จับตา"อำนาจที่ 4" ตัวแปร"การเมือง" ค่ายกลทางกฎหมาย

แสดงความคิดเห็น

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน แห่งพรรคเพื่อไทย  และนางสดศรี สัตยธรรม กกต. หลังจากเอาตัวรอดจากการเมืองอันดุเดือดในสภา ในถนนมาได้

เริ่มมี เสียงกล่าวขวัญว่า สุดท้าย รัฐบาลยิ่งลักษณ์อาจจะต้องไปจุดจบ ที่ "องค์กรอิสระ" ซึ่งมีอำนาจชี้เป็นชี้ตาย และทำให้นายกฯตกเก้าอี้มาแล้ว อย่างน้อย 2 คน

ยุบพรรคการเมืองหลักๆ ไป 4-5 พรรค

ตามมาด้วยคำพยากรณ์ของบรรดาโหรานุโหร ที่ระบุเวลาล่มสลายของรัฐบาล

โดยเฉพาะในเดือนตุลาคมนี้

ทำให้เริ่มมีเสียงกล่าวขวัญถึง "อำนาจที่ 4"

ไม่เฉพาะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน แห่งพรรคเพื่อไทย

แม้แต่ นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ก็ยังมีความเห็นว่า มีการดำรงอยู่ของ "อำนาจที่ 4"

และเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข

เป็นที่รับรู้ และระบุในรัฐธรรมนูญของประเทศประชาธิปไตยว่า อำนาจอธิปไตย อันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย หรือ 3 อำนาจ

ได้แก่ 1.อำนาจนิติบัญญัติ 2.อำนาจบริหาร 3.อำนาจตุลาการ

ตามทฤษฎีกฎหมายและรัฐศาสตร์ อำนาจทั้งสาม แบ่งแยกหน้าที่ของตนเป็นอิสระ อาจเกี่ยวพันกัน แต่ไม่ก้าวก่ายกัน

ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ออกกฎหมาย ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ปกครองประเทศ และบังคับใช้กฎหมาย

ฝ่ายตุลาการ มีหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย

โดยวิธีนี้เท่านั้น สิทธิเสรีภาพของประชาชน และความเป็นธรรมในสังคม จึงจะได้รับการประกัน

ขณะ ที่รัฐสภา อันเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ กำลังคับข้องใจในขณะนี้ว่า ถูกอำนาจอื่นเข้าแทรกแซง ไม่สามารถแก้ไขหรือยกร่างรัฐธรรมนูญได้ด้วยตนเอง

ฝ่ายบริหารเองก็อยู่ภายใต้สถานการณ์เดียวกัน เมื่อการตัดสินใจในเชิงบริหารกลายเป็นคดีความ

เป็นการแทรกแซงในนามของ "การตรวจสอบ" ภายใต้สมมติฐานว่า รัฐบาลจากการเลือกตั้งบางกลุ่มบางพรรค มัก "โกง"

ในอดีตของประเทศไทย ปัญหาการแทรกแซงที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารที่มาจากรัฐประหาร เข้าแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติ

และแทรกแซงอำนาจฝ่ายตุลาการ โดยใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการ ออกคำสั่งอันมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดี

ตัวอย่างมาจากการรัฐประหาร ที่คณะทหารจะยกเลิกสภา เขียน "ธรรมนูญการปกครอง" เอง เปิดโอกาสให้คณะรัฐประหาร รวบ 3 อำนาจไว้ในตัวเอง

เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ให้อำนาจตัวเองออกคำสั่งประหารชีวิต ทำหน้าที่ตุลาการตัดสินประหาร

แล้วตัวเองในฐานะฝ่ายบริหารก็รับคำสั่งไปดำเนินการ

คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496, 1162/2506 วางหลักว่า เมื่อคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง หรือเป็นรัฏฐาธิปัตย์

ผลแห่งการแทรกแซง ก่อให้เกิดผลอย่างไร คงเป็นที่ประจักษ์ชัด

"อำนาจที่ 4" จึงเป็นอำนาจนอกระบบ

แน่นอนว่า "องค์กรอิสระ" เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ การตรวจสอบเป็นเรื่องจำเป็นที่ขาดไม่ได้ สำหรับระบอบประชาธิปไตย

แต่จะต้องอยู่ภายใต้หลักของการใช้กฎหมายอย่างเที่ยงธรรม ไม่ 2 มาตรฐาน และอยู่ในหลักของการไม่แทรกแซง

เพราะอะไร จึงเกิดสภาพเช่นนี้ขึ้นได้ในการเมืองประเทศไทย

กรณีนี้ ต้องย้อนกลับไปพิจารณากฎหมายแม่บท หรือรัฐธรรมนูญอย่างพินิจพิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380786072&grpid=01&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 4/10/2556 เวลา 03:19:13 ดูภาพสไลด์โชว์ จับตา"อำนาจที่ 4" ตัวแปร"การเมือง" ค่ายกลทางกฎหมาย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน แห่งพรรคเพื่อไทย และนางสดศรี สัตยธรรม กกต. หลังจากเอาตัวรอดจากการเมืองอันดุเดือดในสภา ในถนนมาได้ เริ่มมี เสียงกล่าวขวัญว่า สุดท้าย รัฐบาลยิ่งลักษณ์อาจจะต้องไปจุดจบ ที่ "องค์กรอิสระ" ซึ่งมีอำนาจชี้เป็นชี้ตาย และทำให้นายกฯตกเก้าอี้มาแล้ว อย่างน้อย 2 คน ยุบพรรคการเมืองหลักๆ ไป 4-5 พรรค ตามมาด้วยคำพยากรณ์ของบรรดาโหรานุโหร ที่ระบุเวลาล่มสลายของรัฐบาล โดยเฉพาะในเดือนตุลาคมนี้ ทำให้เริ่มมีเสียงกล่าวขวัญถึง "อำนาจที่ 4" ไม่เฉพาะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน แห่งพรรคเพื่อไทย แม้แต่ นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ก็ยังมีความเห็นว่า มีการดำรงอยู่ของ "อำนาจที่ 4" และเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข เป็นที่รับรู้ และระบุในรัฐธรรมนูญของประเทศประชาธิปไตยว่า อำนาจอธิปไตย อันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย หรือ 3 อำนาจ ได้แก่ 1.อำนาจนิติบัญญัติ 2.อำนาจบริหาร 3.อำนาจตุลาการ ตามทฤษฎีกฎหมายและรัฐศาสตร์ อำนาจทั้งสาม แบ่งแยกหน้าที่ของตนเป็นอิสระ อาจเกี่ยวพันกัน แต่ไม่ก้าวก่ายกัน ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ออกกฎหมาย ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ปกครองประเทศ และบังคับใช้กฎหมาย ฝ่ายตุลาการ มีหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย โดยวิธีนี้เท่านั้น สิทธิเสรีภาพของประชาชน และความเป็นธรรมในสังคม จึงจะได้รับการประกัน ขณะ ที่รัฐสภา อันเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ กำลังคับข้องใจในขณะนี้ว่า ถูกอำนาจอื่นเข้าแทรกแซง ไม่สามารถแก้ไขหรือยกร่างรัฐธรรมนูญได้ด้วยตนเอง ฝ่ายบริหารเองก็อยู่ภายใต้สถานการณ์เดียวกัน เมื่อการตัดสินใจในเชิงบริหารกลายเป็นคดีความ เป็นการแทรกแซงในนามของ "การตรวจสอบ" ภายใต้สมมติฐานว่า รัฐบาลจากการเลือกตั้งบางกลุ่มบางพรรค มัก "โกง" ในอดีตของประเทศไทย ปัญหาการแทรกแซงที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารที่มาจากรัฐประหาร เข้าแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติ และแทรกแซงอำนาจฝ่ายตุลาการ โดยใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการ ออกคำสั่งอันมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ตัวอย่างมาจากการรัฐประหาร ที่คณะทหารจะยกเลิกสภา เขียน "ธรรมนูญการปกครอง" เอง เปิดโอกาสให้คณะรัฐประหาร รวบ 3 อำนาจไว้ในตัวเอง เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ให้อำนาจตัวเองออกคำสั่งประหารชีวิต ทำหน้าที่ตุลาการตัดสินประหาร แล้วตัวเองในฐานะฝ่ายบริหารก็รับคำสั่งไปดำเนินการ คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496, 1162/2506 วางหลักว่า เมื่อคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง หรือเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ผลแห่งการแทรกแซง ก่อให้เกิดผลอย่างไร คงเป็นที่ประจักษ์ชัด "อำนาจที่ 4" จึงเป็นอำนาจนอกระบบ แน่นอนว่า "องค์กรอิสระ" เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ การตรวจสอบเป็นเรื่องจำเป็นที่ขาดไม่ได้ สำหรับระบอบประชาธิปไตย แต่จะต้องอยู่ภายใต้หลักของการใช้กฎหมายอย่างเที่ยงธรรม ไม่ 2 มาตรฐาน และอยู่ในหลักของการไม่แทรกแซง เพราะอะไร จึงเกิดสภาพเช่นนี้ขึ้นได้ในการเมืองประเทศไทย กรณีนี้ ต้องย้อนกลับไปพิจารณากฎหมายแม่บท หรือรัฐธรรมนูญอย่างพินิจพิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380786072&grpid=01&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง