากรหนาแน่นก็ยิ่งพบเชื้อได้หลายสายพันธุ์มากขึ้น

ไข้เลือดออกถือเป็นโรคที่การวินิจฉัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีอาการใกล้กับไข้ไม่ทราบสาเหตุจำนวนมาก ปัจจุบันแพทย์เชี่ยวชาญตรวจหาเชื้อได้มากขึ้น โดยเฉพาะการติดตามผลเลือดของผู้ป่วยในช่วงติดเชื้อและมีไข้วันที่ 2-3 ซึ่งอาการที่น่าเป็นห่วง คือ ภาวะช็อกเมื่อไข้ลดลง เกิดจากการที่เลือดออกภายในช่องท้อง เพราะไวรัสทำให้น้ำเหลืองรั่วออกนอกเส้นเลือด ทำให้เลือดข้น เกิดการไหลเวียนที่ผิดปกติ เกิดอาการน้ำท่วมปอดได้

การสังเกตโรค ถ้าไข้สูงลอย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูก ปวดท้องกะทันหัน ไม่ไอหรือมีน้ำมูก ให้สันนิษฐานว่าอาจเป็นไข้เลือดออก ควรไปรับการตรวจเพื่อดูจุดเลือดใต้ผิวหนัง และหากไข้ลด แต่เกิดตัวเย็นกระสับกระส่ายไม่ปัสสาวะต้องรีบไปพบแพทย์เพราะอาจช็อกได้

ปัจจุบัน ผู้ใหญ่มีอัตราการป่วยด้วยไข้เลือดออกมากขึ้น เพราะมักซื้อยากินเอง ยาบางตัวอาจส่งผลกระทบต่อเกล็ดเลือด เกิดภาวะเลือดออกได้ และยังเสี่ยงจากการมีโรคประจำตัว การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ ทำให้เกิดเลือดออกได้มากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน โรคไข้เลือดออก คือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ในบ้านเรือนทุกคนยิ่งฤดูฝนถือเป็นช่วงที่จะพบอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก ในด้านโรคติดเชื้อเดงกีและไข้เลือดออก มีผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาการดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.ร.พ.เด็ก บอกว่า ร.พ.เด็กจะครบรอบ 59 ปี จึงมีการจัดเดือนรณรงค์สุขภาพ จะคัดเลือกปัญหาสุขภาพที่สำคัญขึ้นมาให้ความรู้ และมีกิจกรรม "ตุ๊กตาล้มได้ลุกได้" เพื่อนำเงินสมทบทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREV6TURZMU5nPT0=&sectionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdOaTB4TXc9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มิ.ย.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 14/06/2556 เวลา 02:35:03

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รายงานพิเศษ : สถิติ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 พ.ค. 2556 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 35,150 ราย เสียชีวิต 40 ราย เมื่อเทียบกับปี 2555 ทั้งปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยตลอดทั้งปี 40,000 ราย เสียชีวิต 70คนถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเพราะตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนเมื่อฝนเริ่มมา!! โรคไข้เลือดออกถือเป็นปัญหาโรคติดเชื้อที่ สำคัญ โดย ศ.คลินิก (พิเศษ) พญ. สุจิตรา นิมมานนิตย์ อดีตผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และที่ปรึกษาศูนย์ความร่วมมือในการรักษาโรคไข้เลือดออกองค์การอนามัยโลกและ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ร.พ.เด็ก) ซึ่งศึกษาและทำงานเรื่องไข้เลือดออกมายาวนาน อธิบายว่า ปัจจุบันไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของไทย โดยเชื้อไข้เลือดออก หรือ เดงกี มีทั้งสิ้น 4 สายพันธุ์ มียุงลายเป็นพาหะ ยิ่งประชากรหนาแน่นก็ยิ่งพบเชื้อได้หลายสายพันธุ์มากขึ้น ไข้เลือดออกถือเป็นโรคที่การวินิจฉัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีอาการใกล้กับไข้ไม่ทราบสาเหตุจำนวนมาก ปัจจุบันแพทย์เชี่ยวชาญตรวจหาเชื้อได้มากขึ้น โดยเฉพาะการติดตามผลเลือดของผู้ป่วยในช่วงติดเชื้อและมีไข้วันที่ 2-3 ซึ่งอาการที่น่าเป็นห่วง คือ ภาวะช็อกเมื่อไข้ลดลง เกิดจากการที่เลือดออกภายในช่องท้อง เพราะไวรัสทำให้น้ำเหลืองรั่วออกนอกเส้นเลือด ทำให้เลือดข้น เกิดการไหลเวียนที่ผิดปกติ เกิดอาการน้ำท่วมปอดได้ การสังเกตโรค ถ้าไข้สูงลอย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูก ปวดท้องกะทันหัน ไม่ไอหรือมีน้ำมูก ให้สันนิษฐานว่าอาจเป็นไข้เลือดออก ควรไปรับการตรวจเพื่อดูจุดเลือดใต้ผิวหนัง และหากไข้ลด แต่เกิดตัวเย็นกระสับกระส่ายไม่ปัสสาวะต้องรีบไปพบแพทย์เพราะอาจช็อกได้ ปัจจุบัน ผู้ใหญ่มีอัตราการป่วยด้วยไข้เลือดออกมากขึ้น เพราะมักซื้อยากินเอง ยาบางตัวอาจส่งผลกระทบต่อเกล็ดเลือด เกิดภาวะเลือดออกได้ และยังเสี่ยงจากการมีโรคประจำตัว การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ ทำให้เกิดเลือดออกได้มากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน โรคไข้เลือดออก คือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ในบ้านเรือนทุกคนยิ่งฤดูฝนถือเป็นช่วงที่จะพบอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก ในด้านโรคติดเชื้อเดงกีและไข้เลือดออก มีผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาการดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.ร.พ.เด็ก บอกว่า ร.พ.เด็กจะครบรอบ 59 ปี จึงมีการจัดเดือนรณรงค์สุขภาพ จะคัดเลือกปัญหาสุขภาพที่สำคัญขึ้นมาให้ความรู้ และมีกิจกรรม "ตุ๊กตาล้มได้ลุกได้" เพื่อนำเงินสมทบทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREV6TURZMU5nPT0=§ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdOaTB4TXc9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...