หลักคิด หลักการ เข้าใจ เข้าถึง การเมือง อย่าง "บูรณาการ"

แสดงความคิดเห็น

หลักคิด หลักการ เข้าใจ เข้าถึง การเมือง อย่าง "บูรณาการ" การทำความเข้าใจต่อ "สถานการณ์" ทางการเมือง ณ วันนี้ จะแยกห่างออกจากการมองอย่าง "บูรณาการ" ไม่ได้

จะเข้าใจสถานการณ์ใน "ภาคใต้" ได้ต้องเริ่มจาก "สภา"

หาก คิดว่าความเป็นไปในภาคใต้ไม่ว่าจะเป็นที่แยกควนหนองหงษ์ ไม่ว่าจะเป็นที่บริเวณหน้าโคออป ไม่ว่าจะเป็นการเข้ายึดศาลากลางที่ชุมพร หรือการไปปรากฏตัวของร้อยเอกนอกราชการบางคนที่บางสะพาน

เป็นไปโดย "ธรรมชาติ"

ก็ ย่อมไม่เกิดความสงสัยในบทบาทของบางคนในสภา ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเอาเถิดกับคำสั่งและอำนาจของประธาน ไม่ว่าจะเป็นการปะทุอารมณ์ถึงขั้นยกเก้าอี้ขึ้นทุ่ม

เหล่านี้เป็นไปเองโดย "ธรรมชาติ" หรือ

ทุกอย่างล้วนกำหนดเอาไว้แล้วตั้งแต่ปฏิบัติการเดินเท้าจากแยกอุรุพงษ์ไปร่วมประชุมสภาเมื่อเช้าวันที่ 7 สิงหาคม

แล้วตามมาด้วยยุทธการ "ป่วน" ในวันที่ 20 สิงหาคม

จากนั้นในวันที่ 23 สิงหาคม ก็มีการปิดถนนและยกระดับไปอีกขั้นด้วยการปิดทางรถไฟในพื้นที่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

ต้องมองอย่าง "บูรณาการ"

แท้จริงแล้ว คำว่า "บูรณาการ" คืออีกรูปเงา 1 ของกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาท ของกระบวนการแห่งอิทัปปัจจยตา

อัน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ถอดความออกมาว่า

เมื่อสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

ที่มี ส.ส.บางคนจากบางพรรคการเมืองอธิบายการเกิดขึ้นของปฏิบัติการเดินเท้าเมื่อเช้าวันที่ 7 สิงหาคม

เป็นเหมือน "น้ำจิ้ม"

มีความจำเป็นต้องสะสม "น้ำจิ้ม" หลาย "น้ำจิ้ม" ของปฏิบัติการทางการเมืองจึงจะเหยียบบาทก้าวเข้าไปสู่ "จานหลัก" อย่างแท้จริง

ดังนั้น ที่ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ทำจดหมายเปิดผนึกนั้นถูกต้องอย่างยิ่ง

ถูกต้องด้วยสายตายาวไกลในฐานะนักประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้ของไทย ด้วยการหยิบบทเรียน ความจัดเจนอันสะสมจากความเป็นจริงของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส

อนาธิปัตย์ อนาธิปไตย

ภาพที่เห็นในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ภาพที่เป็นในที่ประชุมรัฐสภา นับว่าเด่นชัดและเป็นรูปธรรมยิ่งของภาวะไร้ระเบียบ

อันหนังสือพจนานุกรม ฉบับมติชน นิยามไว้อย่างรวบรัด

อนาธิปไตย ภาวะที่บ้านเมืองสับสนวุ่นวายขณะที่ไม่มีรัฐบาลปกครอง ไม่มีกฎหมาย โดยเปรีบบเทียบใช้เรียกภาวการณ์ที่ไม่มีใครใส่ใจกับกฎระเบียบหรือกฎหมาย

เห็นได้จากการแข็งขืนต่อคำวินิจฉัยของ "ประธาน"

เห็นได้จากการแสดงออกเสมือนกับมิอาจควบคุมอารมณ์ของตนได้ โดยการยกเก้าอี้ทุ่มกลางสภา

ทั้งๆ ที่ปากอ้างกฎ แต่การกระทำละเมิดกฎ

ยิ่งออกจากรัฐบาลไปยังการชุมนุมหลายแห่งในหลายพื้นที่ ก็จะสัมผัสได้คือแนวคิดที่จะปิดถนน ปิดทางรถไฟ

ยึดที่ว่าการอำเภอ ยึดศาลากลาง

สะท้อน ความพยายามอย่างเต็มกำลังที่จะเร่งสถานการณ์ให้เห็นถึงความอ่อนแอ ไม่สามารถปกครองได้ของรัฐบาล เติมเชื้อฟืนอันนำไปสู่การเผด็จศึกตามคำทำนายของโหรน้อยใหญ่อันแวดล้อมอยู่ โดยรอบ

ก่อน 8 ตุลาคม

มีความจำเป็นต้องยึดหลัก "บูรณาการ" มีความจำเป็นต้องยึดหลัก "อิทัปปัจจยตา" มาเป็นเครื่องมือ

เครื่อง มือในการทำความเข้าใจนักการเมือง เครื่องมือในการทำความเข้าใจพรรคการเมืองเครื่องมือในการทำความเข้าใจในแต่ ละ "สถานการณ์" ว่าเป็นธรรมชาติหรือเนรมิตเสกขึ้น

สนอง "ตัณหา" การเมือง

ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378541103&grpid=&catid=01&subcatid=0100 (ขนาดไฟล์: 167)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 8/09/2556 เวลา 02:51:55 ดูภาพสไลด์โชว์ หลักคิด หลักการ เข้าใจ เข้าถึง การเมือง อย่าง "บูรณาการ"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หลักคิด หลักการ เข้าใจ เข้าถึง การเมือง อย่าง \"บูรณาการ\"การทำความเข้าใจต่อ "สถานการณ์" ทางการเมือง ณ วันนี้ จะแยกห่างออกจากการมองอย่าง "บูรณาการ" ไม่ได้ จะเข้าใจสถานการณ์ใน "ภาคใต้" ได้ต้องเริ่มจาก "สภา" หาก คิดว่าความเป็นไปในภาคใต้ไม่ว่าจะเป็นที่แยกควนหนองหงษ์ ไม่ว่าจะเป็นที่บริเวณหน้าโคออป ไม่ว่าจะเป็นการเข้ายึดศาลากลางที่ชุมพร หรือการไปปรากฏตัวของร้อยเอกนอกราชการบางคนที่บางสะพาน เป็นไปโดย "ธรรมชาติ" ก็ ย่อมไม่เกิดความสงสัยในบทบาทของบางคนในสภา ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเอาเถิดกับคำสั่งและอำนาจของประธาน ไม่ว่าจะเป็นการปะทุอารมณ์ถึงขั้นยกเก้าอี้ขึ้นทุ่ม เหล่านี้เป็นไปเองโดย "ธรรมชาติ" หรือ ทุกอย่างล้วนกำหนดเอาไว้แล้วตั้งแต่ปฏิบัติการเดินเท้าจากแยกอุรุพงษ์ไปร่วมประชุมสภาเมื่อเช้าวันที่ 7 สิงหาคม แล้วตามมาด้วยยุทธการ "ป่วน" ในวันที่ 20 สิงหาคม จากนั้นในวันที่ 23 สิงหาคม ก็มีการปิดถนนและยกระดับไปอีกขั้นด้วยการปิดทางรถไฟในพื้นที่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ต้องมองอย่าง "บูรณาการ" แท้จริงแล้ว คำว่า "บูรณาการ" คืออีกรูปเงา 1 ของกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาท ของกระบวนการแห่งอิทัปปัจจยตา อัน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ถอดความออกมาว่า เมื่อสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ที่มี ส.ส.บางคนจากบางพรรคการเมืองอธิบายการเกิดขึ้นของปฏิบัติการเดินเท้าเมื่อเช้าวันที่ 7 สิงหาคม เป็นเหมือน "น้ำจิ้ม" มีความจำเป็นต้องสะสม "น้ำจิ้ม" หลาย "น้ำจิ้ม" ของปฏิบัติการทางการเมืองจึงจะเหยียบบาทก้าวเข้าไปสู่ "จานหลัก" อย่างแท้จริง ดังนั้น ที่ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ทำจดหมายเปิดผนึกนั้นถูกต้องอย่างยิ่ง ถูกต้องด้วยสายตายาวไกลในฐานะนักประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้ของไทย ด้วยการหยิบบทเรียน ความจัดเจนอันสะสมจากความเป็นจริงของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส อนาธิปัตย์ อนาธิปไตย ภาพที่เห็นในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ภาพที่เป็นในที่ประชุมรัฐสภา นับว่าเด่นชัดและเป็นรูปธรรมยิ่งของภาวะไร้ระเบียบ อันหนังสือพจนานุกรม ฉบับมติชน นิยามไว้อย่างรวบรัด อนาธิปไตย ภาวะที่บ้านเมืองสับสนวุ่นวายขณะที่ไม่มีรัฐบาลปกครอง ไม่มีกฎหมาย โดยเปรีบบเทียบใช้เรียกภาวการณ์ที่ไม่มีใครใส่ใจกับกฎระเบียบหรือกฎหมาย เห็นได้จากการแข็งขืนต่อคำวินิจฉัยของ "ประธาน" เห็นได้จากการแสดงออกเสมือนกับมิอาจควบคุมอารมณ์ของตนได้ โดยการยกเก้าอี้ทุ่มกลางสภา ทั้งๆ ที่ปากอ้างกฎ แต่การกระทำละเมิดกฎ ยิ่งออกจากรัฐบาลไปยังการชุมนุมหลายแห่งในหลายพื้นที่ ก็จะสัมผัสได้คือแนวคิดที่จะปิดถนน ปิดทางรถไฟ ยึดที่ว่าการอำเภอ ยึดศาลากลาง สะท้อน ความพยายามอย่างเต็มกำลังที่จะเร่งสถานการณ์ให้เห็นถึงความอ่อนแอ ไม่สามารถปกครองได้ของรัฐบาล เติมเชื้อฟืนอันนำไปสู่การเผด็จศึกตามคำทำนายของโหรน้อยใหญ่อันแวดล้อมอยู่ โดยรอบ ก่อน 8 ตุลาคม มีความจำเป็นต้องยึดหลัก "บูรณาการ" มีความจำเป็นต้องยึดหลัก "อิทัปปัจจยตา" มาเป็นเครื่องมือ เครื่อง มือในการทำความเข้าใจนักการเมือง เครื่องมือในการทำความเข้าใจพรรคการเมืองเครื่องมือในการทำความเข้าใจในแต่ ละ "สถานการณ์" ว่าเป็นธรรมชาติหรือเนรมิตเสกขึ้น สนอง "ตัณหา" การเมือง ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378541103&grpid=&catid=01&subcatid=0100 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง