วารสาร ม.พ.พ.ท. ประจำเดือน เมษายน 2565
รู้จักคอลเซ็นเตอร์ภาษามือ เพราะลูกค้าคือ “คนสำคัญ”
วันนี้มาดูกันว่าบทบาท หน้าที่ของ คอลเซ็นเตอร์ของผู้ให้บริการมือถือในยุคนี้ต้องปรับตัวอย่างไร!?! กับการที่ต้องบริการลูกค้าที่มีกว่า 20 ล้านราย ไม่เฉพาะลูกค้าทั่วไป แต่ต้องรวมไปถึงลูกค้ากลุ่มเปราะบาง อาทิ กลุ่มลูกค้าผู้พิการด้วย นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการคอลเซ็นเตอร์ โดยผู้พิการทางการมองเห็น 15 คน และผู้พิการทางร่างกาย ที่ต้องนั่งวีลแชร์ 6 คน ซึ่งดำเนินการมาแล้วทั้งสิ้น 6 ปี โดยปัจจุบันพนักงานผู้พิการทางการทั้งหมดมีสถานะ เป็นพนักงานประจำแล้ว
ล่าสุดได้ร่วมกับ เปิดให้บริการคลอเซ็นเตอร์เพื่อผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งให้บริการด้วย ภาษามือ โดยผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งเป็นความร่วมมือกับทางสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้วยการคัดเลือกผู้พิการทางการได้ยินที่สมัครเข้ามา 40 กว่าคน และคัดเลือกเหลือ 3 คน เพื่อทำการอบรม พร้อมติดตั้งระบบการจัดการคอลเซ็นเตอร์เต็มรูปแบบ ณ สมาคมฯ เพื่อให้บริการลูกค้า ผู้พิการทางการได้ยิน ใช้บริการผ่านไลน์วิดีโอคอล โดยสามารถเพิ่มเพื่อนทางไลน์ดีแทค คอลเซ็นเตอร์ ซึ่งได้เริ่มให้บริการมาประมาณ 1 เดือน ที่ผ่านมามีผู้พิการทางการได้ยิน โทรฯเข้ามารับบริการเฉลี่ยประมาณ 40 รายต่อวัน เปิดให้บริการในวันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น. ในอนาคตคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มต่อเนื่อง “การจัดตั้งคอลเซ็นเตอร์ภาษามือในครั้งนี้นับว่ามีความท้าทายกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากมีผู้พิการ ทางการได้ยินเพียง 25% เท่านั้น ที่ได้รับการศึกษาภาษามือแบบเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม เราจะพยายาม อย่างเต็มความสามารถ เพราะสิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการที่แท้จริงคือโอกาสและการยอมรับจากสังคม” วิรัช บอก
ทั้งนี้พนักงานคอลเซ็นเตอร์ภาษามือที่ได้ทำงานเป็นพนักงานประกอบด้วย “นิว-สุพัฒน์ กุลทัศน์”, “บุ้ง-นทีทิพย์ ฝากาทอง” และ “ไกด์- ศุภกิจ เปี่ยมสุวรรณศิริ”(เดลินิวส์ออนไลน์ 12 เม.ย. 65)