คุยการเมืองกับดินสอโดม ตอน ยังไม่มีทางออก

แสดงความคิดเห็น

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี กับแค่คุณยิ่งลักษณ์ เชิญใครต่อใครมาให้ความเห็นที่ทำเนียบ เพียงไม่กี่ชั่วโมง นายกฯก็ได้ข้อสรุปที่ทางออกของประเทศอย่างอัศจรรย์ใจ

กับแค่คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เชิญใครต่อใครมาให้ความเห็นที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เพียงไม่กี่ชั่วโมง นายกรัฐมนตรีหญิงก็ได้ข้อสรุปที่ทางออกของประเทศอย่างอัศจรรย์ใจ

ทางออกที่ว่านั้นมีด้วยกัน 7 ประการประกอบด้วย

1. การทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข มีความมั่นคงแข็งแรง

2. ต้องมีความเท่าเทียม เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตามสิทธิที่แต่ละกลุ่มควรได้รับ

3. มีกลไกการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี

4. สร้างกระบวนการให้เกิดความยุติธรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมในสิทธิขั้นพื้นฐานที่แต่กลุ่มในสังคมควรได้รับ ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม

5. มีประชาธิปไตยที่ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ยึดเสียงส่วนใหญ่ รับฟังเสียงส่วนน้อย

6. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และบรรยากาศที่ดีของการไว้วางใจกัน

7. ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมบนความถูกต้อง

แต่ว่าทั้ง 7 ข้อนี้ คุณยิ่งลักษณ์จะเข้าใจได้สักครึ่งหรือไม่ จึงขอกะเทาะเปลือกออกมาให้เห็นเป็นข้อ ๆ ดังนี้

ข้อ 1. การทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความมั่นคงแข็งแรง

ฟังดูเป็นคำพูดสวยหรู แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นอย่างที่พูด

ทุกวันนี้ยังพบเห็นภาพและเสียงที่มีถ้อยความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในยูทูป การปล่อยให้เรื่องอย่างนี้อยู่นานกว่า 2 ปี

แตกต่างจากกรณี บก.ข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส วิเคราะห์เรื่องปฏิวัติ ซึ่งเป็นถ้อยคำที่รัฐบาลไม่อยากฟัง วันรุ่งขึ้นบรรดาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็แสดงความแข็งขัน จะเอาเป็นเอาตาย จนกระทั่งทานเสียงวิจารณ์ของประชาชนไม่ไหว ท้ายสุดจึงเงียบ ๆ ไปเอง

ถ้าหน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหา ทั้งภาพและเสียงคงหายไปจากยูทูปนานแล้ว

ข้อ 2. ต้องมีความเท่าเทียมกัน เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตามสิทธิที่แต่ละกลุ่มควรได้รับ

นี่ก็เช่นเดียวกัน หากรัฐบาลต้องการสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ในฐานะเป็นพรรคที่กุมเสียงข้างมากในสภา ทำไมไม่แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 131 ที่ให้เอกสิทธิกับ ส.ส.และ ส.ว. ทำผิดกฎหมาย ฆ่าคนตาย ปลุกม็อบเผาเมือง ไม่ต้องถูกดำเนินคดีในสมัยประชุม

เมื่อก่อนต้องกำหนดให้มีเอกสิทธิเพราะฝ่ายรัฐบาลชอบเอาตำรวจจับฝ่ายค้าน ที่จะเข้าไปโหวตลงคะแนน แต่เดี๋ยวนี้คนอนุมัติหมายจับคือ ศาล ที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ยังไม่เคยเห็นนายกรัฐมนตรีเอ่ยปากอยากจะแก้มาตรานี้ ฉะนั้นอย่ามาพูดเรื่องความเสมอภาค เพราะ ส.ส.และ ส.ว.มีสิทธิทางกฎหมายเหนือกว่าประชาชน

ข้อ 3. มีกลไกการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี

ฟังแล้วรู้สึกขำ นายกรัฐมนตรีเอาอะไรมาพูด ความโปร่งใสในรัฐบาลมีอยู่จริงหรือ กับแค่จำนวนข้าวที่รับจำนำกับปริมาณที่ขายออกไป ขายให้ใคร ขาดทุนกี่บาท ล้วนกระทบเงินภาษีของประชาชนแท้ ๆ ทุกวันนี้ยังปกปิด อ้างเป็นความลับ ผิดกับรัฐบาลทุกชุดในอดีต เปิดเผยข้อมูลโดยตลอด ไม่เห็นจะลับตรงไหน

สงสัยอยู่เหมือนกัน ถ้าโครงการรับจำนำข้าวไม่ถูกกล่าวหาเรื่องทุจริต รัฐบาลจะปกปิดข้อมูลหรือไม่

ข้อ 4. สร้างกระบวนการให้เกิดความยุติธรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมในสิทธิขั้นพื้นฐานที่แต่กลุ่มในสังคมควรได้รับ ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม

สำหรับข้อนี้น่าจะเข้าข่ายพวก "ไก่ 3 อย่าง" คือ คิดอย่าง พูดอย่าง และทำอีกอย่าง

ศาลฎีกาตัดสินให้คุณทักษิณ ชินวัตร ติดคุก 2 ปี ฐานกระทำผิดกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 100 ถามว่า คนในรัฐบาลรวมถึงคุณยิ่งลักษณ์ให้ความเคารพศาลแค่ไหน

ตามปกติคนถูกศาลตัดสินว่ามีความผิด ทุกคนในสังคมจะต้องน้อมรับคำตัดสิน โดยไม่ไปยกย่องเทิดทูน ช่วยเหลือ หรือไปขอตำแหน่ง เพราะการกระทำผิดดังกล่าวอยู่ในกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เมื่อยังยกย่องคนกระทำผิดที่หนีโทษ ก็อย่ามาพูดเรื่องหลักนิติรัฐที่บริหารบ้านเมืองด้วยกฎหมาย

เดี๋ยวนี้เอะอะก็ใช้เสียงข้างมาก ต่อไปไม่ต้องส่งผู้ร้ายขึ้นศาลเพื่อพิสูจน์ถูกผิดตามหลักฐานและข้อกฎหมาย ใช้เสียงข้างมากโหวตเอาก็พอ

ข้อ 5. มีประชาธิปไตยที่ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ยึดเสียงส่วนใหญ่ รับฟังเสียงส่วนน้อย

ฟังแล้วเกิดอาการคลื่นเหียน เพราะเพิ่งใช้เสียงข้างมากลากถูกกฎหมายนิรโทษกรรม ญาติผู้เสียชีวิตคัดค้าน ก็ไม่ฟัง หรือการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อครอบงำ ส.ว.โดยอ้างเรื่องการเลือกตั้ง หรือใช้เสียงข้างมากตัดสิน โดยไม่คำนึงถึงการถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสุขสงบ

ข้อ 6. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และบรรยากาศที่ดีของการไว้วางใจกัน

แทบไม่ต้องอธิบายก็เห็นกันอยู่ การเอาชนะและผูกขาดอำนาจ ไม่มีทางที่จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี และเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ

ข้อ 7. ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมบนความถูกต้อง

ถือว่าเป็นวลีสากล ที่นักการเมืองจะปั้นคำพูดให้ดูสวยหรู เพราะผลประโยชน์ส่วนรวมในความหมายของนักการเมืองกับของประชาชนแตกต่างกันราว ฟ้ากับเหว

มีนักการเมืองคนไหนเล่นการเมืองแล้วจนลง

คำตอบก็คือไม่มี

บางคนเป็นมือรับจ้างประท้วงตอนเป็นนักศึกษา ฐานะยากจน แต่พอเล่นการเมืองไม่เท่าไหร่ ร่ำรวยแบบไม่มีที่มา

ยกตัวอย่างสาเหตุที่น้ำท่วมใหญ่ก็เพราะไม่ได้ประชุมคณะกรรมการน้ำแห่ง ชาติ จึงไม่รู้ข้อมูล และบริหารผิดพลาด แทนที่ก้มหน้ารับผิดกับประชาชน แต่กลับขอกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท อ้างว่าเพื่อป้องกันน้ำท่วม

ถ้าไม่บริหารผิดพลาดน้ำก็ไม่ท่วมอยู่แล้ว การกู้เงินมาเอาหนี้สุมหัวประชาชน ก็เพื่อให้มีงานรับเหมาใช่ไหม

ถ้าใช่ ก็ต้องถามต่อไปว่า นี่คือการยึดผลประโยชน์ส่วนรวมแบบไหน เกิดมาไม่เคยเห็น

การหาทางออกให้กับประเทศไม่ใช่การแก้ระบบ เพราะระบบแก้มา 81 ปี แต่ไม่เคยแก้ไขคนที่ใช้อำนาจในระบบ นั่นคือ การดัดนิสัยนักการเมือง

นับวันนักการเมืองยิ่งทำตัวให้เป็นที่เอือมระอาของประชาชน

เมื่อประชาชนไม่พูดก็ทึกทักว่า ประชาชนเขาเห็นด้วย

ไม่ต้องเชิญใครมาประชุมให้เปลืองค่าโอเลี้ยงหรอก รอถึงวันที่ประชาชนเขาทนไม่ไหวและลุกฮือขึ้นมา วันนั้นก็จะเห็นทางออกของประเทศทันที.

ดินสอโดม

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/825/228891 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ส.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 28/08/2556 เวลา 03:34:09 ดูภาพสไลด์โชว์ คุยการเมืองกับดินสอโดม ตอน ยังไม่มีทางออก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี กับแค่คุณยิ่งลักษณ์ เชิญใครต่อใครมาให้ความเห็นที่ทำเนียบ เพียงไม่กี่ชั่วโมง นายกฯก็ได้ข้อสรุปที่ทางออกของประเทศอย่างอัศจรรย์ใจ กับแค่คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เชิญใครต่อใครมาให้ความเห็นที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เพียงไม่กี่ชั่วโมง นายกรัฐมนตรีหญิงก็ได้ข้อสรุปที่ทางออกของประเทศอย่างอัศจรรย์ใจ ทางออกที่ว่านั้นมีด้วยกัน 7 ประการประกอบด้วย 1. การทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข มีความมั่นคงแข็งแรง 2. ต้องมีความเท่าเทียม เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตามสิทธิที่แต่ละกลุ่มควรได้รับ 3. มีกลไกการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี 4. สร้างกระบวนการให้เกิดความยุติธรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมในสิทธิขั้นพื้นฐานที่แต่กลุ่มในสังคมควรได้รับ ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม 5. มีประชาธิปไตยที่ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ยึดเสียงส่วนใหญ่ รับฟังเสียงส่วนน้อย 6. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และบรรยากาศที่ดีของการไว้วางใจกัน 7. ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมบนความถูกต้อง แต่ว่าทั้ง 7 ข้อนี้ คุณยิ่งลักษณ์จะเข้าใจได้สักครึ่งหรือไม่ จึงขอกะเทาะเปลือกออกมาให้เห็นเป็นข้อ ๆ ดังนี้ ข้อ 1. การทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความมั่นคงแข็งแรง ฟังดูเป็นคำพูดสวยหรู แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นอย่างที่พูด ทุกวันนี้ยังพบเห็นภาพและเสียงที่มีถ้อยความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในยูทูป การปล่อยให้เรื่องอย่างนี้อยู่นานกว่า 2 ปี แตกต่างจากกรณี บก.ข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส วิเคราะห์เรื่องปฏิวัติ ซึ่งเป็นถ้อยคำที่รัฐบาลไม่อยากฟัง วันรุ่งขึ้นบรรดาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็แสดงความแข็งขัน จะเอาเป็นเอาตาย จนกระทั่งทานเสียงวิจารณ์ของประชาชนไม่ไหว ท้ายสุดจึงเงียบ ๆ ไปเอง ถ้าหน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหา ทั้งภาพและเสียงคงหายไปจากยูทูปนานแล้ว ข้อ 2. ต้องมีความเท่าเทียมกัน เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตามสิทธิที่แต่ละกลุ่มควรได้รับ นี่ก็เช่นเดียวกัน หากรัฐบาลต้องการสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ในฐานะเป็นพรรคที่กุมเสียงข้างมากในสภา ทำไมไม่แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 131 ที่ให้เอกสิทธิกับ ส.ส.และ ส.ว. ทำผิดกฎหมาย ฆ่าคนตาย ปลุกม็อบเผาเมือง ไม่ต้องถูกดำเนินคดีในสมัยประชุม เมื่อก่อนต้องกำหนดให้มีเอกสิทธิเพราะฝ่ายรัฐบาลชอบเอาตำรวจจับฝ่ายค้าน ที่จะเข้าไปโหวตลงคะแนน แต่เดี๋ยวนี้คนอนุมัติหมายจับคือ ศาล ที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ยังไม่เคยเห็นนายกรัฐมนตรีเอ่ยปากอยากจะแก้มาตรานี้ ฉะนั้นอย่ามาพูดเรื่องความเสมอภาค เพราะ ส.ส.และ ส.ว.มีสิทธิทางกฎหมายเหนือกว่าประชาชน ข้อ 3. มีกลไกการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี ฟังแล้วรู้สึกขำ นายกรัฐมนตรีเอาอะไรมาพูด ความโปร่งใสในรัฐบาลมีอยู่จริงหรือ กับแค่จำนวนข้าวที่รับจำนำกับปริมาณที่ขายออกไป ขายให้ใคร ขาดทุนกี่บาท ล้วนกระทบเงินภาษีของประชาชนแท้ ๆ ทุกวันนี้ยังปกปิด อ้างเป็นความลับ ผิดกับรัฐบาลทุกชุดในอดีต เปิดเผยข้อมูลโดยตลอด ไม่เห็นจะลับตรงไหน สงสัยอยู่เหมือนกัน ถ้าโครงการรับจำนำข้าวไม่ถูกกล่าวหาเรื่องทุจริต รัฐบาลจะปกปิดข้อมูลหรือไม่ ข้อ 4. สร้างกระบวนการให้เกิดความยุติธรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมในสิทธิขั้นพื้นฐานที่แต่กลุ่มในสังคมควรได้รับ ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม สำหรับข้อนี้น่าจะเข้าข่ายพวก "ไก่ 3 อย่าง" คือ คิดอย่าง พูดอย่าง และทำอีกอย่าง ศาลฎีกาตัดสินให้คุณทักษิณ ชินวัตร ติดคุก 2 ปี ฐานกระทำผิดกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 100 ถามว่า คนในรัฐบาลรวมถึงคุณยิ่งลักษณ์ให้ความเคารพศาลแค่ไหน ตามปกติคนถูกศาลตัดสินว่ามีความผิด ทุกคนในสังคมจะต้องน้อมรับคำตัดสิน โดยไม่ไปยกย่องเทิดทูน ช่วยเหลือ หรือไปขอตำแหน่ง เพราะการกระทำผิดดังกล่าวอยู่ในกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต เมื่อยังยกย่องคนกระทำผิดที่หนีโทษ ก็อย่ามาพูดเรื่องหลักนิติรัฐที่บริหารบ้านเมืองด้วยกฎหมาย เดี๋ยวนี้เอะอะก็ใช้เสียงข้างมาก ต่อไปไม่ต้องส่งผู้ร้ายขึ้นศาลเพื่อพิสูจน์ถูกผิดตามหลักฐานและข้อกฎหมาย ใช้เสียงข้างมากโหวตเอาก็พอ ข้อ 5. มีประชาธิปไตยที่ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ยึดเสียงส่วนใหญ่ รับฟังเสียงส่วนน้อย ฟังแล้วเกิดอาการคลื่นเหียน เพราะเพิ่งใช้เสียงข้างมากลากถูกกฎหมายนิรโทษกรรม ญาติผู้เสียชีวิตคัดค้าน ก็ไม่ฟัง หรือการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อครอบงำ ส.ว.โดยอ้างเรื่องการเลือกตั้ง หรือใช้เสียงข้างมากตัดสิน โดยไม่คำนึงถึงการถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสุขสงบ ข้อ 6. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และบรรยากาศที่ดีของการไว้วางใจกัน แทบไม่ต้องอธิบายก็เห็นกันอยู่ การเอาชนะและผูกขาดอำนาจ ไม่มีทางที่จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี และเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ข้อ 7. ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมบนความถูกต้อง ถือว่าเป็นวลีสากล ที่นักการเมืองจะปั้นคำพูดให้ดูสวยหรู เพราะผลประโยชน์ส่วนรวมในความหมายของนักการเมืองกับของประชาชนแตกต่างกันราว ฟ้ากับเหว มีนักการเมืองคนไหนเล่นการเมืองแล้วจนลง คำตอบก็คือไม่มี บางคนเป็นมือรับจ้างประท้วงตอนเป็นนักศึกษา ฐานะยากจน แต่พอเล่นการเมืองไม่เท่าไหร่ ร่ำรวยแบบไม่มีที่มา ยกตัวอย่างสาเหตุที่น้ำท่วมใหญ่ก็เพราะไม่ได้ประชุมคณะกรรมการน้ำแห่ง ชาติ จึงไม่รู้ข้อมูล และบริหารผิดพลาด แทนที่ก้มหน้ารับผิดกับประชาชน แต่กลับขอกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท อ้างว่าเพื่อป้องกันน้ำท่วม ถ้าไม่บริหารผิดพลาดน้ำก็ไม่ท่วมอยู่แล้ว การกู้เงินมาเอาหนี้สุมหัวประชาชน ก็เพื่อให้มีงานรับเหมาใช่ไหม ถ้าใช่ ก็ต้องถามต่อไปว่า นี่คือการยึดผลประโยชน์ส่วนรวมแบบไหน เกิดมาไม่เคยเห็น การหาทางออกให้กับประเทศไม่ใช่การแก้ระบบ เพราะระบบแก้มา 81 ปี แต่ไม่เคยแก้ไขคนที่ใช้อำนาจในระบบ นั่นคือ การดัดนิสัยนักการเมือง นับวันนักการเมืองยิ่งทำตัวให้เป็นที่เอือมระอาของประชาชน เมื่อประชาชนไม่พูดก็ทึกทักว่า ประชาชนเขาเห็นด้วย ไม่ต้องเชิญใครมาประชุมให้เปลืองค่าโอเลี้ยงหรอก รอถึงวันที่ประชาชนเขาทนไม่ไหวและลุกฮือขึ้นมา วันนั้นก็จะเห็นทางออกของประเทศทันที. ดินสอโดม ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/825/228891 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง