ปู-พท.อิง"มวลชน" ลุยการเมือง ฝ่ามรสุม"องค์กรอิสระ"

แสดงความคิดเห็น

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี การต่อสู้ทางการเมืองได้ขยายเวทีจากรัฐสภาไปสู่องค์กรอิสระตามคาด

สำหรับการต่อสู้ในพื้นที่องค์กรอิสระยกแรก ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายคัดค้าน ถือว่าพรรคเพื่อไทยยังไม่เพลี่ยงพล้ำ

ประการ แรก ศาลรัฐธรรมนูญไม่ระงับการทูลเกล้าฯร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ดำเนินการหลังจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นว่าที่ ส.ว. ผ่านการพิจารณาในวาระ 3 แล้ว

ประการที่สอง ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกคำร้องกรณีมีผู้ร้องว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะมีการปรับลดงบประมาณขององค์กรอิสระ

เท่ากับว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวสามารถนำไปบังคับใช้ได้ตามปกติ แม้จะช้ากว่ากำหนดเวลาการเริ่มต้นคือ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ถือว่ากระทบต่อการบริหารงานในภาพรวมนัก

แต่ทุกจังหวะก้าวยังต้องระมัดระวัง เพราะยังเหลือคำร้องที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยต้องลุ้นอีก 3 คำร้องเป็นอย่างน้อย

คำ ร้องดังกล่าว มีทั้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดต่อมาตรา 68 แห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ เรื่องที่ทูลเกล้าฯร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่รอฟังคำตัดสินเรื่องร้องเรียน ต่อศาลรัฐธรรมนูญ จะขัดต่อ ม.154 หรือไม่ เรื่องร่าง พ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่กำหนดวิธีการใช้เงินแผ่นดิน ซึ่งทางฝ่ายคัดค้านเห็นว่า เงินกู้ดังกล่าวคือเงินแผ่นดินที่จะต้องผ่านการพิจารณาดังเช่นงบประมาณ ส่วนฝ่ายรัฐบาลเห็นว่าไม่ใช่ เช่นเดียวกับ พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง

คำร้องที่เหลืออยู่อาจสุ่มเสี่ยงต่อเสถียรภาพของรัฐบาล

แต่ดูเหมือนขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์และรัฐบาลจะเข้าเกียร์เดินหน้าทุกอย่างแล้ว

ดัง ที่ปรากฏความเคลื่อนของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเคยปลีกวิเวกในตอนประชุมสภา ออกไปตรวจราชการต่างจังหวัดและต่างประเทศ แต่ระยะหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เผื่อเวลาไว้สำหรับเข้าประชุมรัฐสภา

ยังมี ปรากฏการณ์ควันหลงจากกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปมที่มา ส.ว.ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางมาที่รัฐสภาและเข้าร่วมโหวตผลักดันร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย ทั้งที่ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวกำลังถูกโจมตีและยื่นศาลรัฐธรรมนูญ

เท่ากับว่าหากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการโหวตดังกล่าวผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ในฐานะ 1 ใน 358 เสียงที่สนับสนุนร่างในวาระ 3 ก็พร้อมรับผิดด้วย

ไม่ เพียงเท่านั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรียังนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ หลังจากส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบแล้ว

เป็นการนำขึ้นทูลเกล้าฯในขณะที่พรรคฝ่ายค้านและสมาชิกวุฒิสภาผู้คัดค้าน แห่กันไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ

เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะ.. รัฐบาลพรรคเพื่อไทยรู้ดีว่าอยู่ได้เพราะมวลชน จึงจำเป็นต้องรักษามวลชนไว้จึงจะอยู่ได้

รัฐบาลจึงจำเป็นที่ต้องดำเนินการสิ่งที่เคยสัญญากับประชาชนไว้ก่อนเลือกตั้ง ให้ปรากฏเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

และ เพราะต้องการความนิยมจากมวลชน รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างผลงานเพิ่มหลังจากดำเนินนโยบายหลายอย่างไปแล้ว ดังนั้น การผลักดันเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทออกมา เพื่ออัดฉีดโครงการอภิโปรเจ็กต์ของกระทรวงคมนาคม ที่มีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอยู่นั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็น

จำเป็นทั้งเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง

จำเป็นทั้งเม็ดเงินที่ใช้ผลักดันยกระดับระบบขนส่งและการคมนาคมไทย ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาประเทศ

จำเป็นทั้งเม็ดเงินที่มีผลต่อการเมืองในอนาคตอันใกล้

ยิ่ง เวลารัฐบาลผ่านพ้นไปแล้ว 2 ปี ยังเหลือเวลาอีก 2 ปี รัฐบาลยิ่งต้องผลักดันผลงานออกมาส่งท้าย เพื่อเป็นผลงานสำคัญในการหาเสียงครั้งต่อไป

ที่สำคัญ ด้วยเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลและฝ่ายค้านได้แสดงบทบาทต่อสาธารณชนจนคนไทยมองแล้ว...เห็นเจตนา

เจตนาต่อประชาชน

เจตนาต่อการเมือง

เจตนา ดังกล่าวมีผลต่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป ดังนั้น พรรคเพื่อไทยและรัฐบาล หรือแม้แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อาจประมาณการเอาไว้แล้วว่า หากสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนได้

แม้ในที่สุดรัฐบาลต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์คับขัน การใช้วิธียุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับพรรคเพื่อไทย

ณ วันนี้ รัฐบาลจึงเดินหน้าในทุกๆ เรื่องที่เคยสัญญากับประชาชนไว้

เพราะการทำตามสัญญา จะเป็นเกราะป้องกันพรรคการเมืองและนักการเมือง ในการเลือกตั้งครั้งหน้า

หาก ถึงวันที่รัฐบาลไปไม่ไหว การคืนอำนาจให้ประชาชนจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดของพรรคเพื่อไทย เพราะเชื่อว่าการทำตามสัญญาจะรักษาความนิยมจากประชาชนที่สนับสนุนเอาไว้ได้

แต่หากไม่มีเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้น รัฐบาลก็จะเดินหน้าตามแผนที่กางให้ประชาชนเห็นต่อไป

เมื่อครบวาระ 4 ปี หากแผนที่วางไว้สัมฤทธิผล พรรคเพื่อไทยก็จะได้รับคะแนนนิยม และสามารถกลับคืนสู่สภาได้เหมือนเดิม

การอิงแอบประชาชนเช่นนี้ พรรคเพื่อไทยถนัด และทำแล้วได้เปรียบพรรคการเมืองอื่นเสมอมา

ห้วงเวลานี้ก็เช่นกัน พรรคเพื่อไทยยังยึดแนว "อิง" มวลชน เป็นยุทธศาสตร์หลักในการช่วงชิงชัยชนะทางการเมือง

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381043689&grpid=01&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

(มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ต.ค.56)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 7/10/2556 เวลา 03:18:35 ดูภาพสไลด์โชว์ ปู-พท.อิง"มวลชน" ลุยการเมือง ฝ่ามรสุม"องค์กรอิสระ"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีการต่อสู้ทางการเมืองได้ขยายเวทีจากรัฐสภาไปสู่องค์กรอิสระตามคาด สำหรับการต่อสู้ในพื้นที่องค์กรอิสระยกแรก ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายคัดค้าน ถือว่าพรรคเพื่อไทยยังไม่เพลี่ยงพล้ำ ประการ แรก ศาลรัฐธรรมนูญไม่ระงับการทูลเกล้าฯร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ดำเนินการหลังจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นว่าที่ ส.ว. ผ่านการพิจารณาในวาระ 3 แล้ว ประการที่สอง ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกคำร้องกรณีมีผู้ร้องว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะมีการปรับลดงบประมาณขององค์กรอิสระ เท่ากับว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวสามารถนำไปบังคับใช้ได้ตามปกติ แม้จะช้ากว่ากำหนดเวลาการเริ่มต้นคือ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ถือว่ากระทบต่อการบริหารงานในภาพรวมนัก แต่ทุกจังหวะก้าวยังต้องระมัดระวัง เพราะยังเหลือคำร้องที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยต้องลุ้นอีก 3 คำร้องเป็นอย่างน้อย คำ ร้องดังกล่าว มีทั้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดต่อมาตรา 68 แห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ เรื่องที่ทูลเกล้าฯร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่รอฟังคำตัดสินเรื่องร้องเรียน ต่อศาลรัฐธรรมนูญ จะขัดต่อ ม.154 หรือไม่ เรื่องร่าง พ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่กำหนดวิธีการใช้เงินแผ่นดิน ซึ่งทางฝ่ายคัดค้านเห็นว่า เงินกู้ดังกล่าวคือเงินแผ่นดินที่จะต้องผ่านการพิจารณาดังเช่นงบประมาณ ส่วนฝ่ายรัฐบาลเห็นว่าไม่ใช่ เช่นเดียวกับ พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง คำร้องที่เหลืออยู่อาจสุ่มเสี่ยงต่อเสถียรภาพของรัฐบาล แต่ดูเหมือนขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์และรัฐบาลจะเข้าเกียร์เดินหน้าทุกอย่างแล้ว ดัง ที่ปรากฏความเคลื่อนของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเคยปลีกวิเวกในตอนประชุมสภา ออกไปตรวจราชการต่างจังหวัดและต่างประเทศ แต่ระยะหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เผื่อเวลาไว้สำหรับเข้าประชุมรัฐสภา ยังมี ปรากฏการณ์ควันหลงจากกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปมที่มา ส.ว.ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางมาที่รัฐสภาและเข้าร่วมโหวตผลักดันร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย ทั้งที่ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวกำลังถูกโจมตีและยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เท่ากับว่าหากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการโหวตดังกล่าวผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ในฐานะ 1 ใน 358 เสียงที่สนับสนุนร่างในวาระ 3 ก็พร้อมรับผิดด้วย ไม่ เพียงเท่านั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรียังนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ หลังจากส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบแล้ว เป็นการนำขึ้นทูลเกล้าฯในขณะที่พรรคฝ่ายค้านและสมาชิกวุฒิสภาผู้คัดค้าน แห่กันไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะ.. รัฐบาลพรรคเพื่อไทยรู้ดีว่าอยู่ได้เพราะมวลชน จึงจำเป็นต้องรักษามวลชนไว้จึงจะอยู่ได้ รัฐบาลจึงจำเป็นที่ต้องดำเนินการสิ่งที่เคยสัญญากับประชาชนไว้ก่อนเลือกตั้ง ให้ปรากฏเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ เพราะต้องการความนิยมจากมวลชน รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างผลงานเพิ่มหลังจากดำเนินนโยบายหลายอย่างไปแล้ว ดังนั้น การผลักดันเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทออกมา เพื่ออัดฉีดโครงการอภิโปรเจ็กต์ของกระทรวงคมนาคม ที่มีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอยู่นั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็น จำเป็นทั้งเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง จำเป็นทั้งเม็ดเงินที่ใช้ผลักดันยกระดับระบบขนส่งและการคมนาคมไทย ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาประเทศ จำเป็นทั้งเม็ดเงินที่มีผลต่อการเมืองในอนาคตอันใกล้ ยิ่ง เวลารัฐบาลผ่านพ้นไปแล้ว 2 ปี ยังเหลือเวลาอีก 2 ปี รัฐบาลยิ่งต้องผลักดันผลงานออกมาส่งท้าย เพื่อเป็นผลงานสำคัญในการหาเสียงครั้งต่อไป ที่สำคัญ ด้วยเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลและฝ่ายค้านได้แสดงบทบาทต่อสาธารณชนจนคนไทยมองแล้ว...เห็นเจตนา เจตนาต่อประชาชน เจตนาต่อการเมือง เจตนา ดังกล่าวมีผลต่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป ดังนั้น พรรคเพื่อไทยและรัฐบาล หรือแม้แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อาจประมาณการเอาไว้แล้วว่า หากสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนได้ แม้ในที่สุดรัฐบาลต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์คับขัน การใช้วิธียุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับพรรคเพื่อไทย ณ วันนี้ รัฐบาลจึงเดินหน้าในทุกๆ เรื่องที่เคยสัญญากับประชาชนไว้ เพราะการทำตามสัญญา จะเป็นเกราะป้องกันพรรคการเมืองและนักการเมือง ในการเลือกตั้งครั้งหน้า หาก ถึงวันที่รัฐบาลไปไม่ไหว การคืนอำนาจให้ประชาชนจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดของพรรคเพื่อไทย เพราะเชื่อว่าการทำตามสัญญาจะรักษาความนิยมจากประชาชนที่สนับสนุนเอาไว้ได้ แต่หากไม่มีเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้น รัฐบาลก็จะเดินหน้าตามแผนที่กางให้ประชาชนเห็นต่อไป เมื่อครบวาระ 4 ปี หากแผนที่วางไว้สัมฤทธิผล พรรคเพื่อไทยก็จะได้รับคะแนนนิยม และสามารถกลับคืนสู่สภาได้เหมือนเดิม การอิงแอบประชาชนเช่นนี้ พรรคเพื่อไทยถนัด และทำแล้วได้เปรียบพรรคการเมืองอื่นเสมอมา ห้วงเวลานี้ก็เช่นกัน พรรคเพื่อไทยยังยึดแนว "อิง" มวลชน เป็นยุทธศาสตร์หลักในการช่วงชิงชัยชนะทางการเมือง ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381043689&grpid=01&catid=&subcatid= (มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง