ปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่กับมหาอุปรากร'เตมีย์ใบ้'...เทียบเคียงกับออทิสติก
จากการแสดงมหาอุปรากรที่คณะโอเปร่าวิสต้าแห่งเมืองฮุสตัน มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ได้มอบหมายให้ สมเถา สุจริตกุล วาทยากร คีตกร นักประพันธ์เพลงคลาสสิก ประพันธ์เรื่อง "อินเดีย" เนื่องจากสมาคมอินเดีย-อเมริกันเป็นผู้ให้ทุนการผลิต เตมียชาดกเป็นเรื่องที่นักประพันธ์เพลงคลาสิคชื่อดังใฝ่ฝันจะประพันธ์ ดังนั้นเมื่อมีการเสนอโครงการดังกล่าวขึ้น จึงมีการนำเนื้อหาที่มีความสมบูรณ์พร้อมจากเตมียชาดก ซึ่งแปลจากภาษาพม่า ในวารสารสมาคม Royal Asiatic พ.ศ. 2436 มาเป็นโครงเรื่องทั้งหมด นั่นคือจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดวรรณกรรมสู่การแสดงมหาอุปรากรบนเวทีอันยิ่ง ใหญ่เรื่อง "The Silent Prince" หรือ "เตมีย์ใบ้" เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ฮุสตัน มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552 การแสดงครั้งนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นำมาสู่การแสดงรอบปฐมทัศน์ในประเทศไทยในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็ด พระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ณ หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยที่มีผู้เข้าชมการแสดงเต็มทุกที่นั่ง
ก่อนนำมาสู่การกลับมาของมหาอุปรากรสุดยิ่งใหญ่อีกครั้ง เนื่องในโอกาสมหามงคลฉลองปีพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ โดยโอเปร่าสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และเครือเบทาโกร ได้ร่วมกันนำเสนอเรื่องราวของ "เตมียชาดก" จากทศชาติชาดกซึ่งกล่าวถึง 10 ชาติสุดท้ายของโพธิสัตว์ ก่อนเสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้า โดย สมเถา กล่าวว่า เทคนิคส่วนใหญ่ในการแสดงครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน ความเงียบของพระเตย์มีคือจุดสำคัญของเรื่อง จึงเน้นข้อนี้มากกว่าที่จะให้ความสำคัญในด้านความพิการอื่นๆ ของพระเตย์มี เนื่องจากเนื้อเรื่องดั่งเดิม พระเตย์มีจะต้องแกล้งเป็นใบ้ เป็นง่อย และหูหนวก แต่ในการแสดงครั้งนี้จะเน้นที่ความเงียบหรือเป็นใบ้ โดยที่โครงเรื่องดั่งเดิมยังอยู่ครบทั้งหมด
"การนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ให้คนยุคปัจจุบันฟังนั้น ผมพยายามตอบโจทย์ทั้งในแง่ของตำนาน และสัจธรรมเชิงจิตวิทยาที่แฝงอยู่ในเรื่อง ความเจ็บช้ำของจิตใจ ที่ทำให้ เตย์มีกุมาร ซึ่งอยู่ในฐานะพระราชโอรสเลือกที่จะ "เป็นใบ้" คือหัวใจสำคัญของเรื่อง ตามวัฒนธรรมของเมืองไทย ผมอยากให้เข้าใจว่า สิง่ที่เป็นนิยายในตำนานไม่ได้อยู่ไกลตัว จนเราสัมผัสไม่ได้ในชีวิตประจำวัน" สมเถากล่าว พร้อมเสริมต่อว่า เรื่องนี้สามารถนำมาปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าพระเตย์ในเรื่องจะมีศักดิ์เป็นโอรสของกษัตริย์ แต่หากนำมาบอกเล่าในเชิงเปรียบเทียบกับพ่อแม่ที่มีลูก และมีความคาดหวังในตัวลูก เมื่อลูกไม่ได้เป็นในสิ่งที่คาดหวัง จะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร เพราะไม่ใช่ลูกไม่สำคัญ แต่เขาอาจจะมีอะไรที่ยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ในตัวเอง นอกจากนี้ยังมีนักร้องเสียงพิเศษ โดยเป็นนักร้องเสียง "โซปราโน" ชายซึ่งหายากยิ่งมารับบทนี้ พร้อมย้ำว่า การดูโอเปร่าสมัยนี้ไม่จำเป็นต้องปีนบันไดดูอีกต่อไป
ด้าน ทฤษฎี ณ พัทลุง วาทยากร ชื่อดังผู้กำกับดนตรี ในการแสดงครั้งนี้กล่าวว่า มหาอุปรากรครั้งนี้ มีการเลือกสรรนักร้องโอเปร่าชั้น 1 ของโลกมา ไม่ใช่ไปจ้างนักร้องที่ไม่ได้มีชื่อเสียง แต่นำมาโฆษณาว่ามีชื่อเสียงมาจัดแสดง พร้อมทั้งมีการรวมนักร้องโอเปร่า ที่มีชื่อเสียง และมีความสามารถในเมืองไทยมาร่วมแสดงในครั้งนี้ด้วย
"สิ่งที่จะได้จากการรับชมโอเปร่าเรื่องนี้ ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและเรี่องราวเปรียบเทียบอาการของเด็กออทิซึ่มในปัจจุบัน ที่อาจารย์สมเถานำทั้งสองเรื่องมาประพันธ์เป็นเพลงโอเปร่าได้เหมาะสมและลง ตัว ใครที่เข้าไปชมจะเข้าใจ และได้รับอะไรดีๆ อย่างแน่นอน"ทฤษฏีกล่าว มหาอุปรากรเรื่อง "The Silent Prince" หรือ "เตมีย์ใบ้" จะเปิดการแสดงระหว่างวันที่ 8-9 มิถุนายน ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จำหน่ายบัตรที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพหมู่เหล่านักประพันธ์ จากการแสดงมหาอุปรากรที่คณะโอเปร่าวิสต้าแห่งเมืองฮุสตัน มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ได้มอบหมายให้ สมเถา สุจริตกุล วาทยากร คีตกร นักประพันธ์เพลงคลาสสิก ประพันธ์เรื่อง "อินเดีย" เนื่องจากสมาคมอินเดีย-อเมริกันเป็นผู้ให้ทุนการผลิต เตมียชาดกเป็นเรื่องที่นักประพันธ์เพลงคลาสิคชื่อดังใฝ่ฝันจะประพันธ์ ดังนั้นเมื่อมีการเสนอโครงการดังกล่าวขึ้น จึงมีการนำเนื้อหาที่มีความสมบูรณ์พร้อมจากเตมียชาดก ซึ่งแปลจากภาษาพม่า ในวารสารสมาคม Royal Asiatic พ.ศ. 2436 มาเป็นโครงเรื่องทั้งหมด นั่นคือจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดวรรณกรรมสู่การแสดงมหาอุปรากรบนเวทีอันยิ่ง ใหญ่เรื่อง "The Silent Prince" หรือ "เตมีย์ใบ้" เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ฮุสตัน มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552 การแสดงครั้งนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นำมาสู่การแสดงรอบปฐมทัศน์ในประเทศไทยในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็ด พระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ณ หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยที่มีผู้เข้าชมการแสดงเต็มทุกที่นั่ง ก่อนนำมาสู่การกลับมาของมหาอุปรากรสุดยิ่งใหญ่อีกครั้ง เนื่องในโอกาสมหามงคลฉลองปีพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ โดยโอเปร่าสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และเครือเบทาโกร ได้ร่วมกันนำเสนอเรื่องราวของ "เตมียชาดก" จากทศชาติชาดกซึ่งกล่าวถึง 10 ชาติสุดท้ายของโพธิสัตว์ ก่อนเสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้า โดย สมเถา กล่าวว่า เทคนิคส่วนใหญ่ในการแสดงครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน ความเงียบของพระเตย์มีคือจุดสำคัญของเรื่อง จึงเน้นข้อนี้มากกว่าที่จะให้ความสำคัญในด้านความพิการอื่นๆ ของพระเตย์มี เนื่องจากเนื้อเรื่องดั่งเดิม พระเตย์มีจะต้องแกล้งเป็นใบ้ เป็นง่อย และหูหนวก แต่ในการแสดงครั้งนี้จะเน้นที่ความเงียบหรือเป็นใบ้ โดยที่โครงเรื่องดั่งเดิมยังอยู่ครบทั้งหมด "การนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ให้คนยุคปัจจุบันฟังนั้น ผมพยายามตอบโจทย์ทั้งในแง่ของตำนาน และสัจธรรมเชิงจิตวิทยาที่แฝงอยู่ในเรื่อง ความเจ็บช้ำของจิตใจ ที่ทำให้ เตย์มีกุมาร ซึ่งอยู่ในฐานะพระราชโอรสเลือกที่จะ "เป็นใบ้" คือหัวใจสำคัญของเรื่อง ตามวัฒนธรรมของเมืองไทย ผมอยากให้เข้าใจว่า สิง่ที่เป็นนิยายในตำนานไม่ได้อยู่ไกลตัว จนเราสัมผัสไม่ได้ในชีวิตประจำวัน" สมเถากล่าว พร้อมเสริมต่อว่า เรื่องนี้สามารถนำมาปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าพระเตย์ในเรื่องจะมีศักดิ์เป็นโอรสของกษัตริย์ แต่หากนำมาบอกเล่าในเชิงเปรียบเทียบกับพ่อแม่ที่มีลูก และมีความคาดหวังในตัวลูก เมื่อลูกไม่ได้เป็นในสิ่งที่คาดหวัง จะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร เพราะไม่ใช่ลูกไม่สำคัญ แต่เขาอาจจะมีอะไรที่ยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ในตัวเอง นอกจากนี้ยังมีนักร้องเสียงพิเศษ โดยเป็นนักร้องเสียง "โซปราโน" ชายซึ่งหายากยิ่งมารับบทนี้ พร้อมย้ำว่า การดูโอเปร่าสมัยนี้ไม่จำเป็นต้องปีนบันไดดูอีกต่อไป ด้าน ทฤษฎี ณ พัทลุง วาทยากร ชื่อดังผู้กำกับดนตรี ในการแสดงครั้งนี้กล่าวว่า มหาอุปรากรครั้งนี้ มีการเลือกสรรนักร้องโอเปร่าชั้น 1 ของโลกมา ไม่ใช่ไปจ้างนักร้องที่ไม่ได้มีชื่อเสียง แต่นำมาโฆษณาว่ามีชื่อเสียงมาจัดแสดง พร้อมทั้งมีการรวมนักร้องโอเปร่า ที่มีชื่อเสียง และมีความสามารถในเมืองไทยมาร่วมแสดงในครั้งนี้ด้วย "สิ่งที่จะได้จากการรับชมโอเปร่าเรื่องนี้ ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและเรี่องราวเปรียบเทียบอาการของเด็กออทิซึ่มในปัจจุบัน ที่อาจารย์สมเถานำทั้งสองเรื่องมาประพันธ์เป็นเพลงโอเปร่าได้เหมาะสมและลง ตัว ใครที่เข้าไปชมจะเข้าใจ และได้รับอะไรดีๆ อย่างแน่นอน"ทฤษฏีกล่าว มหาอุปรากรเรื่อง "The Silent Prince" หรือ "เตมีย์ใบ้" จะเปิดการแสดงระหว่างวันที่ 8-9 มิถุนายน ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จำหน่ายบัตรที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130521/159009/ปรากฎการณ์ยิ่งใหญ่กับมหาอุปรากรเตมีย์ใบ้.html#.UZwk9EqkPZ
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)