ฟันธงสภาปฏิรูปการเมือง เกมซื้อเวลารัฐบาลยิ่งลักษณ์

แสดงความคิดเห็น

เวทีการประชุม “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน”

ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับเวทีการประชุม “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน” หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “สภาปฏิรูปการเมือง” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ และมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงทุนนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานด้วยตนเอง

สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมก็เป็นไปตามคาด โดยในฝ่ายนักการเมืองและอดีตหัวหน้าพรรคการเมืองประกอบด้วย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอุทัย พิมพ์ใจชน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายโภคิน พลกุล อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนา พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล และนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย

เวทีการประชุม “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน”

ส่วน ฝ่ายนักวิชาการและภาคส่วนอื่นๆ ก็มีอาทิ นายลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นายโคทม อารียา นักวิชาการด้านสันติวิธี นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสื่อมวลชนและสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) โดยไม่มีตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าร่วมแต่อย่างใด

ด้าน เนื้อหาในการประชุม จะเห็นได้ว่า คนที่แสดงความเห็นได้เป็นเหตุเป็นผลและไม่ยกยอปอปั้นรัฐบาล ก็จะเป็นนักวิชาการ อาทิ รศ.วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ที่บอกว่า การปฏิรูปประเทศมีความหลากหลายกว้างขวางกว่าการปฏิรูปการเมือง เพราะต้องครอบคลุมปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศที่ต้องศึกษา เป็นการสร้างอนาคตร่วมของประเทศในระยะยาว

เวทีการประชุม “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน”

“การ แก้ไขปัญหาของประเทศคือ การมีอนาคตร่วมกัน โดยสร้างความเป็นธรรมและสร้างสุขภาวะในทุกมิติ เป้าการปฏิรูปประเทศต้องมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนการปฏิรูปการเมือง คือการสร้างการเมืองที่มีความหลากหลาย ลดความเป็นสถาบัน สร้างวิถีที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ความปรองดองจะเป็นผลลัพธ์หากเราทำเรื่องปฏิรูปประเทศและปฏิรูปการเมืองได้ เงื่อนไขความสำเร็จต้องสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ถ้าทุกคนเห็นตรงกันจะทำได้ โดยต้องยุติเงื่อนไขของความไม่ไว้ใจ ถ้าเรามีสัญญาประชาคมที่เป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่ายได้เอกภาพจะเกิดขึ้น”

อีก คนหนึ่งที่ให้ความเห็นได้น่าสนใจคือ คนที่เคยศึกษาหาทางออกเรื่องความปรองดองมาก่อน อย่างนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะอดีตเลขานุการคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความ ปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กล่าวว่า คอป.ได้ใช้กลไกสากลในการแก้ไขความขัดแย้ง โดยเข้าไปศึกษาสาเหตุที่เป็นรากเหง้า ไม่ใช่หาแนวทางแก้เฉพาะหน้า จะสร้างความปรองดองอย่างยั่งยืนได้

“จากการศึกษาของ คอป.ในปัญหาระยะสั้นยากมาก เพราะประเทศไทยยังอยู่ในความขัดแย้ง ยังไม่สลายตัวไป แนวคิดที่จะให้การเยียวยาที่เหมาะสม กลไกนิรโทษ อาจจะยังไม่มีความไว้วางใจ คอป.เสนอความเห็นไว้ว่า ความยากของไทย คือการสร้างเวทีที่ได้รับความไว้วางใจจากทุกฝ่าย ไม่ถูกครอบงำจากการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ได้มองว่าคนไม่ได้ร่วมแล้วต้องตกรถไฟ แต่ต้องพูดคุยกันอย่างกัลยาณมิตร”

เวทีการประชุม “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน”

จะ เห็นได้ว่า กุญแจสำคัญที่ทั้งอาจารย์วุฒิสาร และนายกิตติพงษ์พูดไว้ตรงกันคือ “ความไว้วางใจ” ดังนั้น สิ่งที่ฝ่ายรัฐบาลในฐานะผู้ริเริ่มให้มีการปฏิรูปประเทศ จะต้องแสดงออกถึงความจริงใจในการเปิดเวทีเสียก่อน ไม่ใช่ทำแบบปากว่าตาขยิบ เช่น ในขณะที่นายกฯ บอกว่า อยากให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม แต่โฆษกพรรคเพื่อไทยกลับออกมาพูดว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่ม 40 ส.ว.ไม่เข้าร่วมเวทีปฏิรูปการเมืองนั้น เป็นการพูดเป็นแผ่นเสียงตกร่อง สร้างเงื่อนไขต่างๆ นานา เช่น จะต้องถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกไปก่อน และก็ไม่เข้ามาร่วมในที่สุด ดังนั้น ต้องถามว่าใครกันแน่ที่ไม่มีความจริงใจ ตนได้ดูจดหมายที่นายอภิสิทธิ์ทำขึ้นพบว่ามีแต่ความอคติ เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ผู้นำฝ่ายค้านน่าจะเป็นผู้นำฝ่ายแค้นมากกว่า วันนี้ทุกคนอยากออกจากความขัดแย้ง แต่ยังมีเพียงไม่กี่คนไม่กี่กลุ่มที่ไม่อยากออกจากตรงนี้ และเหมือน ว่าอยากจะสร้างความขัดแย้งรอบใหม่ด้วย

ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่ลดราวาศอก โดยล่าสุด โฆษกพรรคออกมาบอกว่า ที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคหารือถึงการปฏิรูปประเทศที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ว่า เป็นการปฏิรูปแบ่งเค้กประเทศไทยของคนในรัฐบาล เพราะจำกัดวงเฉพาะคนที่เห็นด้วยมีผลประโยชน์ร่วมกับรัฐบาล ไม่สามารถเป็นที่หวังของประชาชน โดยพรรคจะนำเสนอแนวทางปฏิรูปประเทศไทยที่เคยมีการศึกษาแล้ว เช่น ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศชุดนายอานันท์ ปันยารชุน นพ.ประเวศ วะสี และพิมพ์เขียวประเทศไทยของพรรค เพื่อนำเสนอควบคู่ไปกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ

จากท่าทีของโฆษก ทั้ง 2 พรรคจะเห็นว่า “ความไว้วางใจ” ยังคงไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการเดินหน้าผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม รวมทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายรัฐบาล ซึ่งพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มการเมืองอื่นๆ ทั้งในและนอกสภายังมีความกังวลว่า การดำเนินการทางการเมืองของฝ่ายรัฐบาล มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ในทุกกระบวนการ

ดัง นั้น การสร้างความไว้วางใจ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทยอย่างแท้จริงนั้น รัฐบาลอาจจะต้องรับฟังข้อเสนอของนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่เสนอให้รัฐบาลถอนหรือชะลอการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมออกไปก่อน

เพราะ ไม่เช่นนั้นแล้ว ความพยายามของฝ่ายรัฐบาลที่ต้องการจะสร้างเวทีให้เกิดปฏิรูปการเมือง ไม่ว่าจะในระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว ก็คงจะถูกมองเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากเป็น “เกมซื้อเวทีเวลา” ของรัฐบาลที่ใช้เวทีปฏิรูปมาลดกระแสต่อต้านจากกลุ่มคนที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่ให้เข้าไปร่วมกับฝ่ายค้านและกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล เพื่อให้สามารถผลักดันสิ่งที่รัฐบาลต้องการผ่านสภาไปให้ได้ก่อน

ซึ่ง เมื่อถึงเวลานั้น “สภาปฏิรูปการเมือง” ที่รัฐบาลพยายามออกมาสร้างภาพให้เห็นว่ามีความตั้งใจในการปฏิรูปประเทศ ก็จะกลายเป็น “ลิเกร้างโรง” ที่ไม่มีแม้แต่คนจะมาเดินผ่าน และแปลงสภาพเป็น ปาหี่ทางการเมืองในที่สุด

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/tech/socialmediathink/366570

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ส.ค.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 30/08/2556 เวลา 03:16:40 ดูภาพสไลด์โชว์ ฟันธงสภาปฏิรูปการเมือง เกมซื้อเวลารัฐบาลยิ่งลักษณ์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เวทีการประชุม “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน” ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับเวทีการประชุม “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน” หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “สภาปฏิรูปการเมือง” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ และมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงทุนนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานด้วยตนเอง สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมก็เป็นไปตามคาด โดยในฝ่ายนักการเมืองและอดีตหัวหน้าพรรคการเมืองประกอบด้วย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอุทัย พิมพ์ใจชน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายโภคิน พลกุล อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนา พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล และนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เวทีการประชุม “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน” ส่วน ฝ่ายนักวิชาการและภาคส่วนอื่นๆ ก็มีอาทิ นายลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นายโคทม อารียา นักวิชาการด้านสันติวิธี นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสื่อมวลชนและสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) โดยไม่มีตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าร่วมแต่อย่างใด ด้าน เนื้อหาในการประชุม จะเห็นได้ว่า คนที่แสดงความเห็นได้เป็นเหตุเป็นผลและไม่ยกยอปอปั้นรัฐบาล ก็จะเป็นนักวิชาการ อาทิ รศ.วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ที่บอกว่า การปฏิรูปประเทศมีความหลากหลายกว้างขวางกว่าการปฏิรูปการเมือง เพราะต้องครอบคลุมปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศที่ต้องศึกษา เป็นการสร้างอนาคตร่วมของประเทศในระยะยาว เวทีการประชุม “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน” “การ แก้ไขปัญหาของประเทศคือ การมีอนาคตร่วมกัน โดยสร้างความเป็นธรรมและสร้างสุขภาวะในทุกมิติ เป้าการปฏิรูปประเทศต้องมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนการปฏิรูปการเมือง คือการสร้างการเมืองที่มีความหลากหลาย ลดความเป็นสถาบัน สร้างวิถีที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ความปรองดองจะเป็นผลลัพธ์หากเราทำเรื่องปฏิรูปประเทศและปฏิรูปการเมืองได้ เงื่อนไขความสำเร็จต้องสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ถ้าทุกคนเห็นตรงกันจะทำได้ โดยต้องยุติเงื่อนไขของความไม่ไว้ใจ ถ้าเรามีสัญญาประชาคมที่เป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่ายได้เอกภาพจะเกิดขึ้น” อีก คนหนึ่งที่ให้ความเห็นได้น่าสนใจคือ คนที่เคยศึกษาหาทางออกเรื่องความปรองดองมาก่อน อย่างนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะอดีตเลขานุการคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความ ปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กล่าวว่า คอป.ได้ใช้กลไกสากลในการแก้ไขความขัดแย้ง โดยเข้าไปศึกษาสาเหตุที่เป็นรากเหง้า ไม่ใช่หาแนวทางแก้เฉพาะหน้า จะสร้างความปรองดองอย่างยั่งยืนได้ “จากการศึกษาของ คอป.ในปัญหาระยะสั้นยากมาก เพราะประเทศไทยยังอยู่ในความขัดแย้ง ยังไม่สลายตัวไป แนวคิดที่จะให้การเยียวยาที่เหมาะสม กลไกนิรโทษ อาจจะยังไม่มีความไว้วางใจ คอป.เสนอความเห็นไว้ว่า ความยากของไทย คือการสร้างเวทีที่ได้รับความไว้วางใจจากทุกฝ่าย ไม่ถูกครอบงำจากการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ได้มองว่าคนไม่ได้ร่วมแล้วต้องตกรถไฟ แต่ต้องพูดคุยกันอย่างกัลยาณมิตร” เวทีการประชุม “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน” จะ เห็นได้ว่า กุญแจสำคัญที่ทั้งอาจารย์วุฒิสาร และนายกิตติพงษ์พูดไว้ตรงกันคือ “ความไว้วางใจ” ดังนั้น สิ่งที่ฝ่ายรัฐบาลในฐานะผู้ริเริ่มให้มีการปฏิรูปประเทศ จะต้องแสดงออกถึงความจริงใจในการเปิดเวทีเสียก่อน ไม่ใช่ทำแบบปากว่าตาขยิบ เช่น ในขณะที่นายกฯ บอกว่า อยากให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม แต่โฆษกพรรคเพื่อไทยกลับออกมาพูดว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่ม 40 ส.ว.ไม่เข้าร่วมเวทีปฏิรูปการเมืองนั้น เป็นการพูดเป็นแผ่นเสียงตกร่อง สร้างเงื่อนไขต่างๆ นานา เช่น จะต้องถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองออกไปก่อน และก็ไม่เข้ามาร่วมในที่สุด ดังนั้น ต้องถามว่าใครกันแน่ที่ไม่มีความจริงใจ ตนได้ดูจดหมายที่นายอภิสิทธิ์ทำขึ้นพบว่ามีแต่ความอคติ เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ผู้นำฝ่ายค้านน่าจะเป็นผู้นำฝ่ายแค้นมากกว่า วันนี้ทุกคนอยากออกจากความขัดแย้ง แต่ยังมีเพียงไม่กี่คนไม่กี่กลุ่มที่ไม่อยากออกจากตรงนี้ และเหมือน ว่าอยากจะสร้างความขัดแย้งรอบใหม่ด้วย ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่ลดราวาศอก โดยล่าสุด โฆษกพรรคออกมาบอกว่า ที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคหารือถึงการปฏิรูปประเทศที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ว่า เป็นการปฏิรูปแบ่งเค้กประเทศไทยของคนในรัฐบาล เพราะจำกัดวงเฉพาะคนที่เห็นด้วยมีผลประโยชน์ร่วมกับรัฐบาล ไม่สามารถเป็นที่หวังของประชาชน โดยพรรคจะนำเสนอแนวทางปฏิรูปประเทศไทยที่เคยมีการศึกษาแล้ว เช่น ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศชุดนายอานันท์ ปันยารชุน นพ.ประเวศ วะสี และพิมพ์เขียวประเทศไทยของพรรค เพื่อนำเสนอควบคู่ไปกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ จากท่าทีของโฆษก ทั้ง 2 พรรคจะเห็นว่า “ความไว้วางใจ” ยังคงไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการเดินหน้าผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม รวมทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายรัฐบาล ซึ่งพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มการเมืองอื่นๆ ทั้งในและนอกสภายังมีความกังวลว่า การดำเนินการทางการเมืองของฝ่ายรัฐบาล มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ในทุกกระบวนการ ดัง นั้น การสร้างความไว้วางใจ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทยอย่างแท้จริงนั้น รัฐบาลอาจจะต้องรับฟังข้อเสนอของนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่เสนอให้รัฐบาลถอนหรือชะลอการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมออกไปก่อน เพราะ ไม่เช่นนั้นแล้ว ความพยายามของฝ่ายรัฐบาลที่ต้องการจะสร้างเวทีให้เกิดปฏิรูปการเมือง ไม่ว่าจะในระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว ก็คงจะถูกมองเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากเป็น “เกมซื้อเวทีเวลา” ของรัฐบาลที่ใช้เวทีปฏิรูปมาลดกระแสต่อต้านจากกลุ่มคนที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่ให้เข้าไปร่วมกับฝ่ายค้านและกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล เพื่อให้สามารถผลักดันสิ่งที่รัฐบาลต้องการผ่านสภาไปให้ได้ก่อน ซึ่ง เมื่อถึงเวลานั้น “สภาปฏิรูปการเมือง” ที่รัฐบาลพยายามออกมาสร้างภาพให้เห็นว่ามีความตั้งใจในการปฏิรูปประเทศ ก็จะกลายเป็น “ลิเกร้างโรง” ที่ไม่มีแม้แต่คนจะมาเดินผ่าน และแปลงสภาพเป็น ปาหี่ทางการเมืองในที่สุด ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/tech/socialmediathink/366570 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง