แผนกินรวบระบบสุขภาพ การเมืองรวมหัว ขรก. ปรับโครงสร้างเขตสุขภาพยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ

แสดงความคิดเห็น

เป็นที่ทราบกันว่า มีความพยายามในการกินรวบระบบสุขภาพที่ทศวรรษที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ลด บทบาทลงไปอย่างมาก เหตุเพราะความตื่นตัวของภาคส่วนอื่นในการลุกขึ้นมาจัดการกับเรื่องสุขภาพ ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องของคนทุกคน

อีกทั้งมีการแยกตัวออกไปของหน่วยงานอิสระ ประเภทตระกูล ส.ทั้งหลาย ก็ยิ่งเป็นมูลเหตุให้ผู้มีอำนาจในกระทรวงสาธารณสุขไม่ว่ายุคใดต้องอึดอัด และรู้สึกเสียศักดิ์ศรีมาโดยตลอด และยิ่งอึดอัดคับข้องใจมากขึ้น หากองค์กร ส.ทั้งหลาย สามารถสร้างผลงานได้ วัดว่าอึดอัดขัดใจแค่ไหน ก็จนกระทั่งปลัด สธ.พูดในงานประชุมวิชาการที่ขอนแก่นว่า การลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน เป็นหน้าที่ของรัฐบาล และ สธ.คือรัฐบาล ดังนั้น สธ.ต้องทำเรื่องนี้ไม่ใช่ให้องค์กรอื่นทำ ประโยคนี้ทำให้คิดต่อไปได้ว่า มีแต่ สธ.เท่านั้นที่เป็นหน่วยงานรัฐ ส.อื่นๆไม่ใช่ นั่นเป็นพวกนอกคอก (ฮา)

มาถึงยุคนี้ที่กระทรวงหมอมีนักหมอนัก ธุรกิจเข้ามาเป็นเจ้ากระทรวงที่ภาพภายนอกคล้ายมุ่งปฏิรูประบบสุขภาพให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น และดูจะเอาจริงเอาจัง..แต่ตั้งแต่เข้ามาก็ยังไม่เห็นผลงานใดๆ ที่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจริงหรือมีผลประโยชน์ ใดแอบแฝงอยู่หรือไม่.มีหลายข้อหา ที่แก้ตัวแล้วคนฟังก็งงๆ รวมทั้งประเด็นการตั้งรองเลขาฯ สปสช.ที่ รมว.สธ.และเลขาฯ สปสช.ทั้งยืนยัน นั่งยัน ว่าไม่แทรกแซง...ไม่แทรกแซง เป็นเรื่องภายใน...แต่ไม่มีใครเชื่อ..และเวลานี้ตำแหน่งรองเลขาฯสปสช.ที่ว่า นี้ก็กำลังพ่นพิษไปทั่วองค์กรและเสียหายลามไปถึงการเมือง

อีกหลายเรื่อง เช่น P4P ที่แพทย์ชนบทออกมาต่อต้านอย่างหนัก.....รวมทั้งเรื่องที่กำลังสร้างความปวด เศียรเวียนเกล้าให้ผู้บริหาร สธ.ทุกระดับคือการสั่งให้มีการบรรจุพนักงานราชการที่กำลังเดี๋ยวเร่งเดี๋ยว เบรก ก็สร้างแรงกระเพื่อมให้กับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเอง หากผลีผลามอาจถึงขั้น “เจ๊ง” ได้ เพราะรายจ่ายเพิ่มขึ้นมหาศาลขณะที่รายได้กลับจำกัด หาช่องทางเพิ่มไม่ง่าย เลยไม่รู้ว่าเจ้ากระทรวง สธ.ที่เป็นนักธุรกิจมือทอง ท่านหวังดีให้โรงพยาบาลรัฐปรับปรุงตัวเพิ่มประสิทธิภาพหรือประสงค์ร้ายให้ โรงพยาบาลเอกชนมีโอกาสเพิ่ม “มาร์เก็ต แชร์กันแน่”

ท่ามกลางแรงกดดันที่ รมว.สธ.กระแทกลงบนปลัด สธ.ที่เลือกมากับมือ จนปลัดเมาหมัดชกสะเปะสะปะออกทะเลเป็นที่น่าหนักใจว่าจะสร้างผลงานที่เป็น ชิ้นเป็นอันจารึกไว้ให้คนข้างหลังชื่นชมได้ เพราะตั้งแต่ได้เก้าอี้สูงสุดของฝ่ายประจำมา..ผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอันยัง ไม่เกิด ที่เกิดก็คือศึกทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะฟัดกับสปสช.ชนิดตายกันไปข้าง..นี่คงเป็นแผลใจที่ยังคงริ้วรอยลบไม่ ออกตั้งแต่สมัยเป็นผู้ตรวจแถวภาคใต้ที่ถูกท้าทายอำนาจ (ที่ตนเองอยากใช้เต็มที่) ที่จริงถ้าเป็นมวย ลดทิฐิในอดีตลงบ้าง งานก็จะเดินหน้ามากกว่านี้

มาถึงไฮไลต์สำคัญที่น่าจะไม่ตรงไปตรงมา และจะเป็นผลงาน “ชิ้นโบดำ” ของ รมว.และปลัด สธ.(หากเสร็จสมอารมณ์หมายอย่างที่วางหมากไว้) คือ เรื่อง “เขตสุขภาพ” ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยปลัดได้กางพิมพ์เขียวประกาศไปทั่วทั้งในกระทรวงและนอกกระทรวง ทุกที่ ที่มีโอกาส ว่า จะมอบอำนาจให้ผู้ตรวจฯเป็นซีอีโอ บริหารพ่วงบริการแบบ “เขตสุขภาพ” โดยมี “คณะกรรมการเขตสุขภาพ” หรือ “Area Health Board” อันมี 1.คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตของ สปสช.ที่เรียกย่อๆ ว่า “อปสข.” ไปอยู่ในโครงสร้างนี้...ร่วมกับ โครงสร้างใหม่อีกสองส่วนที่ สธ.อ้างว่าปฏิรูปโดยแยกผู้ตรวจราชการและสาธารณสุขนิเทศก์ ออกจากกัน เป็น สองโครงสร้าง คือ 1.“provider board” หรือบอร์ดฝ่ายผู้ให้บริการที่ผู้ตรวจเป็นหัวหน้า 2.อีกส่วนคือ “Regulator board” หรือบอร์ดฝ่ายผู้กำกับควบคุมที่สาธารณสุขนิเทศก์นั่งหัวโต๊ะ เอาเป็นว่า Area Health Board ประกอบด้วย สามส่วนที่ว่า แต่ 2 ใน 3 เป็นของ สธ.แม้จะอ้างว่ามีการแยกบทบาทกันอย่างชัดเจนไม่ขึ้นต่อกัน แต่ในความเป็นจริง ตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ก็ต่ำกว่าผู้ตรวจ และทั้งสองคนก็สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเช่นกันย่อมต้องร่วมมือกัน นอกจากนั้น โครงสร้างคณะกรรมการเขตสุขภาพและสำนักงานเขตสุขภาพก็ยังกำหนดให้อยู่ภายใต้ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่คุมโรงพยาบาลของรัฐเป็นส่วนใหญ่ ก็ยิ่งทำให้โครงสร้างใหม่นี้ขาดความเป็นกลางและมีความขัดแย้งกันทางผล ประโยชน์

แน่นอนว่าเรื่องนี้ ฝ่ายข้าราชการประจำฝั่งสธ.ต้องมองออก แต่เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมจึงแสร้งมองไม่เห็น หรือเป็นความจงใจสมคบกับฝ่ายการเมือง “ฮุบกิจการ” จะได้ควบคุมได้แบบ “เบ็ดเสร็จ” ตามสไตล์ ซีอีโอ ที่ เป็นความถนัดของการเมืองและข้าราชการ ที่ไม่มีศรัทธาต่อศักยภาพและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคส่วนอื่นๆ

ที่น่าแปลกใจที่สุดเห็นจะเป็นฝั่ง สปสช.ที่รับรู้ว่า สธ.มีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้มาโดยตลอดแต่ สปสช.กลับนิ่งเงียบ เงียบเชียบจนผิดสังเกตว่า สปสช.“คิดอะไรอยู่” เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือมีข้อเสนออื่นใดหรือไม่....ก็ไม่มีใครรู้ได้...สปสช.เองมีกลไก อปสข.อยู่แล้ว บทบาทนี้ทำให้ สปสช.องออกมาพูดอะไรบ้าง แต่ด้วยความกลัวและเกรงใจ สธ.อย่างล้นเหลือจึงทำให้สปสช.ต้องเงียบเชียบ ประหนึ่งว่าไม่มีความวิตกกังวลใดๆ... นาทีนี้จึงต้องบอกว่า ระวังไฟใหม้บ้านแล้วจะดับไม่ทัน

งานนี้ผู้สันทัดกรณีแสดงความเห็นว่า หากฝ่ายการเมือง และกระทรวงสาธารณสุขมีความจริงใจ ต้องปล่อยให้พื้นที่เขตสุขภาพมีอิสระจริง โดย“คณะกรรมการเขตสุขภาพ” ต้องไม่อยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข และหาก สธ.ยังเสนอโครงสร้างแบบที่กำลังทำก็ควรเรียกชื่อคณะกรรมการนี้เสียใหม่ว่า “คณะกรรมการเขตบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข” จะได้ไม่สับสน....

เขตสุขภาพที่จะเกิดขึ้น 1 ตุลาคมนี้ จึงสะท้อนชัดเจนว่า นี่เป็นยุทธการกินรวบระบบสุขภาพ ข้ออ้างเพื่อประชาชน แต่การปฏิบัติสวนทางชัดเจน....โดย...ดวงจำปา

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000120965 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ย.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 26/09/2556 เวลา 03:38:03

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เป็นที่ทราบกันว่า มีความพยายามในการกินรวบระบบสุขภาพที่ทศวรรษที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ลด บทบาทลงไปอย่างมาก เหตุเพราะความตื่นตัวของภาคส่วนอื่นในการลุกขึ้นมาจัดการกับเรื่องสุขภาพ ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องของคนทุกคน อีกทั้งมีการแยกตัวออกไปของหน่วยงานอิสระ ประเภทตระกูล ส.ทั้งหลาย ก็ยิ่งเป็นมูลเหตุให้ผู้มีอำนาจในกระทรวงสาธารณสุขไม่ว่ายุคใดต้องอึดอัด และรู้สึกเสียศักดิ์ศรีมาโดยตลอด และยิ่งอึดอัดคับข้องใจมากขึ้น หากองค์กร ส.ทั้งหลาย สามารถสร้างผลงานได้ วัดว่าอึดอัดขัดใจแค่ไหน ก็จนกระทั่งปลัด สธ.พูดในงานประชุมวิชาการที่ขอนแก่นว่า การลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน เป็นหน้าที่ของรัฐบาล และ สธ.คือรัฐบาล ดังนั้น สธ.ต้องทำเรื่องนี้ไม่ใช่ให้องค์กรอื่นทำ ประโยคนี้ทำให้คิดต่อไปได้ว่า มีแต่ สธ.เท่านั้นที่เป็นหน่วยงานรัฐ ส.อื่นๆไม่ใช่ นั่นเป็นพวกนอกคอก (ฮา) มาถึงยุคนี้ที่กระทรวงหมอมีนักหมอนัก ธุรกิจเข้ามาเป็นเจ้ากระทรวงที่ภาพภายนอกคล้ายมุ่งปฏิรูประบบสุขภาพให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น และดูจะเอาจริงเอาจัง..แต่ตั้งแต่เข้ามาก็ยังไม่เห็นผลงานใดๆ ที่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจริงหรือมีผลประโยชน์ ใดแอบแฝงอยู่หรือไม่.มีหลายข้อหา ที่แก้ตัวแล้วคนฟังก็งงๆ รวมทั้งประเด็นการตั้งรองเลขาฯ สปสช.ที่ รมว.สธ.และเลขาฯ สปสช.ทั้งยืนยัน นั่งยัน ว่าไม่แทรกแซง...ไม่แทรกแซง เป็นเรื่องภายใน...แต่ไม่มีใครเชื่อ..และเวลานี้ตำแหน่งรองเลขาฯสปสช.ที่ว่า นี้ก็กำลังพ่นพิษไปทั่วองค์กรและเสียหายลามไปถึงการเมือง อีกหลายเรื่อง เช่น P4P ที่แพทย์ชนบทออกมาต่อต้านอย่างหนัก.....รวมทั้งเรื่องที่กำลังสร้างความปวด เศียรเวียนเกล้าให้ผู้บริหาร สธ.ทุกระดับคือการสั่งให้มีการบรรจุพนักงานราชการที่กำลังเดี๋ยวเร่งเดี๋ยว เบรก ก็สร้างแรงกระเพื่อมให้กับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเอง หากผลีผลามอาจถึงขั้น “เจ๊ง” ได้ เพราะรายจ่ายเพิ่มขึ้นมหาศาลขณะที่รายได้กลับจำกัด หาช่องทางเพิ่มไม่ง่าย เลยไม่รู้ว่าเจ้ากระทรวง สธ.ที่เป็นนักธุรกิจมือทอง ท่านหวังดีให้โรงพยาบาลรัฐปรับปรุงตัวเพิ่มประสิทธิภาพหรือประสงค์ร้ายให้ โรงพยาบาลเอกชนมีโอกาสเพิ่ม “มาร์เก็ต แชร์กันแน่” ท่ามกลางแรงกดดันที่ รมว.สธ.กระแทกลงบนปลัด สธ.ที่เลือกมากับมือ จนปลัดเมาหมัดชกสะเปะสะปะออกทะเลเป็นที่น่าหนักใจว่าจะสร้างผลงานที่เป็น ชิ้นเป็นอันจารึกไว้ให้คนข้างหลังชื่นชมได้ เพราะตั้งแต่ได้เก้าอี้สูงสุดของฝ่ายประจำมา..ผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอันยัง ไม่เกิด ที่เกิดก็คือศึกทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะฟัดกับสปสช.ชนิดตายกันไปข้าง..นี่คงเป็นแผลใจที่ยังคงริ้วรอยลบไม่ ออกตั้งแต่สมัยเป็นผู้ตรวจแถวภาคใต้ที่ถูกท้าทายอำนาจ (ที่ตนเองอยากใช้เต็มที่) ที่จริงถ้าเป็นมวย ลดทิฐิในอดีตลงบ้าง งานก็จะเดินหน้ามากกว่านี้ มาถึงไฮไลต์สำคัญที่น่าจะไม่ตรงไปตรงมา และจะเป็นผลงาน “ชิ้นโบดำ” ของ รมว.และปลัด สธ.(หากเสร็จสมอารมณ์หมายอย่างที่วางหมากไว้) คือ เรื่อง “เขตสุขภาพ” ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยปลัดได้กางพิมพ์เขียวประกาศไปทั่วทั้งในกระทรวงและนอกกระทรวง ทุกที่ ที่มีโอกาส ว่า จะมอบอำนาจให้ผู้ตรวจฯเป็นซีอีโอ บริหารพ่วงบริการแบบ “เขตสุขภาพ” โดยมี “คณะกรรมการเขตสุขภาพ” หรือ “Area Health Board” อันมี 1.คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตของ สปสช.ที่เรียกย่อๆ ว่า “อปสข.” ไปอยู่ในโครงสร้างนี้...ร่วมกับ โครงสร้างใหม่อีกสองส่วนที่ สธ.อ้างว่าปฏิรูปโดยแยกผู้ตรวจราชการและสาธารณสุขนิเทศก์ ออกจากกัน เป็น สองโครงสร้าง คือ 1.“provider board” หรือบอร์ดฝ่ายผู้ให้บริการที่ผู้ตรวจเป็นหัวหน้า 2.อีกส่วนคือ “Regulator board” หรือบอร์ดฝ่ายผู้กำกับควบคุมที่สาธารณสุขนิเทศก์นั่งหัวโต๊ะ เอาเป็นว่า Area Health Board ประกอบด้วย สามส่วนที่ว่า แต่ 2 ใน 3 เป็นของ สธ.แม้จะอ้างว่ามีการแยกบทบาทกันอย่างชัดเจนไม่ขึ้นต่อกัน แต่ในความเป็นจริง ตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ก็ต่ำกว่าผู้ตรวจ และทั้งสองคนก็สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเช่นกันย่อมต้องร่วมมือกัน นอกจากนั้น โครงสร้างคณะกรรมการเขตสุขภาพและสำนักงานเขตสุขภาพก็ยังกำหนดให้อยู่ภายใต้ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่คุมโรงพยาบาลของรัฐเป็นส่วนใหญ่ ก็ยิ่งทำให้โครงสร้างใหม่นี้ขาดความเป็นกลางและมีความขัดแย้งกันทางผล ประโยชน์ แน่นอนว่าเรื่องนี้ ฝ่ายข้าราชการประจำฝั่งสธ.ต้องมองออก แต่เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมจึงแสร้งมองไม่เห็น หรือเป็นความจงใจสมคบกับฝ่ายการเมือง “ฮุบกิจการ” จะได้ควบคุมได้แบบ “เบ็ดเสร็จ” ตามสไตล์ ซีอีโอ ที่ เป็นความถนัดของการเมืองและข้าราชการ ที่ไม่มีศรัทธาต่อศักยภาพและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคส่วนอื่นๆ ที่น่าแปลกใจที่สุดเห็นจะเป็นฝั่ง สปสช.ที่รับรู้ว่า สธ.มีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้มาโดยตลอดแต่ สปสช.กลับนิ่งเงียบ เงียบเชียบจนผิดสังเกตว่า สปสช.“คิดอะไรอยู่” เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือมีข้อเสนออื่นใดหรือไม่....ก็ไม่มีใครรู้ได้...สปสช.เองมีกลไก อปสข.อยู่แล้ว บทบาทนี้ทำให้ สปสช.องออกมาพูดอะไรบ้าง แต่ด้วยความกลัวและเกรงใจ สธ.อย่างล้นเหลือจึงทำให้สปสช.ต้องเงียบเชียบ ประหนึ่งว่าไม่มีความวิตกกังวลใดๆ... นาทีนี้จึงต้องบอกว่า ระวังไฟใหม้บ้านแล้วจะดับไม่ทัน งานนี้ผู้สันทัดกรณีแสดงความเห็นว่า หากฝ่ายการเมือง และกระทรวงสาธารณสุขมีความจริงใจ ต้องปล่อยให้พื้นที่เขตสุขภาพมีอิสระจริง โดย“คณะกรรมการเขตสุขภาพ” ต้องไม่อยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข และหาก สธ.ยังเสนอโครงสร้างแบบที่กำลังทำก็ควรเรียกชื่อคณะกรรมการนี้เสียใหม่ว่า “คณะกรรมการเขตบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข” จะได้ไม่สับสน.... เขตสุขภาพที่จะเกิดขึ้น 1 ตุลาคมนี้ จึงสะท้อนชัดเจนว่า นี่เป็นยุทธการกินรวบระบบสุขภาพ ข้ออ้างเพื่อประชาชน แต่การปฏิบัติสวนทางชัดเจน....โดย...ดวงจำปา ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000120965 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง