60%เชื่อ'แม้ว'คือนายกฯตัวจริง!

แสดงความคิดเห็น

นายทักษิณ ชินวัตร

ปชช.กว่า 60% ระบุ 'ทักษิณ' คือ นายกฯตัวจริงที่มีอำนาจตัดสินใจ ชี้ 'นักการเมือง' เป็นต้นเหตุความขัดแย้ง 70% ไม่เชื่อ 'รบ.' จะใช้เงินกู้ 2 ล้านล.อย่างโปร่งใส

22 ก.ย. 56 สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ใครคือผู้นำตัวจริง และต้นเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคมไทย” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ

นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง “ใครคือผู้นำตัวจริง และต้นเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคมไทย” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี น่าน พิษณุโลก เชียงใหม่ หนองบัวลำภู มหาสารคาม ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น อุดรธานี สตูล ตรัง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,103 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 16 - 21 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.9 ติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา

จากการสำรวจ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.7 ได้รับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจากปัญหาความวุ่นวายและปัญหา เศรษฐกิจของประเทศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีเพียงร้อยละ 14.3 ไม่ได้รับผลกระทบ

เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 ระบุ นักการเมือง รองลงมา คือ ร้อยละ 54.0 ระบุ กฎหมายและรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 51.2 ระบุ สื่อสาธารณะ ร้อยละ 35.8 ระบุ เจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 29.7 ระบุ ประชาชนทั่วไป และร้อยละ 23.9 ระบุ อื่นๆ อาทิ นักวิชาการ องค์กรอิสระ เป็นต้น นอกจากนี้ตัวอย่างเกิน 2 ใน 3 หรือร้อยละ 67.9 คิดว่ามีกลุ่มจ้องล้มรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 32.1 คิดว่าไม่มี

สำหรับความเชื่อมั่นศรัทธาต่อฝ่ายการเมืองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือด ร้อนของประชาชนได้ พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.1 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย โดยให้เหตุผลว่า อยากให้ฝ่ายการเมืองลดความขัดแย้ง ใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการเข้าถึงประชาชนมากกว่าการโต้เถียงกันไปมาหรือการเล่นเกมทางการเมือง เพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้อง ในขณะที่ร้อยละ 45.9 เชื่อมั่นศรัทธามากถึงมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่า ยังมีความหวังต่อนโยบายที่นำเสนอต่อสาธารณชนว่าจะถูกนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชนอย่างจริงใจ และโปร่งใส

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความเป็นไปได้ที่จะทำให้การปรองดองเกิดขึ้น พบว่า ตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 62.0 คิดว่าเป็นไปได้ที่จะทำให้การปรองดองเกิดขึ้น ถ้าทุกฝ่ายลดอคติและร่วมมือกัน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 38.0 ไม่คิดว่าเป็นไปได้

ที่น่าพิจารณา คือ ตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 62.4 คิดว่าผู้นำรัฐบาลตัวจริงในการตัดสินใจคือ อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 37.6 ระบุ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นางสาวปุณฑรีก์ ผช.ผอ. กล่าวว่า เป็นสิ่งที่น่ายินดีที่ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นถึงความหวังของประชาชนภายใต้ บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งที่อยากจะเห็นความสงบสุขของบ้านเมือง และการร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มุ่งพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ และคุณภาพของประชาชนให้ทัดเทียมนานาชาติ ดังนั้น แนวคิดที่น่าพิจารณาคือ รัฐบาลและฝ่ายการเมืองควรนำบทเรียนความเสียหายและความเดือดร้อนในอดีตมาทบท วน เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ความวุ่นวายซ้ำซากที่เคยเกิดขึ้นโดยกลุ่มคนที่มุ่งหวังผลประโยชน์ส่วนตัวและ พรรคพวกบนซากปรักหักพังของบ้านเมืองและความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน และที่สำคัญรัฐบาลและฝ่ายการเมืองทั้งปัจจุบันและอนาคตต้องสามารถเป็นแบบ อย่างที่ดี สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในหมู่ประชาชน และไม่ทำพฤติกรรมซ้ำซากที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติบ้านเมือง

สำหรับบทบาทของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรเลือกบทบาทที่ตรงกับความต้องการของชาวบ้านส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพราะเป็นแนวทางสำคัญในการรวมทุกคนในชาติเป็นหนึ่งเดียวกัน และการแสดงบทบาทในการแก้ปัญหาปากท้องและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาล และผู้ใหญ่ในสังคมต้องแสดงความชัดเจนในการสร้างความเป็น “หุ้นส่วนกัน (Partnership)” ระหว่างรัฐบาล ฝ่ายค้าน สื่อสาธารณะ ผู้มีบารมีในสังคม เจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มนายทุน และประชาชนทุกหมู่เหล่า เพราะความเป็นหุ้นส่วนกันจะต้องแบ่งปันข้อมูลความเป็นจริงและเปิดโอกาสให้มี ส่วนร่วมในการทำหน้าที่รักษาความสงบสุขของชุมชนและสังคมโดยส่วนรวม ไม่ปิดกั้นแบ่งแยกชนชั้น ผลที่ตามมาคือ การเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ลดเงื่อนไขแห่งความขัดแย้ง ประเทศบรรลุเป้าหมายและความสงบสุขโดยเร็ว ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งจะทำให้ความเสี่ยงต่อการสูญเสียและความวุ่นวายต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปได้อย่างมากตามนั้น

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.3 เป็นชาย ร้อยละ 52.7 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.4 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 40-49 ปี และ ร้อยละ 36.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 71.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 7.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 33.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.0 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

70% ไม่เชื่อ 'รบ.' จะใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านอย่างโปร่งใส

เครือข่ายวิชการทำประชาพิจารณ์และสาธารณมติเพื่อนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยงานวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง พ.ร.บ.เงินกู้ สองล้านล้าน ใครได้ประโยชน์ในสายตาประชาชน กับสิ่งที่รัฐบาลน่าลงทุนให้ประชาชนมากที่สุด กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ

ดร.นพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม และประธานเครือข่ายวิชาการทำประชาพิจารณ์และสาธารณมติเพื่อนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยงานวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง พ.ร.บ.เงินกู้ สองล้านล้าน ใครได้ประโยชน์ ในสายตาประชาชน กับสิ่งที่รัฐบาลน่าลงทุนให้ประชาชนมากที่สุด กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ ลพบุรี นครปฐม นครนายก เชียงใหม่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี หนองคาย สกลนคร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,147 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 - 21 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 7 พบว่า

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.3 ทราบข่าว พ.ร.บ.เงินกู้ สองล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.9 รับรู้แต่ข่าวขัดแย้ง ทะเลาะกันในสภา เรื่อง พ.ร.บ.เงินกู้ และร้อยละ 80.5 รับรู้แต่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ การกู้เงิน ตาม พ.ร.บ.เงินกู้ ในขณะที่ มีเพียงส่วนน้อยหรือร้อยละ 32.6 ระบุได้รับข้อมูลรายละเอียดของประโยชน์ของ พ.ร.บ.เงินกู้ ร้อยละ 31.3 รับทราบข้อมูลการนำเงินกู้ ไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และเพียงร้อยละ 23.6 รับทราบวิธีการของรัฐบาลในการป้องกัน ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการใช้เงินกู้

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 ไม่กังวลว่า พ.ร.บ.เงินกู้ สองล้านล้านบาทจะนำไปสู่ปัญหาวุ่นวายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.2 ไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการใช้จ่ายเงิน ตาม พ.ร.บ.เงินกู้อย่างโปร่งใส ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.8 ยังคิดว่ากลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.เงินกู้ ได้แก่ กลุ่มนายทุน รองลงมาคือ ร้อยละ 70.9 ระบุ นักการเมือง รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี บุคคลใกล้ชิดรัฐมนตรี จะได้ประโยชน์ ร้อยละ 54.3 ระบุเจ้าหน้าที่รัฐ ในขณะที่เพียงร้อยละ 30.1 เท่านั้นที่คิดว่าประชาชนทั่วไปจะได้ประโยชน์ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.1 ระบุจำเป็นที่รัฐบาลต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน ลดความเคลือบแคลงสงสัย

เมื่อถามว่า รัฐบาลควรลงทุนให้กับประชาชนด้านใดมากที่สุด พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 43.1 ระบุพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน รองลงมาคือร้อยละ 19.8 ระบุการศึกษา อันดับสามได้แก่ ร้อยละ 19.4 ระบุด้านสุขภาพประชาชน อันดับสี่ ได้แก่ ร้อยละ 6.3 ระบุด้านสาธารณูปโภค บริการความสะดวกต่างๆ และอันดับห้า ได้แก่ ร้อยละ 4.9 ระบุด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดอาชญากรรม

ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนกำลังให้ความสนใจต่อการลงทุนของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงความรู้สึกของสาธารณชนคือ ความโปร่งใสด้วยการประกาศให้ชัดเจนถึงเส้นทางการกระจายของเม็ดเงิน สองล้านล้านบาท ว่าตกไปถึงมือใคร บริษัทใด และประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ที่ใดได้ประโยชน์จากเงินกู้ทั้งหมดในรายละเอียดเพื่อสร้าง “ความวางใจ” ของสาธารณชนต่อรัฐบาล นอกจากนี้ รัฐบาลน่าจะพิจารณาดูว่า การตัดสินใจของรัฐบาลสอดคล้องกับความต้องการของสาธารณชนหรือไม่ เนื่องจาก สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นรัฐบาลลงทุนอันดับแรกคือ การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน รองลงมาคือ การศึกษา และด้านสุขภาพของประชาชน

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.5 เป็นชาย ร้อยละ 53.5 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 23.2 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 27.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 68.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ ร้อยละ 31.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 32.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 29.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 12.6 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 1.3 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ขอบคุณ http://goo.gl/rga4pB (ขนาดไฟล์: 0 )

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 23/09/2556 เวลา 02:57:28 ดูภาพสไลด์โชว์ 60%เชื่อ'แม้ว'คือนายกฯตัวจริง!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายทักษิณ ชินวัตร ปชช.กว่า 60% ระบุ 'ทักษิณ' คือ นายกฯตัวจริงที่มีอำนาจตัดสินใจ ชี้ 'นักการเมือง' เป็นต้นเหตุความขัดแย้ง 70% ไม่เชื่อ 'รบ.' จะใช้เงินกู้ 2 ล้านล.อย่างโปร่งใส 22 ก.ย. 56 สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ใครคือผู้นำตัวจริง และต้นเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคมไทย” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง “ใครคือผู้นำตัวจริง และต้นเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคมไทย” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี น่าน พิษณุโลก เชียงใหม่ หนองบัวลำภู มหาสารคาม ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น อุดรธานี สตูล ตรัง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,103 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 16 - 21 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.9 ติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จากการสำรวจ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.7 ได้รับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจากปัญหาความวุ่นวายและปัญหา เศรษฐกิจของประเทศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีเพียงร้อยละ 14.3 ไม่ได้รับผลกระทบ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 ระบุ นักการเมือง รองลงมา คือ ร้อยละ 54.0 ระบุ กฎหมายและรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 51.2 ระบุ สื่อสาธารณะ ร้อยละ 35.8 ระบุ เจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 29.7 ระบุ ประชาชนทั่วไป และร้อยละ 23.9 ระบุ อื่นๆ อาทิ นักวิชาการ องค์กรอิสระ เป็นต้น นอกจากนี้ตัวอย่างเกิน 2 ใน 3 หรือร้อยละ 67.9 คิดว่ามีกลุ่มจ้องล้มรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 32.1 คิดว่าไม่มี สำหรับความเชื่อมั่นศรัทธาต่อฝ่ายการเมืองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือด ร้อนของประชาชนได้ พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.1 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย โดยให้เหตุผลว่า อยากให้ฝ่ายการเมืองลดความขัดแย้ง ใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการเข้าถึงประชาชนมากกว่าการโต้เถียงกันไปมาหรือการเล่นเกมทางการเมือง เพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้อง ในขณะที่ร้อยละ 45.9 เชื่อมั่นศรัทธามากถึงมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่า ยังมีความหวังต่อนโยบายที่นำเสนอต่อสาธารณชนว่าจะถูกนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชนอย่างจริงใจ และโปร่งใส ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความเป็นไปได้ที่จะทำให้การปรองดองเกิดขึ้น พบว่า ตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 62.0 คิดว่าเป็นไปได้ที่จะทำให้การปรองดองเกิดขึ้น ถ้าทุกฝ่ายลดอคติและร่วมมือกัน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 38.0 ไม่คิดว่าเป็นไปได้ ที่น่าพิจารณา คือ ตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 62.4 คิดว่าผู้นำรัฐบาลตัวจริงในการตัดสินใจคือ อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 37.6 ระบุ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นางสาวปุณฑรีก์ ผช.ผอ. กล่าวว่า เป็นสิ่งที่น่ายินดีที่ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นถึงความหวังของประชาชนภายใต้ บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งที่อยากจะเห็นความสงบสุขของบ้านเมือง และการร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มุ่งพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ และคุณภาพของประชาชนให้ทัดเทียมนานาชาติ ดังนั้น แนวคิดที่น่าพิจารณาคือ รัฐบาลและฝ่ายการเมืองควรนำบทเรียนความเสียหายและความเดือดร้อนในอดีตมาทบท วน เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ความวุ่นวายซ้ำซากที่เคยเกิดขึ้นโดยกลุ่มคนที่มุ่งหวังผลประโยชน์ส่วนตัวและ พรรคพวกบนซากปรักหักพังของบ้านเมืองและความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน และที่สำคัญรัฐบาลและฝ่ายการเมืองทั้งปัจจุบันและอนาคตต้องสามารถเป็นแบบ อย่างที่ดี สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในหมู่ประชาชน และไม่ทำพฤติกรรมซ้ำซากที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติบ้านเมือง สำหรับบทบาทของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรเลือกบทบาทที่ตรงกับความต้องการของชาวบ้านส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพราะเป็นแนวทางสำคัญในการรวมทุกคนในชาติเป็นหนึ่งเดียวกัน และการแสดงบทบาทในการแก้ปัญหาปากท้องและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาล และผู้ใหญ่ในสังคมต้องแสดงความชัดเจนในการสร้างความเป็น “หุ้นส่วนกัน (Partnership)” ระหว่างรัฐบาล ฝ่ายค้าน สื่อสาธารณะ ผู้มีบารมีในสังคม เจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มนายทุน และประชาชนทุกหมู่เหล่า เพราะความเป็นหุ้นส่วนกันจะต้องแบ่งปันข้อมูลความเป็นจริงและเปิดโอกาสให้มี ส่วนร่วมในการทำหน้าที่รักษาความสงบสุขของชุมชนและสังคมโดยส่วนรวม ไม่ปิดกั้นแบ่งแยกชนชั้น ผลที่ตามมาคือ การเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ลดเงื่อนไขแห่งความขัดแย้ง ประเทศบรรลุเป้าหมายและความสงบสุขโดยเร็ว ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งจะทำให้ความเสี่ยงต่อการสูญเสียและความวุ่นวายต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปได้อย่างมากตามนั้น จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.3 เป็นชาย ร้อยละ 52.7 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.4 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 40-49 ปี และ ร้อยละ 36.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 71.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 7.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 33.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.0 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ 70% ไม่เชื่อ 'รบ.' จะใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านอย่างโปร่งใส เครือข่ายวิชการทำประชาพิจารณ์และสาธารณมติเพื่อนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยงานวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง พ.ร.บ.เงินกู้ สองล้านล้าน ใครได้ประโยชน์ในสายตาประชาชน กับสิ่งที่รัฐบาลน่าลงทุนให้ประชาชนมากที่สุด กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ดร.นพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม และประธานเครือข่ายวิชาการทำประชาพิจารณ์และสาธารณมติเพื่อนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยงานวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง พ.ร.บ.เงินกู้ สองล้านล้าน ใครได้ประโยชน์ ในสายตาประชาชน กับสิ่งที่รัฐบาลน่าลงทุนให้ประชาชนมากที่สุด กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ ลพบุรี นครปฐม นครนายก เชียงใหม่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี หนองคาย สกลนคร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,147 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 - 21 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 7 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.3 ทราบข่าว พ.ร.บ.เงินกู้ สองล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.9 รับรู้แต่ข่าวขัดแย้ง ทะเลาะกันในสภา เรื่อง พ.ร.บ.เงินกู้ และร้อยละ 80.5 รับรู้แต่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ การกู้เงิน ตาม พ.ร.บ.เงินกู้ ในขณะที่ มีเพียงส่วนน้อยหรือร้อยละ 32.6 ระบุได้รับข้อมูลรายละเอียดของประโยชน์ของ พ.ร.บ.เงินกู้ ร้อยละ 31.3 รับทราบข้อมูลการนำเงินกู้ ไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และเพียงร้อยละ 23.6 รับทราบวิธีการของรัฐบาลในการป้องกัน ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในการใช้เงินกู้ ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 ไม่กังวลว่า พ.ร.บ.เงินกู้ สองล้านล้านบาทจะนำไปสู่ปัญหาวุ่นวายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.2 ไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการใช้จ่ายเงิน ตาม พ.ร.บ.เงินกู้อย่างโปร่งใส ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.8 ยังคิดว่ากลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.เงินกู้ ได้แก่ กลุ่มนายทุน รองลงมาคือ ร้อยละ 70.9 ระบุ นักการเมือง รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี บุคคลใกล้ชิดรัฐมนตรี จะได้ประโยชน์ ร้อยละ 54.3

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง