จับตาศาลรัฐธรรมนูญ-เกมยื้อวาระ 3

แสดงความคิดเห็น

รายงานพิเศษ

ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ซึ่งผ่านการพิจารณาวาระ 2 อยู่ระหว่างรอรัฐสภาโหวตรับวาระ 3 จะสะดุดหรือเดินหน้าต่ออย่างไร ยังเป็นที่จับตา

พรรค ประชาธิปัตย์เตรียมยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการแก้ไขขัดรัฐธรรมนูญ และจะขอให้ศาลสั่งชะลอการโหวตวาระ 3 ขณะที่พรรคเพื่อไทยประกาศเดินหน้าเต็มสูบ

ศาลรัฐธรรมนูญสามารถรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาได้หรือไม่ และจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง มีความเห็นจากนักวิชาการดังนี้

ยุทธพร อิสรชัย

คณบดีรัฐศาสตร์ มสธ.

เป็น สิทธิ์โดยชอบธรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะโดย หลักการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั่วไปและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าให้ศาลรัฐ ธรรมนูญสามารถควบคุมความชอบของกฎหมายได้ ไม่ให้กฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาก็สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาอย่างไร

หากศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมาศาลฯ เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง

ประเมิน ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ยื่นประเด็นเดิมที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยแล้ว ว่าไม่ขัดต่อมาตรา 68 และมาตรา 291 การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราสามารถทำได้และไม่ล้มล้างระบอบการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย

พรรค ประชาธิปัตย์น่าจะร้องเรื่องอำนาจหน้าที่ของส.ว. มากกว่า เพราะหากพรรคประชาธิปัตย์ยื่นร้องในประเด็นเดิมศาลรัฐธรรมนูญจะไม่สามารถรับ คำร้องได้ เพราะเคยรับและวินิจฉัยไปแล้ว

และ หากท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญจะตีความให้ระงับการลงมติวาระ 3 แต่กระบวนทางสภายังจะเดินหน้าให้มีการลงมติต่อไปนั้น ส่วนตัวเห็นว่าถ้าฝ่ายนิติบัญญัติทำตามศาลรัฐธรรมนูญทุกเรื่อง ก็อาจถูกตั้งคำถามเรื่องความเป็นอิสระของฝ่ายนิติ บัญญัติว่าถูกอำนาจตุลาการก้าวล่วง

ดัง นั้น เป็นสิทธิ์ที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะประชุมและลงมติในวาระ 3 ได้ เพราะถือว่าเป็นการดำเนินการตามกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งต้องแยกจากฝ่ายตุลาการที่เป็นคนละส่วนกัน

ถ้า ฝ่ายนิติบัญญัติไม่กล้าก็จะถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่าสภาไทยอ่อนแอ ขณะที่ฝ่ายตุลาการต้องระวังคำวินิจฉัยด้วย เพราะการจะวินิจฉัยให้ฝ่ายนิติบัญญัติกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดจะต้องมี ความผิดชัดเจน

ถ้าขั้นตอนตามกฎหมายถูกต้องทั้งหมด แล้วศาลรัฐ ธรรมนูญมาแทรกแซงการลงมติก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

การที่ ส.ส.ฝ่ายค้านและส.ว.จำนวนหนึ่งไม่สนับ สนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับที่มา ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าวจะไปเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองการปกครอง

ถ้า มองตามหลักการแล้วการกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเรื่อง ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนส.ว.สรรหา ให้มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าไม่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย

แม้ จะเป็นสิทธิ์ของส.ส.และส.ว.ที่จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่กรณีดังกล่าวเห็นว่าการไปยื่นเรื่องในลักษณะนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ยังถือว่าไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่มีการกระทำใดที่ส่อว่าจะไปขัดข้อกฎหมาย

อีก ด้านหนึ่งจะเท่ากับว่า ส.ส.ฝ่ายค้านยอมรับและสนับสนุนให้ส.ว.มาจากการสรรหาเท่านั้น และพยายามสร้างวาทกรรมว่าหากได้ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งแล้วจะกลายเป็นสภาผัว สภาเมีย

แต่ ในข้อเท็จจริงรัฐสภาสามารถออกแบบกลไกการป้องกัน ไม่ให้เกิดการเอื้อผลประโยชน์ระหว่าง ส.ส.และส.ว.ได้ ซึ่งยังมีมาตรการต่างๆ อีกมากมาย โดยไม่เห็นว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจะสร้างปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างไร

ส่วน กรณีของศาลรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเฉพาะแต่ข้อกฎหมายที่ส่อจะ ขัดรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่หากรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจาราณาก็อาจตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ บทบาทอำนาจหน้าที่ เหมือนเช่นตอนที่รับเรื่องแก้ไขมาตรา 68 และ 237

มี การตั้งข้อสังเกตว่าบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณี ดังกล่าวอยู่บนหลักการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีนี้ยังไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ยกเว้นแต่ว่ารัฐธรรมนูญต้องการจะรับลูกจากฝ่ายค้านเพื่อมาโจมตีรัฐบาล

ต้องอย่า ลืมว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกก่อตั้งมาโดยอิสระ แต่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หากยังตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่เหมือนเช่นก่อนหน้านี้ ที่มีข้อกล่าวหาว่าไปก้าวล่วงอำนาจของรัฐสภา

ดัง นั้น ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้อำนาจ แต่ขึ้นอยู่กับความมีเหตุมีผลในการพิจารณาคดีต่างๆ และใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม

ขณะ นี้ยังเห็นว่า กระบวนการในรัฐสภาก็ยังคงสามารถเดิน หน้าได้อยู่ ไม่ได้หมดความเชื่อมั่นตามที่ถูกกล่าวหา เพราะถือว่ายังเป็นเวทีที่ทุกฝ่ายสามารถถกเถียงหาข้อสรุปกันได้ หากคุยกันด้วยเหตุผล

พนัส ทัศนียานนท์

อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

ถ้าว่ากันตามหลักการแล้ว เห็นชัดเจนอยู่แล้วว่าอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นของรัฐสภาโดยตรง ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถเข้ามาก้าวก่ายได้

หาก แต่การรับคำร้องเมื่อครั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ไว้วินิจฉัย ตามมาตรา 68 เป็นการเล่นกลกับตัวหนังสือ ตีความขยายอำนาจของตนเองให้กว้างออกไป

ทั้ง ที่รัฐธรรมนูญระบุชัดว่า การร้องเรียนต่อศาลในมาตรา ดังกล่าวต้องผ่านอัยการสูงสุด (อสส.) ซึ่งเป็นทนายของแผ่นดินเท่านั้น แต่ก็ตีความให้สามารถร้องเรียนได้ทั้ง 2 ช่องทาง ผ่านทั้ง อสส. และศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง

ศาล รัฐธรรมนูญได้วางบรรทัดฐานเอาไว้แบบนี้แล้ว จึงเชื่อว่าจะรับเรื่องร้องเรียนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่มา ส.ว.แน่ แต่จะตัดสินออกมาอย่างไรเท่านั้นเอง

การ ยื่นตีความเป็นเกมทางการเมืองอย่างหนึ่งของส.ส. ประชาธิปัตย์ และส.ว.สรรหา เผื่อไว้สำหรับเป็นการทิ้งไพ่ใบสุดท้าย หวังจะให้เหมือนอย่างที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยยุบ 3 พรรค ชี้ว่า นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะไปทำอาหารออกทีวี ตอนนี้กลุ่มส.ว.สรรหา ดิ้นพล่าน เพราะร่างแก้ไข ดังกล่าวจะทำให้สิ้นสมาชิกสภาพทันทีเมื่อได้ ส.ว.ทั้งหมด 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง

การ ตัดสินใจที่จะเดินหน้าโหวตวาระ 3 รัฐสภาต้องไม่กลัว ไม่หงอ พรรคเพื่อไทยต้องอย่ากลัวเกินไปที่จะเดินหน้าต่อ ที่ผ่านมาศาลก็เคยยกคำร้องในมาตรา 291 ไปแล้ว และไม่จำเป็นต้องกังวลเพราะไม่มีผลผูกพัน

แต่ สิ่งที่ต้องระวังคือหากเดินหน้าต่อไปโดยที่ศาลมีคำวินิจฉัยให้ชะลอการลงมติ วาระ 3 ก็อาจมีปัญหาเกิดขึ้นอีกครั้งได้ ในขั้นตอนก่อนประกาศบังคับใช้กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 ได้เช่นกัน

ขอบคุณhttp://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09UUTBNalV3Tmc9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ย.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 18/09/2556 เวลา 03:27:26

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รายงานพิเศษ ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ซึ่งผ่านการพิจารณาวาระ 2 อยู่ระหว่างรอรัฐสภาโหวตรับวาระ 3 จะสะดุดหรือเดินหน้าต่ออย่างไร ยังเป็นที่จับตา พรรค ประชาธิปัตย์เตรียมยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการแก้ไขขัดรัฐธรรมนูญ และจะขอให้ศาลสั่งชะลอการโหวตวาระ 3 ขณะที่พรรคเพื่อไทยประกาศเดินหน้าเต็มสูบ ศาลรัฐธรรมนูญสามารถรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาได้หรือไม่ และจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง มีความเห็นจากนักวิชาการดังนี้ ยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มสธ. เป็น สิทธิ์โดยชอบธรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะโดย หลักการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั่วไปและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าให้ศาลรัฐ ธรรมนูญสามารถควบคุมความชอบของกฎหมายได้ ไม่ให้กฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาก็สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาอย่างไร หากศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมาศาลฯ เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง ประเมิน ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ยื่นประเด็นเดิมที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยแล้ว ว่าไม่ขัดต่อมาตรา 68 และมาตรา 291 การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราสามารถทำได้และไม่ล้มล้างระบอบการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย พรรค ประชาธิปัตย์น่าจะร้องเรื่องอำนาจหน้าที่ของส.ว. มากกว่า เพราะหากพรรคประชาธิปัตย์ยื่นร้องในประเด็นเดิมศาลรัฐธรรมนูญจะไม่สามารถรับ คำร้องได้ เพราะเคยรับและวินิจฉัยไปแล้ว และ หากท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญจะตีความให้ระงับการลงมติวาระ 3 แต่กระบวนทางสภายังจะเดินหน้าให้มีการลงมติต่อไปนั้น ส่วนตัวเห็นว่าถ้าฝ่ายนิติบัญญัติทำตามศาลรัฐธรรมนูญทุกเรื่อง ก็อาจถูกตั้งคำถามเรื่องความเป็นอิสระของฝ่ายนิติ บัญญัติว่าถูกอำนาจตุลาการก้าวล่วง ดัง นั้น เป็นสิทธิ์ที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะประชุมและลงมติในวาระ 3 ได้ เพราะถือว่าเป็นการดำเนินการตามกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งต้องแยกจากฝ่ายตุลาการที่เป็นคนละส่วนกัน ถ้า ฝ่ายนิติบัญญัติไม่กล้าก็จะถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่าสภาไทยอ่อนแอ ขณะที่ฝ่ายตุลาการต้องระวังคำวินิจฉัยด้วย เพราะการจะวินิจฉัยให้ฝ่ายนิติบัญญัติกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดจะต้องมี ความผิดชัดเจน ถ้าขั้นตอนตามกฎหมายถูกต้องทั้งหมด แล้วศาลรัฐ ธรรมนูญมาแทรกแซงการลงมติก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ การที่ ส.ส.ฝ่ายค้านและส.ว.จำนวนหนึ่งไม่สนับ สนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับที่มา ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าวจะไปเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองการปกครอง ถ้า มองตามหลักการแล้วการกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเรื่อง ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนส.ว.สรรหา ให้มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าไม่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย แม้ จะเป็นสิทธิ์ของส.ส.และส.ว.ที่จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่กรณีดังกล่าวเห็นว่าการไปยื่นเรื่องในลักษณะนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ยังถือว่าไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่มีการกระทำใดที่ส่อว่าจะไปขัดข้อกฎหมาย อีก ด้านหนึ่งจะเท่ากับว่า ส.ส.ฝ่ายค้านยอมรับและสนับสนุนให้ส.ว.มาจากการสรรหาเท่านั้น และพยายามสร้างวาทกรรมว่าหากได้ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งแล้วจะกลายเป็นสภาผัว สภาเมีย แต่ ในข้อเท็จจริงรัฐสภาสามารถออกแบบกลไกการป้องกัน ไม่ให้เกิดการเอื้อผลประโยชน์ระหว่าง ส.ส.และส.ว.ได้ ซึ่งยังมีมาตรการต่างๆ อีกมากมาย โดยไม่เห็นว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจะสร้างปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ส่วน กรณีของศาลรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเฉพาะแต่ข้อกฎหมายที่ส่อจะ ขัดรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่หากรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจาราณาก็อาจตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ บทบาทอำนาจหน้าที่ เหมือนเช่นตอนที่รับเรื่องแก้ไขมาตรา 68 และ 237 มี การตั้งข้อสังเกตว่าบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณี ดังกล่าวอยู่บนหลักการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีนี้ยังไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ยกเว้นแต่ว่ารัฐธรรมนูญต้องการจะรับลูกจากฝ่ายค้านเพื่อมาโจมตีรัฐบาล ต้องอย่า ลืมว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกก่อตั้งมาโดยอิสระ แต่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หากยังตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่เหมือนเช่นก่อนหน้านี้ ที่มีข้อกล่าวหาว่าไปก้าวล่วงอำนาจของรัฐสภา ดัง นั้น ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้อำนาจ แต่ขึ้นอยู่กับความมีเหตุมีผลในการพิจารณาคดีต่างๆ และใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม ขณะ นี้ยังเห็นว่า กระบวนการในรัฐสภาก็ยังคงสามารถเดิน หน้าได้อยู่ ไม่ได้หมดความเชื่อมั่นตามที่ถูกกล่าวหา เพราะถือว่ายังเป็นเวทีที่ทุกฝ่ายสามารถถกเถียงหาข้อสรุปกันได้ หากคุยกันด้วยเหตุผล พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ถ้าว่ากันตามหลักการแล้ว เห็นชัดเจนอยู่แล้วว่าอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นของรัฐสภาโดยตรง ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถเข้ามาก้าวก่ายได้ หาก แต่การรับคำร้องเมื่อครั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ไว้วินิจฉัย ตามมาตรา 68 เป็นการเล่นกลกับตัวหนังสือ ตีความขยายอำนาจของตนเองให้กว้างออกไป ทั้ง ที่รัฐธรรมนูญระบุชัดว่า การร้องเรียนต่อศาลในมาตรา ดังกล่าวต้องผ่านอัยการสูงสุด (อสส.) ซึ่งเป็นทนายของแผ่นดินเท่านั้น แต่ก็ตีความให้สามารถร้องเรียนได้ทั้ง 2 ช่องทาง ผ่านทั้ง อสส. และศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ศาล รัฐธรรมนูญได้วางบรรทัดฐานเอาไว้แบบนี้แล้ว จึงเชื่อว่าจะรับเรื่องร้องเรียนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่มา ส.ว.แน่ แต่จะตัดสินออกมาอย่างไรเท่านั้นเอง การ ยื่นตีความเป็นเกมทางการเมืองอย่างหนึ่งของส.ส. ประชาธิปัตย์ และส.ว.สรรหา เผื่อไว้สำหรับเป็นการทิ้งไพ่ใบสุดท้าย หวังจะให้เหมือนอย่างที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยยุบ 3 พรรค ชี้ว่า นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะไปทำอาหารออกทีวี ตอนนี้กลุ่มส.ว.สรรหา ดิ้นพล่าน เพราะร่างแก้ไข ดังกล่าวจะทำให้สิ้นสมาชิกสภาพทันทีเมื่อได้ ส.ว.ทั้งหมด 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง การ ตัดสินใจที่จะเดินหน้าโหวตวาระ 3 รัฐสภาต้องไม่กลัว ไม่หงอ พรรคเพื่อไทยต้องอย่ากลัวเกินไปที่จะเดินหน้าต่อ ที่ผ่านมาศาลก็เคยยกคำร้องในมาตรา 291 ไปแล้ว และไม่จำเป็นต้องกังวลเพราะไม่มีผลผูกพัน แต่ สิ่งที่ต้องระวังคือหากเดินหน้าต่อไปโดยที่ศาลมีคำวินิจฉัยให้ชะลอการลงมติ วาระ 3 ก็อาจมีปัญหาเกิดขึ้นอีกครั้งได้ ในขั้นตอนก่อนประกาศบังคับใช้กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 ได้เช่นกัน ขอบคุณ…http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09UUTBNalV3Tmc9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง