คณิตลั่นถึงเวลาปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ชี้นักกฎหมายไทยกลัวการเมือง

แสดงความคิดเห็น

วันที่ 13 ตุลาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมการจัดงานรำลึกและเชิดชูเกียรติ “วัน 14 ตุลา ประชาธิปไตย” วุฒิสภา จัดงานรำลึกและเชิดชูเกียรติ ครบรอบ 40 ปี 14 ตุลา ประชาธิปไตย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานภายในงาน พร้อมนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย”

นายคณิตกล่าวตอนหนึ่งว่า ปัญหากระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองเราในขณะนี้แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1.ด้านกฎหมาย 2.นักกฎหมาย และ 3.การเรียน การสอนกฎหมาย ซึ่งกฎหมายของไทยไม่ได้เสียหาย แต่เป็นตัวนักกฎหมายที่มีปัญหาค่อนข้างมาก เพราะเราศึกษากฎหมายด้วยการจำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต โดยไม่วิเคราะห์ว่ามีหลักเกณฑ์อะไรอยู่เบื้องหลังบ้าง พฤติกรรมของคนในกระบวนการยุติธรรมบางคนก็มีพฤติกรรมน่ารังเกียจ เช่น ทำงานสบาย กลัวผู้บังคับบัญชาโดยเฉพาะกลัวการเมือง

นายคณิตกล่าวต่อว่า ตนเคยโดนมาแล้วแต่ไม่กลัว รวมถึงพฤติกรรมประจบประแจง โดยเฉพาะประจบผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าองค์กร ดังนั้นหากพูดให้แรงอาจบอกได้ว่ากระบวนการยุติธรรมไทยเป็นกระบวนการที่ไร้ ประสิทธิภาพ คุกคามสิทธิ และค่าใช้จ่ายสูง จึงมองว่าการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ต้องทำต่อไปในอนาคต คือ การปฏิรูปศาลพิจารณา ศาลชั้นอุทธรณ์ หากยังมีต้องให้เป็นศาลพิจารณา ศาลฎีกาต้องเป็นศาลทบทวนข้อกฎหมาย การทำความเข้าใจแก่บุคลากรในองค์กรในกระบวนการยุติธรรม เนื้อหาของการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ได้ทำมาแล้วและจะทำต่อไป ที่สำคัญคือการสร้างความเข้าใจกระบวนการยุติธรรมแก่ประชาชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง

นายคณิตกล่าวอีกว่า กระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หากกระบวนการยุติธรรมดีจะช่วยพัฒนาประเทศได้ทุกด้าน ทั้งนี้ กระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย เป็นกระบวนการที่สามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลได้

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381662762&grpid=&catid=01&subcatid=0100 (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 16/10/2556 เวลา 04:10:40

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วันที่ 13 ตุลาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมการจัดงานรำลึกและเชิดชูเกียรติ “วัน 14 ตุลา ประชาธิปไตย” วุฒิสภา จัดงานรำลึกและเชิดชูเกียรติ ครบรอบ 40 ปี 14 ตุลา ประชาธิปไตย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานภายในงาน พร้อมนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย” นายคณิตกล่าวตอนหนึ่งว่า ปัญหากระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองเราในขณะนี้แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1.ด้านกฎหมาย 2.นักกฎหมาย และ 3.การเรียน การสอนกฎหมาย ซึ่งกฎหมายของไทยไม่ได้เสียหาย แต่เป็นตัวนักกฎหมายที่มีปัญหาค่อนข้างมาก เพราะเราศึกษากฎหมายด้วยการจำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต โดยไม่วิเคราะห์ว่ามีหลักเกณฑ์อะไรอยู่เบื้องหลังบ้าง พฤติกรรมของคนในกระบวนการยุติธรรมบางคนก็มีพฤติกรรมน่ารังเกียจ เช่น ทำงานสบาย กลัวผู้บังคับบัญชาโดยเฉพาะกลัวการเมือง นายคณิตกล่าวต่อว่า ตนเคยโดนมาแล้วแต่ไม่กลัว รวมถึงพฤติกรรมประจบประแจง โดยเฉพาะประจบผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าองค์กร ดังนั้นหากพูดให้แรงอาจบอกได้ว่ากระบวนการยุติธรรมไทยเป็นกระบวนการที่ไร้ ประสิทธิภาพ คุกคามสิทธิ และค่าใช้จ่ายสูง จึงมองว่าการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ต้องทำต่อไปในอนาคต คือ การปฏิรูปศาลพิจารณา ศาลชั้นอุทธรณ์ หากยังมีต้องให้เป็นศาลพิจารณา ศาลฎีกาต้องเป็นศาลทบทวนข้อกฎหมาย การทำความเข้าใจแก่บุคลากรในองค์กรในกระบวนการยุติธรรม เนื้อหาของการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ได้ทำมาแล้วและจะทำต่อไป ที่สำคัญคือการสร้างความเข้าใจกระบวนการยุติธรรมแก่ประชาชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง นายคณิตกล่าวอีกว่า กระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หากกระบวนการยุติธรรมดีจะช่วยพัฒนาประเทศได้ทุกด้าน ทั้งนี้ กระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย เป็นกระบวนการที่สามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลได้ ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381662762&grpid=&catid=01&subcatid=0100 มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง