สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยในใจของผม
สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยในใจของผม
คำว่า “ในใจ” ผมหมายถึง...
-เป็นความทรงจำ
-เป็นสิ่งที่รัก
-เป็นความคาดหวัง
และเป็นเรื่องเล่าสู่กันฟัง (อย่างกระชับ) เป็นตอนๆ ดังนี้
1. กำเนิดผู้นำ
-บ้านผมอยู่พิษณุโลก ผมพิการด้วยโรคซูซูกิ แขนขาอ่อนแรงมาเป็นเวลา 4 ปีกว่าแล้ว ก่อนที่ผมจะตัดสินใจเดินทาง(กึ่งหนีออกจากบ้าน) ไปเข้ารับการฝึกอาชีพที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน จังหวัดเชียงใหม่ และผมได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานรุ่นที่ 7 เมื่อปี 2536
-ผมเพิ่งได้พบ ได้เห็น ได้รู้จากที่ศูนย์ฯว่า มีคนพิการอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย และมีหลากหลายสภาพความพิการ ทั้งที่เดินได้และเดินไม่ได้ ทั้งที่ได้เรียนหนังสือและไม่ได้เรียน
-ผมสอนหนังสือให้น้องๆที่อ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ 7 คน ซึ่งพวกเขาตั้งใจเรียนรู้จนสามารถฝึกอาชีพต่อไปได้
-ความคิดที่ว่า “ถ้าอยู่ไม่ได้ก็จะฆ่าตัวตายโดยจะไม่ให้ญาติพี่น้องเดือดร้อนแม้แต่เรื่องเผาศพ” ก็ค่อยๆหมดไป เมื่อผมรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเมื่ออยู่กับคนพิการด้วยกัน
-เพราะได้อ่านวารสาร “เพื่อนเชียงใหม่” ของกลุ่มคนพิการเชียงใหม่ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นแล้วเอาไปมอบให้ศูนย์ฯหยาดฝนจึงทำให้ผมได้รู้จักและโทรฯไปคุยกับ อ.พิพัฒน์ ประสาธสุวรรณ์ ซึ่งท่านแนะนำให้ผมได้รู้จัก(ทางโทรศัพท์)กับท่านพันโทต่อพงษ์ กุลครรชิต ซึ่งเป็นนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยในขณะนั้น
-อ.พิพัฒน์ ได้ให้ทุนผมเดินทางไปเข้าร่วมประชุมใหญ่สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยที่ จ.นครราชสีมา พร้อมกับเพื่อนคนพิการเชียงใหม่
-ผมได้ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่หมอไม่ยอมออกเอกสารรับรองความพิการว่า “หมอโง่” เพราะบอกว่า “คนเดินขาเป๋” เป็น “คนไม่พิการ” โดยหมอคิดเอาว่า “การใส่เสื้อผ้า การนั่งขี้ และการเดินขึ้นบันไดได้” เป็นข้อวินิจฉัยว่า “ไม่พิการ” ทั้งๆที่ในหมู่บ้านตัดสินและเรียกคนพวกนี้ว่า “ไอ้เป๋/อีเปลี้ย” และกลายเป็นคนที่เสียเปรียบทางสังคมไปแล้ว!
-ผมมารู้ภายหลังตอนแยกประชุมแต่ละประเภทความพิการจาก อ.ณรงค์ ปฏิบัติสรกิจ อดีตนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยคนแรก ว่า “ผู้อำนวยศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ” ร้องไห้บนเวทีด้วยคำพูดของผม!
-ท่านพันโทต่อพงษ์ พูดว่า “วันนี้ผมดีใจที่ได้เห็นผู้นำคนพิการรุ่นใหม่ปรากฏตัวขึ้น สามารถแย่งไมค์มาจากเพื่อนคนพิการตาบอดได้” แต่ผมไม่ได้คิดว่าเป็นตัวเอง เพราะดูแต่ละคนเป็นผู้ยิ่งใหญ่มากๆ (ซึ่งหลายคนบอกว่าจำผมได้เป็นอย่างดีนับจากวันนั้น)
-ในการประชุมครั้งนั้น ทำให้ผมได้รู้ว่า อ.ณรงค์ ป่วยด้วยโรคข้อกระดูกยึดติดทั้งตัว เมื่อนอนท่านก็จะนอนตัวแข็ง เมื่อลุกขึ้นท่านก็จะต้องยืนทันที นั่งไม่ได้ และถ้าทำงาน ท่านก็จะต้องยืนทั้งวัน ไปจนกว่าจะล้มตัวลงนอน เมื่อมองไปที่ขาของท่านเราจะเห็นเส้นเลือดขอดที่ข้อเท้าของท่านเป็นสีดำทั้ง 2 ข้าง และพันโทต่อพงษ์ เป็นอัมพาตทั้งตัว แขนขาอ่อนแรง มือขยับได้ แกว่งได้ แต่หยิบ จับ หรือกำไม่ได้ทั้งสองข้าง ต้องนั่งบนรถเข็นทั้งวันนับตั้งแต่ลุกจากที่นอน!
-ท่านแนะนำให้ผมสมัครเป็นสมาชิกสมาคมฯซึ่งต่อมาผมก็ได้สมัครและได้เป็นสมาชิกลำดับที่ 1327 และได้รับและอ่านวารสาร “สายสัมพันธ์” ของสมาคมฯนับจากนั้น
-หลังจากที่ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กันระยะหนึ่ง ท่านพันโทต่อพงษ์ ได้ให้เกียรติแก่กลุ่มเพื่อนคนพิการเชียงใหม่โดยการไปจัดอบรมสัมมนาเรื่องการก่อตั้งองค์กรของคนพิการ โดยคนพิการ เพื่อคนพิการ ที่โรงแรมเชียงใหม่ โดยผมมีส่วนนำคนพิการจากศูนย์ฯหยาดฝนเข้าร่วมงานด้วย
-อีกไม่นานหลังจากนั้นก็ได้มีการก่อตั้ง “ชมรมคนพิการจังหวัดเชียงใหม่” ขึ้น โดยมีผมร่วมเป็นคณะกรรมการก่อตั้ง บุคคลสำคัญที่ผมจำชื่อได้คือคุณลำยอง และคุณอรพันธ์ กันนัย ซึ่งยังมีบทบาทสำคัญจนถึงปัจจุบัน.คุณนฤมล ผู้หญิงที่เล่นเทนนิสคนแรกของเชียงใหม่ (และยังมีคุณพยาบาล...จำชื่อไม่ได้แล้ว...ถ้าคุณลำยอง/อรพันธ์ ได้อ่านก็กรุณาเติมให้ด้วย)
-แล้วผมก็เรียนจบหลักสูตร “จิ้มดีด” (มือข้างเดียว-เครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา) จากศูนย์ฯหยาดฝนในเดือนตุลาคม 2536 และได้เดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯกับโรงละครภัทราวดีเธียร์เตอร์ ของคุณภัทราวดี มีชูธน ในตำแหน่งผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
-ผมจะเดินทางไปที่สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย เพื่อเรียนรู้ และช่วยทำงานบ้างตามที่ได้รับมอบหมายจากท่านผู้พันฯ แต่ก็ไม่ได้ไปบ่อยๆ เพราะค่ารถแพงมาก ไป-กลับ 6-700 บาท ในแต่ละครั้ง
-ผมจำได้ว่า ในครั้งแรกที่ไปสมาคมฯ ผมนั่งเรือข้ามฟากจากฝั่งวังหลังมาขึ้นรถเมล์ ซึ่งวิ่งจากบางประกอกไปปากเกร็ด ที่ฝั่งท่าช้าง เมื่อรถมาถึง ผมก็ต้องรอให้ผู้โดยสารขึ้นรถไปให้หมดเสียก่อนแล้วผมจึงขึ้นเป็นคนสุดท้าย และเมื่อเท้าผมพ้นพื้นดิน รถเมล์กรุงเทพฯก็ออกตัวตัวตามสไตล์ ซึ่งทำให้ผมเซถลาเกือบตกรถ....และนั่นคือการขึ้นรถเมล์ในกรุงเทพฯครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของผม!!! ทุกท่านคงทราบแล้วว่า ผมเดินทางด้วยรถอะไร ทำไมจึงต้องจ่ายแพง!
-ในเดือนสิงหาคม 2537 ท่านผู้พันฯได้จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำขึ้นที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งผมได้รับเชิญให้เข้ารับการฝึกอบรมด้วย ในขณะฝึกนั้น ผมได้รับบทบาทสมมุติให้เป็นประชาสงเคราะห์จังหวัด(พมจ.ในปัจจุบัน)และก็จบมาได้เป็น “ผู้นำคนพิการรุ่นที่ 1 สุรินทร์” นับตั้งแต่บัดนั้น
.........ใครจะแสดงความคิดเห็น/ซักถาม ก็ได้นะครับ..........
ที่มา: อรรถพล ขาวแจ่ม
วันที่โพสต์: 7/04/2556 เวลา 21:17:32
1 2456dan 12/07/2563 07:02:56
รับนวดนอกและในสถานที่0992399199
2 ถุย 13/07/2556 14:30:55
สมาคมอะไรก็เหมือนๆกันแหละ มีเพื่ออะไรไม่เคยเห็นจะทำอะไรเป็นประโยชน์กับคนพิการจริงๆจังๆสักที่
จุดประสงค์ก็แค่หาประโยชน์เข้าตัวทั้งนั้นควรยุบทิ้งให้หมดไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมสักอย่างมีแต่ชื่อและโลโก้ให้เกะกะ
3 ณรงค์ชัย ประธานราษกร์ 11/07/2556 10:49:27
คนพิตาบอดตาข้างเดียวถือว่าเป็นคนพิการหรือไม่ขอความคิดเห็น
4 อรรถพล ขาวแจ่ม 10/04/2556 13:07:27
สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยในใจของผม
9. เป็นอุปนายกฯสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย
-จากเดือนมีนาคม 2544 ที่ผมหมดวาระจากการเป็นเลขาฯสมาคมฯ ผมก็กลับมาทำงานชมรมคนพิการพิษณุโลกและหารายได้เลี้ยงชีพด้วยการขายล็อตเตอรี่ อาชีพที่ผมไม่ชอบในตอนแรก จนมาถึงปี 2546 ผมก็เกิดปัญหาภรรยามีแฟนใหม่ ผมจึงเป็นเสมือนบุคคลไร้ความสามารถและประกาศลาออกจากการเป็นประธานชมรมคนพิการพิษณุโลก โดยคุณประสิทธิ์ จันทร์วิสิทธิ์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานชมรมฯคนต่อไป
-ถึงปี 2548 คุณประสิทธิ์ ขอลาออกจากประธานชมรมฯ คณะกรรมการก็ขอให้ผมกลับมารับตำแหน่งประธานฯต่อ ผมจึงก่อตั้ง สภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดพิษณุโลก ขึ้นและขอให้คุณประสิทธิ์มารับเป็นประธานคนแรก และผมก็ขอจดทะเบียนเปลี่ยนชมรมฯ เป็นสมาคมคนพิการจังหวัดพิษณุโลกมาตั้งแต่นั้น
-เมื่อนายพันตรี นายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย หมดวาระลง คุณศุภชีพ ก็ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกสมาคมคนใหม่และเชิญผมให้เข้าร่วมเป็นกรรมการในตำแหน่งอุปนายกสมาคมฯด้วย ซึ่งผมก็ตกลงเพราะคุณศุภชีพรับปากว่าจะให้มีการก่อตั้งศูนย์ประสานงานสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยขึ้นทั้ง 4 ภาค โดยผมมีเหตุผลว่า...
1.สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย จะลงไปทำงานเองทั้ง 76 จังหวัดคงไม่ไหวและไม่สมควรทำ
2.เพื่อให้องค์กรเครือข่ายในแต่ละจังหวัดได้ออกกำลังกายคิดเอง พูดเอง ทำเอง เคลื่อนไหวเอง ทั้งด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ ถ้าไม่ทำเองก็จะไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่มีความเข้มแข็ง
3.สิ่งที่สมาคมฯแห่งประเทศไทยควรทำคือ สนับสนุนวิชาการ สนับสนุนบุคลากร สนับสนุนเอกสารวิธีการ สนับสนุนงบประมาณ และไปร่วมให้กำลังเมื่อเขาจัดงานหรือไปร่วมแก้ไขเมื่อเขามีปัญหา
-มีข้อเสนอที่มีความขัดแย้งอยู่ 1ข้อ ในเวทีแห่งนี้ คือ นายกฯคนใหม่เสนอให้ทุกจังหวัดไปจัดตั้งเป็น “สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด...แล้วสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย(โดยนายกฯศุภชีพ)จะให้เงินสนับสนุนจังหวัดละ 10,000 บาท ผมบอกว่ามันทำได้ยากทั้งการบริหารจัดการ, การเงินการบัญชี, และการเคลื่อนไหวภายในจังหวัดแต่ใช้ชื่อ “แห่งประเทศไทย”
-มีการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ประสานงานสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ขึ้นทั้ง 4 ภาค โดยผมเป็นประธานภาคเหนือ แต่ไม่ได้รับเงินบริหาร จนกระทั่งผ่านไป 8 เดือน จึงมีการโอนเงินมาให้ 30,000 บาท(สามหมื่นบาทถ้วน) (แต่คนให้ชอบเอาไปพูดว่า 50,000 บาท) เมื่อประชุมคณะกรรมการผมก็จ่ายเบี้ยประชุมให้คนละ 300 บาท ค่าน้ำมันตามระยะทาง เมื่อท่านนายกฯลงพื้นที่ผมก็ใช้เงินนี้เลี้ยงต้อนรับ เมื่อไปอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผมก็ใช้งบนี้เติมน้ำมันให้รถที่ไป 3 คัน เงินมันก็หมด คิดว่าจะได้การสนับสนุนอีกแต่ไม่มีมาอีกเลย ดังนั้น การบริหารศูนย์ประสานงานฯภาค จึงล้มเหลวเพราะขาดงบประมาณ
-6 ปีต่อมาผมจึงได้ข่าวว่ามีผู้ไปจดทะเบียน “สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยจังหวัด....ได้ 2 จังหวัด และ นายกฯสมาคม 1 ใน 2 จังหวัดนั้นโทรศัพท์มาบอกผมเองว่าทำงาน-เคลื่อนไหวในนามแห่งประเทศไทยในจังหวัดไม่ได้จริงๆ!
-ผมเดินทางเข้ากรุงเทพฯด้วยการขับรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นไทเกอร์ จะไปเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการบริหารสมาคมฯแห่งประเทศไทย เพื่อวางแผนการจัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2551 ที่จังหวัดกระบี่ แต่รถผมหม้อน้ำพังเมื่อถึงเขตอุตสาหกรรมนวนคร จึงได้จ้างช่างลากรถเข้าไปซ่อมที่ร้านในเขตนวนคร โดยมีคุณชูเกียรติ สิงห์สูง แวะเข้าไปเยี่ยมตามที่ผมโทรเล่าให้ฟังและฝากแจ้งที่ประชุมให้ทราบถึงปัญหาของผมด้วย และในตอนคืนวันนั้น ฝนตกหนักมากผมมองไม่เห็นว่าเป็นพื้นต่างระดับที่อยู่ในน้ำ เมื่อผมก้าวเดินลงไป ทำให้ผมล้มหัวฟาดกับพื้นหัวแตกเลือดไหลออกมาเป็นจำนวนมาก ช่างจึงพาผมไปส่งที่โรงพยาบาลนวนคร ให้หมอเย็บ 4 เข็ม ต้องนอนที่นั่น 4 คืน จึงกลับบ้านพิษณุโลกได้ งานนี้ผมมีบาดแผลทั้งที่หัว และที่กระเป๋าสตังค์ที่ทำเงินขาดหายไปเกือบ 7 หมื่นบาท(ยกเครื่องใหม่ไปซื้อได้ที่ จ.สระบุรี) ใน 4 คืนนั้นผมคิดมากว่า “ผมสมควรจะเป็นผู้บริหารสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยต่อไปหรือไม่?” และ 7 หมื่นบาทมันส่งผลให้ผมต้องเป็นหนี้มาจนถึงปัจจุบัน!
5 อรรถพล ขาวแจ่ม 10/04/2556 13:06:24
สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยในใจของผม
8. ขับไล่นายพันให้พ้นจากการเป็นนายกฯ
-ผมได้รับสำเนาเอกสารแสดงสถานะการใช้จ่ายเงินของนายพันตรีนายกสมาคมฯ ว่ามีการอนุมัติเป็นเงินเดือนให้ตัวเองและภรรยาเป็นจำนวนเงินหลายหมื่นบาท และคนส่งเอกสารให้ผมก็บอกให้ผมเข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2545 เพื่อขับไล่นายกสมาคมฯและเพื่อปกป้องสมาคมฯไปพร้อมกันด้วย
-คณะกรรมการบริหารสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ในช่วงที่นายศุภชีพเป็นนายกฯนั้น แทบจะไม่เบิกเงินเกินกว่าค่าเดินทาง ค่าที่พัก ตามจริงเลย และผมเป็นคนพูดคนแรกเองว่า “ทำงานด้านคนพิการทำไปร้องให้ไป” เพราะมันไม่มีรายได้ แถมยังจ่ายเงินตัวเองอีก พอเห็นเอกสาร(ก็คงเป็นกรรมการในสมาคมฯนั่นแหละเอาออกมา) ก็คิดว่า “โอ้โห ! เอากันอย่างนี้เชียวหรือ ต้องไปร่วมกับเขาแล้วละ”
-การประชุมใหญ่จัดขึ้นที่ศาลาประชาคมจังหวัดนนทบุรี ในวันนั้นมีสมาชิกเข้าประชุมเยอะมาก มากกว่าการประชุมที่ศูนย์กีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดงเสียอีก และประมาณ 1 ใน 5 ของสมาชิกในวันนั้นเป็นทหารผ่านศึกพิการ
-เมื่อเริ่มการแถลงผลการปฏิบัติงานของสมาคมฯก็มีสมาชิกยกมือขึ้นถามแล้วก็ลามไปถึงเรื่องตั้งเงินเดือนให้ตัวเองและภรรยาตามเอกสารที่ถูกแจกจ่ายไปทั่ว จนการประชุมไม่สามารถดำเนินต่อไป ซึ่งผมเป็นคนสุดท้ายที่ลุกขึ้นไปขอไมค์และเดินไปพูดติดกับโต๊ะกรรมการที่แถลงผลงานอยู่ ผมชี้ให้เห็นเป็นข้อๆว่ามันผิด ไม่มีใครเขาเคยทำกัน มันผิด มันน่ารังเกียจ น่าขยะแขยง ไม่มีคุณธรรมอย่างไร สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมก็โห่ฮา ตะโกนขับไล่รวมทั้งทหารผ่านศึกพิการซึ่งในตอนแรกผมคิดว่าเป็นฝ่ายของนายพันตรีนั่นด้วย
-ในที่สุด นายพันตรีก็ยอมจำนน และประกาศลาออกกลางที่ประชุมใหญ่เมื่อตอนบ่ายแก่ๆ สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมต่างก็ปรบมือดีใจกันสนั่นหวั่นไหวแล้วค่อยๆทยอยกันกลับบ้าน
-เป็นที่น่าสังเกตว่า ในระหว่างการกล่าวโจมตีจากคนหลายคน จากไมค์หลายอัน(ไม่รู้มาจากไหน) อย่างต่อเนื่องอยู่นั้น นายกฯนายพันตรีจะใช้โทรศัพท์ติดต่อพูดคุยอยู่กับใครบางคนที่พวกเรามองไม่เห็นอยู่ตลอดเวลา
-ผมมาทราบภายหลังว่า นายพันตรีไม่ออกจากตำแห่งนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยตามที่ประกาศไว้และยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเรื่อยๆโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งยังสามารถยกฐานะตนเองขึ้นไปเป็นประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยได้อีกด้วย
-***มีข้อที่ควรคิดอยู่ 2 หรือ 3 ข้อ คือ
1. ขณะประชุมและนายกฯนายพันตรีประกาศลาออกนั้น มีแต่คนปรบมือแล้วก็รีบกลับบ้านแต่ไม่มีใครคิดกำหนดข้อปฏิบัติเพื่อให้การลาออกนั้นมีผลบังคับ
2. มีบารมีที่มองไม่เห็นคอยคุ้มครองป้องกันภัยให้นายกฯนายพันตรีปฏิบัติหน้าที่ต่อไป/หรือไม่?
หรือ 3. เป็นความใจกล้า หน้าด้าน ของท่านนายกฯเอง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยในใจของผม คำว่า “ในใจ” ผมหมายถึง... -เป็นความทรงจำ -เป็นสิ่งที่รัก -เป็นความคาดหวัง และเป็นเรื่องเล่าสู่กันฟัง (อย่างกระชับ) เป็นตอนๆ ดังนี้ 1. กำเนิดผู้นำ -บ้านผมอยู่พิษณุโลก ผมพิการด้วยโรคซูซูกิ แขนขาอ่อนแรงมาเป็นเวลา 4 ปีกว่าแล้ว ก่อนที่ผมจะตัดสินใจเดินทาง(กึ่งหนีออกจากบ้าน) ไปเข้ารับการฝึกอาชีพที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน จังหวัดเชียงใหม่ และผมได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานรุ่นที่ 7 เมื่อปี 2536 -ผมเพิ่งได้พบ ได้เห็น ได้รู้จากที่ศูนย์ฯว่า มีคนพิการอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย และมีหลากหลายสภาพความพิการ ทั้งที่เดินได้และเดินไม่ได้ ทั้งที่ได้เรียนหนังสือและไม่ได้เรียน -ผมสอนหนังสือให้น้องๆที่อ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ 7 คน ซึ่งพวกเขาตั้งใจเรียนรู้จนสามารถฝึกอาชีพต่อไปได้ -ความคิดที่ว่า “ถ้าอยู่ไม่ได้ก็จะฆ่าตัวตายโดยจะไม่ให้ญาติพี่น้องเดือดร้อนแม้แต่เรื่องเผาศพ” ก็ค่อยๆหมดไป เมื่อผมรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเมื่ออยู่กับคนพิการด้วยกัน -เพราะได้อ่านวารสาร “เพื่อนเชียงใหม่” ของกลุ่มคนพิการเชียงใหม่ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นแล้วเอาไปมอบให้ศูนย์ฯหยาดฝนจึงทำให้ผมได้รู้จักและโทรฯไปคุยกับ อ.พิพัฒน์ ประสาธสุวรรณ์ ซึ่งท่านแนะนำให้ผมได้รู้จัก(ทางโทรศัพท์)กับท่านพันโทต่อพงษ์ กุลครรชิต ซึ่งเป็นนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยในขณะนั้น -อ.พิพัฒน์ ได้ให้ทุนผมเดินทางไปเข้าร่วมประชุมใหญ่สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยที่ จ.นครราชสีมา พร้อมกับเพื่อนคนพิการเชียงใหม่ -ผมได้ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่หมอไม่ยอมออกเอกสารรับรองความพิการว่า “หมอโง่” เพราะบอกว่า “คนเดินขาเป๋” เป็น “คนไม่พิการ” โดยหมอคิดเอาว่า “การใส่เสื้อผ้า การนั่งขี้ และการเดินขึ้นบันไดได้” เป็นข้อวินิจฉัยว่า “ไม่พิการ” ทั้งๆที่ในหมู่บ้านตัดสินและเรียกคนพวกนี้ว่า “ไอ้เป๋/อีเปลี้ย” และกลายเป็นคนที่เสียเปรียบทางสังคมไปแล้ว! -ผมมารู้ภายหลังตอนแยกประชุมแต่ละประเภทความพิการจาก อ.ณรงค์ ปฏิบัติสรกิจ อดีตนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยคนแรก ว่า “ผู้อำนวยศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ” ร้องไห้บนเวทีด้วยคำพูดของผม! -ท่านพันโทต่อพงษ์ พูดว่า “วันนี้ผมดีใจที่ได้เห็นผู้นำคนพิการรุ่นใหม่ปรากฏตัวขึ้น สามารถแย่งไมค์มาจากเพื่อนคนพิการตาบอดได้” แต่ผมไม่ได้คิดว่าเป็นตัวเอง เพราะดูแต่ละคนเป็นผู้ยิ่งใหญ่มากๆ (ซึ่งหลายคนบอกว่าจำผมได้เป็นอย่างดีนับจากวันนั้น) -ในการประชุมครั้งนั้น ทำให้ผมได้รู้ว่า อ.ณรงค์ ป่วยด้วยโรคข้อกระดูกยึดติดทั้งตัว เมื่อนอนท่านก็จะนอนตัวแข็ง เมื่อลุกขึ้นท่านก็จะต้องยืนทันที นั่งไม่ได้ และถ้าทำงาน ท่านก็จะต้องยืนทั้งวัน ไปจนกว่าจะล้มตัวลงนอน เมื่อมองไปที่ขาของท่านเราจะเห็นเส้นเลือดขอดที่ข้อเท้าของท่านเป็นสีดำทั้ง 2 ข้าง และพันโทต่อพงษ์ เป็นอัมพาตทั้งตัว แขนขาอ่อนแรง มือขยับได้ แกว่งได้ แต่หยิบ จับ หรือกำไม่ได้ทั้งสองข้าง ต้องนั่งบนรถเข็นทั้งวันนับตั้งแต่ลุกจากที่นอน! -ท่านแนะนำให้ผมสมัครเป็นสมาชิกสมาคมฯซึ่งต่อมาผมก็ได้สมัครและได้เป็นสมาชิกลำดับที่ 1327 และได้รับและอ่านวารสาร “สายสัมพันธ์” ของสมาคมฯนับจากนั้น -หลังจากที่ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กันระยะหนึ่ง ท่านพันโทต่อพงษ์ ได้ให้เกียรติแก่กลุ่มเพื่อนคนพิการเชียงใหม่โดยการไปจัดอบรมสัมมนาเรื่องการก่อตั้งองค์กรของคนพิการ โดยคนพิการ เพื่อคนพิการ ที่โรงแรมเชียงใหม่ โดยผมมีส่วนนำคนพิการจากศูนย์ฯหยาดฝนเข้าร่วมงานด้วย -อีกไม่นานหลังจากนั้นก็ได้มีการก่อตั้ง “ชมรมคนพิการจังหวัดเชียงใหม่” ขึ้น โดยมีผมร่วมเป็นคณะกรรมการก่อตั้ง บุคคลสำคัญที่ผมจำชื่อได้คือคุณลำยอง และคุณอรพันธ์ กันนัย ซึ่งยังมีบทบาทสำคัญจนถึงปัจจุบัน.คุณนฤมล ผู้หญิงที่เล่นเทนนิสคนแรกของเชียงใหม่ (และยังมีคุณพยาบาล...จำชื่อไม่ได้แล้ว...ถ้าคุณลำยอง/อรพันธ์ ได้อ่านก็กรุณาเติมให้ด้วย) -แล้วผมก็เรียนจบหลักสูตร “จิ้มดีด” (มือข้างเดียว-เครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา) จากศูนย์ฯหยาดฝนในเดือนตุลาคม 2536 และได้เดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯกับโรงละครภัทราวดีเธียร์เตอร์ ของคุณภัทราวดี มีชูธน ในตำแหน่งผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ -ผมจะเดินทางไปที่สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย เพื่อเรียนรู้ และช่วยทำงานบ้างตามที่ได้รับมอบหมายจากท่านผู้พันฯ แต่ก็ไม่ได้ไปบ่อยๆ เพราะค่ารถแพงมาก ไป-กลับ 6-700 บาท ในแต่ละครั้ง -ผมจำได้ว่า ในครั้งแรกที่ไปสมาคมฯ ผมนั่งเรือข้ามฟากจากฝั่งวังหลังมาขึ้นรถเมล์ ซึ่งวิ่งจากบางประกอกไปปากเกร็ด ที่ฝั่งท่าช้าง เมื่อรถมาถึง ผมก็ต้องรอให้ผู้โดยสารขึ้นรถไปให้หมดเสียก่อนแล้วผมจึงขึ้นเป็นคนสุดท้าย และเมื่อเท้าผมพ้นพื้นดิน รถเมล์กรุงเทพฯก็ออกตัวตัวตามสไตล์ ซึ่งทำให้ผมเซถลาเกือบตกรถ....และนั่นคือการขึ้นรถเมล์ในกรุงเทพฯครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของผม!!! ทุกท่านคงทราบแล้วว่า ผมเดินทางด้วยรถอะไร ทำไมจึงต้องจ่ายแพง! -ในเดือนสิงหาคม 2537 ท่านผู้พันฯได้จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำขึ้นที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งผมได้รับเชิญให้เข้ารับการฝึกอบรมด้วย ในขณะฝึกนั้น ผมได้รับบทบาทสมมุติให้เป็นประชาสงเคราะห์จังหวัด(พมจ.ในปัจจุบัน)และก็จบมาได้เป็น “ผู้นำคนพิการรุ่นที่ 1 สุรินทร์” นับตั้งแต่บัดนั้น .........ใครจะแสดงความคิดเห็น/ซักถาม ก็ได้นะครับ..........
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)