“ไชยันต์ ไชยพร”วิเคราะห์ “การเมืองผีหัวขาด”จากสภาปฏิรูปการเมืองสู่อนาคต ปชป.และพท.

แสดงความคิดเห็น

รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์พิเศษโดย วรวิทย์ ไชยทอง

รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร

ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเมืองเข้มข้น ในสถานการณ์การประชุมสภาที่ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านก็จะไม่ยอมกัน เพราะอะไร?

เพราะ ฝ่ายรัฐบาลถูกกดดันจากคะแนนเสียงที่เลือกตัวเองมา ให้คลี่คลายโครงสร้าง/แก้ปัญหาทางการเมือง แต่ก็ทำผลงานไม่ได้เรื่อง เพราะนี่ก็ครึ่งเทอมเเล้ว ข้อเรียกร้องทางการเมืองของคนเสื้อแดงแทบไม่ไปไหน แถมประสบปัญหาความสามารถในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอีก ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากนักวิชาการและฝ่ายค้านขาประจำ ยังไม่นับสารพัดม็อบตอนนี้และในอนาคต

ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล แม้ม็อบจะดูจุดไม่ติด คนเข้าร่วมน้อยกว่าสมัยปี 49 แต่เชื่อได้ว่า 2ปีที่เหลือของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ง่ายแน่ๆ แม้จะแพ้ทางเศรษฐกิจ คนเสื้อแดงและคนชั้นกลางส่วนใหญ่ก็ยังหนุน แต่ถ้า2 ปีที่เหลือ ผลงานทางการเมืองยังไม่คืบ แถมยังมีท่าทีถอยหลังลงคลองอีก บอกได้คำเดียวอย่างที่ รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร วิเคราะห์ไว้ว่า อาจจะเจอกับ "มวลชน" เช่นเดียวกับการเมืองก่อนปี 49 แน่ๆ

คุยกับ"นักปรัชญาการ เมือง"ชื่อดัง ถามเรื่องแนวคิดสภาปฏิรูปการเมือง ครั้งล่าสุดนั้น เป็นเเสงสว่าง หรือละครฉากใหญ่กันแน่ แล้วจะลบข้อบกพร่องอย่างไรดี?

@กรณี”ยิ่งลักษณ์” จุดประกาย “สภาปฏิรูปการเมือง” เป็น”ภาพจริง” หรือแค่ “ภาพลวง?”

ยัง ไม่รู้ว่าเป็นความจริงหรือภาพลวง แต่มันมีเงื่อนไขให้เห็นว่าไม่ได้ตั้งใจทำมาก่อนเพราะ อยู่ดีๆก็โผล่ขึ้นมาในช่วงเวลาที่มีการยื่นกฎหมายเข้าสภา ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความเปราะบางต่อความขัดแย้งของผู้คนในสังคม แต่แม้ว่าไม่ว่าจะเป็นภาพจริงหรือภาพลวง ระยะเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ มันเป็นเรื่องดี ที่กลุ่มไหนหรือฝ่ายไหนก็ตาม เสนอแนวทางปฏิรูปขึ้นมา สังคมควรขานรับ แต่ประเด็นก็เป็นเรื่องอย่างที่ว่า คือ มันจะจริงหรือไม่จริงเพียงใด เพราะหากท้ายที่สุดไม่สำเร็จ กลายเป็นเรื่องไม่จริง ในตอนหลังก็จะกลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ หรือถ้ามีใครจะเสนออะไรแบบนี้อีก สังคมก็จะเบื่อไป

@อะไรคือปัจจัยหลักในการผลักเรื่องนี้ออกมา เพราะออกมาแบบกะทันหันมาก เพื่ออะไร?

แน่ นอนว่าเชื่อมโยงกับเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรมที่เข้าไปในสภาและเกิดปัญหาที่มี คนออกมาต่อต้านหรือรวมทั้งเรื่องกฏหมายที่จะตามมาเรื่องที่มาของส.ว.ที่จริง แล้วถ้าจะปฏิรูปกันมันควรจะต้องเอาเรื่องนิรโทษกรรมก็ดีหรือเรื่องแก้ไขรัฐ ธรรมนูญก็ดีเข้าไปคุยในสภาปฏิรูปซะก่อนพูดง่ายๆก็คือต้องถอนเรื่องนี้ออกมา ก่อนประเด็นมันอยู่ที่มันอิหลักอิเหลื่อกันอยู่มันดูเหมือนว่า รัฐบาลสร้างเงื่อนไขเฉพาะหน้าขึ้นมา มันก็ยังไม่เกิดความไว้วางใจ จึงต้องมีการแสดงให้เห็น ว่าสิ่งที่คุณยิ่งลักษณ์เสนอเรื่องสภาปฏิรูปขึ้นมา คุณยิ่งลักษณ์ต้องพิสูจน์ตัวเองว่ามีความจริงใจในเรื่องนี้เพื่อที่จะ ได้ดึงทุกภาคส่วนเข้าไปร่วม และพักเรื่องของการแก้เรื่องนิรโทษกรรมและการแก้รัฐธรรมนูญซะก่อน

@ย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย เคยมีการทำแบบนี้กันไหม แล้วมีปัญหาเกิดขึ้นตอนไหน ยังไง

การ ปฏิรูปทางการเมืองที่ชัดเจนที่สุดคือการปฏิรูปสมัยพฤษภาทมิฬ ปี 2535 ทุกภาคส่วนรู้บทเรียนและยอมรับการเดินหน้าเข้าสู่การปฏิรูปการเมือง ซึ่งในที่สุดนำมาซึ่งการเกิดรัฐธรรมนูญ 2540 อันนั้นไม่ได้มีการตั้งสภาปฏิรูปการเมืองขึ้นมา แต่ว่าเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกฝ่ายรับรู้ว่ามันมีความสูญเสียเกิดขึ้นในช่วง เดือนพฤษภา 35 และไม่อยากจะให้มันเกิดขึ้นอีก คล้ายกับว่าเป็นอะไรที่ไม่ต้องถามประชามติ เป็นอะไรที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน เพราะว่ามันมีการสูญเสีย และตอนนั้นถ้าไม่ได้ในหลวง ก็อาจจะมีการสูญเสียมากขึ้นและไม่รู้จะเดินไปทางไหนกัน

@ถ้าจะปฏิรูปจะจำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเข้าไปไหม

ไม่ จำเป็นนะแต่ถ้ามีผู้ใหญ่ก็ต้องมีผู้ไม่ใหญ่ด้วย เพราะถ้ามีแต่ผู้ใหญ่ก็แสดงว่าคุณตั้งสภาปฏิรูปตามตัวแบบรัฐศาสตร์ ที่เชื่อเรื่องชนชั้นนำ คือเชื่อว่าชนชั้นนำคุยกันแล้วเรื่องจะจบ คิดว่าจะต้องมีภาคประชาชน คนตัวเล็กตัวน้อยเข้าไปด้วย ในแง่องค์ประกอบต้องมีการพูดคุยกันของคนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคู่ขัดแย้งที่จะต้องเข้ามา

@ตอนรัฐบาลอภิสิทธิ์ตั้งคณะกรรมการชุดอานันท์ - หมอประเวศ ทำไมไม่สำเร็จ

คือ มันเหมือนกับเป็นข้อสรุปของการวิจัย ซึ่งจะผูกมัดให้ภาคส่วนใดปฏิบัติตามหรือไม่นั้นมันไม่เกิดขึ้น มันเหมือนกับสภาวะรัฐบาลใครรัฐบาลมันก็ออกมาแล้วก็จะปฏิรูปกัน แต่ฝ่ายตรงข้ามก็ไม่เข้าร่วม ประเด็นคือว่าถ้าอยากจะปฏิรูปจริงๆก็ต้องทำให้ทุกฝ่ายเข้าร่วม เพื่ออะไร? ก็เพื่อจะได้มาคุยกันถึงเรื่องสาเหตุของวิกฤติการเมืองไทยที่เกิดขึ้น อันนำมาสู่ความจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง ต้องคุยกันให้รู้เรื่องก่อนว่าสาเหตุของวิกฤติมันคืออะไร พรรคเพื่อไทยก็มองสาเหตุและวิกฤติรูปแบบหนึ่ง ตั้งแต่ปี 49 พรรคประชาธิปัตย์ก็มองอีกอย่างหนึ่ง ทำให้มีความขัดแย้งกันถูกไหม? พรรคร่วมรัฐบาลก็น่าจะมองอีกอย่างหนึ่ง เพราะเขาสามารถจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคเพื่อไทยก็ได้ จัดตั้งกับพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ ในขณะที่เพื่อไทยกับประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยคงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันไม่ได้ แน่นอน เพราะว่ามีมุมมองต่างกันในเรื่องของสาเหตุความขัดแย้ง หรืออาจจะไม่มีจุดยืนในการมองอะไรเลยก็ได้

ในขณะเดียวกันอย่าลืมว่า คนที่เป็นพรรคร่วมที่เข้าไปนั่งอยู่ในสภาปฏิรูปมีเยอะมาก เพราะฉะนั้นการที่จะต้องมีทุกภาคส่วนเข้าร่วม ก่อนที่จะเดินไปข้างหน้าก็เพื่อจะตอบคำถามก่อนว่าปัญหามันมีสาเหตุรากเหง้า มาจากอะไร ภาคประชาชนก็ต้องให้เข้ามา นปช.เขาก็มองสาเหตุปัญหาอย่างหนึ่ง พันธมิตรเขาก็มองอีกอย่างหนึ่ง และพลังที่ไม่เป็นเหลืองไม่เป็นแดง ไม่เป็นสีอะไร ก็ต้องให้เขาตอบว่าเขามองอะไร ฉะนั้นสภาปฏิรูปต้องตอบคำถาม ตกลงความจริงของสาเหตุของวิกฤติการเมืองคืออะไร และคำตอบของสภาปฏิรูปจะเป็นที่ยอมรับของสังคมไหม นี่คือเงื่อนไขประการแรก

@เห็นชื่อทั้ง 69 หรือยัง แล้วคิดว่าคนที่เขาเชิญมาเป็นการจัดละครฉากใหญ่ ดังที่ถูกวิจารณ์กันหรือไม่?

เห็นแล้ว และจริงๆผมไม่อยากให้มันเป็นปาหี่ หลายคนมีความจริงใจที่เข้าไปในนั้น อย่างอ.โคทม อารียา ก็มีจุดยืนชัดเจนตั้งแต่ปี 49 ที่พยายามที่จะให้ใช้สถาบันหรือองค์กรที่มีอยู่ ในการที่จะพูดคุยกัน แต่มันเป็นเรื่องน่าเสียดาย ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่ยังต้องประสบกับวิกฤติทางการเมืองนี้อยู่ และเป็นนักวิชาการด้วย ก็ไม่อยากให้มันเป็นแค่ละครฉากใหญ่ แต่ก็อย่างที่บอกเงื่อนไขไปว่า คุณจะต้องระดมคนมาจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคู่ขัดแย้ง ต่อมาคือต้องตอบ ภายใน 3 เดือน 6 เดือน และต้องมีผลงานออกมา เป็นผลงานที่ไม่ใช่แค่บอกว่าจะปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม การเมืองข้างหน้าอะไร เพราะมันไม่เกี่ยว แต่ต้องตอบถึงสาเหตุของปัญหาให้ได้ เมื่อตอบได้มันก็จะตามมาด้วยวิธีการแก้ปัญหา ที่จะไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นมาอีกในอนาคต

@มีข่าวว่าสุริยะใส กตะศิลา จะจัดเวทีสภาปฏิรูปการเมืองคู่ขนาน เวทีนี้จะเอาคนที่ไม่ไปร่วมกับยิ่งลักษณ์เหมือนกับเป็นเวทีคู่ขนานเงา?

มัน มีทั้งข้อดีข้อเสียข้อดีได้เห็นว่าข้อสรุปจะเป็นอย่างไรแต่ข้อเสียคือทั้ง สองฝ่ายได้ข้อสรุปต่างกันมันก็ไม่ไปไหนมันก็เป็นคู่ขัดแย้งแต่ประเด็นสำคัญ ที่อยากจะฝากไปถึงคุณยิ่งลักษณ์คือ ไม่ว่าสภาปฏิรูปจะพบว่าสาเหตุคืออะไร ไม่ว่าสภาปฏิรูปจะพบว่าวิธีการแก้สาเหตุคืออะไร สิ่งสำคัญที่จะทำให้สภาปฏิรูปนี้ไม่เป็นปาหี่ หรือเป็นละครต้มคนดูนั้น

คุณ ยิ่งลักษณ์จะต้องเป็นคนที่มีอำนาจการตัดสินใจในฐานะนายกรัฐมนตรีได้อย่างแท้ จริงเสียก่อน คุณต้องพิสูจน์ตรงนี้เสียก่อน เป็นนายกฯจริงๆ ไม่ใช่เป็นนายกฯทางทฤษฎี หรือแค่ตามกฎหมาย เพราะหลายๆฝ่ายเขาไม่เข้าไปเพราะเขาไม่เชื่อว่าคุณยิ่งลักษณ์มีความเป็นตัว ของตัวเอง คุณจะให้คนมาคุยกันโดยคุณเป็นคนริเริ่ม และคุณเป็นนายกรัฐมนตรีก็น่าจะเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจสุดท้ายได้ อีกทั้งคุณจะต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่า มีอำนาจทางกฎหมายหรือมีอำนาจทางความชอบธรรม ในการที่จะนำเอาข้อเสนอในการแก้ไขสาเหตุนั้นนำไปปฏิบัติ คุณจะต้องพิสูจน์ว่าคุณเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อเสียงส่วนใหญ่ในพรรคเพื่อไทย หรือ พิสูจน์ว่าตัวคุณเองมีอิทธิพลต่อเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎรอย่างแท้ จริง มีอำนาจที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างแท้จริง และที่สำคัญคือว่า คุณจะต้องมีความเป็นตัวของตัวเองที่สุด เพราะมิฉะนั้นเวลาคุยกันในสภาปฏิรูปเสร็จแล้ว ก็จะต้องรอฟังคุณทักษิณอีกทีหนึ่ง การปฏิรูปนี้ถือว่าจบสิ้นเลย

@มองการที่รัฐบาลเชิญคนที่เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์การแก้ปัญหาความขัดแย้งระดับโลกมาเสวนาครั้งที่ผ่านมาว่าอย่างไร

คือ สิ่งที่ทั้งสามคนพูดชัดเจนว่าเราต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเองและต้องมาดูที่ สาเหตุว่าคืออะไรเพื่อจะมองไปข้างแต่จะละเลยละทิ้งความจริงไม่สนใจไม่ได้จะ มาพูดว่าคนไทยด้วยกันลืมๆกันไปเถอะอันนี้ใช้กันมาเยอะแล้วและมันจะเป็นวงจร ของปัญหากลับคืนขึ้นมาตลอดเวลาคำว่าปรองดองเองเนี่ย อย่าเที่ยวไปพูดเลอะเทอะ พูดอยู่ได้ปรองดองๆ คือก่อนที่จะ “ลืม” ช่วย “จำ” ซะก่อนว่าความจริงมันคือะไร เรายังไม่รู้เลยว่าความจริงมันคืออะไร เพราะฉะนั้นการเชิญมาสามคนก็ไม่ต่างกับที่ที่ปรึกษาของ คอป.ได้เคยพูดไว้แล้ว ว่าการหาทางออกประเทศไทยต้องตอบให้ได้ว่า “ความจริง”คืออะไร และการที่ประเทศกำลังอยากจะเดินไปข้างหน้า ก็ต้องรู้ให้ชัดว่ากำลังจะเดินจากสภาพไหน ไปสู่สภาพไหน

@ประเมินบทบาทฝ่ายค้านในสถานการณ์ปรองดอง และเรื่องการปฏิรูปพรรค และการทำหน้าที่ในสภาว่ายังไง

ฝ่าย ค้านทำหน้าที่ในแง่การคัดค้านที่มาของรัฐธรรมนูญ ผมก็เห็นว่าการไปแก้ที่มาของส.ว. มันมีปัญหาจริงๆ คือฝ่ายที่ต้องการประชาธิปไตย ที่ต้องการส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งนั้น ผมก็เห็นด้วย แต่คุณต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าทำอย่างไร ที่จะทำให้อำนาจหน้าที่ส.ว.มันไม่ไปซ้ำกับ ส.ส.ซึ่งอันนี้ยังไม่เห็นภาพชัดเจน ถ้ามันซ้ำกันก็ไม่จำเป็นต้องมี เรามีส.ว.ไว้เพื่อตรวจสอบ ถ่วงดุล และกลั่นกรอง ใช่ไหม และถ้ายังตอบโจทย์ตรงนี้ไม่ได้มันก็ไม่เห็นประโยชน์ในการที่จะไปแก้ และไม่มีประโยชน์ที่จะมี

ส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้น คิดว่าคงไม่ลาออกจากส.ส.แน่นอน คิดว่าการที่พรรคมีการส่งสัญญาณให้มวลชนนัดชุมนุมประท้วงก็มีสิทธิ์ที่จะทำ ได้ แต่ว่าถ้าคิดว่าการที่จะลงมาเป็นแกนนำชุมนุมประท้วง เพราะถ้าทำอย่างนั้นแล้วพรรคจะเสียหาย จึงคิดว่าคงไม่ลาออก เพราะถ้ายังจะลาออก ก็จะเป็นปัญหาให้ประชาธิปัตย์เยอะขึ้นเรื่อยๆ และถ้าลาออกมาก็บอกได้คำเดียวว่า ถ้าไม่เกิดสงครามของมวลชนนั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็จะพบจุดจบของตนเองในการลาออก

@ถ้าจะมีการชุมนุมเพื่อล้มรัฐบาลให้ได้ คิดว่ามีเหตุผลหรือเงื่อนไข เพียงพอหรือยังในขณะนี้

ยืนยันว่าในตอนนี้ เงื่อนไขในการล้มรัฐบาลยังไม่เพียงพอแน่นอน แต่สิ่งที่เขากำลังต่อต้านรัฐบาลกันอยู่มีสองเรื่อง คือ เรื่องนิรโทษกรรมที่ต้องการดูให้แน่ใจว่าจะไม่มีการนิรโทษกรรมแกนนำ และอีกเรื่องคือเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว. ที่กำลังต่อต้านกันอยู่ แน่นอนว่าคนที่เข้าร่วมจึงยังมีอยู่น้อย เพราะคิดว่าคนยังไม่เห็นประเด็นนี้ชัดเจนนักซักเท่าไหร่อย่างเรื่องนิรโทษ กรรมก็ต้องมีการแปรญัตติ ซึ่งถ้าแปรญัตติออกมาแล้วและฟังดูแล้วสังคมส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ อันนั้นก็จะเกิดปัญหา แต่สังคมก็มักจะลองดูว่ารัฐสภาทำงานแค่ไหนแล้ว เช่น อาจจะรอดูว่าวาระ สอง วาระ สามเป็นอย่างไร หรือในที่สุดถ้ามีปัญหา ก็ส่งศาลรัฐธรรมนูญได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนิรโทษกรรมหรือเรื่องที่มาส.ว. ก็ต้องลองดู เพราะคนเรียนรู้บทเรียน

เรื่องการแก้ไขที่มาส.ว.นั้น ผมคิดว่าประชาชนจำนวนมาก คล้อยตามไปกับวาทกรรมประชาธิปไตยว่า ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่ยังไม่เห็นโลงศพ นั่นคือสมมุติว่า กฎหมายฉบับนี้ผ่าน มีการใช้ในปีหน้า เราก็จะรอดูว่า ส.ว.ที่ได้มามันออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร เป็นพวกเดียวกับส.ส.ไหม? หรือแม้กระทั่งต้องดูพฤติกรรม ซึ่งถ้าถึงตอนนั้นแล้ว ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งมีพฤติกรรมเป็นพรรคพวกเดียวกับส.ส. เป็นสภาผัวเมีย และไม่มีอะไรที่จะสามารถตรวจสอบ ทั้งส.ว. และ ส.ส. ได้เพราะเป็นพวกเดียวกันหมด สิ่งที่จะตรวจสอบส.ว.กับ ส.ส.ได้มีอย่างเดียวคือ มวลชน เพราะฉะนั้นการกลับมาของมวลชน ลุกฮือ ต่อต้านใหญ่ ก็จะเกิดขึ้นในปีหน้าแน่นอน ถ้ากฎหมายที่มาของส.ว. สมมุติถ้าศาลรัฐธรรมตีความว่าไม่มีปัญหาและตัดถ้อยคำเรื่องญาติพี่น้องออกไป ก็ไม่เป็นไร เพราะฉะนั้นถ้าพฤติกรรมของส.ว.มันออกมาเป็นพวกเดียวกับส.ส.อย่างชัดเจนและ สังคมประจักษ์ มันก็กลับมาเหมือนเดิม คือมวลชนที่เคยออกมาในปี 49 ก็จะออกมาอีก

จึงฝากเตือนถึงพรรคเพื่อไทยว่า คิดให้ดีๆ คุณอาจจะมี ช่วงเวลาแห่งความสุขกับเสียงข้างมากไปเรื่อยๆจนถึงปีหน้า แต่ถ้าโรงศพมันออกมา การกินรวบมันชัดเจน ผมก็ได้แต่ภาวนาว่า ประชาชนที่เลือกส.ว.ในปีหน้า คือสมมุติว่าถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่านนะครับ ก็ภาวนาและเชื่อมั่นว่าประชาชนคงจะแยกแยะออกว่าจะเลือกใคร ไม่น่าจะเลือกญาติพี่น้องหรือเลือกคนที่เป็นพวกเดียวกับส.ส. และก็คาดหวังว่าคนที่จะสมัคร ส.ว.ก็จะทำตัวเป็นอิสระ ไม่ทำตัวเป็นลูกน้องของพรรคการเมือง ถ้าเป็นอย่างนี้ตามทฤษฏีการเมือง ตามอุดมคติของที่เรียนกันมา ประชาธิปไตยก็สดใส แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็บอกได้เลยว่า สิ่งเดียวที่จะมาตรวจสอบทัดทานการรวบอำนาจเบล็ดเสร็จในสภาทั้งสองสภา มีอย่างเดียวคือ “มวลชน”

@ต่อให้รัฐบาลยอมถอยแล้ว เรื่องมาตรา 5 เอาเรื่องคุณสมบัติ ส.ว.ออกไป ไม่มีแน่นอนสภาผัวเมีย?

เรื่องสภาผัวเมีย ไม่มีนั้นก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว

@มองความวุ่นวายในสภา ปัจจุบันอย่างไร

คือ เรื่องยืดเยื้อนั้น เป็นแทกติกของสภา อย่างเช่นที่มีในสภาของอเมริกา หรืออังกฤษ ที่เรียกว่า “ฟิลิบัสเตอร์” ก็ถือเป็นแทคติกของเสียงข้างน้อยที่เขาจะยื้อ ในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันนั้น มีหลายครั้งที่ไม่ผ่าน แต่อย่างไรก็ตามเสียงข้างมากก็ย่อมชนะ เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องปกติของคนที่ไม่เห็นด้วยที่เขาก็จะต้องพูดยืดเยื้อ พูดยาว พูดช้า โดยเฉพาะประเทศไหนที่มันเน้นเรื่องเสรีภาพในสภา มันก็ต้องยอมให้พูด แต่อาการที่มันถ่อยเถื่อนอะไรต่างๆก็ไม่ควรจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการยกรองเท้าขึ้นมาก็ไม่ควรเกิดขึ้น อาการที่เป็นการเดินไปล้อมประธานก็ไม่ควรเกิดขึ้น ขณะเดียวกันประธานรัฐสภาถ้าเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ก็ไม่ควรตื่นตูมเอาตำรวจ เข้ามา มันเป็นเรื่องของทั้งสองฝ่าย ยืนยันว่าในสังคมประชาธิปไตยมันเป็นเรื่องปกติ

@ประเมินสถานการณ์รัฐบาลเพื่อไทยตอนนี้ ดูเหมือนรัฐบาลกำลังจะแย่และถูกวิจารณ์อย่างหนักในทางเศรษฐกิจ

อยู่ ที่สื่อ ถ้าไม่เป็นกระแสของข่าวในสื่อสารมวลชนเท่าไหร่ มันก็ไม่เกิดประเด็นอะไรขึ้นมา ประเด็นคือว่าในโลกประชาธิปไตยสมัยใหม่ สื่อเป็นอิทธิพลสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้คน ออกมาต่อต้านหรือแสดงความรู้สึกอย่างไร และรัฐบาลก็อาจจะแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ ถูๆ ไถๆ ไป รัฐบาลก็สามารถแก้ปัญหาเป็นรายไป และคะแนนอาจตกจริง จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการซื้อเวลาด้วยวิธีทางหนึ่งคือเลือกที่จะยุบสภาและ ก็จะได้มีเวลาเพิ่มขึ้นมาอีก 4ปี

แต่ไม่เห็นว่าพรรคเพื่อไทยกำลังจะแย่ กำลังอำนาจในสภาก็ยังดีอยู่ เพียงแต่ว่า ปัญหาอาจจะอยู่ที่คณะรัฐมนตรีที่มีปัญหา คือถ้าเป็นประเทศอย่างญี่ปุ่น เขาก็ใช้วิธีการลาออก เพื่อจะให้คนของพรรคที่เป็นหมายเลข สอง หมายเลข สามของพรรค ขึ้นมาบริหารประเทศ แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งสภา คงไว้ซึ่งเสียงข้างมากในสภาชุดเดิมอยู่

ไม่จำเป็นต้องยุบสภา เพราะสภาไม่ได้ทำอะไรผิด แต่การบริหารของคณะรัฐมนตรีมันผิดก็ควรจะลาออกซะ นายกฯยิ่งลักษณ์ลาออก และก็ให้พรรคเพื่อไทยปรับคนขึ้นมาใหม่ ก็ยังมีพรรคเพื่อไทยอยู่นะ คนที่เป็นพี่น้องเสื้อแดงก็ไม่ต้องห่วงว่าต้องต่อสู้เพื่อกันไม่ให้ประชา ธิปัตย์ได้คะแนนมาเยอะ ทีนี้เรื่องที่น่าห่วงอีกเรื่องคือพรรคเพื่อไทยมิได้อยู่ในครรลองของพรรคการ เมืองที่ควรจะเป็น คือว่า เมื่อผู้นำคนนี้มีปัญหาและก็เปลี่ยนไป ถามว่าใครคือหัวหน้าพรรค หัวหน้าพรรคคือคนๆหนึ่ง นายกฯคนคนหนึ่ง และก็มีคนอีกคนหนึ่ง สามคนที่กำลังคุมพรรคนี้

การทำงานของพรรค เพื่อไทย ในรัฐบาล ในคณะรัฐมนตรีกับสภา ขณะนี้เปรียบเสมือน “ผีหัวขาด” คือตัวนี่อยู่ในสภา แต่หัวนี่ล่องลอยไปไหนไม่รู้ และหัวนี่ก็ดันมีสามหัวอีก หัวหน้าพรรคซึ่งเป็นแต่ในนาม ไม่เคยมีบทบาทอะไรในคณะรัฐมนตรี บทบาทนำ ไม่เคยมีบทบาทในสภาอีก ทำอะไรก็ไม่มีคนรู้ และก็มีอีกหัวที่ล่องลอยอยู่แดนไกลซึ่งสามารถทำงาน และบางครั้งก็ออกมาเคลมว่านี่คือว่านี่คือผลงานของตน บางครั้งก็บอกว่าไม่ใช่ อีกหัวหนึ่งมีชื่อว่าเป็นนายกฯ แต่ก็ไม่เคยมีความชัดเจนว่าเป็นนายกฯ เพราะฉะนั้นปัญหาของพรรคเพื่อไทยคือคณะรัฐมนตรีขณะนี้ ควรจะแก้ได้ง่ายนิดเดียวคือนายกฯควรลาออกซะ และหาคนที่เก่งๆของพรรคเพื่อไทยมาแทน แต่มันทำยาก เพราะหัวที่อยู่แดนไกลก็กลัวจะคลุมคนนี้ไม่ได้ เดี๋ยวจะมาเอาพรรคฉันไป

@ฝ่าย หนึ่งก็มีข้อเรียกร้องการเมืองสุดโต่ง ฝ่ายรัฐบาลที่มวลชนก็คาดหวังว่าควรจะปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ้าง แต่กลับทำไม่ได้เลย เราจะหวังอะไรกับสังคมไทยในสภาพแย่ๆแบบนี้

ปัญหา ที่พูดมาทั้งหมดนั้นควรจะเข้าไปที่สภาปฏิรูปการเมือง ถ้าคุณยิ่งลักษณ์ตอบ โจทย์ตรงนี้ได้ว่าฉันคือหัวหน้าพรรคฉันควรจะต้องเป็นหัวหน้าพรรคฉันเป็น นายกฯควรจะเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจสุดท้ายก็ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ก่อนให้ชัดเจนก่อนแต่ถ้าถ้ามันมีปัญหาทั้งหมดมันแก้กันไม่ได้ มันไม่ยอมกันเลย ประเด็นเดียวอยู่กันไปแบบนี้ แต่อย่านองเลือด อย่าเกเรออกมามีปัญหากันจนนองเลือด ก็อยู่กันไปแบบนี้ เพราะอยู่กันได้แค่นี้ สังคมเราเป็นอย่างนี้

การจะให้ฝ่ายอื่นเข้า ร่วมการปฏิรูปทางการเมืองใดๆก็ตามคุณยิ่งลักษณ์ต้องพิสูจน์เสียก่อน ว่าเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจคนสุดท้ายจริงๆ และรู้ไหมว่าปัญหาของคุณคืออะไร ต้องตอบโจทย์ว่าสาเหตุที่แท้จริงที่ปะทุมาตั้งแต่ ปี 49 นั้น สภาปฏิรูปการเมืองต้องตอบให้ได้ ไม่ใช่มองไปข้างหน้าๆ แล้วเรามาลืมๆกันเถอะ อย่างนี้มันไม่ใช่...

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378303638&grpid=&catid=01&subcatid=0100 (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.ย.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 5/09/2556 เวลา 02:54:18 ดูภาพสไลด์โชว์ “ไชยันต์ ไชยพร”วิเคราะห์ “การเมืองผีหัวขาด”จากสภาปฏิรูปการเมืองสู่อนาคต ปชป.และพท.

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสัมภาษณ์พิเศษโดย วรวิทย์ ไชยทอง รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเมืองเข้มข้น ในสถานการณ์การประชุมสภาที่ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านก็จะไม่ยอมกัน เพราะอะไร? เพราะ ฝ่ายรัฐบาลถูกกดดันจากคะแนนเสียงที่เลือกตัวเองมา ให้คลี่คลายโครงสร้าง/แก้ปัญหาทางการเมือง แต่ก็ทำผลงานไม่ได้เรื่อง เพราะนี่ก็ครึ่งเทอมเเล้ว ข้อเรียกร้องทางการเมืองของคนเสื้อแดงแทบไม่ไปไหน แถมประสบปัญหาความสามารถในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอีก ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากนักวิชาการและฝ่ายค้านขาประจำ ยังไม่นับสารพัดม็อบตอนนี้และในอนาคต ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล แม้ม็อบจะดูจุดไม่ติด คนเข้าร่วมน้อยกว่าสมัยปี 49 แต่เชื่อได้ว่า 2ปีที่เหลือของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ง่ายแน่ๆ แม้จะแพ้ทางเศรษฐกิจ คนเสื้อแดงและคนชั้นกลางส่วนใหญ่ก็ยังหนุน แต่ถ้า2 ปีที่เหลือ ผลงานทางการเมืองยังไม่คืบ แถมยังมีท่าทีถอยหลังลงคลองอีก บอกได้คำเดียวอย่างที่ รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร วิเคราะห์ไว้ว่า อาจจะเจอกับ "มวลชน" เช่นเดียวกับการเมืองก่อนปี 49 แน่ๆ คุยกับ"นักปรัชญาการ เมือง"ชื่อดัง ถามเรื่องแนวคิดสภาปฏิรูปการเมือง ครั้งล่าสุดนั้น เป็นเเสงสว่าง หรือละครฉากใหญ่กันแน่ แล้วจะลบข้อบกพร่องอย่างไรดี? @กรณี”ยิ่งลักษณ์” จุดประกาย “สภาปฏิรูปการเมือง” เป็น”ภาพจริง” หรือแค่ “ภาพลวง?” ยัง ไม่รู้ว่าเป็นความจริงหรือภาพลวง แต่มันมีเงื่อนไขให้เห็นว่าไม่ได้ตั้งใจทำมาก่อนเพราะ อยู่ดีๆก็โผล่ขึ้นมาในช่วงเวลาที่มีการยื่นกฎหมายเข้าสภา ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความเปราะบางต่อความขัดแย้งของผู้คนในสังคม แต่แม้ว่าไม่ว่าจะเป็นภาพจริงหรือภาพลวง ระยะเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ มันเป็นเรื่องดี ที่กลุ่มไหนหรือฝ่ายไหนก็ตาม เสนอแนวทางปฏิรูปขึ้นมา สังคมควรขานรับ แต่ประเด็นก็เป็นเรื่องอย่างที่ว่า คือ มันจะจริงหรือไม่จริงเพียงใด เพราะหากท้ายที่สุดไม่สำเร็จ กลายเป็นเรื่องไม่จริง ในตอนหลังก็จะกลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ หรือถ้ามีใครจะเสนออะไรแบบนี้อีก สังคมก็จะเบื่อไป @อะไรคือปัจจัยหลักในการผลักเรื่องนี้ออกมา เพราะออกมาแบบกะทันหันมาก เพื่ออะไร? แน่ นอนว่าเชื่อมโยงกับเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรมที่เข้าไปในสภาและเกิดปัญหาที่มี คนออกมาต่อต้านหรือรวมทั้งเรื่องกฏหมายที่จะตามมาเรื่องที่มาของส.ว.ที่จริง แล้วถ้าจะปฏิรูปกันมันควรจะต้องเอาเรื่องนิรโทษกรรมก็ดีหรือเรื่องแก้ไขรัฐ ธรรมนูญก็ดีเข้าไปคุยในสภาปฏิรูปซะก่อนพูดง่ายๆก็คือต้องถอนเรื่องนี้ออกมา ก่อนประเด็นมันอยู่ที่มันอิหลักอิเหลื่อกันอยู่มันดูเหมือนว่า รัฐบาลสร้างเงื่อนไขเฉพาะหน้าขึ้นมา มันก็ยังไม่เกิดความไว้วางใจ จึงต้องมีการแสดงให้เห็น ว่าสิ่งที่คุณยิ่งลักษณ์เสนอเรื่องสภาปฏิรูปขึ้นมา คุณยิ่งลักษณ์ต้องพิสูจน์ตัวเองว่ามีความจริงใจในเรื่องนี้เพื่อที่จะ ได้ดึงทุกภาคส่วนเข้าไปร่วม และพักเรื่องของการแก้เรื่องนิรโทษกรรมและการแก้รัฐธรรมนูญซะก่อน @ย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย เคยมีการทำแบบนี้กันไหม แล้วมีปัญหาเกิดขึ้นตอนไหน ยังไง การ ปฏิรูปทางการเมืองที่ชัดเจนที่สุดคือการปฏิรูปสมัยพฤษภาทมิฬ ปี 2535 ทุกภาคส่วนรู้บทเรียนและยอมรับการเดินหน้าเข้าสู่การปฏิรูปการเมือง ซึ่งในที่สุดนำมาซึ่งการเกิดรัฐธรรมนูญ 2540 อันนั้นไม่ได้มีการตั้งสภาปฏิรูปการเมืองขึ้นมา แต่ว่าเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกฝ่ายรับรู้ว่ามันมีความสูญเสียเกิดขึ้นในช่วง เดือนพฤษภา 35 และไม่อยากจะให้มันเกิดขึ้นอีก คล้ายกับว่าเป็นอะไรที่ไม่ต้องถามประชามติ เป็นอะไรที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน เพราะว่ามันมีการสูญเสีย และตอนนั้นถ้าไม่ได้ในหลวง ก็อาจจะมีการสูญเสียมากขึ้นและไม่รู้จะเดินไปทางไหนกัน @ถ้าจะปฏิรูปจะจำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเข้าไปไหม ไม่ จำเป็นนะแต่ถ้ามีผู้ใหญ่ก็ต้องมีผู้ไม่ใหญ่ด้วย เพราะถ้ามีแต่ผู้ใหญ่ก็แสดงว่าคุณตั้งสภาปฏิรูปตามตัวแบบรัฐศาสตร์ ที่เชื่อเรื่องชนชั้นนำ คือเชื่อว่าชนชั้นนำคุยกันแล้วเรื่องจะจบ คิดว่าจะต้องมีภาคประชาชน คนตัวเล็กตัวน้อยเข้าไปด้วย ในแง่องค์ประกอบต้องมีการพูดคุยกันของคนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคู่ขัดแย้งที่จะต้องเข้ามา @ตอนรัฐบาลอภิสิทธิ์ตั้งคณะกรรมการชุดอานันท์ - หมอประเวศ ทำไมไม่สำเร็จ คือ มันเหมือนกับเป็นข้อสรุปของการวิจัย ซึ่งจะผูกมัดให้ภาคส่วนใดปฏิบัติตามหรือไม่นั้นมันไม่เกิดขึ้น มันเหมือนกับสภาวะรัฐบาลใครรัฐบาลมันก็ออกมาแล้วก็จะปฏิรูปกัน แต่ฝ่ายตรงข้ามก็ไม่เข้าร่วม ประเด็นคือว่าถ้าอยากจะปฏิรูปจริงๆก็ต้องทำให้ทุกฝ่ายเข้าร่วม เพื่ออะไร? ก็เพื่อจะได้มาคุยกันถึงเรื่องสาเหตุของวิกฤติการเมืองไทยที่เกิดขึ้น อันนำมาสู่ความจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง ต้องคุยกันให้รู้เรื่องก่อนว่าสาเหตุของวิกฤติมันคืออะไร พรรคเพื่อไทยก็มองสาเหตุและวิกฤติรูปแบบหนึ่ง ตั้งแต่ปี 49 พรรคประชาธิปัตย์ก็มองอีกอย่างหนึ่ง ทำให้มีความขัดแย้งกันถูกไหม? พรรคร่วมรัฐบาลก็น่าจะมองอีกอย่างหนึ่ง เพราะเขาสามารถจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคเพื่อไทยก็ได้ จัดตั้งกับพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ ในขณะที่เพื่อไทยกับประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยคงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันไม่ได้ แน่นอน เพราะว่ามีมุมมองต่างกันในเรื่องของสาเหตุความขัดแย้ง หรืออาจจะไม่มีจุดยืนในการมองอะไรเลยก็ได้ ในขณะเดียวกันอย่าลืมว่า คนที่เป็นพรรคร่วมที่เข้าไปนั่งอยู่ในสภาปฏิรูปมีเยอะมาก เพราะฉะนั้นการที่จะต้องมีทุกภาคส่วนเข้าร่วม ก่อนที่จะเดินไปข้างหน้าก็เพื่อจะตอบคำถามก่อนว่าปัญหามันมีสาเหตุรากเหง้า มาจากอะไร ภาคประชาชนก็ต้องให้เข้ามา นปช.เขาก็มองสาเหตุปัญหาอย่างหนึ่ง พันธมิตรเขาก็มองอีกอย่างหนึ่ง และพลังที่ไม่เป็นเหลืองไม่เป็นแดง ไม่เป็นสีอะไร ก็ต้องให้เขาตอบว่าเขามองอะไร ฉะนั้นสภาปฏิรูปต้องตอบคำถาม ตกลงความจริงของสาเหตุของวิกฤติการเมืองคืออะไร และคำตอบของสภาปฏิรูปจะเป็นที่ยอมรับของสังคมไหม นี่คือเงื่อนไขประการแรก @เห็นชื่อทั้ง 69 หรือยัง แล้วคิดว่าคนที่เขาเชิญมาเป็นการจัดละครฉากใหญ่ ดังที่ถูกวิจารณ์กันหรือไม่? เห็นแล้ว และจริงๆผมไม่อยากให้มันเป็นปาหี่ หลายคนมีความจริงใจที่เข้าไปในนั้น อย่างอ.โคทม อารียา ก็มีจุดยืนชัดเจนตั้งแต่ปี 49 ที่พยายามที่จะให้ใช้สถาบันหรือองค์กรที่มีอยู่ ในการที่จะพูดคุยกัน แต่มันเป็นเรื่องน่าเสียดาย ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่ยังต้องประสบกับวิกฤติทางการเมืองนี้อยู่ และเป็นนักวิชาการด้วย ก็ไม่อยากให้มันเป็นแค่ละครฉากใหญ่ แต่ก็อย่างที่บอกเงื่อนไขไปว่า คุณจะต้องระดมคนมาจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคู่ขัดแย้ง ต่อมาคือต้องตอบ ภายใน 3 เดือน 6 เดือน และต้องมีผลงานออกมา เป็นผลงานที่ไม่ใช่แค่บอกว่าจะปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม การเมืองข้างหน้าอะไร เพราะมันไม่เกี่ยว แต่ต้องตอบถึงสาเหตุของปัญหาให้ได้ เมื่อตอบได้มันก็จะตามมาด้วยวิธีการแก้ปัญหา ที่จะไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นมาอีกในอนาคต @มีข่าวว่าสุริยะใส กตะศิลา จะจัดเวทีสภาปฏิรูปการเมืองคู่ขนาน เวทีนี้จะเอาคนที่ไม่ไปร่วมกับยิ่งลักษณ์เหมือนกับเป็นเวทีคู่ขนานเงา? มัน มีทั้งข้อดีข้อเสียข้อดีได้เห็นว่าข้อสรุปจะเป็นอย่างไรแต่ข้อเสียคือทั้ง สองฝ่ายได้ข้อสรุปต่างกันมันก็ไม่ไปไหนมันก็เป็นคู่ขัดแย้งแต่ประเด็นสำคัญ ที่อยากจะฝากไปถึงคุณยิ่งลักษณ์คือ ไม่ว่าสภาปฏิรูปจะพบว่าสาเหตุคืออะไร ไม่ว่าสภาปฏิรูปจะพบว่าวิธีการแก้สาเหตุคืออะไร สิ่งสำคัญที่จะทำให้สภาปฏิรูปนี้ไม่เป็นปาหี่ หรือเป็นละครต้มคนดูนั้น คุณ ยิ่งลักษณ์จะต้องเป็นคนที่มีอำนาจการตัดสินใจในฐานะนายกรัฐมนตรีได้อย่างแท้ จริงเสียก่อน คุณต้องพิสูจน์ตรงนี้เสียก่อน เป็นนายกฯจริงๆ ไม่ใช่เป็นนายกฯทางทฤษฎี หรือแค่ตามกฎหมาย เพราะหลายๆฝ่ายเขาไม่เข้าไปเพราะเขาไม่เชื่อว่าคุณยิ่งลักษณ์มีความเป็นตัว ของตัวเอง คุณจะให้คนมาคุยกันโดยคุณเป็นคนริเริ่ม และคุณเป็นนายกรัฐมนตรีก็น่าจะเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจสุดท้ายได้ อีกทั้งคุณจะต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่า มีอำนาจทางกฎหมายหรือมีอำนาจทางความชอบธรรม ในการที่จะนำเอาข้อเสนอในการแก้ไขสาเหตุนั้นนำไปปฏิบัติ คุณจะต้องพิสูจน์ว่าคุณเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อเสียงส่วนใหญ่ในพรรคเพื่อไทย หรือ พิสูจน์ว่าตัวคุณเองมีอิทธิพลต่อเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎรอย่างแท้ จริง มีอำนาจที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างแท้จริง และที่สำคัญคือว่า

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง