ข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปการเมือง ทางออกจากความขัดแย้ง

แสดงความคิดเห็น

เมธา มาสขาว

สถาบันสังคมประชาธิปไตย

หลังจากที่รัฐบาลโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจัดตั้ง “สภาปฏิรูปการเมือง” ขึ้น โดยเชิญชนชั้นนำทางสังคม 69 คนเข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลได้ตระหนักว่าสังคมไทยมีความขัดแย้งอย่าง รุนแรงและถึงเวลาต้องปฏิรูปสังคมการเมืองขนานใหญ่ ดังเช่นเมื่อครั้งนายบรรหาร ศิลปะอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี เคยดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองขึ้นในปี 2538 และนำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการเมืองเพื่อหาทางออกจากความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ไม่สามารถกระทำได้ตามแบบเดิมที่เอารัฐบาลเป็นศูนย์กลางของการปฏิรูป หรือหวังพึ่งเพียงชนชั้นนำมาร่วมกันแสวงหาทางออกโดยลำพังเท่านั้น แต่จำเป็นต้องให้ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปทั้งทางการ เมือง เศรษฐกิจและสังคมโดยตรง เพื่อร่วมกันออกแบบประเทศไทย โดยเป็นวาระแห่งชาติของผู้คนบนแผ่นดิน

สิ่งที่รัฐบาลควรทำในขณะนี้คือ การลดเงื่อนไขความขัดแย้งเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการร่วมมือแสวงหาทางออกของ ประเทศที่แท้จริง โดยรัฐบาลควรปลดล็อคเงื่อนไขที่ปิดกั้นการเข้ามามีส่วนในการปฏิรูปการเมือง ของกลุ่มต่างๆ รวมถึงข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มการเมืองที่ร้องขอให้รัฐบาลถอนการ พิจารณากฎหมายนิรโทษกรรมออกมาจากรัฐสภาก่อน หรือพักการพิจารณา ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจถูกกล่าวหาได้ว่า รัฐบาลได้จัดตั้งสภาปฏิรูปการเมืองนอกสภาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง แต่กลับกัน รัฐบาลก็ได้สร้างเงื่อนไขความขัดแย้งเชิงโครงสร้างในสภาในคราเดียวกันไปด้วย ซึ่ง ทำให้สังคมสับสนและผิดหวังแนวทางของรัฐบาลได้ ดังนั้น ประเด็นที่รัฐบาลควรกระทำได้ในทันทีเพื่ออำนวยการให้เกิดบรรยากาศสมานฉันท์ เพื่อร่วมกันหาทางออกของประเทศคือ

1) รัฐบาลควรถอนการพิจารณา กฎหมายนิรโทษกรรมและกฎหมายปรองดองฯ ออกมาจากรัฐสภา หรือพักการพิจารณาไว้ก่อน เพื่อรอข้อเสนอของสภาปฏิรูปการเมือง และข้อเสนอของประชาชนในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งต่างๆ เนื่องจากร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่ผ่านการรับรองวาระแรกจากรัฐสภาไปแล้วนั้น มีข้อครหาในเรื่องการนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการ ชุมนุม รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย ในขณะที่กระบวนการยุติธรรมกำลังดำเนินไปเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้กฎหมายดังกล่าวไปทำลายกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ เนื่องจากร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ มีถ้อยความบัญญัติคล้ายคลึงกับพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิด เนื่องในการชุมนุมฯ พ.ศ.2535 กรณีเหตุการณ์นองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2535 ที่มีการนิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่ทหาร จนไม่เกิดบทเรียนและบรรทัดฐานให้กองทัพเลิกยุ่งเกี่ยวทางการเมืองหรือนำ กำลังเข้าสลายการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนของตำรวจ โดยร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับ ส.ส.วรชัย เหมมะ ระบุในมาตรา 3 ว่า “ให้บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง....” และพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมฯ พ.ศ.2535 ได้ใช้ถ้อยคำว่า “บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกัน...” ซึ่งคล้ายคลึงกันมากในทางกฎหมาย เมื่อกลุ่มญาติวีรชนพฤษภา 2535 ได้มีการฟ้องร้องเอาผิดต่อกองทัพ ศาลฎีกาได้พิพากษายืนว่า “มีกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง” ดังนั้น เท่ากับว่า ถ้อยความในร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับ ส.ส.วรชัย เหมมะ มีการนิรโทษกรรมแก่เจ้าหน้าที่ทหารและทุกคนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทาง การเมืองอย่างชัดเจนตามความดังกล่าว ดังนั้น รัฐบาลต้องถอนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับดังกล่าวออกมาก่อน เพื่อรอกระบวนการยุติธรรมพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อไป รวมถึงเพื่อการันตีสังคมและพรรคฝ่ายค้านว่า จุดมุ่งหมายของการเริ่มต้นออกกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้มีเป้าหมายในอนาคตที่จะนิรโทษกรรมแกนนำทางการเมืองทุกกลุ่ม รวมถึงคุณทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการล้างมลทินคดีทุจริตของตนเองด้วย ตามที่มีร่างกฎหมายนิรโทษกรรมและกฎหมายปรองดองฉบับอื่นๆ คงค้างอยู่ในสภาฯ

2) รัฐบาลสามารถนำข้อเสนอของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งได้เสนอทางออกไว้แล้วมาดำเนินการได้ทันที โดยเฉพาะการช่วย เหลือประชาชนที่ยังติดคุกอยู่ ตามหลักการเรื่องการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ควรใช้หลัก การความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) และกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน เพื่อนำไปสู่ความปรองดอง การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการตั้งข้อหาต่อผู้กระทำผิด รัฐสามารถทำได้ทันทีโดยการถอนฟ้องข้อหาทางการเมือง เช่น ข้อหาก่อการร้าย ข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นต้น ซึ่ง เป็นนักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิดในประเทศไทย ในคดีในที่ไม่ถอนฟ้อง รัฐควรดำเนินการให้มีการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าการอนุญาตให้ประกันตัวได้หรือไม่เป็นดุลยพินิจของศาล แต่อัยการและพนักงานสอบสวนก็สามารถมีบทบาทอย่างสำคัญในการเสนอต่อศาลเพื่อ ความปรองดองได้ รวมถึงการชะลอการดำเนินคดีไปก่อน การนิรโทษกรรม ถือเป็นมาตรการหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน แต่ไม่ควรเป็นการนิรโทษกรรมถ้วนหน้าอย่างที่เคยทำมาแล้ว เพราะนอกจากไม่นำไปสู่ความปรองดองอย่างแท้จริงแล้ว ยังไม่เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงซ้ำอีก เพราะทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ผู้เสียหายจากเหตุการณ์ ได้แก่ ญาติผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ประชาชนที่ทรัพย์สินเสียหาย และสาธารณะชนไม่มีสิทธิมีเสียงในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ การนิรโทษกรรมทางการเมืองแก่แกนนำทุกฝ่ายทางการเมืองแบบเหมารวมรวมถึงเจ้า หน้าที่รัฐในอนาคต ตามหลักยุติธรรมเชิงสมานฉันท์นั้นสามารถทำได้ เมื่อ กระบวนการยุติธรรมพิสูจน์ความจริงเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนต่อสาธารณะแล้ว เมื่อมีการเปิดเผยความจริงที่ซ่อนเร้น ผู้กระทำผิดยอมรับผิดและขอโทษ เพื่อให้สังคมได้เรียนรู้ความจริงร่วมกัน เพื่อสร้างบรรทัดฐานของ การชุมนุมของประชาชนในอนาคตว่าจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ และเป็นบรรทัดฐานว่า จะต้องไม่มีการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ทหารอีกในอนาคต รวมถึงหากมีการพิพากษาความผิดแก่เจ้าหน้าที่ทหารชัดเจนก็จะเป็นการสร้าง บรรทัดฐานการเมืองไทย นอกจากนี้ คอป. ได้เชิญผู้มีชื่อเสียงระดับโลกมาให้คำแนะนำมากมาย รวมถึง อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ อดีตประธานาธิบดี เอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ในด้านต่างๆ ด้วย โดยมีคำแนะนำหลายอย่างต่อประเทศไทยและต่อมา คอป.ได้จัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลออกมาแล้ว ดังนั้น รัฐบาลควรนำข้อเสนอของ คอป. ซึ่งได้เสนอทางออกและคำแนะนำไว้ไปดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องชะลอเวลา และนำข้อเสนอทุกอย่างไปพิจารณาในที่ประชุมสภาปฏิรูปการเมืองด้วย ไม่ว่าจะเป็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการนำข้อเท็จจริงของเหตุการณ์และรากเหง้าของความ ขัดแย้งมาเป็นบทเรียนในการสร้างความปรองดองที่ยั่งยืน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำหลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านมาปรับใช้ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรม ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย หลักธรรมาภิบาลและการเคารพสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย เป็นต้น เพื่อปฏิรูปสังคมการเมืองไปจากความขัดแย้งและสร้างการปรองดองที่แท้จริง มิเช่นนั้นแล้ว จะเป็นเพียงสภาปฏิรูปการเมืองที่เป็นเพียงพิธีกรรมทางการเมืองเท่านั้น

ความขัดแย้งในการเมืองไทย นับจากรัฐธรรมนูญ 2540 กระบวนการพัฒนาการเมืองและประชาธิปไตยไทยสามารถดำเนินไปอย่างเป็นพลวัตได้ แต่ต้องสะดุดลงด้วยความขัดแย้งทางอำนาจที่ไม่อาจประนีประนอมกันในเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งนำมาแสดงให้เห็นความขัดแย้งที่ฝังรากลึกในสังคมไทยหลายเรื่อง รวมถึงรื้อฟื้นความขัดแย้งแท้จริงหลายประการให้โผล่พ้นผิวน้ำ หากแต่กระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งที่ผ่านมานั้น ทุกรัฐบาล ไม่ได้จัดการเรื่องดังกล่าวเลย โดยเฉพาะปัญหาทางโครงสร้างเศรษฐกิจที่เป็นความเหลื่อมล้ำมหาศาลในประเทศไทย นอกจากการให้น้ำหนักถึงปัญหาประชาธิปไตยทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว

ระหว่างเส้นทางปฏิรูป สิ่งที่พึงระวังคือ การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองนอกวิถีประชาธิปไตย อาจนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่ได้ หากศึกษาบทเรียนจากประเทศอียิปต์เพื่อเปรียบเทียบในขณะนี้ อาจจะพอเห็นภาพว่า หลังจากที่เกิดเหตุการณ์อาหรับสปริง ประชาชนจำนวนมากลุกขึ้นโค่นล้มอดีตประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค ในปี 2554 มีผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามถึง 846 คน บาดเจ็บกว่า 6,000 คน กว่าจะยอมออกจากตำแหน่งและอยู่ระหว่างการถูกดำเนินคดีความผิดการทุจริตและ การสังหารผู้ชุมนุมในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ได้เข้าสู่ตำแหน่งผ่านการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2555 แต่ระหว่างที่เขามีอำนาจอยู่ ประชาชนหลายกลุ่มวิตกกังวลว่าเขาจะดำเนินนโยบายให้กลายเป็นประเทศอิสลาม ตามแนวทางของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่หนุนหลังเขาอยู่ และการต่อต้านได้ขยายวงกว้างขึ้นภายหลังที่เขาออกประกาศกฤษฎีกาให้อำนาจ เหนือการตรวจสอบแก่ตนเองโดยเริ่มรุนแรงขึ้นในกลางปี 2556 เมื่อมีการสั่งหารผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลจำนวนหนึ่ง ขณะที่มีผู้ชุมนุมต่อต้านโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งมากกว่า 10 ล้านคนในเมืองหลวงและอาจยกระดับเป็นการปฏิวัติประชาชน แต่ต่อมากองทัพได้ออกมารัฐประหารในวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 ซึ่งถือเป็นการตัดตอนช่วงชิงชัยชนะของประชาชนเหมือนในเหตุการณ์รัฐประหารของ ไทย, ผลก็คือ ประชาชนจำนวนมากออกมาต่อต้านรัฐประหารเพราะไม่อาจยอมรับการตัดตอนพลัง ประชาชนได้ และปัจจุบันกองทัพได้ปราบปรามประชาชนที่ต่อต้านการรัฐประหารไปกว่า 1,000 คน จนกลายเป็นเหตุการณ์ที่เศร้าสลดที่สุดในโลกอาหรับขณะนี้

ย้อนกลับมาเปรียบเทียบประเทศไทย กลุ่มประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลในปัจจุบันจากความไม่พอใจต่างๆ ทั้งทางนโยบายและโดยเฉพาะปัญหาการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ย่อมสามารถใช้สิทธิได้ตามรัฐธรรมนูญและรัฐบาลต้องหาทางสนองตอบเรื่องเหล่า นั้นตามวิถีแห่งการเมือง หากความไม่พอใจของประชาชนขยายตัวไปอย่างกว้างขวางและรัฐบาลไม่อาจสนองความ ต้องการได้แล้ว ทางเลือกหนึ่งของระบบรัฐสภาคือรัฐบาลประกาศยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ระหว่างนั้นหากมีกลุ่มใดเสนอให้ใช้วิธีนอกกระบวนการประชาธิปไตยแล้วก็อาจนำ เข้าการรัฐประหารของกองทัพเหมือนในอียิปต์ได้ ซึ่งหลังจากนั้นก็จะมีประชาชนลุกขึ้นต่อต้านจนบาดเจ็บล้มตายไม่ต่างกัน หรือกระทั่งเกิดสงครามกลางเมือง, นั่นคือบทเรียนที่เราต้องจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของกองทัพไม่ให้เข้ามาก้าว ก่ายความขัดแย้งทางการเมืองทุกกรณี

คำตอบจากการหลุดพ้นวงจรอุบาทว์แห่งอำนาจนั้น นอกจากรัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นภายในแล้ว รัฐบาลและสังคมจะต้องร่วมกันหาทางออกจากความขัดแย้งในกลไกประชาธิปไตย ซึ่งต้องการความจริงใจของทุกฝ่ายที่จะปฏิรูปแก้ไขข้อบกพร่องของตน เอง รัฐบาลสามารถทำการปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปเศรษฐกิจ การปฏิรูปสังคม ในระหว่างนี้ได้เลยโดยนำข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูป(คปร.) และสมัชชาปฏิรูป ที่มีการจัดตั้งในรัฐบาลก่อนหน้า มาพิจารณาสานต่อร่วมกับสภาปฏิรูปการเมืองโดยไม่ต้องนับหนึ่งใหม่ ในขณะเดียวกัน รัฐต้องส่งเสริมภาคประชาชนให้มีสภาปฏิรูปของประชาชนโดยตรงเพื่อการมีส่วนร่วมปฏิรูปประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปเศรษฐกิจ การปฏิรูปสังคม ที่เป็นประเด็นโครงสร้างเพื่อฝ่าข้ามความขัดแย้ง แก้ไขปัญหาทั้งประเทศอย่างแท้จริงนั้น ประเด็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม นับเป็นความสำคัญอันดับหนึ่งจากผลผลิตทางการเมืองแบบผูกขาดที่ผ่านมา กล่าวคือ

ปัญหาที่แท้จริงของสังคมการเมืองไทยนั้น โครงสร้างทางอำนาจถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำ ทั้งสถาบันทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้โครงสร้างและความสัมพันธ์ทางสังคมเสียสมดุล การพัฒนาและนโยบายทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาจึงมักเอื้อประโยชน์ให้ชนชั้นนำทาง สังคมเท่านั้น และทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมหาศาลในปัจจุบัน จนประเทศไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงสุดในเอเชีย ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยห่างกันถึง 15 เท่า ขณะที่อินเดียและจีนซึ่งมีพลเมืองมากกว่า ห่างกันเพียง 8 เท่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่าในปี 2553 จำนวนคนจนในประเทศไทย ยังมีอยู่ถึง 5,076,700 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 7.5 % ซึ่งเป็นผู้มีรายได้ต่ำจากเส้นความยากจนที่ 1,678บาทต่อคนต่อเดือน ขณะที่คนรวยที่สุด 10% แรกของประเทศ มีรายได้รวมกันมากถึง 38.41% ของรายได้รวมทั้งประเทศ กลุ่มคนจนที่สุด 10% แรกของประเทศมีรายได้เพียง 1.69% ของรายได้รวมเท่านั้น ความขัดแย้งจากปัญหาการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรมเหล่านี้ คือความขัดแย้งหลักของสังคมที่รอวันปะทุความรุนแรง รวมถึงความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่นำมาสู่ค่าจ้างแรงงานที่แตกต่างกันด้วย อันเป็นเหตุผลให้รัฐต้องจัดรัฐสวัสดิการการศึกษาอย่างถ้วนหน้าในอนาคตเพื่อ แก้ไขปัญหาทั้งระบบ

ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนซึ่งเป็นวิกฤติของสังคมไทยนั้น การผูกขาดอำนาจทางการเมืองของชนชั้นนำมาโดยตลอด ได้ทำให้เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจของพวกเขาโดยปริยาย จนธุรกิจและการเมืองเหมือนจะกลายเป็นเรื่องเดียวกันไปแล้ว และคณะรัฐบาลของทหารและกลุ่มทุนที่ผ่านมาก็ไม่เคยเยียวยาปัญหานี้ทางโครง สร้างเพราะกลัวสูญเสียประโยชน์ ประเทศไทยจึงไม่มีการจัดรัฐสวัสดิการและบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเต็มที่ เหมือนเจตนารมณ์เค้าโครงการเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้อภิวัฒน์ประชาธิปไตย ความเหลื่อมล้ำมหาศาลของประเทศในขณะนี้นั้น สังคมไทยต้องตั้งคำถามต่อทิศทางการนำพาประเทศด้วยระบบทุนนิยมเสรีที่ใช้กลไก ตลาดโดยไม่แยแสต่อทุนผูกขาดใดๆ ที่ควบคุมกลไกตลาดและเอาเปรียบสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจะต้องเข้ามาจัดการเศรษฐกิจแบบผสมผสานโดยเร็ว และควบคุมการเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สมบัติสาธารณะของสังคมอย่างเต็ม ที่ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นความถี่ โทรคมนาคม อากาศ ดิน น้ำ ป่า น้ำมันและพลังงาน หรือสิ่งที่มนุษย์ไม่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเองอื่นใด ซึ่งถือว่าควรเป็นกรรมสิทธิ์ของสังคม

นอกจากนี้ การผูกขาดอำนาจของชนชั้นนำดังกล่าวโดยไม่เปิดโอกาสให้โครงสร้างอำนาจได้ขยับ ตัวเปลี่ยนแปลง ยังทำให้ประเทศไทยสูญเสียบรรทัดฐานทางสังคมการเมืองซ้ำซ้อน จากวัฒนธรรมทางการเมืองและกระบวนการยุติธรรมไทยที่ไม่สามารถทลายวัฒนธรรม การเมืองแบบอำนาจนิยมและอุปถัมภ์นิยมในสังคมไทยลงได้ จะด้วยการปฏิรูปกฎหมาย หรือการบังคับใช้แก่ทุกฐานะทางสังคมอย่างเท่าเทียมกันก็ตาม กระบวนการยุติธรรมที่เป็นความหวังและหลังพิงความยุติธรรมโดยปราศจากการเลือก ปฏิบัติทุกรูปแบบจึงยังไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบแก่ผู้มีอำนาจ ทางการเมืองได้ต่อทุกความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา นอกจากนี้ ปมปัญหาเรื่องบทบาทของเครือข่ายเจ้านายและสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคม ประชาธิปไตย ยังถูกถกเถียงอย่างจำกัดในวงกว้างถึงบทบาทที่ควรจะเป็นตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพยังคงรุนแรงและถูกใช้เป็น เครื่องมือทางการเมืองอยู่

วิกฤติสังคมไทยและความขัดแย้งทางการเมืองในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้ กำลังสะท้อนถึงทิศทางประชาธิปไตยไทยที่กำลังเดินทางมาสู่ทางแพร่ง และปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างแนวทาง “ประชาธิปไตยแบบอนุรักษ์นิยม” หรือประชาธิปไตยครึ่งใบแบบเก่า (semi democracy) และแนวทาง “ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” (libertarian democracy) ทั้งสองแนวทางดังกล่าว ยังไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองที่ ถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำทั้งกลุ่มทุนเก่าและกลุ่มทุนใหม่แต่อย่างใด และภายใต้โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบนี้ แนวทางประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบอนุรักษ์นิยม ทั้งสองแบบต่างก็เติบโตได้ดีในสังคมไทย หากว่าปรองดองกันได้ โดยการแย่งชิงพื้นที่ระบบอุปถัมภ์นิยมเพื่อยึดโยงอำนาจของตนเอง แต่พลังของภาคประชาชนจะไม่สามารถเติบโตได้เนื่องเพราะไม่อาจเป็นอิสระจากรัฐ และทุนได้อย่างแท้จริงภายใต้โครงสร้างและแนวทางเหล่านี้ การเมืองในโครงสร้างนี้จึงไม่มีพื้นที่ของประชาชนที่มีที่ยืนที่ชัดเจน และไม่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองทางชนชั้นหรือพรรคการเมืองเชิงอุดมการณ์ที่ หลากหลายตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่ชัดเจน เช่น พรรคสังคมนิยม หรือพรรคสังคม-ประชาธิปไตย หรือพรรคทางเลือกทางการเมืองอื่นๆ เมื่อไม่มีพรรคการเมืองทางชนชั้นเข้าไปต่อสู้ในระบบรัฐสภา จึงทำให้เกษตรกร คนงาน ประชาชนชั้นล่างของสังคม ถูกเลือกปฏิบัติมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า เราจะร่วมกันปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปทางไหน อย่างไร ในอนาคตอันใกล้ จะเดินถอยหลังไปสู่ ประชาธิปไตยครึ่งใบ แบบเก่า หรือเราจะเดินต่อไปข้างหน้าเพื่อไปสู่ เสรีนิยมประชาธิปไตย (Libertarian Democracy) แบบสหรัฐอเมริกา ที่เน้นเฉพาะสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเท่านั้น หรือว่ายังมีทิศทางอื่น ทางเลือกที่สามในสังคมไทย นั่นคือทิศทางใหม่เพื่อไปสู่ “สังคมนิยมประชาธิปไตย” (Social-Democracy) แบบหลายรัฐในสหภาพยุโรป ที่ให้ความสำคัญทั้งสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR.) รวมทั้งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (ICESCR.)

ในทางการเมืองนั้น ปัจจุบันประเทศที่ได้ถูกจัดอันดับว่ามีประชาธิปไตยสูงที่สุดในโลก กลับเป็นประเทศที่เป็นสังคมนิยมประชาธิปไตย ใช้ระบบเศรษฐกิจผสมเพื่อรัฐสวัสดิการ ตามการวัดดัชนีประชาธิปไตย (Democracy Index) โดย Economist Intelligence Unit โดยประเทศที่มีดัชนีประชาธิปไตยสูงที่สุดในโลก คือ ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข (Constitution Monarchy) ตามด้วยไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดาและฟินแลนด์ ประเทศ ไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 58 แต่ปัญหาการจัดการระบบเศรษฐกิจถูกยกให้เป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงสุด ในเอเชีย จากการนำพาประเทศด้วยระบบทุนนิยมเสรีที่ใช้กลไกตลาดโดยไม่แยแสต่อทุนผูกขาด ใดๆ ที่ควบคุมกลไกตลาดและเอาเปรียบสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายประชานิยมในปัจจุบันของรัฐบาล ที่ใช้แนวทางเสรีนิยมตามลัทธิเศรษฐกิจแบบแทตเชอร์-เรแกนผสมกับสำนักเคนส์ มาตั้งแต่ยุครัฐบาลก่อนไม่ว่าจะเป็นนโยบายรถคันแรกปลอดภาษี การพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ การพักหนี้เกษตรกร บัตรเครดิตชาวนา โครงการรับจำนำข้าวและการขึ้นค่าตอบแทนแต่ไม่ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค รวมถึงโครงการเงินกู้ต่างๆ เพื่อหมุนเวียนเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งใช้แนวทางการจัดการระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี ยกเว้นระบบสวัสดิการด้านการศึกษาและสาธารณะสุขเท่านั้นที่รัฐบาลไทยยังคงให้ เป็นสวัสดิการสังคมที่ดี แต่ยังไม่มีคุณภาพ

ดังนั้น ประชานิยมในประเทศไทยจึงเป็นประชานิยมแบบทุนนิยม แต่ไม่ใช่ประชานิยมกึ่งสังคมนิยมเหมือนในละตินอเมริกา ซึ่งมีการจัดการระบบเศรษฐกิจกึ่งสังคมนิยมในอุตสาหกรรมหลักๆ และทรัพยากรสาธารณะต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อทุกคนในสังคม ไม่ใช่เพื่อนายทุนหรือผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งนโยบายดังกล่าวจึงไม่อาจแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริงในสังคม ไทย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำลงได้ การขูดรีดตามระบบยังคงสร้างความรุนแรงเชิงโครงสร้างและรอการพัฒนาความขัด แย้งต่อไปเพื่อรอวันปะทุ

คงถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องใช้ระบบเศรษฐกิจผสม รัฐบาลจะต้องเข้ามาจัดการเศรษฐกิจแบบผสมผสาน (Mixed Economy) โดยเร็ว และควบคุมการเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสาธารณะและทรัพย์สมบัติของ ชาติและสังคมอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นความถี่ โทรคมนาคม อากาศ ดิน น้ำ ป่า น้ำมันและพลังงาน

หากเราพูดถึงการจัดการระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม หัวใจสำคัญคงเป็นเรื่อง “ชนชั้น” ที่มาจากความสัมพันธ์ทางการผลิต และ “ระบบกรรมสิทธิ์” ที่เป็นปัญหาสำคัญ และตามหลักการสังคมนิยมแล้ว สิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถผลิตหรือสร้างสรรค์ขึ้นได้เองไม่ควรนำเข้าสู่ระบบ กลไกตลาด เช่น ที่ดิน ทะเลและป่าไม้ ซึ่งควรถือเป็นกรรมสิทธ์ร่วมของสังคม และการต่อสู้เรื่องระบบกรรมสิทธิ์นี้ นโยบายเรื่องความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของผู้คนเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่พรรคการเมืองทั้งหลายควรต้องพูดให้ชัดเจน

ทางออกจากความขัดแย้งที่แท้จริงของประเทศไทยนั้น ต้องแก้ไปที่โครงสร้างทางการเมืองที่ปล่อยให้มีการยึดกุมรัฐสภาและพรรคการ เมืองด้วยอำนาจทุน ต้องแก้ที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ปล่อยตามกลไกตลาดให้มือใครยาวสาวได้สาว เอาจนเกิดความเหลื่อมล้ำและความยากจนแปลกแยก ต้องแก้ที่โครงสร้างอำนาจโดยการกระจายอำนาจโดยให้งบประมาณท้องถิ่นมากกว่า ส่วนกลาง ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและให้มีการเลือกตั้งทุกระดับ เพื่อยกระดับจิตสำนึกพลเมืองของประชาชนให้เพิ่มขึ้นพร้อมด้วยความรับผิดชอบ โดยการปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหญ่นี้ ชนชั้นนำในสังคมไทย อันประกอบไปด้วย เครือข่ายเจ้านาย เครือข่ายชินวัตร กองทัพ นักการเมือง กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนายทุน ทั้งกลุ่มทุนเก่าและกลุ่มทุนใหม่ ต้องร่วมกันก้าวข้ามผลประโยชน์ตนเองไปสู่ผลประโยชน์ร่วมของสังคม โดยไม่ใช้วิธีการต่อสู้ทางการเมืองด้วยการใช้ความรุนแรงหรือความตายของ ประชาชนเป็นเครื่องมือ และสนับสนุนการปฏิรูปสังคมใหม่อย่างสันติผ่านระบบรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตย ที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองที่หลากหลายทางอุดมการณ์ เพื่อต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภา และสนับสนุนประชาชนในการเสนอทางเลือกใหม่ที่ไปมากกว่าอุดมการณ์ประชาธิปไตย 2 กระแสในปัจจุบันไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตยที่เน้นสังคม หรือ สังคมประชาธิปไตย ที่สนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และสร้างรัฐสวัสดิการ เพื่อเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองทางเลือกใหม่ของระบอบประชาธิปไตย และเป็นทางออกจากวิกฤติความขัดแย้งในปัจจุบัน โดยมีข้อเสนอสำคัญที่รัฐบาลและ “สภาปฏิรูปการเมือง” ควรนำไปพิจารณา ดังนี้

1) จากความขัดแย้งเรื่องรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ผ่านประชามติแต่มีที่มาจากการรัฐประหาร มีปัญหาความชอบธรรมของระบบนิติรัฐนั้น รัฐบาลและสภาปฏิรูปการเมืองต้องมีการผลักดันให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน อนาคตโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่อนุญาตให้ทบทวนแก้ไขได้ทุก 5 ปี โดยใช้กลไก ส.ส.ร.จากการเลือกตั้งขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะชอบธรรมและได้รับการยอมรับมากที่สุด ตามหลักประชาธิปไตยและเจตจำนงประชาชนอย่างแท้จริง ในการมีส่วนออกแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเครื่องมือ สูงสุดในการปกครองประเทศ เพื่อแก้ไขข้อครหาที่มาของรัฐธรรมนูญ 2550 และผลพวงของการรัฐประหาร 2549 ซึ่งได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มาจากเจตจำนงค์ของประชาชนส่วนใหญ่ลง โดยรัฐธรรมนูญฉบับอาจไม่ต้องมีมาตรามากมาย แต่สิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง ตามกติกาสากลระหว่างประเทศ (ICCPR.) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี (2539) และปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (2491) จะต้องถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ

โดยเฉพาะหลักการที่ว่า “ประชาชนทุกคนต้อง มีสิทธิที่จะมีส่วนในรัฐบาลของประเทศตน ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยผ่านผู้แทนซึ่งได้เลือกตั้งโดยอิสระ และเจตจำนงของประชาชนจะต้องเป็นมูลฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล โดยเจตจำนงนี้จะต้องแสดงออกทางการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา และอย่างแท้จริง” รวมทั้งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตามกติการะหว่างประเทศ(ICESR.) ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี (2542) ด้วยเช่นกัน ซึ่งหมายถึงรัฐธรรมนูญ ต้องยกเลิกการบังคับ ส.ส. สังกัดพรรคและการกีดกันการเข้าสู่การเมืองด้วยรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะระดับการศึกษา รวมถึงการแก้ไขการบัญญัติระบบเศรษฐกิจที่ให้ขึ้นต่อกลไกตลาดไว้ในรัฐธรรมนูญ ด้วย เพราะถือเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการทุนนิยม ซึ่งในข้อเท็จจริงรัฐไทยได้ปรับใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมในระดับหนึ่ง

2) การสนับสนุนให้เกิดประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาที่แท้จริงนั้น ต้องมีการแก้ไขกฎหมายพรรคการเมือง คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ที่ปิดกั้นการรวมตัวทางการเมืองของประชาชนและเป็นอุปสรรคให้เกิดประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา โดยต้องปฏิรูปกฎหมายเพื่อปฏิรูประบบพรรคการเมืองในประเทศไทยให้มี ประชาธิปไตยภายในพรรค มีลักษณะพรรคของมวลชนอย่างแท้จริง ที่มีความหลากหลายทางอุดมการณ์ทางการเมืองได้อย่างเสรี โดยไม่ถูกจำกัดสิทธิทางการเมืองโดยเฉพาะการรวมตัวเป็นพรรคของประชาชน ในเรื่องมูลเหตุการยุบพรรค หรือระยะเวลาในการตั้งสาขาหรือหาสมาชิก เนื่องจากการรวมตัวกันเพื่อเป็นพรรคการเมืองเป็นสิทธิทางการเมืองพื้นฐาน กฎหมายจะไปละเมิดหรือลิดรอนสิทธิ์ไม่ได้ เพื่อเป็นทางเลือกของประชาชนทางนโยบาย, รวมถึงการแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้ง คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ให้มีการเลือกตั้งจากสถานที่ประกอบการหรือในโรงงานที่ทำงานได้ ตามการเรียกร้องสิทธิแรงงานในเรื่องพื้นที่การเมืองของแรงงานที่แท้จริง

การแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับดัง กล่าว จะสร้างระบบรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตย ที่อนุญาตให้มี พรรคการเมืองที่หลากหลายทางอุดมการณ์ เพื่อต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภาได้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคสังคมนิยม พรรคสังคมประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม พรรคอนุรักษ์นิยม หรือพรรคทางเลือกอื่นๆ แต่ในปัจจุบัน ชื่อพรรคการเมืองเช่น สังคมนิยม ไม่สามารถถูกจดทะเบียนได้ โดยความเห็นของ กกต. ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิทางการเมือง ขณะที่ในสังคมประชาธิปไตยในรัฐอื่นที่มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว เขาอนุญาตให้มีพรรคการเมืองทางอุดมการณ์ที่หลากหลาย เพื่อแข่งขันนโยบายทางสังคม-เศรษฐกิจอย่างเต็มที่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เช่นรัฐสังคมประชาธิปไตยในสหภาพยุโรปหรือสแกนดิเนเวีย ซึ่งให้สิทธิทางการเมืองอย่างเต็มที่ และรัฐไม่สามารถรอนสิทธินั้นได้ตราบที่ไม่ขัดแย้งรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยของ เขา แม้แต่กลุ่มอนาธิปไตยก็ยังมีพื้นที่อยู่ในสังคมได้โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และประชาชนสามารถเรียนรู้อุดมการณ์ทางการเมืองที่หลากหลายได้เต็มที่และเสนอ ทางเลือกที่หลากหลายให้แก่สังคมได้ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายอำนาจแบบราชอาณาจักร, สาธารณะรัฐหรือสหพันธรัฐ การจัดการเศรษฐกิจแบบผสม, สังคมนิยมหรือว่ากลไกตลาดในระบบเสรีนิยม แต่ประเทศไทยถูกจำกัดการเรียนรู้ด้าน Civic Education เหล่านี้ จึงเข้าถึงสิทธิเสรีภาพทางการเมืองอย่างจำกัด ท่ามกลางวัฒนธรรม ประเพณี ธรรมเนียมและกฎหมายแบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม ที่ชนชั้นนำควบคุมอยู่

ขอบคุณ... http://www.prachatai.com/journal/2013/09/48608 (ขนาดไฟล์: 167)

ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 7/09/2556 เวลา 02:22:09

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมธา มาสขาว สถาบันสังคมประชาธิปไตย หลังจากที่รัฐบาลโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจัดตั้ง “สภาปฏิรูปการเมือง” ขึ้น โดยเชิญชนชั้นนำทางสังคม 69 คนเข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลได้ตระหนักว่าสังคมไทยมีความขัดแย้งอย่าง รุนแรงและถึงเวลาต้องปฏิรูปสังคมการเมืองขนานใหญ่ ดังเช่นเมื่อครั้งนายบรรหาร ศิลปะอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี เคยดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองขึ้นในปี 2538 และนำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการเมืองเพื่อหาทางออกจากความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ไม่สามารถกระทำได้ตามแบบเดิมที่เอารัฐบาลเป็นศูนย์กลางของการปฏิรูป หรือหวังพึ่งเพียงชนชั้นนำมาร่วมกันแสวงหาทางออกโดยลำพังเท่านั้น แต่จำเป็นต้องให้ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปทั้งทางการ เมือง เศรษฐกิจและสังคมโดยตรง เพื่อร่วมกันออกแบบประเทศไทย โดยเป็นวาระแห่งชาติของผู้คนบนแผ่นดิน สิ่งที่รัฐบาลควรทำในขณะนี้คือ การลดเงื่อนไขความขัดแย้งเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการร่วมมือแสวงหาทางออกของ ประเทศที่แท้จริง โดยรัฐบาลควรปลดล็อคเงื่อนไขที่ปิดกั้นการเข้ามามีส่วนในการปฏิรูปการเมือง ของกลุ่มต่างๆ รวมถึงข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มการเมืองที่ร้องขอให้รัฐบาลถอนการ พิจารณากฎหมายนิรโทษกรรมออกมาจากรัฐสภาก่อน หรือพักการพิจารณา ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจถูกกล่าวหาได้ว่า รัฐบาลได้จัดตั้งสภาปฏิรูปการเมืองนอกสภาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง แต่กลับกัน รัฐบาลก็ได้สร้างเงื่อนไขความขัดแย้งเชิงโครงสร้างในสภาในคราเดียวกันไปด้วย ซึ่ง ทำให้สังคมสับสนและผิดหวังแนวทางของรัฐบาลได้ ดังนั้น ประเด็นที่รัฐบาลควรกระทำได้ในทันทีเพื่ออำนวยการให้เกิดบรรยากาศสมานฉันท์ เพื่อร่วมกันหาทางออกของประเทศคือ 1) รัฐบาลควรถอนการพิจารณา กฎหมายนิรโทษกรรมและกฎหมายปรองดองฯ ออกมาจากรัฐสภา หรือพักการพิจารณาไว้ก่อน เพื่อรอข้อเสนอของสภาปฏิรูปการเมือง และข้อเสนอของประชาชนในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งต่างๆ เนื่องจากร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่ผ่านการรับรองวาระแรกจากรัฐสภาไปแล้วนั้น มีข้อครหาในเรื่องการนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการ ชุมนุม รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย ในขณะที่กระบวนการยุติธรรมกำลังดำเนินไปเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้กฎหมายดังกล่าวไปทำลายกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ เนื่องจากร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ มีถ้อยความบัญญัติคล้ายคลึงกับพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิด เนื่องในการชุมนุมฯ พ.ศ.2535 กรณีเหตุการณ์นองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2535 ที่มีการนิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่ทหาร จนไม่เกิดบทเรียนและบรรทัดฐานให้กองทัพเลิกยุ่งเกี่ยวทางการเมืองหรือนำ กำลังเข้าสลายการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนของตำรวจ โดยร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับ ส.ส.วรชัย เหมมะ ระบุในมาตรา 3 ว่า “ให้บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง....” และพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมฯ พ.ศ.2535 ได้ใช้ถ้อยคำว่า “บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกัน...” ซึ่งคล้ายคลึงกันมากในทางกฎหมาย เมื่อกลุ่มญาติวีรชนพฤษภา 2535 ได้มีการฟ้องร้องเอาผิดต่อกองทัพ ศาลฎีกาได้พิพากษายืนว่า “มีกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง” ดังนั้น เท่ากับว่า ถ้อยความในร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับ ส.ส.วรชัย เหมมะ มีการนิรโทษกรรมแก่เจ้าหน้าที่ทหารและทุกคนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทาง การเมืองอย่างชัดเจนตามความดังกล่าว ดังนั้น รัฐบาลต้องถอนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับดังกล่าวออกมาก่อน เพื่อรอกระบวนการยุติธรรมพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อไป รวมถึงเพื่อการันตีสังคมและพรรคฝ่ายค้านว่า จุดมุ่งหมายของการเริ่มต้นออกกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้มีเป้าหมายในอนาคตที่จะนิรโทษกรรมแกนนำทางการเมืองทุกกลุ่ม รวมถึงคุณทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการล้างมลทินคดีทุจริตของตนเองด้วย ตามที่มีร่างกฎหมายนิรโทษกรรมและกฎหมายปรองดองฉบับอื่นๆ คงค้างอยู่ในสภาฯ 2) รัฐบาลสามารถนำข้อเสนอของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งได้เสนอทางออกไว้แล้วมาดำเนินการได้ทันที โดยเฉพาะการช่วย เหลือประชาชนที่ยังติดคุกอยู่ ตามหลักการเรื่องการแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ควรใช้หลัก การความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) และกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน เพื่อนำไปสู่ความปรองดอง การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการตั้งข้อหาต่อผู้กระทำผิด รัฐสามารถทำได้ทันทีโดยการถอนฟ้องข้อหาทางการเมือง เช่น ข้อหาก่อการร้าย ข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นต้น ซึ่ง เป็นนักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิดในประเทศไทย ในคดีในที่ไม่ถอนฟ้อง รัฐควรดำเนินการให้มีการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าการอนุญาตให้ประกันตัวได้หรือไม่เป็นดุลยพินิจของศาล แต่อัยการและพนักงานสอบสวนก็สามารถมีบทบาทอย่างสำคัญในการเสนอต่อศาลเพื่อ ความปรองดองได้ รวมถึงการชะลอการดำเนินคดีไปก่อน การนิรโทษกรรม ถือเป็นมาตรการหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน แต่ไม่ควรเป็นการนิรโทษกรรมถ้วนหน้าอย่างที่เคยทำมาแล้ว เพราะนอกจากไม่นำไปสู่ความปรองดองอย่างแท้จริงแล้ว ยังไม่เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงซ้ำอีก เพราะทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ผู้เสียหายจากเหตุการณ์ ได้แก่ ญาติผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ประชาชนที่ทรัพย์สินเสียหาย และสาธารณะชนไม่มีสิทธิมีเสียงในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ การนิรโทษกรรมทางการเมืองแก่แกนนำทุกฝ่ายทางการเมืองแบบเหมารวมรวมถึงเจ้า หน้าที่รัฐในอนาคต ตามหลักยุติธรรมเชิงสมานฉันท์นั้นสามารถทำได้ เมื่อ กระบวนการยุติธรรมพิสูจน์ความจริงเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนต่อสาธารณะแล้ว เมื่อมีการเปิดเผยความจริงที่ซ่อนเร้น ผู้กระทำผิดยอมรับผิดและขอโทษ เพื่อให้สังคมได้เรียนรู้ความจริงร่วมกัน เพื่อสร้างบรรทัดฐานของ การชุมนุมของประชาชนในอนาคตว่าจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ และเป็นบรรทัดฐานว่า จะต้องไม่มีการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ทหารอีกในอนาคต รวมถึงหากมีการพิพากษาความผิดแก่เจ้าหน้าที่ทหารชัดเจนก็จะเป็นการสร้าง บรรทัดฐานการเมืองไทย นอกจากนี้ คอป. ได้เชิญผู้มีชื่อเสียงระดับโลกมาให้คำแนะนำมากมาย รวมถึง อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ อดีตประธานาธิบดี เอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ในด้านต่างๆ ด้วย โดยมีคำแนะนำหลายอย่างต่อประเทศไทยและต่อมา คอป.ได้จัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลออกมาแล้ว ดังนั้น รัฐบาลควรนำข้อเสนอของ คอป. ซึ่งได้เสนอทางออกและคำแนะนำไว้ไปดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องชะลอเวลา และนำข้อเสนอทุกอย่างไปพิจารณาในที่ประชุมสภาปฏิรูปการเมืองด้วย ไม่ว่าจะเป็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการนำข้อเท็จจริงของเหตุการณ์และรากเหง้าของความ ขัดแย้งมาเป็นบทเรียนในการสร้างความปรองดองที่ยั่งยืน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำหลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านมาปรับใช้ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรม ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย หลักธรรมาภิบาลและการเคารพสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย เป็นต้น เพื่อปฏิรูปสังคมการเมืองไปจากความขัดแย้งและสร้างการปรองดองที่แท้จริง มิเช่นนั้นแล้ว จะเป็นเพียงสภาปฏิรูปการเมืองที่เป็นเพียงพิธีกรรมทางการเมืองเท่านั้น ความขัดแย้งในการเมืองไทย นับจากรัฐธรรมนูญ 2540 กระบวนการพัฒนาการเมืองและประชาธิปไตยไทยสามารถดำเนินไปอย่างเป็นพลวัตได้ แต่ต้องสะดุดลงด้วยความขัดแย้งทางอำนาจที่ไม่อาจประนีประนอมกันในเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งนำมาแสดงให้เห็นความขัดแย้งที่ฝังรากลึกในสังคมไทยหลายเรื่อง รวมถึงรื้อฟื้นความขัดแย้งแท้จริงหลายประการให้โผล่พ้นผิวน้ำ หากแต่กระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งที่ผ่านมานั้น ทุกรัฐบาล ไม่ได้จัดการเรื่องดังกล่าวเลย โดยเฉพาะปัญหาทางโครงสร้างเศรษฐกิจที่เป็นความเหลื่อมล้ำมหาศาลในประเทศไทย

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง