ชูบทบาทภาคประชาชน : บทสะท้อนปฏิรูปการเมือง : กระดานความคิด โดยฉัตรชัย แสงอรุณ

แสดงความคิดเห็น

นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) และนพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส

การปฏิรูปการเมือง ซึ่งนายบรรหาร ศิลปอาชา กำลังเดินสาย ดึงแกนนำทุกขั้วทั้งการเมือง องค์กรภาคประชาชน โดยเฉพาะที่เป็นขั้วความขัดแย้ง ความคิดและแนวทางที่ดูยังมีความแตกต่างโดยเฉพาะขั้วการเมืองนั้นยังต้อง อาศัยอีกหลายเวทีในการทำความเข้าใจ แต่ในทัศนะของ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส มองว่า การที่ฝ่ายการเมืองพูดเรื่อง สภาปฏิรูปการเมือง และเชื่อมกับการปฏิรูปประเทศไทย เป็นการปฏิรูปแค่องค์กรทางเมือง ซึ่งไม่เพียงพอ และมักจะคิดในรูปแบบเดิมๆ มีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ก็ไม่สามารถทำได้

ทั้งนี้ความล้มเหลวของการปฏิรูปประเทศไทยที่ผ่านมา มีสาเหตุจากเพราะเป็นปฏิรูปจากคนข้างบน แต่การปฏิรูปครั้งนี้เป็นการปฏิรูปโดยประชาชน คนข้างล่าง โดยประชาชนต้องปฏิรูป 3 ระดับ คือ ระดับที่หนึ่งปฏิรูปตัวเอง ปฏิรูปจิตสำนึกเราเอง ระดับที่สอง คือ การปฏิรูประดับองค์กร มีการร่วมคิด ร่วมทำ เป็นองค์กรชุมชน และระดับที่สาม คือ ปฏิรูประดับนโยบาย เช่น การจัดสรรที่ดินให้ประชาชนมีที่ดินทำกิน เขาจะมีความมั่นคงในชีวิตมาก ถึงไม่มีเงินก็สร้างบ้านดินได้ เป็นนโยบายที่รัฐทำไม่ได้ หากประชาชนช่วยกันขับเคลื่อนเรื่องนี้วันหนึ่งจะทำได้

ประชาชนเป็นภาคที่สำคัญที่สุด แต่ไม่มีเครื่องมือเชิงสถานะ และอยู่อย่างตัวใครตัวมัน ต้องมีเครื่องมือเชิงสถาบัน ซึ่งก็คือสภาองค์กรชุมชน หากฐานประเทศแข็งแรง ประเทศก็มั่นคง แต่สภาองค์กรชุมชน ต้องพึงระวัง อย่าไปทำตัวเป็นองค์กรรัฐเป็นอันขาด เพราะอะไรที่ขาดจากฐานประชาชน จะไปผิดทิศผิดทาง สภาองค์กรชุมชน ต้องทำตัวเหมือนปลาอยู่กับน้ำ น้ำคือประชาชน ถ้าปลาคิดขึ้นบกเมื่อไหร่ บนบกล้วนมีอันตรายต่อปลาทั้งสิ้น ต้องจับตรงนี้ให้แม่น จนเป็นพลังที่เปลี่ยนแปลงประเทศไทย

ในทัศนะของฝ่ายงานพัฒนามองว่า สภาองค์กรชุมชนคือเครื่องมือที่ทำให้ประชาชนแข็งแรง เนื่องจากองค์กรชุมชนระดับตำบล ซึ่งเป็นฐานของสภาองค์กรชุมชน อยู่ในชุมชน 8 หมื่นหมู่บ้าน โดยทิศทางที่ควรจะพัฒนา คือ สภาองค์กรชุมชนควรทำงานกับประชาชนในชุมชน 3 พลัง 1.พลังที่ประชาชนมีจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง มีศักดิ์ศรีความเป็นคน เป็นการปลดปล่อยคนทั้งประเทศ และมีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ 2.พลังการจัดการ มีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำในทุกพื้นที่ โดยการจัดการคือการที่ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ประชาชนต้องจัดการเป็น หากจัดการเป็นแล้วสามารถจัดการเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเรื่องต่างๆ ได้ เป็นการเพิ่มสมรรถนะในทุกๆ เรื่อง 3.พลังการพัฒนานโยบาย ที่เป็นนโยบายที่ดีต่อภาคประชาชนหรือประเทศไทย

ท่าทีของ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเข้าร่วมในการประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล โดยกล่าวต่อผู้เข้าร่วมประชุมว่า จะสนับสนุนงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลในทุกระดับ ให้เป็นไปตามบทบาทภารกิจ และสนับสนุนการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาคุณภาพและความเข้มแข็งของสภาองค์กรชุมชนในทุกด้าน จัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยจะนำข้อเสนอแนะซึ่งผ่านความเห็นจากที่ประชุมในระดับชาติเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

ปัจจุบันสภาองค์กรชุมชนตำบลจัดตั้งแล้วรวมทั้งสิ้น 3,868 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 51.67 ของจำนวนตำบล/เทศบาล/เขตทั่วประเทศ มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 128,003 คน หรือจำนวนสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลโดยเฉลี่ยแห่งละประมาณ 33 คน และมีองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนที่จดแจ้ง จำนวนทั้งสิ้น 100,051 องค์กร

การพัฒนาสู่การเติบโตทางคุณภาพจำเป็นที่ภาคประชาชนต้องพัฒนาตัวเอง ที่สำคัญรัฐบาลหากจริงใจในการปฏิรูปการเมืองก็ไม่ยากที่จะสนับสนุนอย่างเป็น กระบวนทั้งรัฐบาล การแสดงท่าทีเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ แม้จะเป็นสัญญาณดี แต่ยังไม่พอหากท่าทีในระดับรัฐบาลยังนิ่งเฉย

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130917/168390/ชูบทบาทภาคปชช.:บทสะท้อนปฏิรูปการเมือง.html#.Uje7hH-kPZ4 (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.ย.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 17/09/2556 เวลา 02:46:23 ดูภาพสไลด์โชว์ ชูบทบาทภาคประชาชน : บทสะท้อนปฏิรูปการเมือง : กระดานความคิด โดยฉัตรชัย แสงอรุณ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) และนพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส การปฏิรูปการเมือง ซึ่งนายบรรหาร ศิลปอาชา กำลังเดินสาย ดึงแกนนำทุกขั้วทั้งการเมือง องค์กรภาคประชาชน โดยเฉพาะที่เป็นขั้วความขัดแย้ง ความคิดและแนวทางที่ดูยังมีความแตกต่างโดยเฉพาะขั้วการเมืองนั้นยังต้อง อาศัยอีกหลายเวทีในการทำความเข้าใจ แต่ในทัศนะของ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส มองว่า การที่ฝ่ายการเมืองพูดเรื่อง สภาปฏิรูปการเมือง และเชื่อมกับการปฏิรูปประเทศไทย เป็นการปฏิรูปแค่องค์กรทางเมือง ซึ่งไม่เพียงพอ และมักจะคิดในรูปแบบเดิมๆ มีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ก็ไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ความล้มเหลวของการปฏิรูปประเทศไทยที่ผ่านมา มีสาเหตุจากเพราะเป็นปฏิรูปจากคนข้างบน แต่การปฏิรูปครั้งนี้เป็นการปฏิรูปโดยประชาชน คนข้างล่าง โดยประชาชนต้องปฏิรูป 3 ระดับ คือ ระดับที่หนึ่งปฏิรูปตัวเอง ปฏิรูปจิตสำนึกเราเอง ระดับที่สอง คือ การปฏิรูประดับองค์กร มีการร่วมคิด ร่วมทำ เป็นองค์กรชุมชน และระดับที่สาม คือ ปฏิรูประดับนโยบาย เช่น การจัดสรรที่ดินให้ประชาชนมีที่ดินทำกิน เขาจะมีความมั่นคงในชีวิตมาก ถึงไม่มีเงินก็สร้างบ้านดินได้ เป็นนโยบายที่รัฐทำไม่ได้ หากประชาชนช่วยกันขับเคลื่อนเรื่องนี้วันหนึ่งจะทำได้ ประชาชนเป็นภาคที่สำคัญที่สุด แต่ไม่มีเครื่องมือเชิงสถานะ และอยู่อย่างตัวใครตัวมัน ต้องมีเครื่องมือเชิงสถาบัน ซึ่งก็คือสภาองค์กรชุมชน หากฐานประเทศแข็งแรง ประเทศก็มั่นคง แต่สภาองค์กรชุมชน ต้องพึงระวัง อย่าไปทำตัวเป็นองค์กรรัฐเป็นอันขาด เพราะอะไรที่ขาดจากฐานประชาชน จะไปผิดทิศผิดทาง สภาองค์กรชุมชน ต้องทำตัวเหมือนปลาอยู่กับน้ำ น้ำคือประชาชน ถ้าปลาคิดขึ้นบกเมื่อไหร่ บนบกล้วนมีอันตรายต่อปลาทั้งสิ้น ต้องจับตรงนี้ให้แม่น จนเป็นพลังที่เปลี่ยนแปลงประเทศไทย ในทัศนะของฝ่ายงานพัฒนามองว่า สภาองค์กรชุมชนคือเครื่องมือที่ทำให้ประชาชนแข็งแรง เนื่องจากองค์กรชุมชนระดับตำบล ซึ่งเป็นฐานของสภาองค์กรชุมชน อยู่ในชุมชน 8 หมื่นหมู่บ้าน โดยทิศทางที่ควรจะพัฒนา คือ สภาองค์กรชุมชนควรทำงานกับประชาชนในชุมชน 3 พลัง 1.พลังที่ประชาชนมีจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง มีศักดิ์ศรีความเป็นคน เป็นการปลดปล่อยคนทั้งประเทศ และมีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ 2.พลังการจัดการ มีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำในทุกพื้นที่ โดยการจัดการคือการที่ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ประชาชนต้องจัดการเป็น หากจัดการเป็นแล้วสามารถจัดการเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเรื่องต่างๆ ได้ เป็นการเพิ่มสมรรถนะในทุกๆ เรื่อง 3.พลังการพัฒนานโยบาย ที่เป็นนโยบายที่ดีต่อภาคประชาชนหรือประเทศไทย ท่าทีของ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเข้าร่วมในการประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล โดยกล่าวต่อผู้เข้าร่วมประชุมว่า จะสนับสนุนงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลในทุกระดับ ให้เป็นไปตามบทบาทภารกิจ และสนับสนุนการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาคุณภาพและความเข้มแข็งของสภาองค์กรชุมชนในทุกด้าน จัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยจะนำข้อเสนอแนะซึ่งผ่านความเห็นจากที่ประชุมในระดับชาติเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป ปัจจุบันสภาองค์กรชุมชนตำบลจัดตั้งแล้วรวมทั้งสิ้น 3,868 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 51.67 ของจำนวนตำบล/เทศบาล/เขตทั่วประเทศ มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 128,003 คน หรือจำนวนสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลโดยเฉลี่ยแห่งละประมาณ 33 คน และมีองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนที่จดแจ้ง จำนวนทั้งสิ้น 100,051 องค์กร การพัฒนาสู่การเติบโตทางคุณภาพจำเป็นที่ภาคประชาชนต้องพัฒนาตัวเอง ที่สำคัญรัฐบาลหากจริงใจในการปฏิรูปการเมืองก็ไม่ยากที่จะสนับสนุนอย่างเป็น กระบวนทั้งรัฐบาล การแสดงท่าทีเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ แม้จะเป็นสัญญาณดี แต่ยังไม่พอหากท่าทีในระดับรัฐบาลยังนิ่งเฉย ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130917/168390/ชูบทบาทภาคปชช.:บทสะท้อนปฏิรูปการเมือง.html#.Uje7hH-kPZ4 คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง