"สมบัติ" อ่านไพ่การเมือง คสช. พท.-ปชป.ไม่หนุน นายกคนนอกเกิดยาก

แสดงความคิดเห็น

"สมบัติ" อ่านไพ่การเมือง คสช. พท.-ปชป.ไม่หนุน นายกคนนอกเกิดยาก

กว่า 44 ปีที่แล้ว "ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์" อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นแกนนำนักศึกษาใน 14 ตุลา 2516 ต่อสู้ขับไล่เผด็จการทหาร

ทว่า 40 ปีให้หลังเขาไปเป็นหนึ่งในผู้ร่วมชุมนุมร่วมกับกลุ่ม กปปส.ขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากกระดาน

ผลจากการชุมนุมได้เปิดประตูให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจ

ผ่านมา 3 ปี ประชาชาติธุรกิจ สนทนากับ "ดร.สมบัติ" เหลียวหลังบทบาททหาร แลไปข้างหน้าว่า คสช.จะสืบทอดอำนาจหรือไม่

Q : 85 ปี ที่ผ่านมาเป็นประชาธิปไตยหรือเปล่า

เราไปติดเรื่องชื่อมากเกินไป นักปราชญ์พูดมา 2 พันปีแล้วว่าการปกครองมีทั้งดีและการปกครองที่เลว และต่างกันตรงที่ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อใคร ถ้าผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ก็ถือเป็นการปกครองที่ดี แต่ชนชั้นนำในสังคมก็จะถามว่ามีประชาธิปไตยไหม เลือกตั้งไหม คนพวกนี้กินดีอยู่ดี ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ คนยากจนไม่มีโอกาสได้ถามคำถามนี้

Q : ไม่ต้องดูระบอบให้ดูที่ผลลัพธ์การปกครอง

ไม่ได้พูดแบบนั้น ต่างตรงที่ระบอบประชาธิปไตยได้เปรียบ เพราะถ้าหากประชาชนมีความรู้ในการเลือกคนดีไปปกครอง เมื่อไหร่ที่คนดีเป็นทรราชใช้อำนาจเพื่อตัวเอง ประชาชนถอดถอนได้ แต่ถ้าเผด็จการผู้ปกครองไม่ดีถอดไม่ได้ แต่ต้องพัฒนาให้ประชาชนแยกออกระหว่างนักการเมืองที่ดีและไม่ดี

Q:ตอนนี้สังคมไทยปกครองในระบอบไหน

วันนี้เป็นระบอบเผด็จการแน่นอน แต่มีประกาศการใช้รัฐธรรมนูญแล้ว พูดได้ชัดเจนว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยตามแนวทางสากล

Q : การเมืองไทยมีทหารเข้ามาโลดแล่นตลอด ตั้งแต่ 2475 จนถึงปัจจุบัน อะไรเป็นปัจจัยที่ทหารยังอยู่ในการเมือง

เป็นเรื่องธรรมดา พอมีความขัดแย้งกันในสังคม กลุ่มคนที่มีกำลังทหารอยู่ในมือก็มีความได้เปรียบ หลังจากจอมพล ป.พิบูลสงครามเข้ามา เป็นทั้งนายกฯ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หมดอำนาจไปแล้วกลับมามีอำนาจอีกหลังยึดอำนาจ 2490 ยาวจนถึง 2500 จนถึงการเลือกตั้งสกปรก ต่อจากนั้นคนที่มีอำนาจต่อมาคือจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในฐานะผู้นำทางการทหาร อยู่มาจนถึง 2506 จากนั้นก็เป็นจอมพลถนอม กิตติขจร จนถึง 2516 เป็นเรื่องของผู้นำทหารทั้งสิ้น เข้ามาได้เพราะมีกองกำลังทางทหารค้ำบัลลังก์ พอมีเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ทำให้ฝ่ายทหารขาดข้ออ้าง เพราะประชาชนตื่นตัว แต่อยู่ได้แค่ 3 ปี ยึดอำนาจอีก

Q : ถ้าทหารมีความเป็นมืออาชีพ

ไม่เล่นการเมืองตั้งแต่แรก การเมืองไทยจะล้มลุกคลุกคลานหรือไม่ตั้งสมมุติฐานไม่มีประโยชน์ เพราะไม่เป็นจริงและเกิดขึ้นไม่ได้อีกแล้ว ความจริงคือ พอมีเวลาช่วงชิงอำนาจกัน คนที่มีโอกาสชนะคือมีกองกำลังทหารสนับสนุน

Q : ถ้ามองสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต หากทหารไม่เล่นการเมืองบ้านเมืองจะเป็นประชาธิปไตยขึ้นหรือไม่

ไม่ใช่เรื่องทหารอย่างเดียว พอมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อยู่ 8 ปี ต่อด้วย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ทหารไม่น่าจะกลับมาแล้ว เพราะประชาชนตื่นตัว และประเทศก้าวหน้าขึ้นมาก พรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งสนับสนุนท่านไม่ได้ยึดอำนาจ แต่พอ พล.อ.ชาติชายมีความขัดแย้งกับทหาร จปร.5 ก็มายึดอำนาจ ทหารก็คิดว่าอยู่ได้ไม่นานเพราะประชาชนไม่ยอม พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกฯ แค่ 47 วัน

โอกาสของผู้นำทหารจะเข้ามามีอำนาจยาวนานแทบจะหมดไปแล้ว จาก 14 ตุลา 16 แสดงให้เห็นว่าพลังของประชาชนลุกฮือได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ยึดอำนาจแล้ว รีบประกาศคืนอำนาจทันที มาถึงปัจจุบันเมื่อยึดอำนาจแล้วก็มีโรดแมป ไม่มีคนไหนกล้าเข้ามาแล้วจะอยู่โดยไม่มีกำหนด ถือเป็นความสำเร็จของเส้นทางประชาธิปไตย

Q : คสช.อยู่ในอำนาจมา 3 ปี อะไรทำให้อยู่ได้นานกว่าคณะก่อนหน้า

ผลโพล เด่นที่สุดของ คสช. ประชาชนกับความสงบ ตั้งแต่รัฐบาลทักษิณมีความขัดแย้งทางการเมืองและความขัดแย้งไม่ยุติลง จนรู้สึกว่าประชาธิปไตยไม่มีความหมาย ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย เรื่องอื่นจึงสำคัญน้อยไปเลย

Q : อาจารย์เคยอยู่ในขบวนโค่นล้มเผด็จการเมื่อปี 2516 แต่ 40 ปีให้หลัง เข้าร่วมการชุมนุม กปปส.ที่ถูกมองว่าเปิดประตูให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ

คนที่วิพากษ์วิจารณ์ก็วิจารณ์ได้หมด และคนที่พูดอย่างนี้คือคนที่อยู่ตรงข้าม กปปส. อย่าไปนึกว่าคนเป็นกลางพูด และที่ผมต่อสู้โค่นล้มทหารมา ชีวิตผมยืนหยัดอยู่กับความถูกต้องที่ควรจะเป็น

การที่บอกว่า กปปส.เข้ามาเพื่อเปิดประตูทหาร กรณีนิรโทษกรรมสุดซอย ประชาชนทุกกลุ่มออกมาต่อต้าน เริ่มต้นจากตรงนั้นถึงมี กปปส.

ใครจะไปเปิดประตูให้ทหารก็เรื่องของเขา ไม่ใช่ผม ผมไปไม่ใช่ฐานะแกนนำ ผมได้รับเชิญไปปราศรัยในฐานะนักวิชาการให้ความรู้ทางการเมืองเท่านั้น ไม่มีส่วนวางแผนเคลื่อนไหวของ กปปส.

Q : รัฐธรรมนูญเปิดช่องนายกฯ คนนอกได้ คสช.จะสืบทอดอำนาจผ่านช่องทางนายกฯคนนอกหรือไม่

เป็นไปไม่ได้ รัฐธรรมนูญเขียนให้ ส.ส.ในสภามี 500 การเมืองวันนี้มี 2 พรรคใหญ่ และพรรคขนาดกลาง ถ้าเลือกตั้งไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก ก็จะมีพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคใหญ่ คำถามคือสองพรรคจะรวมกันตั้งรัฐบาลหรือไม่..ไม่น่าจะรวม แล้วจะมีพรรคหนึ่งพรรคใดจะไปร่วมเอานายกฯคนนอกไหม ถ้าหากมีก็มีสิทธิ์ที่จะมีรัฐบาลนายกฯคนนอก โดยพรรคใหญ่หนึ่งพรรคบวกพรรคขนาดกลาง และบวก ส.ว. 250 ได้เสียงเกินครึ่ง และเสียงรัฐบาลก็เกินครึ่ง คนนอกก็มีเสียงในสภาเกินครึ่ง แต่เป็นไปได้ยากมาก

เหลือพรรคขนาดกลางกับพรรคขนาดเล็กรวมกันได้ 126 เสียงขึ้นไป บวกกับเสียง ส.ว. 250 เสียง เป็น 376 เสียง เสนอคนนอกเป็นนายกฯ ได้ แล้วจะบริหารประเทศได้ไหม เพราะจะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภา

จะเกิดขึ้นได้ต้องมีพรรคใหญ่พรรคหนึ่งพรรคใดร่วมกับพรรคขนาดกลางและมีเสียงเกินครึ่งไปสนับสนุนนายกฯคนนอก

Q:พรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ไม่มีทางหนุนนายกฯคนนอก

ถามว่าเพื่อไทยไปร่วมไหม... ไม่ อภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) จะร่วมไหม.. ก็ไม่ จะเอาประชาธิปัตย์ไปสนับสนุนคนนอกก็ต้องเอาอภิสิทธิ์ออกจากหัวหน้าพรรคก่อน

Q : มองยุทธศาสตร์ชาติ ที่ออกแบบมาคุมการเมืองในอนาคตอย่างไร

รัฐบาลมาใหม่ไม่ทำตามก็ได้ หรือไม่พอใจมีเสียงข้างมากก็ยังแก้ได้ ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่แก้ยาก

Q : การมี ผบ.เหล่าทัพเข้าไปเป็นตัวแทนในโครงสร้างต่าง ๆ

มีไม่กี่คน ไปนั่งทำอะไรได้ วันนี้ คสช.มีอำนาจ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีอำนาจมาตรา 44 ทำไม่ได้ตั้งหลายเรื่อง

Q : หลังเลือกตั้งการเมืองจะกลับเข้าสู่ครรลองปกติหรือไม่

ไม่แน่ใจหรอกครับ ปัญหาทางการเมืองจะมีทหารเข้ามาอีกไหม... ไม่ใช่อยู่ ๆ ทหารจะออก

แต่ถ้านักการเมืองบริหารประเทศดี ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า ไม่ทุจริต ทหารจะออกมาได้อย่างไร

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1499008811 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: www.prachachat.net
วันที่โพสต์: 3/07/2560 เวลา 11:09:00 ดูภาพสไลด์โชว์ "สมบัติ" อ่านไพ่การเมือง คสช. พท.-ปชป.ไม่หนุน นายกคนนอกเกิดยาก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

"สมบัติ" อ่านไพ่การเมือง คสช. พท.-ปชป.ไม่หนุน นายกคนนอกเกิดยาก กว่า 44 ปีที่แล้ว "ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์" อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นแกนนำนักศึกษาใน 14 ตุลา 2516 ต่อสู้ขับไล่เผด็จการทหาร ทว่า 40 ปีให้หลังเขาไปเป็นหนึ่งในผู้ร่วมชุมนุมร่วมกับกลุ่ม กปปส.ขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากกระดาน ผลจากการชุมนุมได้เปิดประตูให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจ ผ่านมา 3 ปี ประชาชาติธุรกิจ สนทนากับ "ดร.สมบัติ" เหลียวหลังบทบาททหาร แลไปข้างหน้าว่า คสช.จะสืบทอดอำนาจหรือไม่ Q : 85 ปี ที่ผ่านมาเป็นประชาธิปไตยหรือเปล่า เราไปติดเรื่องชื่อมากเกินไป นักปราชญ์พูดมา 2 พันปีแล้วว่าการปกครองมีทั้งดีและการปกครองที่เลว และต่างกันตรงที่ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อใคร ถ้าผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ก็ถือเป็นการปกครองที่ดี แต่ชนชั้นนำในสังคมก็จะถามว่ามีประชาธิปไตยไหม เลือกตั้งไหม คนพวกนี้กินดีอยู่ดี ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ คนยากจนไม่มีโอกาสได้ถามคำถามนี้ Q : ไม่ต้องดูระบอบให้ดูที่ผลลัพธ์การปกครอง ไม่ได้พูดแบบนั้น ต่างตรงที่ระบอบประชาธิปไตยได้เปรียบ เพราะถ้าหากประชาชนมีความรู้ในการเลือกคนดีไปปกครอง เมื่อไหร่ที่คนดีเป็นทรราชใช้อำนาจเพื่อตัวเอง ประชาชนถอดถอนได้ แต่ถ้าเผด็จการผู้ปกครองไม่ดีถอดไม่ได้ แต่ต้องพัฒนาให้ประชาชนแยกออกระหว่างนักการเมืองที่ดีและไม่ดี Q:ตอนนี้สังคมไทยปกครองในระบอบไหน วันนี้เป็นระบอบเผด็จการแน่นอน แต่มีประกาศการใช้รัฐธรรมนูญแล้ว พูดได้ชัดเจนว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยตามแนวทางสากล Q : การเมืองไทยมีทหารเข้ามาโลดแล่นตลอด ตั้งแต่ 2475 จนถึงปัจจุบัน อะไรเป็นปัจจัยที่ทหารยังอยู่ในการเมือง เป็นเรื่องธรรมดา พอมีความขัดแย้งกันในสังคม กลุ่มคนที่มีกำลังทหารอยู่ในมือก็มีความได้เปรียบ หลังจากจอมพล ป.พิบูลสงครามเข้ามา เป็นทั้งนายกฯ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หมดอำนาจไปแล้วกลับมามีอำนาจอีกหลังยึดอำนาจ 2490 ยาวจนถึง 2500 จนถึงการเลือกตั้งสกปรก ต่อจากนั้นคนที่มีอำนาจต่อมาคือจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในฐานะผู้นำทางการทหาร อยู่มาจนถึง 2506 จากนั้นก็เป็นจอมพลถนอม กิตติขจร จนถึง 2516 เป็นเรื่องของผู้นำทหารทั้งสิ้น เข้ามาได้เพราะมีกองกำลังทางทหารค้ำบัลลังก์ พอมีเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ทำให้ฝ่ายทหารขาดข้ออ้าง เพราะประชาชนตื่นตัว แต่อยู่ได้แค่ 3 ปี ยึดอำนาจอีก Q : ถ้าทหารมีความเป็นมืออาชีพ ไม่เล่นการเมืองตั้งแต่แรก การเมืองไทยจะล้มลุกคลุกคลานหรือไม่ตั้งสมมุติฐานไม่มีประโยชน์ เพราะไม่เป็นจริงและเกิดขึ้นไม่ได้อีกแล้ว ความจริงคือ พอมีเวลาช่วงชิงอำนาจกัน คนที่มีโอกาสชนะคือมีกองกำลังทหารสนับสนุน Q : ถ้ามองสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต หากทหารไม่เล่นการเมืองบ้านเมืองจะเป็นประชาธิปไตยขึ้นหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องทหารอย่างเดียว พอมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อยู่ 8 ปี ต่อด้วย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ทหารไม่น่าจะกลับมาแล้ว เพราะประชาชนตื่นตัว และประเทศก้าวหน้าขึ้นมาก พรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งสนับสนุนท่านไม่ได้ยึดอำนาจ แต่พอ พล.อ.ชาติชายมีความขัดแย้งกับทหาร จปร.5 ก็มายึดอำนาจ ทหารก็คิดว่าอยู่ได้ไม่นานเพราะประชาชนไม่ยอม พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกฯ แค่ 47 วัน โอกาสของผู้นำทหารจะเข้ามามีอำนาจยาวนานแทบจะหมดไปแล้ว จาก 14 ตุลา 16 แสดงให้เห็นว่าพลังของประชาชนลุกฮือได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ยึดอำนาจแล้ว รีบประกาศคืนอำนาจทันที มาถึงปัจจุบันเมื่อยึดอำนาจแล้วก็มีโรดแมป ไม่มีคนไหนกล้าเข้ามาแล้วจะอยู่โดยไม่มีกำหนด ถือเป็นความสำเร็จของเส้นทางประชาธิปไตย Q : คสช.อยู่ในอำนาจมา 3 ปี อะไรทำให้อยู่ได้นานกว่าคณะก่อนหน้า ผลโพล เด่นที่สุดของ คสช. ประชาชนกับความสงบ ตั้งแต่รัฐบาลทักษิณมีความขัดแย้งทางการเมืองและความขัดแย้งไม่ยุติลง จนรู้สึกว่าประชาธิปไตยไม่มีความหมาย ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย เรื่องอื่นจึงสำคัญน้อยไปเลย Q : อาจารย์เคยอยู่ในขบวนโค่นล้มเผด็จการเมื่อปี 2516 แต่ 40 ปีให้หลัง เข้าร่วมการชุมนุม กปปส.ที่ถูกมองว่าเปิดประตูให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ คนที่วิพากษ์วิจารณ์ก็วิจารณ์ได้หมด และคนที่พูดอย่างนี้คือคนที่อยู่ตรงข้าม กปปส. อย่าไปนึกว่าคนเป็นกลางพูด และที่ผมต่อสู้โค่นล้มทหารมา ชีวิตผมยืนหยัดอยู่กับความถูกต้องที่ควรจะเป็น การที่บอกว่า กปปส.เข้ามาเพื่อเปิดประตูทหาร กรณีนิรโทษกรรมสุดซอย ประชาชนทุกกลุ่มออกมาต่อต้าน เริ่มต้นจากตรงนั้นถึงมี กปปส. ใครจะไปเปิดประตูให้ทหารก็เรื่องของเขา ไม่ใช่ผม ผมไปไม่ใช่ฐานะแกนนำ ผมได้รับเชิญไปปราศรัยในฐานะนักวิชาการให้ความรู้ทางการเมืองเท่านั้น ไม่มีส่วนวางแผนเคลื่อนไหวของ กปปส. Q : รัฐธรรมนูญเปิดช่องนายกฯ คนนอกได้ คสช.จะสืบทอดอำนาจผ่านช่องทางนายกฯคนนอกหรือไม่ เป็นไปไม่ได้ รัฐธรรมนูญเขียนให้ ส.ส.ในสภามี 500 การเมืองวันนี้มี 2 พรรคใหญ่ และพรรคขนาดกลาง ถ้าเลือกตั้งไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก ก็จะมีพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคใหญ่ คำถามคือสองพรรคจะรวมกันตั้งรัฐบาลหรือไม่..ไม่น่าจะรวม แล้วจะมีพรรคหนึ่งพรรคใดจะไปร่วมเอานายกฯคนนอกไหม ถ้าหากมีก็มีสิทธิ์ที่จะมีรัฐบาลนายกฯคนนอก โดยพรรคใหญ่หนึ่งพรรคบวกพรรคขนาดกลาง และบวก ส.ว. 250 ได้เสียงเกินครึ่ง และเสียงรัฐบาลก็เกินครึ่ง คนนอกก็มีเสียงในสภาเกินครึ่ง แต่เป็นไปได้ยากมาก เหลือพรรคขนาดกลางกับพรรคขนาดเล็กรวมกันได้ 126 เสียงขึ้นไป บวกกับเสียง ส.ว. 250 เสียง เป็น 376 เสียง เสนอคนนอกเป็นนายกฯ ได้ แล้วจะบริหารประเทศได้ไหม เพราะจะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภา จะเกิดขึ้นได้ต้องมีพรรคใหญ่พรรคหนึ่งพรรคใดร่วมกับพรรคขนาดกลางและมีเสียงเกินครึ่งไปสนับสนุนนายกฯคนนอก Q:พรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ไม่มีทางหนุนนายกฯคนนอก ถามว่าเพื่อไทยไปร่วมไหม... ไม่ อภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) จะร่วมไหม.. ก็ไม่ จะเอาประชาธิปัตย์ไปสนับสนุนคนนอกก็ต้องเอาอภิสิทธิ์ออกจากหัวหน้าพรรคก่อน Q : มองยุทธศาสตร์ชาติ ที่ออกแบบมาคุมการเมืองในอนาคตอย่างไร รัฐบาลมาใหม่ไม่ทำตามก็ได้ หรือไม่พอใจมีเสียงข้างมากก็ยังแก้ได้ ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่แก้ยาก Q : การมี ผบ.เหล่าทัพเข้าไปเป็นตัวแทนในโครงสร้างต่าง ๆ มีไม่กี่คน ไปนั่งทำอะไรได้ วันนี้ คสช.มีอำนาจ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีอำนาจมาตรา 44 ทำไม่ได้ตั้งหลายเรื่อง Q : หลังเลือกตั้งการเมืองจะกลับเข้าสู่ครรลองปกติหรือไม่ ไม่แน่ใจหรอกครับ ปัญหาทางการเมืองจะมีทหารเข้ามาอีกไหม... ไม่ใช่อยู่ ๆ ทหารจะออก แต่ถ้านักการเมืองบริหารประเทศดี ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า ไม่ทุจริต ทหารจะออกมาได้อย่างไร ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1499008811

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง