"ตระกูล" การเมืองยึดประเทศ

แสดงความคิดเห็น

หากมีการ “ยุบสภา” ไม่ว่ารัฐบาลจะอยู่ครบเทอมหรือไม่ก็ตาม การเลือกตั้งวุฒิสมาชิกจำนวน 200 คน ตามกติกา ใหม่คงได้เห็นสภา “ผัว–เมีย” เป็นแน่แท้ ขณะเดียวกัน ก็จะกลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากที่จะบวก ส.ว.ชุดใหม่จำนวนหนึ่งเข้าไปด้วย

ที่ว่าอย่างนี้ก็เพราะพรรคการเมือง ที่ได้เสียงข้างมากย่อมมีฐานการเมืองเดียวกับวุฒิสมาชิกอย่างแยกไม่ออก และผู้สมัคร ส.ว.ก็คงจะรวมอยู่หมู่เดียวกับ ส.ส.อย่างแน่นอนเช่นเดียวกัน ไม่

ว่าจะผัว-เมีย-พ่อ-แม่-ลูก หรือเครือญาติเครือข่ายก็เดินพาเหรดเข้าสู่สภา

เป็นการเมือง “ผูกขาด” อำนาจที่ชัดเจนกว่าปัจจุบัน

ตรงนี้แหละ จะทำให้กลายเป็น “เผด็จการรัฐสภา” เต็มรูปแบบ รัฐบาลจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างยิ่ง

ว่า ถึงเรื่องนี้แล้วก็มีเรื่องทำนองเดียวกัน เมื่อผลการศึกษาเรื่อง “ตระกูลการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในโลก” โดยนายสติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้า พบว่าตระกูลการเมืองในประเทศไทย

มีสัดส่วนการยึดครองพื้นที่ทางการเมืองสูงกว่าประเทศอื่นๆทั่วโลก

เปรียบเทียบกับประเทศอื่นพบว่า ไทยมีสัดส่วนถึง 42% เม็กซิโก 40% ฟิลิปปินส์ 37% ญี่ปุ่น 33% อาร์เจนตินา 10% สหรัฐฯ 6%

แน่ นอนที่เป็นอันดับ 1 ก็คือ ตระกูล “ชินวัตร” ที่เป็นนายกฯไล่เรียงกันมา 3 คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ แม้ไม่ใช่ชินวัตรโดยตรง แต่ก็เป็นเขยชินวัตร รวมทั้งภรรยาและลูกสาวก็เป็น ส.ส.

เรียกว่าเป็น “ก๊วนการเมือง” ที่กุมอำนาจการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง

นอก จากนั้น ถ้าแยกเป็นรายพรรคจะพบว่า เพื่อไทยเป็นตระกูลการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด 19 ตระกูล ประชาธิปัตย์ 17 ตระกูล ภูมิใจไทย 4 ตระกูล ชาติไทยพัฒนา 3 ตระกูล พลังชล 1 ตระกูล รักประเทศไทย 1 ตระกูล

ยังพบด้วยว่า พรรคชาติไทยพัฒนามีสัดส่วน ส.ส.ที่มีคนในตระกูลเดียวกันได้รับเลือกตั้งมาสูงสุด คิดเป็น 31.6% รองลงมาคือพลังชล 28.6% รักประเทศไทย 25% ประชาธิปัตย์ 22% ภูมิใจ–ไทย 17.6% เพื่อไทย 15.1%

ใครเป็นใครในตระกูลไหน น่าจะรู้กันดีอยู่แล้ว

และยังตอกย้ำด้วยว่า อิทธิพลและบทบาทของตระกูลการเมืองมิได้ลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะลงสมัครในพื้นที่ไหนก็ตาม

นักการเมืองที่มีสายสัมพันธ์แบบตระกูลที่เคยเป็นนักธุรกิจมาก่อน น่าจะมีสัดส่วนสูงกว่านักการเมืองที่ไม่มีสายสัมพันธ์แบบตระกูล

สิ่งที่ต้องตามก็คือ สายสัมพันธ์ระหว่างตระกูลอาจส่งผลกระทบต่อนโยบายที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้อย่างแท้จริงได้

ที่ เป็นอย่างนี้ก็เพราะเมื่อมีนักการเมืองแบบตระกูล ทุกอย่างก็จะตอบสนองผลประโยชน์ของพรรค ของคนในตระกูล พื้นที่ของคนในตระกูลเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถสนองตอบคนส่วนใหญ่ได้

หาก มองถึงสภาพปัญหาทางการเมืองของไทย แม้จะว่าด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่คนการเมืองที่เป็นนักการเมืองอาชีพมีคนอยู่เพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ที่กุมอำนาจบริหารประเทศสลับกันไป ทำให้ขาดความหลากหลาย

นี่คือจุดหนึ่งที่เป็นปัญหาของประเทศไทย

เพราะ เมื่อมีการเมืองกลายเป็นเรื่องของครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้องกับอำนาจ การบริหารประเทศชาติที่เกือบจะผูกขาดมาตลอดก็จะทำให้เกิดปัญหาในการตรวจสอบ และถ่วงดุล เพราะต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในเรื่องของ “ตระกูล” และ “การเมือง”

คำว่าสภา “ผัว–เมีย” จึงเป็นของแสลงสำหรับสังคมไทย...โดย“สายล่อฟ้า”

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/gladai/376520

( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ต.ค.56 )

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 17/10/2556 เวลา 04:33:33

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หากมีการ “ยุบสภา” ไม่ว่ารัฐบาลจะอยู่ครบเทอมหรือไม่ก็ตาม การเลือกตั้งวุฒิสมาชิกจำนวน 200 คน ตามกติกา ใหม่คงได้เห็นสภา “ผัว–เมีย” เป็นแน่แท้ ขณะเดียวกัน ก็จะกลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากที่จะบวก ส.ว.ชุดใหม่จำนวนหนึ่งเข้าไปด้วย ที่ว่าอย่างนี้ก็เพราะพรรคการเมือง ที่ได้เสียงข้างมากย่อมมีฐานการเมืองเดียวกับวุฒิสมาชิกอย่างแยกไม่ออก และผู้สมัคร ส.ว.ก็คงจะรวมอยู่หมู่เดียวกับ ส.ส.อย่างแน่นอนเช่นเดียวกัน ไม่ ว่าจะผัว-เมีย-พ่อ-แม่-ลูก หรือเครือญาติเครือข่ายก็เดินพาเหรดเข้าสู่สภา เป็นการเมือง “ผูกขาด” อำนาจที่ชัดเจนกว่าปัจจุบัน ตรงนี้แหละ จะทำให้กลายเป็น “เผด็จการรัฐสภา” เต็มรูปแบบ รัฐบาลจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ว่า ถึงเรื่องนี้แล้วก็มีเรื่องทำนองเดียวกัน เมื่อผลการศึกษาเรื่อง “ตระกูลการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในโลก” โดยนายสติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้า พบว่าตระกูลการเมืองในประเทศไทย มีสัดส่วนการยึดครองพื้นที่ทางการเมืองสูงกว่าประเทศอื่นๆทั่วโลก เปรียบเทียบกับประเทศอื่นพบว่า ไทยมีสัดส่วนถึง 42% เม็กซิโก 40% ฟิลิปปินส์ 37% ญี่ปุ่น 33% อาร์เจนตินา 10% สหรัฐฯ 6% แน่ นอนที่เป็นอันดับ 1 ก็คือ ตระกูล “ชินวัตร” ที่เป็นนายกฯไล่เรียงกันมา 3 คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ แม้ไม่ใช่ชินวัตรโดยตรง แต่ก็เป็นเขยชินวัตร รวมทั้งภรรยาและลูกสาวก็เป็น ส.ส. เรียกว่าเป็น “ก๊วนการเมือง” ที่กุมอำนาจการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง นอก จากนั้น ถ้าแยกเป็นรายพรรคจะพบว่า เพื่อไทยเป็นตระกูลการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด 19 ตระกูล ประชาธิปัตย์ 17 ตระกูล ภูมิใจไทย 4 ตระกูล ชาติไทยพัฒนา 3 ตระกูล พลังชล 1 ตระกูล รักประเทศไทย 1 ตระกูล ยังพบด้วยว่า พรรคชาติไทยพัฒนามีสัดส่วน ส.ส.ที่มีคนในตระกูลเดียวกันได้รับเลือกตั้งมาสูงสุด คิดเป็น 31.6% รองลงมาคือพลังชล 28.6% รักประเทศไทย 25% ประชาธิปัตย์ 22% ภูมิใจ–ไทย 17.6% เพื่อไทย 15.1% ใครเป็นใครในตระกูลไหน น่าจะรู้กันดีอยู่แล้ว และยังตอกย้ำด้วยว่า อิทธิพลและบทบาทของตระกูลการเมืองมิได้ลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะลงสมัครในพื้นที่ไหนก็ตาม นักการเมืองที่มีสายสัมพันธ์แบบตระกูลที่เคยเป็นนักธุรกิจมาก่อน น่าจะมีสัดส่วนสูงกว่านักการเมืองที่ไม่มีสายสัมพันธ์แบบตระกูล สิ่งที่ต้องตามก็คือ สายสัมพันธ์ระหว่างตระกูลอาจส่งผลกระทบต่อนโยบายที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้อย่างแท้จริงได้ ที่ เป็นอย่างนี้ก็เพราะเมื่อมีนักการเมืองแบบตระกูล ทุกอย่างก็จะตอบสนองผลประโยชน์ของพรรค ของคนในตระกูล พื้นที่ของคนในตระกูลเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถสนองตอบคนส่วนใหญ่ได้ หาก มองถึงสภาพปัญหาทางการเมืองของไทย แม้จะว่าด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่คนการเมืองที่เป็นนักการเมืองอาชีพมีคนอยู่เพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ที่กุมอำนาจบริหารประเทศสลับกันไป ทำให้ขาดความหลากหลาย นี่คือจุดหนึ่งที่เป็นปัญหาของประเทศไทย เพราะ เมื่อมีการเมืองกลายเป็นเรื่องของครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้องกับอำนาจ การบริหารประเทศชาติที่เกือบจะผูกขาดมาตลอดก็จะทำให้เกิดปัญหาในการตรวจสอบ และถ่วงดุล เพราะต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในเรื่องของ “ตระกูล” และ “การเมือง” คำว่าสภา “ผัว–เมีย” จึงเป็นของแสลงสำหรับสังคมไทย...โดย“สายล่อฟ้า” ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/gladai/376520 ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ต.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง