“ภาวะภัยทางศีลธรรมในทางการเมือง” เสียงกระซิบอันแผ่วเบาถึงหูพรรคเพื่อไทย

แสดงความคิดเห็น

ปฐมพงศ์ มโนหาญ

ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จนกระทั่งหลังปี พ.ศ.2549 และ ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา ได้มีงานศึกษาที่เสนอชุดความรู้คำอธิบายการเมืองไทยสมัยใหม่จำนวนมาก ซึ่งอธิบายคนกลุ่มใหม่ในสังคมไทยที่ต้องพื้นที่ทางการเมืองหรือเรียกตาม อภิชาต สถิตนิรามัย และ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ว่ากลุ่ม “ชนชั้นกลางระดับล่าง”

กลุ่มคน “ชนชั้นกลางระดับล่าง” มีประวัติศาสตร์การพัฒนาตัวตนขึ้นมาจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจตั้งแต่ ช่วงทศวรรษ 2520 ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่ คือ การปรับเปลี่ยนจากเกษตรกรเต็มเวลา เป็นเกษตรกรแบบบางส่วน หรือ ทำงานเกษตรไปด้วยทำอย่างอื่นไปด้วย อาจเรียกได้ว่า คนในเศรษฐกิจนอกระบบ (informal sector) แต่กระนั้นพวกเขาก็ไม่มีพื้นที่ทางการเมืองเลย จนกระทั่งมีรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้จัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจใหม่ ให้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจในการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหาภาค รวมถึงสร้างนโยบายประชานิยมให้เป็นจริง ทำให้ “ชนชั้นกลางระดับล่าง” เลือกพรรคไทยรักไทยเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการเข้าถึงพื้นที่ทางการเมือง[1]

ดังนั้นแล้วเมื่อพรรคไทยรักไทยเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองหนึ่งของ “ชนชั้นกลางระดับล่าง” ก็เท่ากับว่า การล้มกระดานหรือยึดเครื่องมือทางการเมืองของพวกเขาด้วยการรัฐประหารปี พ.ศ.2549 ไม่มีผลใดๆ เลย เพราะอย่างไรเสีย “ชนชั้นกลางระดับล่าง” ก็ยังคงอยู่และเลือกเครื่องมือทางการเมืองที่ทำให้พวกเขามีพื้นที่ทางการ เมือง หากแต่พรรคไทยรักไทย หรือ พรรคเพื่อไทยกลับไม่คิดว่าตนเองเป็นเพียงเครื่องมือของ “ชนชั้นกลางระดับล่าง” คิดว่าตนเองคือผู้ให้กำเนิด “คนเสื้อแดง” เลยไม่ทันระวังย่างก้าวทางการเมือง ไม่ระวัง 1 คือ ใช้นโยบายประชานิยมแบบล้นเกิน เพราะคงคิดว่านโยบายประชานิยมเป็นเส้นเลือดใหญ่เชื่อมต่อพรรคและ “คนเสื้อแดง” อย่างเหนียวแน่น ไม่ระวัง 2 คือ เชื่อว่า “คนเสื้อแดง” มีวัฒนธรรมทางการเมือง หรือ ความคิดทางการเมืองเหมือนกับพรรค จนนำไปสู่ความเชื่อผิดๆ ที่ว่าหากพรรคเพื่อไทยนำ “คนเสื้อแดง” ก็จะตาม

พรรคเพื่อไทยในฐานะเครื่องมือทางการเมืองของ “คนเสื้อแดง” คงไม่สามารถทำอะไรให้มากไปกว่าการฟังเสียง “คนเสื้อแดง” ซึ่งก็ไม่ได้มีแค่กลุ่มเดียว เพราะแดงนั้นมีหลายเฉด[2] ดังนั้นการเสนอ “นิรโทษกรรมแบบยกเข่ง” จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง เพราะในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2553 “คนเสื้อแดง” จำนวนหนึ่งที่เสียสละชีวิต บางส่วนอยู่ในเรือนจำ เขาไม่ได้แลกชีวิตและอิสรภาพของเขาเพื่อความอยู่รอดของพรรคเพื่อไทย แต่เขาอุทิศชีวิตและอิสรภาพให้กับ “ประชาธิปไตย” และพื้นที่ทางการเมืองของพวกเขาต่างหาก

ด้านหนึ่งพรรคเพื่อไทยต้องไม่อ้างความ “สงบทางการเมือง” เพื่อกลบเกลื่อนหรือเล่นซ่อนแอบกับความรุนแรงทางการเมืองอีกต่อไป เพราะไม่เช่นนั้นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง แบบ เดือนตุลา 2516 – 2519, 2535 และ 2553 ก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้[3] เพราะ การนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งเปรียบเสมือนการสร้าง Moral Hazard หรือ “ภาวะภัยทางศีลธรรมในทางการเมือง” การนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งนั้นเหมือนกับการสร้างหลักประกันว่า ผู้นำทางการเมืองที่สั่งการจนก่อให้เกิดความรุนแรงสามารถรอดจากการดำเนินคดี และกระบวนการยุติธรรมได้ในอนาคต

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/10/49522 (ขนาดไฟล์: 167)

( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 พ.ย.56 )

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 2/11/2556 เวลา 02:28:13

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ปฐมพงศ์ มโนหาญ ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จนกระทั่งหลังปี พ.ศ.2549 และ ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา ได้มีงานศึกษาที่เสนอชุดความรู้คำอธิบายการเมืองไทยสมัยใหม่จำนวนมาก ซึ่งอธิบายคนกลุ่มใหม่ในสังคมไทยที่ต้องพื้นที่ทางการเมืองหรือเรียกตาม อภิชาต สถิตนิรามัย และ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ว่ากลุ่ม “ชนชั้นกลางระดับล่าง” กลุ่มคน “ชนชั้นกลางระดับล่าง” มีประวัติศาสตร์การพัฒนาตัวตนขึ้นมาจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจตั้งแต่ ช่วงทศวรรษ 2520 ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่ คือ การปรับเปลี่ยนจากเกษตรกรเต็มเวลา เป็นเกษตรกรแบบบางส่วน หรือ ทำงานเกษตรไปด้วยทำอย่างอื่นไปด้วย อาจเรียกได้ว่า คนในเศรษฐกิจนอกระบบ (informal sector) แต่กระนั้นพวกเขาก็ไม่มีพื้นที่ทางการเมืองเลย จนกระทั่งมีรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้จัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจใหม่ ให้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจในการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหาภาค รวมถึงสร้างนโยบายประชานิยมให้เป็นจริง ทำให้ “ชนชั้นกลางระดับล่าง” เลือกพรรคไทยรักไทยเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการเข้าถึงพื้นที่ทางการเมือง ดังนั้นแล้วเมื่อพรรคไทยรักไทยเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองหนึ่งของ “ชนชั้นกลางระดับล่าง” ก็เท่ากับว่า การล้มกระดานหรือยึดเครื่องมือทางการเมืองของพวกเขาด้วยการรัฐประหารปี พ.ศ.2549 ไม่มีผลใดๆ เลย เพราะอย่างไรเสีย “ชนชั้นกลางระดับล่าง” ก็ยังคงอยู่และเลือกเครื่องมือทางการเมืองที่ทำให้พวกเขามีพื้นที่ทางการ เมือง หากแต่พรรคไทยรักไทย หรือ พรรคเพื่อไทยกลับไม่คิดว่าตนเองเป็นเพียงเครื่องมือของ “ชนชั้นกลางระดับล่าง” คิดว่าตนเองคือผู้ให้กำเนิด “คนเสื้อแดง” เลยไม่ทันระวังย่างก้าวทางการเมือง ไม่ระวัง 1 คือ ใช้นโยบายประชานิยมแบบล้นเกิน เพราะคงคิดว่านโยบายประชานิยมเป็นเส้นเลือดใหญ่เชื่อมต่อพรรคและ “คนเสื้อแดง” อย่างเหนียวแน่น ไม่ระวัง 2 คือ เชื่อว่า “คนเสื้อแดง” มีวัฒนธรรมทางการเมือง หรือ ความคิดทางการเมืองเหมือนกับพรรค จนนำไปสู่ความเชื่อผิดๆ ที่ว่าหากพรรคเพื่อไทยนำ “คนเสื้อแดง” ก็จะตาม พรรคเพื่อไทยในฐานะเครื่องมือทางการเมืองของ “คนเสื้อแดง” คงไม่สามารถทำอะไรให้มากไปกว่าการฟังเสียง “คนเสื้อแดง” ซึ่งก็ไม่ได้มีแค่กลุ่มเดียว เพราะแดงนั้นมีหลายเฉด ดังนั้นการเสนอ “นิรโทษกรรมแบบยกเข่ง” จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง เพราะในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2553 “คนเสื้อแดง” จำนวนหนึ่งที่เสียสละชีวิต บางส่วนอยู่ในเรือนจำ เขาไม่ได้แลกชีวิตและอิสรภาพของเขาเพื่อความอยู่รอดของพรรคเพื่อไทย แต่เขาอุทิศชีวิตและอิสรภาพให้กับ “ประชาธิปไตย” และพื้นที่ทางการเมืองของพวกเขาต่างหาก ด้านหนึ่งพรรคเพื่อไทยต้องไม่อ้างความ “สงบทางการเมือง” เพื่อกลบเกลื่อนหรือเล่นซ่อนแอบกับความรุนแรงทางการเมืองอีกต่อไป เพราะไม่เช่นนั้นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง แบบ เดือนตุลา 2516 – 2519, 2535 และ 2553 ก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ การนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งเปรียบเสมือนการสร้าง Moral Hazard หรือ “ภาวะภัยทางศีลธรรมในทางการเมือง” การนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งนั้นเหมือนกับการสร้างหลักประกันว่า ผู้นำทางการเมืองที่สั่งการจนก่อให้เกิดความรุนแรงสามารถรอดจากการดำเนินคดี และกระบวนการยุติธรรมได้ในอนาคต ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/10/49522 ( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง