การเมืองไทย ก่อนที่ทักษิณจะกลับบ้าน โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

แสดงความคิดเห็น

การเมืองไทย ก่อนที่ทักษิณจะกลับบ้าน โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

ผมเขียนงานชิ้นนี้ท่ามกลางบรรยากาศการเมืองไทยที่น่าสนใจยิ่ง หลังจากการที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติผ่านวาระสามของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ "สุดซอย" และเกิดการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า "ม็อบนกหวีด" ที่หน้า/ข้างพรรคประชาธิปัตย์

สิ่งที่อยากจะขอนำมาแลกเปลี่ยนใน วันนี้ก็คือสภาวะสามมิติของการเมืองไทย ที่บางครั้งผมก็ไม่แน่ใจว่ามันใหม่หรือเก่า หรือบางทีประเด็นอาจจะไม่ได้อยู่ที่ว่ามันใหม่หรือเก่าเท่ากับว่า มันเกิดขึ้นมาในเวลานี้ได้อย่างไร

มิติที่หนึ่ง คือ มิติที่เราก็คุ้นชินไปในแบบหนึ่ง นั่นก็คือ มิติเรื่องข่าวลือต่างๆ พูดง่ายๆ ก็คือ ทักษิณนั้นเคลียร์กับอำนาจที่มองไม่เห็นต่างๆ ได้แล้ว หรือว่าทักษิณอาจจะถูกหลอกอีกก็เป็นได้

เรื่องแบบนี้บางครั้งเราก็ ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริง แต่ถ้าจะใช้ศัพท์ยอดฮิตในช่วงที่แล้ว เราก็อาจจะสามารถเรียกการเมืองแบบนี้ว่า "การเมืองแบบอำมาตย์" หรือ "การเมืองระบอบเก่า" หรือ "การเมืองของชนชั้นนำ" บ้างก็พยายามที่จะหาหนทางในการอธิบายเรื่องนี้ผ่านหลักฐานและทฤษฎีเช่น เรื่องของความมั่งคั่ง ความสัมพันธ์ และเครือข่าย

เอาเป็นว่าในการ ศึกษาทางการเมืองนั้นเราก็คงไม่สามารถปฏิเสธเรื่องนี้ได้ แต่เราก็คงจะต้องพัฒนาเครื่องมือและชุดคำอธิบายที่แหลมคมและชัดเจนยิ่งขึ้น ให้ได้ นอกเหนือจากสิ่งที่เราพยายามเรียกว่า "หลักฐาน" เพราะบางครั้งสิ่งที่เราเรียกว่า "หลักฐาน" ก็อาจจะอยู่ในสภาพเพียงแค่ "ข้อมูลในระดับปรากฏการณ์" ที่ยังต้องรอพิสูจน์ให้ได้อยู่อีกจำนวนมาก

การ เมืองแบบอำมาตย์นี้เป็นการเมืองที่ยังเกี่ยวข้องกับรูปธรรมที่สำคัญก็คือ การทำรัฐประหาร และการร่างรัฐธรรมนูญภายหลังจากนั้น ซึ่งเป็นเรื่องของการพยายามบริหารการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของกลุ่มอำนาจ ของตัวเองไว้มากที่สุด แต่บางครั้งเราเองก็จะต้องเข้าใจว่า เรื่องราวของการใช้อำนาจนั้นมันไม่ได้อยู่ในลักษณะของการแบ่งชัดว่าใครมี ใครไม่มี แต่เป็นเรื่องของท่าที และความสัมพันธ์ว่าใครทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน หรืออะไรเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และไม่ควรไปล้ำเส้น

เหนือสิ่งอื่นใด การเมืองแบบอำมาตย์นั้นจึงไม่ได้หมายถึงว่าอำมาตย์เท่านั้นที่จะอยู่ในอำนาจ แต่ความสัมพันธ์ที่มีในการเมืองอำมาตย์นั้นเป็นการเมืองที่ซับซ้อน และบางครั้งเราก็ยังขาดหลักฐานจำนวนมากที่จะอธิบายอย่างเป็นระบบมากกว่า เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือความน่าจะเป็นในการอธิบายต่างๆ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้หมายถึงว่าเพราะเรานั้นไร้ซึ่งสติปัญญา แต่ก็อาจจะเป็นเพราะว่าโครงสร้างทางกฎหมายบางประการก็ยังกดทับไม่ให้การค้น หาความจริงนั้นเกิดขึ้นได้

แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่เราอธิบายอะไรมากไปกว่าข่าวลือ หรือการพยายามจับแพะชนแกะไปเรื่อยๆ นั้นมันก็สร้างพลังในการต่อรองกับการเมืองแบบนี้ได้เช่นกันถ้าผู้ที่พยายาม ที่จะค้นหาและเปลี่ยนแปลงสังคมนั้นมีความเชี่ยวชาญชำนาญในการ "ไต่เส้น" เรื่องนี้ ทั้งในแง่การ "อ้างอิง" และการ "วิพากษ์วิจารณ์"

มิติที่สอง เรากำลังพูดถึงการเมืองที่เรียกว่าการเมืองแบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง และเชื่อมโยงกับมิติที่สาม นั่นคือ การเมืองแบบมวลชน ซึ่งในแง่นี้ผมอาจจะไม่สามารถพูดได้ไกลขนาดที่เชื่อว่าการเมืองแบบมวลชนนั้น จะต้องมีผลในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

(ในทางกลับกัน การเมืองแบบอำมาตย์ก็เชื่อมโยงกับมวลชนมาก่อน หรือแม้แต่วันนี้ก็ยังเชื่อมโยงกับมวลชนเช่นกัน แต่ผมจะไม่ขออธิบายในรายละเอียดในครั้งนี้ เพราะเป็นประเด็นรองไปจากประเด็นหลักที่ต้องการจะพูด)

สิ่งที่เรา เผชิญหน้าอยู่ก็คือ พรรคหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากการเมืองมวลชน และมีฐานการเมืองแบบการเมืองนโยบายกำลังถูกกล่าวหาว่า "ละทิ้ง" มวลชน (บางกลุ่ม) ของพรรค

ในขณะอีกพรรคหนึ่ง ซึ่งเคยขึ้นชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ กำลังหันไปก่อร่างสร้างการเมืองมวลชนของตัวเอง ทั้งในแง่ของการนำการชุมนุม รวมไปถึงการใช้ช่องทางการสื่อสารทางสถานีดาวเทียม

สําหรับ ผมแล้ว เมื่อมองเห็นปรากฏการณ์ของทั้งสองพรรคและของความสัมพันธ์ของพรรคทั้งสองกับ มวลชนของตัวเองเช่นนี้ ผมก็ไม่สามารถจะฟันธงว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าหรือเป็นเรื่องใหม่กันแน่ แต่ถ้าจะให้มองในภาพรวมแล้ว ผมคิดว่าจะอย่างไรก็ตาม ทั้งสองพรรคใหญ่ก็ยังให้ความสนใจกับการขับเคลื่อนการเมืองผ่านรัฐสภาเป็น ลำดับแรก

เพราะเกมส์หลักนั้นยังอยู่ในรัฐสภา โดยเฉพาะในกรณีของพรรคฝ่ายค้านนั้น เราอาจจะมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ของพรรคที่อ้างว่าเชื่อมั่นในระบอบ รัฐสภา แต่ไม่เคยชนะการเลือกตั้ง (หากแต่ก็สามารถเป็นรัฐบาลได้ผ่านเกมส์ในรัฐสภาอยู่ดี แม้ว่าจะค้านกับสายตาประชาชนจำนวนมาก และนำไปสู่การตั้งคำถามกับความเชื่อมโยงระหว่างพรรคฝ่ายค้านกับการเมือง อำมาตย์)

แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่พรรคฝ่ายค้านนั้น เคยเล่นมาหลายบทบาท ตั้งแต่การไม่ลงรับเลือกตั้งในช่วงปลายของทักษิณ หรือ แม้กระทั่งการเข้าร่วมการชุมนุมข้างรัฐสภาในสมัยของการต่อสู้กับรัฐบาลของ พลเอก สุจินดา คราประยูร นั้น เราก็จะพบว่า ตัวแบบของการต่อสู้ของพรรคฝ่ายค้านในวันนี้ก็อาจจะไม่ได้ใหม่ซะทั้งหมด แต่จะว่าเก่าไปซะทีเดียวก็ไม่น่าจะได้

อย่างน้อยฝ่ายค้านนั้นก็ยัง สวมบทบาทของการทำงานในรัฐสภาอยู่ดี และยังมองไปที่เรื่องของการพยายามที่จะผลักดันให้เกิดการตีความเนื้อหาของ การขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ เมื่อกระบวนการในทางรัฐสภา (วุฒิสภา) ของพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจบลง

สำหรับพรรครัฐบาลนั้น ผมเองกลับไม่ได้รู้สึกว่าปัญหาใหญ่จะอยู่ที่เรื่องของความขัดแย้งแตกแยก ระหว่างมวลชนของพรรค หรือคนเสื้อแดงกับพรรคการเมือง หรือดังที่ถูกเย้ยหยันจากอีกสีเสื้อหนึ่งว่าทั้งหมดเป็นการถูกหลอก หรือเป็นเรื่องของการหมดหน้าที่ของ "เรือ" ตามที่เคยมีการแถลงของทักษิณในครั้งหนึ่งของการชุมนุม

แต่ผมกลับ รู้สึกว่าความสัมพันธ์ของระบอบทักษิณหลังรัฐประหารนั้น โดยเฉพาะเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของยิ่งลักษณ์นั้นกลับมีความซับ ซ้อนยิ่ง แต่คนนอกมักจะมองง่ายๆ ว่าทั้งหมดเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างพรรคกับมวลชน

แต่ถ้ามองให้ดี เราอาจจะเห็นมวลชนที่มีเฉดสีหลายเฉด ไม่นับแนวร่วมของมวลชนในหลายๆ กลุ่ม

แต่ ในพรรคเองก็ต้องตั้งคำถามให้ดี ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างทักษิณ กลุ่มก๊วนนักการเมืองแต่ละภูมิภาค (รวมทั้งนอกพรรคที่เป็นพันธมิตร) กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มนักวิชาการใหม่และนักบริหารที่ร่วมขับเคลื่อนรัฐบาล ตัวยิ่งลักษณ์ และทีมงานแวดล้อมของยิ่งลักษณ์ที่อาจไม่ได้มีอำนาจหลักอยู่ในพรรคเสียที เดียว

ในแง่นี้เราอาจจะต้องถามคำถามใหม่ว่าคุณยิ่งลักษณ์นั้นลอยตัว หรือตีกรรเชียง หรือเราไม่เข้าใจถึงตำแหน่งแห่งที่ของยิ่งลักษณ์ที่ไม่ใช่ทั้งการลอยตัว และการตีกรรเชียง

ขณะเดียวกัน ก็จะละเลยการกลับมาของทั้งบ้าน 111 และ 109 ในปลายปีนี้ไม่ได้

ดังนั้น เรื่องของการพิจารณาถึงความแตกแยกระหว่างมวลชนกับพรรครัฐบาลนั้นไม่น่าจะ เป็นเรื่องใหญ่ เท่ากับว่า ในท้ายที่สุดเมื่อการลงหลักปักฐานของการเมืองแบบพรรคการเมืองแบบคุณทักษิณ ที่มีส่วนผสมหลายด้าน รวมทั้งมีตัวแสดงที่มากหน้าหลายตานี้ จะสามารถถูกจัดระเบียบและความสัมพันธ์แต่ละส่วนเข้าด้วยกันอย่างไร

เรื่อง นี้จึงเป็นเรื่องที่ใหญ่ไม่น้อยไปกว่าการตื่นเต้นกับการค้นพบว่าชนบทเปลี่ยน แปลงไปแค่ไหน หรือเกิดชนชั้นทางสังคมมากน้อยแค่ไหน เพราะนั่นเป็นการวิเคราะห์แต่ในระดับสังคมวิทยาทางอำนาจ หรือประวัติศาสตร์ในภาพกว้าง

แต่เรื่องที่กำลังจะกำหนดความเป็นตาย ทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดความสัมพันธ์ครั้งใหญ่ (หากเราเชื่อว่า) คุณทักษิณจะกลับมา หรือแม้ว่าจะไม่รู้ว่าคุณทักษิณจะกลับมาหรือไม่ หรือเร็วช้าแค่ไหน แต่เครือข่ายทางอำนาจของคุณทักษิณที่ดำรงอยู่ในสังคมนั้นออกจะใหญ่โตและ สับสนอยู่มาก หรือไม่น้อยกว่าเครือข่ายทางอำนาจในแบบเดิม

หรือว่าเรา อาจจะหลงไปว่าการทำความเข้าใจเครือข่ายทางอำนาจของคุณทักษิณนั้นทำได้ไม่ยาก เพราะทุกอย่างนั้นเห็นกันอยู่ตรงหน้า เมื่อเทียบกับเครือข่ายอำมาตย์แบบเดิม

หากจะนึกถึงวรรคทองวรรคหนึ่งของทักษิณที่เคยมีนักวิชาการกล่าวถึง มานานแล้วว่า "ประเทศก็เหมือนบริษัท" หรือ เคยได้ยินนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์กล่าวในวันแรกที่ชนะเลือกตั้งว่าการบริหาร รัฐกับการบริหารบริษัทนั้นต่างกันที่เรื่องของขนาดในการบริหารนั้น สิ่งที่เรากำลังเรียนรู้จากระบอบที่ดำเนินอยู่นี้ก็คือ ท่ามกลางเครือข่ายอันมหาศาลของรัฐบาลนี้ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างองคาพยพต่างๆ นั้นจะเป็นไปอย่างไร

จากวัน หนึ่งที่เราอาจไม่ค่อยรู้สึกว่า พรรคเพื่อไทยนั้นมีความเป็นสถาบันมากนัก แต่เมื่อการขับเคลื่อนกฎหมายในครั้งนี้ดำเนินไปได้เช่นนี้เราอาจจะต้องกลับ มาประเมินกลไกของพรรคเพื่อไทย และความเชื่อมโยงของพรรคเพื่อไทยกับส่วนต่างๆ เสียใหม่ก็อาจเป็นได้ แทนที่เราจะประเมินง่ายๆ ว่าพรรคเพื่อไทยนั้นไม่มีอะไรนอกไปจากศูนย์รวมของนักการเมืองแต่ละก๊วนแก๊ง

ทั้ง ที่การขับเคลื่อนต่างๆ ของพรรคเพื่อไทย รวมทั้งลักษณะของการโฟนอินหลายครั้งนั้นก็ไม่สามารถทำให้เราเข้าใจแต่เพียง ว่าทุกอย่างนั้นสามารถทำได้ตามคำสั่งจากแดนไกลเท่านั้น ยิ่งเมื่อตัวของพรรคเองก็จำต้องบริหารการเลือกตั้งที่ย่อมจะต้องมาถึงไม่ช้า ก็เร็วอยู่ดี

สำหรับในแง่ของการเมืองมวลชนนั้น ผมเองก็คิดว่าเราคงจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นว่าการเมืองของมวลชนนั้นไม่อาจ แยกขาดกับการเมืองทั้งในแบบอำมาตย์และการเมืองแบบพรรคการเมืองได้ ทั้งในความสัมพันธ์ในแง่ของการอ้างอิง (ทางบวกหรือลบ) กับการเมืองชนชั้นนำ หรือในแง่ของการเชื่อมโยงอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการเป็นฐานคะแนนเสียงของฝ่าย พรรคการเมือง

การเมืองมวลชนนั้นยังไงก็ไม่สามารถที่จะทำงานอย่าง เป็นอิสระจากการเมืองสองแบบแรกอยู่ดี ทั้งการอ้างอิงแบบพิสูจน์ไม่ได้ หรือการเจรจาต่อรองแบบที่เปิดหน้าเล่นกัน และเอาเข้าจริงก็พูดยากว่าการเมืองแบบมวลชนนั้นจะสามารถชี้ขาดหรือเป็นสิ่ง ที่ก้าวไปสู่ยุคสมัยใหม่ทางการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ดังนั้น การมองว่าการเมืองมวลชนจะเป็นสิ่งที่ใหม่และแยกขาดหรือกำหนดนำการเมืองในสอง แบบแรกนั้นคงยังไม่สามารถจะเป็นจริงได้ในเร็ววันนี้

หรืออาจจะไม่เป็นจริงเอาเสียเลย ?

เอาเป็นว่า (น่าจะ) ยังมีอีกหลายยก และอีกหลายประเด็นครับ กว่าที่ทักษิณจะกลับบ้านได้ครับผม

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1383644778&grpid=01&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

(มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 พ.ย.56)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 6/11/2556 เวลา 03:53:17 ดูภาพสไลด์โชว์ การเมืองไทย ก่อนที่ทักษิณจะกลับบ้าน โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การเมืองไทย ก่อนที่ทักษิณจะกลับบ้าน โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ผมเขียนงานชิ้นนี้ท่ามกลางบรรยากาศการเมืองไทยที่น่าสนใจยิ่ง หลังจากการที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติผ่านวาระสามของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ "สุดซอย" และเกิดการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า "ม็อบนกหวีด" ที่หน้า/ข้างพรรคประชาธิปัตย์ สิ่งที่อยากจะขอนำมาแลกเปลี่ยนใน วันนี้ก็คือสภาวะสามมิติของการเมืองไทย ที่บางครั้งผมก็ไม่แน่ใจว่ามันใหม่หรือเก่า หรือบางทีประเด็นอาจจะไม่ได้อยู่ที่ว่ามันใหม่หรือเก่าเท่ากับว่า มันเกิดขึ้นมาในเวลานี้ได้อย่างไร มิติที่หนึ่ง คือ มิติที่เราก็คุ้นชินไปในแบบหนึ่ง นั่นก็คือ มิติเรื่องข่าวลือต่างๆ พูดง่ายๆ ก็คือ ทักษิณนั้นเคลียร์กับอำนาจที่มองไม่เห็นต่างๆ ได้แล้ว หรือว่าทักษิณอาจจะถูกหลอกอีกก็เป็นได้ เรื่องแบบนี้บางครั้งเราก็ ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริง แต่ถ้าจะใช้ศัพท์ยอดฮิตในช่วงที่แล้ว เราก็อาจจะสามารถเรียกการเมืองแบบนี้ว่า "การเมืองแบบอำมาตย์" หรือ "การเมืองระบอบเก่า" หรือ "การเมืองของชนชั้นนำ" บ้างก็พยายามที่จะหาหนทางในการอธิบายเรื่องนี้ผ่านหลักฐานและทฤษฎีเช่น เรื่องของความมั่งคั่ง ความสัมพันธ์ และเครือข่าย เอาเป็นว่าในการ ศึกษาทางการเมืองนั้นเราก็คงไม่สามารถปฏิเสธเรื่องนี้ได้ แต่เราก็คงจะต้องพัฒนาเครื่องมือและชุดคำอธิบายที่แหลมคมและชัดเจนยิ่งขึ้น ให้ได้ นอกเหนือจากสิ่งที่เราพยายามเรียกว่า "หลักฐาน" เพราะบางครั้งสิ่งที่เราเรียกว่า "หลักฐาน" ก็อาจจะอยู่ในสภาพเพียงแค่ "ข้อมูลในระดับปรากฏการณ์" ที่ยังต้องรอพิสูจน์ให้ได้อยู่อีกจำนวนมาก การ เมืองแบบอำมาตย์นี้เป็นการเมืองที่ยังเกี่ยวข้องกับรูปธรรมที่สำคัญก็คือ การทำรัฐประหาร และการร่างรัฐธรรมนูญภายหลังจากนั้น ซึ่งเป็นเรื่องของการพยายามบริหารการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของกลุ่มอำนาจ ของตัวเองไว้มากที่สุด แต่บางครั้งเราเองก็จะต้องเข้าใจว่า เรื่องราวของการใช้อำนาจนั้นมันไม่ได้อยู่ในลักษณะของการแบ่งชัดว่าใครมี ใครไม่มี แต่เป็นเรื่องของท่าที และความสัมพันธ์ว่าใครทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน หรืออะไรเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และไม่ควรไปล้ำเส้น เหนือสิ่งอื่นใด การเมืองแบบอำมาตย์นั้นจึงไม่ได้หมายถึงว่าอำมาตย์เท่านั้นที่จะอยู่ในอำนาจ แต่ความสัมพันธ์ที่มีในการเมืองอำมาตย์นั้นเป็นการเมืองที่ซับซ้อน และบางครั้งเราก็ยังขาดหลักฐานจำนวนมากที่จะอธิบายอย่างเป็นระบบมากกว่า เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือความน่าจะเป็นในการอธิบายต่างๆ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้หมายถึงว่าเพราะเรานั้นไร้ซึ่งสติปัญญา แต่ก็อาจจะเป็นเพราะว่าโครงสร้างทางกฎหมายบางประการก็ยังกดทับไม่ให้การค้น หาความจริงนั้นเกิดขึ้นได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่เราอธิบายอะไรมากไปกว่าข่าวลือ หรือการพยายามจับแพะชนแกะไปเรื่อยๆ นั้นมันก็สร้างพลังในการต่อรองกับการเมืองแบบนี้ได้เช่นกันถ้าผู้ที่พยายาม ที่จะค้นหาและเปลี่ยนแปลงสังคมนั้นมีความเชี่ยวชาญชำนาญในการ "ไต่เส้น" เรื่องนี้ ทั้งในแง่การ "อ้างอิง" และการ "วิพากษ์วิจารณ์" มิติที่สอง เรากำลังพูดถึงการเมืองที่เรียกว่าการเมืองแบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง และเชื่อมโยงกับมิติที่สาม นั่นคือ การเมืองแบบมวลชน ซึ่งในแง่นี้ผมอาจจะไม่สามารถพูดได้ไกลขนาดที่เชื่อว่าการเมืองแบบมวลชนนั้น จะต้องมีผลในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย (ในทางกลับกัน การเมืองแบบอำมาตย์ก็เชื่อมโยงกับมวลชนมาก่อน หรือแม้แต่วันนี้ก็ยังเชื่อมโยงกับมวลชนเช่นกัน แต่ผมจะไม่ขออธิบายในรายละเอียดในครั้งนี้ เพราะเป็นประเด็นรองไปจากประเด็นหลักที่ต้องการจะพูด) สิ่งที่เรา เผชิญหน้าอยู่ก็คือ พรรคหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากการเมืองมวลชน และมีฐานการเมืองแบบการเมืองนโยบายกำลังถูกกล่าวหาว่า "ละทิ้ง" มวลชน (บางกลุ่ม) ของพรรค ในขณะอีกพรรคหนึ่ง ซึ่งเคยขึ้นชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ กำลังหันไปก่อร่างสร้างการเมืองมวลชนของตัวเอง ทั้งในแง่ของการนำการชุมนุม รวมไปถึงการใช้ช่องทางการสื่อสารทางสถานีดาวเทียม สําหรับ ผมแล้ว เมื่อมองเห็นปรากฏการณ์ของทั้งสองพรรคและของความสัมพันธ์ของพรรคทั้งสองกับ มวลชนของตัวเองเช่นนี้ ผมก็ไม่สามารถจะฟันธงว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าหรือเป็นเรื่องใหม่กันแน่ แต่ถ้าจะให้มองในภาพรวมแล้ว ผมคิดว่าจะอย่างไรก็ตาม ทั้งสองพรรคใหญ่ก็ยังให้ความสนใจกับการขับเคลื่อนการเมืองผ่านรัฐสภาเป็น ลำดับแรก เพราะเกมส์หลักนั้นยังอยู่ในรัฐสภา โดยเฉพาะในกรณีของพรรคฝ่ายค้านนั้น เราอาจจะมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ของพรรคที่อ้างว่าเชื่อมั่นในระบอบ รัฐสภา แต่ไม่เคยชนะการเลือกตั้ง (หากแต่ก็สามารถเป็นรัฐบาลได้ผ่านเกมส์ในรัฐสภาอยู่ดี แม้ว่าจะค้านกับสายตาประชาชนจำนวนมาก และนำไปสู่การตั้งคำถามกับความเชื่อมโยงระหว่างพรรคฝ่ายค้านกับการเมือง อำมาตย์) แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่พรรคฝ่ายค้านนั้น เคยเล่นมาหลายบทบาท ตั้งแต่การไม่ลงรับเลือกตั้งในช่วงปลายของทักษิณ หรือ แม้กระทั่งการเข้าร่วมการชุมนุมข้างรัฐสภาในสมัยของการต่อสู้กับรัฐบาลของ พลเอก สุจินดา คราประยูร นั้น เราก็จะพบว่า ตัวแบบของการต่อสู้ของพรรคฝ่ายค้านในวันนี้ก็อาจจะไม่ได้ใหม่ซะทั้งหมด แต่จะว่าเก่าไปซะทีเดียวก็ไม่น่าจะได้ อย่างน้อยฝ่ายค้านนั้นก็ยัง สวมบทบาทของการทำงานในรัฐสภาอยู่ดี และยังมองไปที่เรื่องของการพยายามที่จะผลักดันให้เกิดการตีความเนื้อหาของ การขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ เมื่อกระบวนการในทางรัฐสภา (วุฒิสภา) ของพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจบลง สำหรับพรรครัฐบาลนั้น ผมเองกลับไม่ได้รู้สึกว่าปัญหาใหญ่จะอยู่ที่เรื่องของความขัดแย้งแตกแยก ระหว่างมวลชนของพรรค หรือคนเสื้อแดงกับพรรคการเมือง หรือดังที่ถูกเย้ยหยันจากอีกสีเสื้อหนึ่งว่าทั้งหมดเป็นการถูกหลอก หรือเป็นเรื่องของการหมดหน้าที่ของ "เรือ" ตามที่เคยมีการแถลงของทักษิณในครั้งหนึ่งของการชุมนุม แต่ผมกลับ รู้สึกว่าความสัมพันธ์ของระบอบทักษิณหลังรัฐประหารนั้น โดยเฉพาะเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของยิ่งลักษณ์นั้นกลับมีความซับ ซ้อนยิ่ง แต่คนนอกมักจะมองง่ายๆ ว่าทั้งหมดเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างพรรคกับมวลชน แต่ถ้ามองให้ดี เราอาจจะเห็นมวลชนที่มีเฉดสีหลายเฉด ไม่นับแนวร่วมของมวลชนในหลายๆ กลุ่ม แต่ ในพรรคเองก็ต้องตั้งคำถามให้ดี ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างทักษิณ กลุ่มก๊วนนักการเมืองแต่ละภูมิภาค (รวมทั้งนอกพรรคที่เป็นพันธมิตร) กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มนักวิชาการใหม่และนักบริหารที่ร่วมขับเคลื่อนรัฐบาล ตัวยิ่งลักษณ์ และทีมงานแวดล้อมของยิ่งลักษณ์ที่อาจไม่ได้มีอำนาจหลักอยู่ในพรรคเสียที เดียว ในแง่นี้เราอาจจะต้องถามคำถามใหม่ว่าคุณยิ่งลักษณ์นั้นลอยตัว หรือตีกรรเชียง หรือเราไม่เข้าใจถึงตำแหน่งแห่งที่ของยิ่งลักษณ์ที่ไม่ใช่ทั้งการลอยตัว และการตีกรรเชียง ขณะเดียวกัน ก็จะละเลยการกลับมาของทั้งบ้าน 111 และ 109 ในปลายปีนี้ไม่ได้ ดังนั้น เรื่องของการพิจารณาถึงความแตกแยกระหว่างมวลชนกับพรรครัฐบาลนั้นไม่น่าจะ เป็นเรื่องใหญ่ เท่ากับว่า ในท้ายที่สุดเมื่อการลงหลักปักฐานของการเมืองแบบพรรคการเมืองแบบคุณทักษิณ ที่มีส่วนผสมหลายด้าน รวมทั้งมีตัวแสดงที่มากหน้าหลายตานี้ จะสามารถถูกจัดระเบียบและความสัมพันธ์แต่ละส่วนเข้าด้วยกันอย่างไร เรื่อง นี้จึงเป็นเรื่องที่ใหญ่ไม่น้อยไปกว่าการตื่นเต้นกับการค้นพบว่าชนบทเปลี่ยน แปลงไปแค่ไหน หรือเกิดชนชั้นทางสังคมมากน้อยแค่ไหน เพราะนั่นเป็นการวิเคราะห์แต่ในระดับสังคมวิทยาทางอำนาจ หรือประวัติศาสตร์ในภาพกว้าง แต่เรื่องที่กำลังจะกำหนดความเป็นตาย ทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดความสัมพันธ์ครั้งใหญ่ (หากเราเชื่อว่า) คุณทักษิณจะกลับมา หรือแม้ว่าจะไม่รู้ว่าคุณทักษิณจะกลับมาหรือไม่ หรือเร็วช้าแค่ไหน แต่เครือข่ายทางอำนาจของคุณทักษิณที่ดำรงอยู่ในสังคมนั้นออกจะใหญ่โตและ สับสนอยู่มาก หรือไม่น้อยกว่าเครือข่ายทางอำนาจในแบบเดิม หรือว่าเรา อาจจะหลงไปว่าการทำความเข้าใจเครือข่ายทางอำนาจของคุณทักษิณนั้นทำได้ไม่ยาก เพราะทุกอย่างนั้นเห็นกันอยู่ตรงหน้า เมื่อเทียบกับเครือข่ายอำมาตย์แบบเดิม หากจะนึกถึงวรรคทองวรรคหนึ่งของทักษิณที่เคยมีนักวิชาการกล่าวถึง มานานแล้วว่า "ประเทศก็เหมือนบริษัท" หรือ เคยได้ยินนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์กล่าวในวันแรกที่ชนะเลือกตั้งว่าการบริหาร รัฐกับการบริหารบริษัทนั้นต่างกันที่เรื่องของขนาดในการบริหารนั้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง