เอแบคโพลล์ โชว์ชัดๆ'การเมือง'ฉุดการศึกษาไทยตกต่ำ!

แสดงความคิดเห็น

เอแบคโพลล์ โชว์ชัดๆ'การเมือง'ฉุดการศึกษาไทยตกต่ำ!

เอแบคโพลล์ เผยผลวิจัยเชิงสำรวจ ‘วิชานาฏศิลป์ฉุดคุณภาพการศึกษาไทยจริงหรือ?’ พบประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 93.5 ไม่เห็นด้วยว่าวิชานาฏศิลป์ไทยทำให้การศึกษาไทยตกต่ำ ย้ำเป็นวิชาที่อนุรักษ์วัฒนธรรมของไทย ชี้ ‘การเมือง’ ปัจจัยสำคัญฉุดคุณภาพการศึกษาไทย

วันที่ 27 ต.ค. 56 ดร.นพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม และผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยโครงการวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “วิชานาฏศิลป์ฉุดคุณภาพการศึกษาไทยจริงหรือ?” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 1,109 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23 - 26 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกเขต อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7

คณะ ผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชา นาฏศิลป์นั้น พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 83.1 ระบุว่าวิชานาฏศิลป์เป็นวิชาที่อนุรักษ์และธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงามที่น่า ภาคภูมิใจของไทย ทั้งนี้ ตัวอย่างส่วนมากถึงร้อยละ 93.5 ระบุไม่เห็นด้วยว่าวิชานาฏศิลป์เป็นวิชาที่ทำให้การศึกษาไทยตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

นอก จากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อไปว่าหากมีการถอดวิชานาฏศิลป์ออกไปเพื่อเพิ่มเวลา การเรียนการสอนของนักเรียนแล้วจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาของไทย ได้นั้น พบว่าร้อยละ 80.6 ระบุไม่เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในขณะที่ร้อยละ 7.7 ระบุเฉย ๆ และร้อยละ 11.7 ระบุเห็นด้วย-เห็นด้วยอย่างยิ่ง

อย่าง ไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็นกรณีการจัดหลักสูตรใหม่ที่จะนำเอาวิชานาฏศิลป์ไป บรรจุไว้ในกลุ่มวิชาสังคมและความเป็นมนุษย์นั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 58.7 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุเห็นด้วย

อนึ่ง ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากการสำรวจในครั้งนี้คือ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบทำให้การศึกษาไทยมีคุณภาพต่ำลงนั้น กลับพบว่า ร้อยละ 75.3 ระบุ การเมือง รองลงมาคือร้อยละ 69.7 ระบุสังคม ร้อยละ 59.4 ระบุเทคโนโลยี ร้อยละ 58.1 ระบุวัฒนธรรม และร้อยละ 51.6 ระบุเศรษฐกิจ ตามลำดับ

ทั้ง นี้ ผลสำรวจยังพบว่าหากจะต้องพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยแล้ว 5 ทักษะแรกที่ควรจะพัฒนาจากการระบุของตัวอย่างที่ถูกศึกษาได้แก่ ร้อยละ 74.0 ระบุทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ร้อยละ 68.8 ระบุทักษะด้านจิตสาธารณะ ร้อยละ 67.5 ระบุทักษะด้านการมีส่วนร่วม ร้อยละ 60.9 ระบุทักษะด้านการสื่อสาร และร้อยละ 56.8 ระบุทักษะด้านการแก้ไขปัญหาตามลำดับ

สอด คล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีบุคคลที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี ในการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนที่พบว่า ร้อยละ 93.5 ระบุเป็นครอบครัว รองลงมาคือร้อยละ 86.8 ระบุ ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ร้อยละ 80.1 ระบุนักการเมือง ร้อยละ 79.4 ระบุนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 74.5 ระบุผู้ใหญ่ในสังคมไทย และร้อยละ 60.3 ระบุผู้นำชุมชน ตามลำดับ

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/378906

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ต.ค.56)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 28/10/2556 เวลา 03:31:20 ดูภาพสไลด์โชว์ เอแบคโพลล์ โชว์ชัดๆ'การเมือง'ฉุดการศึกษาไทยตกต่ำ!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เอแบคโพลล์ โชว์ชัดๆ\'การเมือง\'ฉุดการศึกษาไทยตกต่ำ! เอแบคโพลล์ เผยผลวิจัยเชิงสำรวจ ‘วิชานาฏศิลป์ฉุดคุณภาพการศึกษาไทยจริงหรือ?’ พบประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 93.5 ไม่เห็นด้วยว่าวิชานาฏศิลป์ไทยทำให้การศึกษาไทยตกต่ำ ย้ำเป็นวิชาที่อนุรักษ์วัฒนธรรมของไทย ชี้ ‘การเมือง’ ปัจจัยสำคัญฉุดคุณภาพการศึกษาไทย วันที่ 27 ต.ค. 56 ดร.นพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม และผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยโครงการวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “วิชานาฏศิลป์ฉุดคุณภาพการศึกษาไทยจริงหรือ?” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 1,109 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23 - 26 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกเขต อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 คณะ ผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชา นาฏศิลป์นั้น พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 83.1 ระบุว่าวิชานาฏศิลป์เป็นวิชาที่อนุรักษ์และธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงามที่น่า ภาคภูมิใจของไทย ทั้งนี้ ตัวอย่างส่วนมากถึงร้อยละ 93.5 ระบุไม่เห็นด้วยว่าวิชานาฏศิลป์เป็นวิชาที่ทำให้การศึกษาไทยตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นอก จากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อไปว่าหากมีการถอดวิชานาฏศิลป์ออกไปเพื่อเพิ่มเวลา การเรียนการสอนของนักเรียนแล้วจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาของไทย ได้นั้น พบว่าร้อยละ 80.6 ระบุไม่เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในขณะที่ร้อยละ 7.7 ระบุเฉย ๆ และร้อยละ 11.7 ระบุเห็นด้วย-เห็นด้วยอย่างยิ่ง อย่าง ไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็นกรณีการจัดหลักสูตรใหม่ที่จะนำเอาวิชานาฏศิลป์ไป บรรจุไว้ในกลุ่มวิชาสังคมและความเป็นมนุษย์นั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 58.7 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุเห็นด้วย อนึ่ง ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากการสำรวจในครั้งนี้คือ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบทำให้การศึกษาไทยมีคุณภาพต่ำลงนั้น กลับพบว่า ร้อยละ 75.3 ระบุ การเมือง รองลงมาคือร้อยละ 69.7 ระบุสังคม ร้อยละ 59.4 ระบุเทคโนโลยี ร้อยละ 58.1 ระบุวัฒนธรรม และร้อยละ 51.6 ระบุเศรษฐกิจ ตามลำดับ ทั้ง นี้ ผลสำรวจยังพบว่าหากจะต้องพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยแล้ว 5 ทักษะแรกที่ควรจะพัฒนาจากการระบุของตัวอย่างที่ถูกศึกษาได้แก่ ร้อยละ 74.0 ระบุทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ร้อยละ 68.8 ระบุทักษะด้านจิตสาธารณะ ร้อยละ 67.5 ระบุทักษะด้านการมีส่วนร่วม ร้อยละ 60.9 ระบุทักษะด้านการสื่อสาร และร้อยละ 56.8 ระบุทักษะด้านการแก้ไขปัญหาตามลำดับ สอด คล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีบุคคลที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี ในการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนที่พบว่า ร้อยละ 93.5 ระบุเป็นครอบครัว รองลงมาคือร้อยละ 86.8 ระบุ ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ร้อยละ 80.1 ระบุนักการเมือง ร้อยละ 79.4 ระบุนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 74.5 ระบุผู้ใหญ่ในสังคมไทย และร้อยละ 60.3 ระบุผู้นำชุมชน ตามลำดับ ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/378906 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง