สุรพศ ทวีศักดิ์: ศาสนากับการเมืองแบบสันติอโศก

แสดงความคิดเห็น

โดนัลด์ เค.สแวเรอร์ ได้อ้างแนวคิด “พุทธศาสนาแบบโปรเตสแตนท์” (protestant Buddhism) ของกานะนาถ โอบีเยเสเกรี ที่มีต่อ เอ.ที.อารีย์รัตน์ นักปฏิรูปชาวพุทธผู้ก่อตั้งขบวนการสรรโวทัยสมาทานในศรีลังกา และอนาคาริกธรรมปาละ นักตรรกวิทยาทางพุทธศาสนาชาวสิงหลว่า ทั้งสองท่านนี้เป็น “ชาวพุทธโปรเตสแตนท์” เพราะรับอิทธิพลจากทรรศนะของโปรเตสแตนท์สมัยใหม่ในยุโรปตะวันตก ที่เน้นการใช้เหตุผลในการตีความศาสนา โดยสแวเรอร์มองว่า ชาวพุทธแบบโปรเตสแตนท์อาจเป็น “จารีตนิยมใหม่” (Neo-traditionalism) ซึ่งนำแนวปฏิบัติเดิมมาปรับใช้ใหม่ เช่นธรรมปาละในศรีลังกา หรือ “สันติอโศก” ในไทยก็ได้ หรืออาจเป็น “นักปฏิรูป” อย่างเช่นอารีย์รัตน์ในศรีลังกา และสุลักษณ์ ศิวรักษ์ในไทย (โดนัลด์ เค.สแวเรอร์.การสร้างสรรค์สังคมใหม่แบบพุทธตามทัศนะของ ส.ศิวรักษ์, หน้า 58-59)

จากการวิเคราะห์ของสแวเรอร์ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ความเป็น “จารีตนิยมใหม่” ที่เน้นการใช้เหตุผลในการตีความพุทธศาสนา และนำแนวปฏิบัติเดิมมาปรับใช้ใหม่ของสันติอโศก คือ การตีความพุทธศาสนาสนับสนุนการเมืองว่าพระสงฆ์เกี่ยวข้องกับการเมืองได้ และพระสงฆ์กับชาวพุทธควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเพื่อให้การเมืองสะอาด ขึ้น มีศีลธรรมมากขึ้น ซึ่งที่จริงการตีความพุทธศาสนาในทางการเมืองทำนองนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็น ไปไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์บอกเราว่า พุทธศาสนา (และศาสนาอื่นๆ) ก็ถูกตีความสนับสนุนการเมืองในระบอบราชาธิปไตยมาก่อนแล้วทั้งนั้น

ต่างแต่ว่าสันติอโศกแสดงออกว่า กำลังตีความพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย สนับสนุนการก่อตั้งพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ พระสงฆ์แสดงออกซึ่งสิทธิทางการเมืองในด้านต่างๆได้ เช่น การแสดงทัศนะทางการเมือง การเคลื่อนไหว หรือชุมนุมทางการเมือง นี่คือ “ความใหม่” ในการตีความพุทธศาสนาทางการเมืองของสันติอโศก

แต่ “ความเก่า” ของสันติอโศก คือการยึดถือวินัยสงฆ์และศีลพรตอย่างเคร่งครัด และอ้างอิงใช้ในทางสังคมการเมืองอย่าง “ตายตัว” เช่น อ้างการกินมังสวิรัติเป็นวัตรปฏิบัติที่ถูกต้องของชาวพุทธ อ้างศีล 5 ต่อต้านการที่รัฐจะออกกฎหมายอนุญาตทำแท้ง หรืออ้างศีลธรรมพุทธศาสนาต่อต้านการเปิดบ่อนการพนันถูกกฎหมาย เป็นต้น (ในแง่นี้การอ้างศีลธรรมทางศาสนาแบบสันติอโศกมีลักษณะยืนยัน “กฎศีลธรรมแบบตายตัว” คล้าย “คาทอลิก” มากกว่าโปรเตสแตนท์)

ส่วนในเชิงการจัดองค์กรสังฆะ “ความใหม่” ของสันติอโศกคือ การประกาศตนเป็นขบถไม่ขึ้นต่อการปกครองของมหาเถรสมาคม ซึ่งสันติอโศกมองว่าเป็น “เผด็จการ” มีการตีความ “วินัยสงฆ์” ขัดแย้งกับมหาเถรสมาคม ส่งผลให้มีการดำเนินคดี และศาลตัดสินให้สันติอโศกไม่ใช่พระภิกษุในคณะสงฆ์ไทย แต่ในทางพระธรรมวินัยเราปฏิเสธไม่ได้ว่าสมณะสันติอโศกไม่ใช่พระภิกษุในพุทธศาสนา

การไม่ขึ้นต่อการปกครองของมหาเถรสมาคมทำให้สันติอโศกเป็นองค์กร “สังฆะใหม่” ในสังคมไทย คือเป็นองค์กรสังฆะที่ไม่ขึ้นต่อรัฐ หรือพูดได้ว่าพุทธศาสนาแบบสันติอโศกคือ “พุทธศาสนาที่เป็นอิสระจากรัฐ” ในสังคมไทย

ในแง่ปรัชญาองค์กร สังฆะสันติอโศกอาจมีความใหม่ในเชิงเป็นศาสนาทางเลือกที่เสนอวิถีชีวิตเรียบ ง่ายแบบ “บุญนิยม” ต้านทุนนิยม บริโภคนิยม แต่ “ความเก่า” ของสันติอโศกคือ แม้จะปฏิเสธมหาเถรสมาคม แต่สันติอโศกก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและได้รับการสนับสนุนจากทหาร (หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ “นายทหารผู้มากบารมี” อาจเป็นเรื่องยากที่สันติอโศกจะรอดและเติบโตมาได้) มาโดยตลอด อีกทั้งยังมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมค่อนข้างเข้มข้น เห็นได้จากการต่อสู้ทางการเมืองภายใต้อุดมการณ์กษัตริย์นิยม ชาตินิยมล้าหลัง เป็นต้น

ภาวะ “ย้อนแย้ง” (paradox) ในตัวเองของสันติอโศกดังกล่าวมานี่เอง ที่ทำให้ศาสนากับการเมืองแบบสันติอโศกมีความย้อนแย้งในตัวเองไปด้วยอย่างซับ ซ้อน เช่น เรียกร้องประชาธิปไตย แต่สนับสนุนการทำรัฐประหารรัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือก และอ้างศีลธรรมแบบ “สองมาตรฐาน” คือ อ้างศีลธรรมยกย่องความดีงามสูงส่งของสถาบันกษัตริย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ตรวจ สอบไม่ได้ พร้อมๆ กับอ้างศีลธรรมตัดสินความเลวร้ายของนักการเมืองที่ตรวจสอบได้

การอ้างศีลธรรมแบบ “สองมาตรฐาน” ดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาตามมาคือ เป็นการสร้าง “ความไม่เป็นธรรม” ในการ “ตัดสินทางศีลธรรม” (moral judgment) อันเป็นรากฐานของทัศนะทางการเมืองแบบ “ขาว-ดำ” หรือ “เทพ-มาร” และนำไปสู่การอ้าง “เทพ” มากำจัด “มาร” ด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้ ซึ่งขัดต่อ “ความเป็นประชาธิปไตย” ที่พวกตนเรียกร้อง เพราะประชาธิปไตยนั้นต้องถูกต้องทั้ง “วิถี” และ “จุดหมาย” วิถีที่ผิดอย่างรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ จะทำให้บรรลุจุดหมาย คือความมีเสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรมไม่ได้

ความขัดแย้งในตัวเองของสันติอโศกยังมีอีกมาก เช่น ชูธง “อหิงสา-สันติ” แต่กลับสนับสนุนโครงสร้างอำนาจนิยม และอุดมการณ์ชาตินิยมล้าหลัง สนับสนุนรัฐประหารซึ่งเป็น “วิธีการรุนแรงในตัวมันเอง” ที่อยู่ตรงข้ามกับอหิงสา-สันติ อ้างศีลธรรมนำการเมืองตลอดเวลา แต่กลับอ้างศีลธรรม “แบบสองมาตรฐาน” ที่แสดงถึงการขาดศีลธรรมพื้นฐานในทางสังคมการเมืองของ “ผู้อ้าง” เอง คือขาด “ความยุติธรรม” หรือ “ความเที่ยงตรง” หรือ “การประพฤติธรรมอย่างสุจริต” ในการตีความ และอ้างอิงใช้ศีลธรรมและศาสนาในทางการเมือง

กล่าวโดยสรุป ลัทธิจารีตนิยมใหม่แบบสันติอโศก อาจจะเป็นศาสนาทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับคนกลุ่มน้อยที่ปฏิเสธบริโภคนิยม แต่ถ้าเข้ามาสู่การเมืองระดับชาติโดยยึดอุดมการณ์กษัตริย์นิยม ชาตินิยมล้าหลัง และใช้ “สองมาตรฐานทางศีลธรรม” ตัดสินถูก ผิดทางการเมือง พุทธแบบสันติอโศกย่อมกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้อง “ระบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย” ให้ดำรงอยู่ต่อไป

ขอบคุณ http://www.prachatai.com/journal/2013/10/49423 (ขนาดไฟล์: 167)

( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ต.ค.56 )

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 27/10/2556 เวลา 02:26:14

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดนัลด์ เค.สแวเรอร์ ได้อ้างแนวคิด “พุทธศาสนาแบบโปรเตสแตนท์” (protestant Buddhism) ของกานะนาถ โอบีเยเสเกรี ที่มีต่อ เอ.ที.อารีย์รัตน์ นักปฏิรูปชาวพุทธผู้ก่อตั้งขบวนการสรรโวทัยสมาทานในศรีลังกา และอนาคาริกธรรมปาละ นักตรรกวิทยาทางพุทธศาสนาชาวสิงหลว่า ทั้งสองท่านนี้เป็น “ชาวพุทธโปรเตสแตนท์” เพราะรับอิทธิพลจากทรรศนะของโปรเตสแตนท์สมัยใหม่ในยุโรปตะวันตก ที่เน้นการใช้เหตุผลในการตีความศาสนา โดยสแวเรอร์มองว่า ชาวพุทธแบบโปรเตสแตนท์อาจเป็น “จารีตนิยมใหม่” (Neo-traditionalism) ซึ่งนำแนวปฏิบัติเดิมมาปรับใช้ใหม่ เช่นธรรมปาละในศรีลังกา หรือ “สันติอโศก” ในไทยก็ได้ หรืออาจเป็น “นักปฏิรูป” อย่างเช่นอารีย์รัตน์ในศรีลังกา และสุลักษณ์ ศิวรักษ์ในไทย (โดนัลด์ เค.สแวเรอร์.การสร้างสรรค์สังคมใหม่แบบพุทธตามทัศนะของ ส.ศิวรักษ์, หน้า 58-59) จากการวิเคราะห์ของสแวเรอร์ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ความเป็น “จารีตนิยมใหม่” ที่เน้นการใช้เหตุผลในการตีความพุทธศาสนา และนำแนวปฏิบัติเดิมมาปรับใช้ใหม่ของสันติอโศก คือ การตีความพุทธศาสนาสนับสนุนการเมืองว่าพระสงฆ์เกี่ยวข้องกับการเมืองได้ และพระสงฆ์กับชาวพุทธควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเพื่อให้การเมืองสะอาด ขึ้น มีศีลธรรมมากขึ้น ซึ่งที่จริงการตีความพุทธศาสนาในทางการเมืองทำนองนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็น ไปไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์บอกเราว่า พุทธศาสนา (และศาสนาอื่นๆ) ก็ถูกตีความสนับสนุนการเมืองในระบอบราชาธิปไตยมาก่อนแล้วทั้งนั้น ต่างแต่ว่าสันติอโศกแสดงออกว่า กำลังตีความพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย สนับสนุนการก่อตั้งพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ พระสงฆ์แสดงออกซึ่งสิทธิทางการเมืองในด้านต่างๆได้ เช่น การแสดงทัศนะทางการเมือง การเคลื่อนไหว หรือชุมนุมทางการเมือง นี่คือ “ความใหม่” ในการตีความพุทธศาสนาทางการเมืองของสันติอโศก แต่ “ความเก่า” ของสันติอโศก คือการยึดถือวินัยสงฆ์และศีลพรตอย่างเคร่งครัด และอ้างอิงใช้ในทางสังคมการเมืองอย่าง “ตายตัว” เช่น อ้างการกินมังสวิรัติเป็นวัตรปฏิบัติที่ถูกต้องของชาวพุทธ อ้างศีล 5 ต่อต้านการที่รัฐจะออกกฎหมายอนุญาตทำแท้ง หรืออ้างศีลธรรมพุทธศาสนาต่อต้านการเปิดบ่อนการพนันถูกกฎหมาย เป็นต้น (ในแง่นี้การอ้างศีลธรรมทางศาสนาแบบสันติอโศกมีลักษณะยืนยัน “กฎศีลธรรมแบบตายตัว” คล้าย “คาทอลิก” มากกว่าโปรเตสแตนท์) ส่วนในเชิงการจัดองค์กรสังฆะ “ความใหม่” ของสันติอโศกคือ การประกาศตนเป็นขบถไม่ขึ้นต่อการปกครองของมหาเถรสมาคม ซึ่งสันติอโศกมองว่าเป็น “เผด็จการ” มีการตีความ “วินัยสงฆ์” ขัดแย้งกับมหาเถรสมาคม ส่งผลให้มีการดำเนินคดี และศาลตัดสินให้สันติอโศกไม่ใช่พระภิกษุในคณะสงฆ์ไทย แต่ในทางพระธรรมวินัยเราปฏิเสธไม่ได้ว่าสมณะสันติอโศกไม่ใช่พระภิกษุในพุทธศาสนา การไม่ขึ้นต่อการปกครองของมหาเถรสมาคมทำให้สันติอโศกเป็นองค์กร “สังฆะใหม่” ในสังคมไทย คือเป็นองค์กรสังฆะที่ไม่ขึ้นต่อรัฐ หรือพูดได้ว่าพุทธศาสนาแบบสันติอโศกคือ “พุทธศาสนาที่เป็นอิสระจากรัฐ” ในสังคมไทย ในแง่ปรัชญาองค์กร สังฆะสันติอโศกอาจมีความใหม่ในเชิงเป็นศาสนาทางเลือกที่เสนอวิถีชีวิตเรียบ ง่ายแบบ “บุญนิยม” ต้านทุนนิยม บริโภคนิยม แต่ “ความเก่า” ของสันติอโศกคือ แม้จะปฏิเสธมหาเถรสมาคม แต่สันติอโศกก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและได้รับการสนับสนุนจากทหาร (หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ “นายทหารผู้มากบารมี” อาจเป็นเรื่องยากที่สันติอโศกจะรอดและเติบโตมาได้) มาโดยตลอด อีกทั้งยังมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมค่อนข้างเข้มข้น เห็นได้จากการต่อสู้ทางการเมืองภายใต้อุดมการณ์กษัตริย์นิยม ชาตินิยมล้าหลัง เป็นต้น ภาวะ “ย้อนแย้ง” (paradox) ในตัวเองของสันติอโศกดังกล่าวมานี่เอง ที่ทำให้ศาสนากับการเมืองแบบสันติอโศกมีความย้อนแย้งในตัวเองไปด้วยอย่างซับ ซ้อน เช่น เรียกร้องประชาธิปไตย แต่สนับสนุนการทำรัฐประหารรัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือก และอ้างศีลธรรมแบบ “สองมาตรฐาน” คือ อ้างศีลธรรมยกย่องความดีงามสูงส่งของสถาบันกษัตริย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ตรวจ สอบไม่ได้ พร้อมๆ กับอ้างศีลธรรมตัดสินความเลวร้ายของนักการเมืองที่ตรวจสอบได้ การอ้างศีลธรรมแบบ “สองมาตรฐาน” ดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาตามมาคือ เป็นการสร้าง “ความไม่เป็นธรรม” ในการ “ตัดสินทางศีลธรรม” (moral judgment) อันเป็นรากฐานของทัศนะทางการเมืองแบบ “ขาว-ดำ” หรือ “เทพ-มาร” และนำไปสู่การอ้าง “เทพ” มากำจัด “มาร” ด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้ ซึ่งขัดต่อ “ความเป็นประชาธิปไตย” ที่พวกตนเรียกร้อง เพราะประชาธิปไตยนั้นต้องถูกต้องทั้ง “วิถี” และ “จุดหมาย” วิถีที่ผิดอย่างรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ จะทำให้บรรลุจุดหมาย คือความมีเสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรมไม่ได้ ความขัดแย้งในตัวเองของสันติอโศกยังมีอีกมาก เช่น ชูธง “อหิงสา-สันติ” แต่กลับสนับสนุนโครงสร้างอำนาจนิยม และอุดมการณ์ชาตินิยมล้าหลัง สนับสนุนรัฐประหารซึ่งเป็น “วิธีการรุนแรงในตัวมันเอง” ที่อยู่ตรงข้ามกับอหิงสา-สันติ อ้างศีลธรรมนำการเมืองตลอดเวลา แต่กลับอ้างศีลธรรม “แบบสองมาตรฐาน” ที่แสดงถึงการขาดศีลธรรมพื้นฐานในทางสังคมการเมืองของ “ผู้อ้าง” เอง คือขาด “ความยุติธรรม” หรือ “ความเที่ยงตรง” หรือ “การประพฤติธรรมอย่างสุจริต” ในการตีความ และอ้างอิงใช้ศีลธรรมและศาสนาในทางการเมือง กล่าวโดยสรุป ลัทธิจารีตนิยมใหม่แบบสันติอโศก อาจจะเป็นศาสนาทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับคนกลุ่มน้อยที่ปฏิเสธบริโภคนิยม แต่ถ้าเข้ามาสู่การเมืองระดับชาติโดยยึดอุดมการณ์กษัตริย์นิยม ชาตินิยมล้าหลัง และใช้ “สองมาตรฐานทางศีลธรรม” ตัดสินถูก ผิดทางการเมือง พุทธแบบสันติอโศกย่อมกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้อง “ระบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย” ให้ดำรงอยู่ต่อไป ขอบคุณ… http://www.prachatai.com/journal/2013/10/49423 ( ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ต.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง