การเมืองจะเดินทางไหน? เมื่อ'องค์กรอิสระ'ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง

แสดงความคิดเห็น

การเมืองจะเดินทางไหน? เมื่อ'องค์กรอิสระ'ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง

"เก่าไป...ใหม่มา" คำกล่าวนี้เป็นสัจธรรมอมตะ เมื่อกรรมการองค์กรอิสระ ถึงคราวทยอยหมดวาระ การเมืองไทยในอนาคต จะเดินไปในทิศทางไหน แล้วก็เข้าสู่สัปดาห์ที่เหล่า"กรรมการองค์กรอิสระ"ที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี และคณะ ครม. ให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ทั้งมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบ"เหล่านักการเมือง"ให้ทำงานเพื่อพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ บนพื้นฐานคำว่า"ธรรมาธิบาล" อย่างแท้จริง ต้องถึงคราวทยอยหมดวาระการดำรงตำแหน่งลง

ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมา"องค์กรอิสระ"ที่ถือได้ว่า มีอำนาจถึงขั้น"ชี้เป็น-ชี้ตาย"นักการเมืองได้มากที่สุด คงหนีไม่พ้น 2 หน่วยงานนี้ คือ"คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)"และอีกองค์กรหนึ่ง"คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต. )"หรือ ที่ชาวบ้านทั่วไป ชอบเรียกกันจนติดปาก-ติดหูว่า"5 เสือ ก.ก.ต."

สมชัย จึงประเสริฐ, ประพันธ์ นัยโกวิท, อภิชาต สุขัคคานนท์, สดศรี สัตยธรรม, วิสุทธิ์ โพธิแท่น

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีกรรมการทั้งหมด 9 ท่าน ต้องยอมรับโดยดุษฎีว่า ที่ผ่านมาเป็น"องค์กรอิสระ"ที่ มีความน่าเชื่อถือสูง สามารถทำหน้าที่ชี้มูลความผิดนักการเมือง ที่ทั้งยังอยู่ในอำนาจรัฐ และไม่อยู่ในอำนาจรัฐ ให้เป็นที่ประจักษ์มาแล้วมานับไม่ถ้วน

อย่างกรณีที่เพิ่งผ่านพ้นไป อย่างลือลั่น สดๆร้อนๆ กับ คดีมหากาพย์"ทุจริตรถและเรือดับเพลิง กทม."ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"สั่งฟัน นายประชา มาลีนนท์ อดีตรมช.มหาดไทย สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จำคุก 12 ปี แบบไม่ต้องไม่รอลงอาญา จุดเริ่มต้น ก็มาจากการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. เช่นกัน

ประชา มาลีนนท์

ทั้งนี้ ในคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คน ที่ถือว่า"โด่งดัง"เป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตา รู้จักกันดีทั้งบ้านทั้งเมือง มากที่สุดคนหนึ่ง คงไม่มีใครเกินคนที่ชื่อ"กล้านรงค์ จันทิก"กรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งมีกำหนดจะครบวาระดำรงตำแหน่ง ในวันพุธที่ 18 ก.ย.นี้ ซึ่งต้องมีกระบวนการสรรหาบุคคล ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความเหมาะสม มาทดแทนภายในระยะเวลา ไม่เกิน 60 วัน ตามที่ รธน.กำหนด ขณะที่ ป.ป.ช.รายอื่น ๆ ก็ทยอยจะหมดวาระลง ตั้งแต่ปีหน้า (2557) เริ่มที่ นายใจเด็ด พรไชยา ซึ่งจะมีอายครบ 70 ปี จากนั้นก็ไล่ไปจนครบหมดทุกคน ในปี 2558

พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแก้ไขเพิ่มเติม 2554 กำหนดให้ มีคณะกรรมการสรรหา กรรมการจํานวนห้าคน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อ ผู้ได้รับเลือกจำนวนเก้าคน

กล้านรงค์ จันทิก

ก่อนเสนอต่อ ประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุทําให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ก่อนที่วุฒิสภา ก็จะทำการลงคะแนนลับ เพื่อเลือกผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการ ป.ป.ช.คนใหม่ หากไม่มีเหตุขัดข้องใน 30 วัน กรณีที่วุฒิสภา ให้ความเห็นชอบ ให้ประธานวุฒิสภา นําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป

กรณีหาก ดำเนินการสรรหาไม่ทันกำหนด ไม่ว่าจะเกิดจากกรณีใด ๆ กฎหมายจะให้อำนาจ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดํารงตําแหน่ง ไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จํานวน 3 คน และให้ ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จํานวน 2 คน เป็นกรรมการสรรหาดําเนินการแทน

หันมาทาง ฝากฝั่ง"5 เสือ ก.ก.ต." ซึ่ง ก็จะหมดวาระดำรงตำแหน่ง แบบพร้อมกันทั้ง 5 คน วันที่ 20 ก.ย.นี้ เช่นกัน โดยจะมีการ สรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ ตามกระบวนการที่ รธน.ให้อำนาจ

ประพันธ์ นัยโกวิท

นายประพันธ์ นัยโกวิท ก.ก.ต.ด้านกิจการบริหารการเลือกตั้งกล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ว่า ก.ก.ต.ทั้ง 5 คน จะครบวาระดำรงตำแหน่งครบ 7 ปี ในวันศุกร์ที่ 20 ก.ย.นี้ แต่ในทางปฏิบัติไม่มีผลอะไร เพราะตาม รธน. กำหนดให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี กกต.ชุดใหม่ เข้ามารับหน้าที่ ภายในเวลา 90 วัน แต่ในความเป็นจริงแม้จะเกิน 90 วัน ก็ไม่เป็นไร เพราะ รธน. กำหนดให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จนกว่ามี ก.ก.ต.ชุดใหม่เข้ามาแทน

ถ้า สมมติว่า กระบวนการกรรมการสรรหาที่จะต้องไปที่วุฒิสภา เกิดมีปัญหา ไม่สามารถกระทำได้ตามกำหนดเวลาจริง ๆ ก็จะเป็นหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นผู้สรรหากรรมการ ที่จะต้องไปหาผู้ที่เหมาะสมมาเป็น กกต. ชุดใหม่ ทั้ง 5 คน

ซึ่งไม่ เหมือน กับกระบวนการสรรหา ป.ป.ช. ซะทีเดียว ที่ กรรมการสรรหาที่จะต้องไปที่วุฒิสภา หากสรรหากรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้ ก็จะเป็นหน้าที่ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ในการหากรรมการสรรหามา 3 ท่าน ส่วนอีก 2 ท่าน จะเป็นหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ศาลปกครอง

- ก.ก.ต.ทั้ง 5 คน จะครบวาระดำรงตำแหน่ง 7 ปี ยังมีอะไรที่น่าเป็นห่วงหรืออยากฝากให้สังคมช่วยดำเนินการต่อหรือไม่?

ใน ส่วนกระบวนการเลือกตั้งนั้น ก.ก.ต.ได้วางรากฐานไว้ดีแล้ว ไม่น่ามีปัญหาอะไร ในเรื่องความน่าเชื่อถือการจัดการเลือกตั้ง เพราะมีทั้งกฎหมาย และระเบียบ ที่ออกมา มันสามารถตรวจสอบได้หมด โปร่งใส เชื่อถือได้

ดังนั้น ในส่วนการทำงานของ ก.ก.ต. คิดว่า ไม่น่ามีอะไร ที่น่าห่วง เพราะถูกคุมด้วยกฎระเบียบทั้งหมด ทำให้โอกาสการโกงเลือกตั้งทำได้ยาก ฉะนั้นในส่วนการจัดการเลือกตั้ง ของ กกต. ไม่น่าเป็นห่วงแล้วคิดว่า ทุกฝ่ายน่าจะมั่นใจได้

ส่วนปัญหาในตอนนี้ ที่เราเป็นห่วง คือ สภาบ้านเมืองตอนนี้ยังมีความแตกแยกกันอยู่ ความเห็นไม่ค่อยลงรอยกัน ทั้งยังมีความเคลื่อนไหวของมวลชนต่าง ๆ อันนี้ มีความเป็นห่วงเรื่อง"กระทบกระทั่งกัน"ความ แตกต่างของมวลชนไม่เป็นไร ใครจะเป็น เสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อหลากสี หน้ากากขาว ก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ว่าอย่าใช้ความรุนแรง รวมทั้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็อย่าใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา

กรณีที่ เกรงกันว่า การแก้ไข รธน. ประเด็นที่มา ส.ว. จะส่งผลให้การสรรหา กกต.ที่ชุดต่อไป อาจมีปัญหา ยิ่งถ้าวุฒิสภาที่มีอำนาจสรรหาองค์กรอิสระ กลายเป็น"สภาทาส"หรือ"สภาผัว-เมีย"ด้วยแล้ว เชื่อว่า มีบทเรียนกันมาแล้ว ถูกกล่าวหาว่า เป็นสภาผัว-เมีย ส่วนตัวคิดว่า คนที่จะลง ส.ว. ก็ต้องตระหนักถึงปัญหานี้แล้วสังคมก็จับตามอง หลายคนก็มีบทเรียนก็เชื่อว่า เขาต้องใช้ดุลพินิจมากขึ้น

-ส่วนที่มองกันว่า จะมีผลต่อการสรรหาองค์กรอิสระหรือไม่?

คิด ว่ามัน คือ กระบวนการสรรหา ก็จะต้องผ่านกรรมการสรรหา กรรมการสรรหา ก็ต้องกลั่นกรองส่วนหนึ่งแล้ว ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ก็กลั่นกรองส่วนหนึ่ง ฉะนั้น ปัญหาที่ว่า จะมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง คิดว่า สังคมก็จับตามอง แล้วอะไรไม่ถูกต้อง สื่อฯ ก็ดี หรือ นักวิชาการก็ช่วยกันติติง ก็เชื่อว่า คงไม่กระทบกับ กกต. ชุดต่อไป

ทั้งหมดนี้ ที่กำลังจะเกิดขึ้น เชื่อแน่ว่า มีผลกระทบกับการเมืองประเทศไทย โดยไม่อาจหลีกเลี่ยง ไม่มากก็น้อย เพราะ ทั้ง ป.ป.ช.-กกต. รธน.ให้อำนาจในการ ชี้ถูกชี้ผิด คดีทุจริต-คดีเลือกตั้งต่าง ๆ ในสังคม ทั้งเกี่ยวข้องกับการปราบปรามนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชัน การจัดการเลือกตั้ง ให้ใบเหลือง-ใบแดงกับ ผู้สมัครเลือกตั้ง ซึ่งส่งผลต่อชัยชนะของพรรคการเมือง เลยไปจนถึงการจัดตั้งรัฐบาลได้ หรือไม่ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ 2 องค์กรอิสระนี้เป็นหลัก

นั่นจึงนำมาซึ่งข้อหา "ฉกาจฉกรรจ์" ที่ประเดประดัง กล่าวหารัฐบาล ทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่า จะอยู่ภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หรือ จะนับเลยไปถึงถึงสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ว่า มีความพยายามเข้าครอบงำและล้มล้างอำนาจองค์กรอิสระ เพื่อผลประโยชน์ของการเมืองของพรรคพวกตัวเอง

หากมองข้ามช็อตไปถึงการ แก้ รธน.ประเด็น ที่มา ส.ว. ที่ เพิ่งผ่านพ้นไป การกำหนดให้ ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้ง 200 คน ที่มีการทึกทักจากฝ่ายตรงข้ามรัฐ โดยเฉพาะจาก ปชป.และกลุ่ม 40 ส.ว.ว่า เพื่อเป้าหมายสามารถเข้าครอบงำ ส.ว.ในอนาคต จนนำไปสู่การเป็นสภาผัวเมีย หรือ สภาทาส ก็ต้องยอมรับว่า เป็นเหตุเป็นผลที่น่าคิด และรับฟังได้เช่นกัน

เพราะ ต้องไม่ลืมว่า หากมีการเข้าครอบงำสภาสูง (ส.ว.) ได้จริง การสรรหา กรรมการ ป.ป.ช. หรือ กกต.ชุดต่อไป ก็อาจมีปัญหาได้ เพราะสุ่มเสี่ยง เกิดการค่อย ๆ กินรวบประเทศ อย่างที่พรรคฝ่ายค้านพยายามออกมาตั้งข้อครหา

ดังนั้น จากนี้ไปสังคมจะต้องคอย"จับตา"ชนิด"ห้ามกะพริบ"ใน ช่วงหัวเลี้ยวหัวที่สำคัญ ว่า การทยอยหมดวาระของกรรมการองค์กรอิสระ ทั้ง ป.ป.ช.และ กกต. ท้ายสุดจะได้บุคคลใด เข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติต่อ เพราะนั่น มันจะเกี่ยวเนื่องกับความเป็นไปของการเมืองในอนาคต ซึ่งเวลานี้ก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า มันส่งผลกระทบอะไรกับพวกเราคนไทยทุกคนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงบ้าง...

ขั้นตอน การสรรหา และการเลือกกรรมการ ป.ป.ช.

มาตรา 7 (10) การสรรหาและการเลือกกรรมการให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการจํานวนห้าคนประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎรและ ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยให้เลือกกันเองให้กรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหา และให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือก จำนวนเก้าคน

คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่สรรหาและจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ ได้รับเลือกจํานวนเก้า คนเสนอต่อ ประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น ทั้งนี้ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุทําให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว มติในการคัดเลือกดังกล่าวต้องลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่า สองในสามของจํานวนกรรมการสรรหา ทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตําแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้น มีจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่

(2) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับ การคัดเลือกตาม (๑) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อ การลงมติให้ใช้วิธีลงคะแนนลับ กรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ให้ประธานวุฒิสภานําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป กรณีที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบในรายชื่อใด ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังคณะกรรมการสรรหาพร้อม ด้วยเหตุผลเพื่อให้ดําเนินการสรรหาใหม่ หากคณะกรรมการสรรหาไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภา และมีมติยืนยันตามมติเดิมด้วยคะแนนเอกฉันท์ให้ส่งรายชื่อนั้นให้ประธานวุฒิ สภานํา ความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไปแต่ถ้ามติที่ยืนยันตามมติเดิมไม่เป็น เอกฉันท์ให้เริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ ซึ่งต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องดํา เนินการดังกล่าว

ในกรณีที่ไม่อาจสรรหาบุคคลตาม (1) ได้ภายในเวลาที่กําหนดไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาแต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจํานวนสามคน และให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสูง สุด จํานวนสองคนเป็นกรรมการสรรหาเพื่อดําเนินการตาม (1) แทน

ให้ผู้ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง ประชุมและเลือกกันเอง ให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ...

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/pol/369434

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 16/09/2556 เวลา 04:12:25 ดูภาพสไลด์โชว์ การเมืองจะเดินทางไหน? เมื่อ'องค์กรอิสระ'ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การเมืองจะเดินทางไหน? เมื่อ\'องค์กรอิสระ\'ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง "เก่าไป...ใหม่มา" คำกล่าวนี้เป็นสัจธรรมอมตะ เมื่อกรรมการองค์กรอิสระ ถึงคราวทยอยหมดวาระ การเมืองไทยในอนาคต จะเดินไปในทิศทางไหน แล้วก็เข้าสู่สัปดาห์ที่เหล่า"กรรมการองค์กรอิสระ"ที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี และคณะ ครม. ให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ทั้งมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบ"เหล่านักการเมือง"ให้ทำงานเพื่อพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ บนพื้นฐานคำว่า"ธรรมาธิบาล" อย่างแท้จริง ต้องถึงคราวทยอยหมดวาระการดำรงตำแหน่งลง ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมา"องค์กรอิสระ"ที่ถือได้ว่า มีอำนาจถึงขั้น"ชี้เป็น-ชี้ตาย"นักการเมืองได้มากที่สุด คงหนีไม่พ้น 2 หน่วยงานนี้ คือ"คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)"และอีกองค์กรหนึ่ง"คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต. )"หรือ ที่ชาวบ้านทั่วไป ชอบเรียกกันจนติดปาก-ติดหูว่า"5 เสือ ก.ก.ต." สมชัย จึงประเสริฐ, ประพันธ์ นัยโกวิท, อภิชาต สุขัคคานนท์, สดศรี สัตยธรรม, วิสุทธิ์ โพธิแท่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีกรรมการทั้งหมด 9 ท่าน ต้องยอมรับโดยดุษฎีว่า ที่ผ่านมาเป็น"องค์กรอิสระ"ที่ มีความน่าเชื่อถือสูง สามารถทำหน้าที่ชี้มูลความผิดนักการเมือง ที่ทั้งยังอยู่ในอำนาจรัฐ และไม่อยู่ในอำนาจรัฐ ให้เป็นที่ประจักษ์มาแล้วมานับไม่ถ้วน อย่างกรณีที่เพิ่งผ่านพ้นไป อย่างลือลั่น สดๆร้อนๆ กับ คดีมหากาพย์"ทุจริตรถและเรือดับเพลิง กทม."ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"สั่งฟัน นายประชา มาลีนนท์ อดีตรมช.มหาดไทย สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จำคุก 12 ปี แบบไม่ต้องไม่รอลงอาญา จุดเริ่มต้น ก็มาจากการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. เช่นกัน ประชา มาลีนนท์ ทั้งนี้ ในคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คน ที่ถือว่า"โด่งดัง"เป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตา รู้จักกันดีทั้งบ้านทั้งเมือง มากที่สุดคนหนึ่ง คงไม่มีใครเกินคนที่ชื่อ"กล้านรงค์ จันทิก"กรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งมีกำหนดจะครบวาระดำรงตำแหน่ง ในวันพุธที่ 18 ก.ย.นี้ ซึ่งต้องมีกระบวนการสรรหาบุคคล ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความเหมาะสม มาทดแทนภายในระยะเวลา ไม่เกิน 60 วัน ตามที่ รธน.กำหนด ขณะที่ ป.ป.ช.รายอื่น ๆ ก็ทยอยจะหมดวาระลง ตั้งแต่ปีหน้า (2557) เริ่มที่ นายใจเด็ด พรไชยา ซึ่งจะมีอายครบ 70 ปี จากนั้นก็ไล่ไปจนครบหมดทุกคน ในปี 2558 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแก้ไขเพิ่มเติม 2554 กำหนดให้ มีคณะกรรมการสรรหา กรรมการจํานวนห้าคน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อ ผู้ได้รับเลือกจำนวนเก้าคน กล้านรงค์ จันทิก ก่อนเสนอต่อ ประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุทําให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ก่อนที่วุฒิสภา ก็จะทำการลงคะแนนลับ เพื่อเลือกผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการ ป.ป.ช.คนใหม่ หากไม่มีเหตุขัดข้องใน 30 วัน กรณีที่วุฒิสภา ให้ความเห็นชอบ ให้ประธานวุฒิสภา นําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป กรณีหาก ดำเนินการสรรหาไม่ทันกำหนด ไม่ว่าจะเกิดจากกรณีใด ๆ กฎหมายจะให้อำนาจ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดํารงตําแหน่ง ไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จํานวน 3 คน และให้ ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จํานวน 2 คน เป็นกรรมการสรรหาดําเนินการแทน หันมาทาง ฝากฝั่ง"5 เสือ ก.ก.ต." ซึ่ง ก็จะหมดวาระดำรงตำแหน่ง แบบพร้อมกันทั้ง 5 คน วันที่ 20 ก.ย.นี้ เช่นกัน โดยจะมีการ สรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ ตามกระบวนการที่ รธน.ให้อำนาจ ประพันธ์ นัยโกวิท นายประพันธ์ นัยโกวิท ก.ก.ต.ด้านกิจการบริหารการเลือกตั้งกล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ว่า ก.ก.ต.ทั้ง 5 คน จะครบวาระดำรงตำแหน่งครบ 7 ปี ในวันศุกร์ที่ 20 ก.ย.นี้ แต่ในทางปฏิบัติไม่มีผลอะไร เพราะตาม รธน. กำหนดให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี กกต.ชุดใหม่ เข้ามารับหน้าที่ ภายในเวลา 90 วัน แต่ในความเป็นจริงแม้จะเกิน 90 วัน ก็ไม่เป็นไร เพราะ รธน. กำหนดให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จนกว่ามี ก.ก.ต.ชุดใหม่เข้ามาแทน ถ้า สมมติว่า กระบวนการกรรมการสรรหาที่จะต้องไปที่วุฒิสภา เกิดมีปัญหา ไม่สามารถกระทำได้ตามกำหนดเวลาจริง ๆ ก็จะเป็นหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นผู้สรรหากรรมการ ที่จะต้องไปหาผู้ที่เหมาะสมมาเป็น กกต. ชุดใหม่ ทั้ง 5 คน ซึ่งไม่ เหมือน กับกระบวนการสรรหา ป.ป.ช. ซะทีเดียว ที่ กรรมการสรรหาที่จะต้องไปที่วุฒิสภา หากสรรหากรรมการ ป.ป.ช.ไม่ได้ ก็จะเป็นหน้าที่ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ในการหากรรมการสรรหามา 3 ท่าน ส่วนอีก 2 ท่าน จะเป็นหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ศาลปกครอง - ก.ก.ต.ทั้ง 5 คน จะครบวาระดำรงตำแหน่ง 7 ปี ยังมีอะไรที่น่าเป็นห่วงหรืออยากฝากให้สังคมช่วยดำเนินการต่อหรือไม่? ใน ส่วนกระบวนการเลือกตั้งนั้น ก.ก.ต.ได้วางรากฐานไว้ดีแล้ว ไม่น่ามีปัญหาอะไร ในเรื่องความน่าเชื่อถือการจัดการเลือกตั้ง เพราะมีทั้งกฎหมาย และระเบียบ ที่ออกมา มันสามารถตรวจสอบได้หมด โปร่งใส เชื่อถือได้ ดังนั้น ในส่วนการทำงานของ ก.ก.ต. คิดว่า ไม่น่ามีอะไร ที่น่าห่วง เพราะถูกคุมด้วยกฎระเบียบทั้งหมด ทำให้โอกาสการโกงเลือกตั้งทำได้ยาก ฉะนั้นในส่วนการจัดการเลือกตั้ง ของ กกต. ไม่น่าเป็นห่วงแล้วคิดว่า ทุกฝ่ายน่าจะมั่นใจได้ ส่วนปัญหาในตอนนี้ ที่เราเป็นห่วง คือ สภาบ้านเมืองตอนนี้ยังมีความแตกแยกกันอยู่ ความเห็นไม่ค่อยลงรอยกัน ทั้งยังมีความเคลื่อนไหวของมวลชนต่าง ๆ อันนี้ มีความเป็นห่วงเรื่อง"กระทบกระทั่งกัน"ความ แตกต่างของมวลชนไม่เป็นไร ใครจะเป็น เสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อหลากสี หน้ากากขาว ก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ว่าอย่าใช้ความรุนแรง รวมทั้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็อย่าใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา กรณีที่ เกรงกันว่า การแก้ไข รธน. ประเด็นที่มา ส.ว. จะส่งผลให้การสรรหา กกต.ที่ชุดต่อไป อาจมีปัญหา ยิ่งถ้าวุฒิสภาที่มีอำนาจสรรหาองค์กรอิสระ กลายเป็น"สภาทาส"หรือ"สภาผัว-เมีย"ด้วยแล้ว เชื่อว่า มีบทเรียนกันมาแล้ว ถูกกล่าวหาว่า เป็นสภาผัว-เมีย ส่วนตัวคิดว่า คนที่จะลง ส.ว. ก็ต้องตระหนักถึงปัญหานี้แล้วสังคมก็จับตามอง หลายคนก็มีบทเรียนก็เชื่อว่า เขาต้องใช้ดุลพินิจมากขึ้น -ส่วนที่มองกันว่า จะมีผลต่อการสรรหาองค์กรอิสระหรือไม่? คิด ว่ามัน คือ กระบวนการสรรหา ก็จะต้องผ่านกรรมการสรรหา กรรมการสรรหา ก็ต้องกลั่นกรองส่วนหนึ่งแล้ว ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ก็กลั่นกรองส่วนหนึ่ง ฉะนั้น ปัญหาที่ว่า จะมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง คิดว่า สังคมก็จับตามอง แล้วอะไรไม่ถูกต้อง สื่อฯ ก็ดี หรือ นักวิชาการก็ช่วยกันติติง ก็เชื่อว่า คงไม่กระทบกับ กกต. ชุดต่อไป ทั้งหมดนี้ ที่กำลังจะเกิดขึ้น เชื่อแน่ว่า มีผลกระทบกับการเมืองประเทศไทย โดยไม่อาจหลีกเลี่ยง ไม่มากก็น้อย เพราะ ทั้ง ป.ป.ช.-กกต. รธน.ให้อำนาจในการ ชี้ถูกชี้ผิด คดีทุจริต-คดีเลือกตั้งต่าง ๆ ในสังคม ทั้งเกี่ยวข้องกับการปราบปรามนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชัน การจัดการเลือกตั้ง ให้ใบเหลือง-ใบแดงกับ ผู้สมัครเลือกตั้ง ซึ่งส่งผลต่อชัยชนะของพรรคการเมือง เลยไปจนถึงการจัดตั้งรัฐบาลได้ หรือไม่ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ 2 องค์กรอิสระนี้เป็นหลัก นั่นจึงนำมาซึ่งข้อหา "ฉกาจฉกรรจ์" ที่ประเดประดัง กล่าวหารัฐบาล ทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่า จะอยู่ภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หรือ จะนับเลยไปถึงถึงสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ว่า มีความพยายามเข้าครอบงำและล้มล้างอำนาจองค์กรอิสระ เพื่อผลประโยชน์ของการเมืองของพรรคพวกตัวเอง หากมองข้ามช็อตไปถึงการ แก้ รธน.ประเด็น ที่มา ส.ว. ที่ เพิ่งผ่านพ้นไป การกำหนดให้ ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้ง 200 คน ที่มีการทึกทักจากฝ่ายตรงข้ามรัฐ โดยเฉพาะจาก ปชป.และกลุ่ม 40 ส.ว.ว่า เพื่อเป้าหมายสามารถเข้าครอบงำ ส.ว.ในอนาคต จนนำไปสู่การเป็นสภาผัวเมีย หรือ สภาทาส ก็ต้องยอมรับว่า เป็นเหตุเป็นผลที่น่าคิด และรับฟังได้เช่นกัน เพราะ ต้องไม่ลืมว่า หากมีการเข้าครอบงำสภาสูง (ส.ว.) ได้จริง การสรรหา กรรมการ ป.ป.ช. หรือ กกต.ชุดต่อไป ก็อาจมีปัญหาได้ เพราะสุ่มเสี่ยง เกิดการค่อย ๆ กินรวบประเทศ อย่างที่พรรคฝ่ายค้านพยายามออกมาตั้งข้อครหา ดังนั้น จากนี้ไปสังคมจะต้องคอย"จับตา"ชนิด"ห้ามกะพริบ"ใน

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง