อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์: ดุลยภาพทางการเมืองในสายตาชนชั้นนำไทย

แสดงความคิดเห็น

เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 56 ซึ่งเป็นวันแรกของการประชุมวิชาการนานาชาติ: ไทยศึกษาในสายลมตะวันออก (International Conference: Thai Studies through the East Wind) ซึ่งจัดที่โรงแรมฟูรามา จ.เชียงใหม่ ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอหัวข้อ "ดุลยภาพทางการเมืองในสายตาชนชั้นนำไทย"

อรรถจักร์ นำเสนอว่า สิ่งที่้ต้องคิดต่อจากการนำเสนอของอาจารย์ทามาดะและนักวิชาการคนอื่น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ก็คือ มีกระบวนการที่เรียกว่า "ปฏิเสธประชาธิปไตยเพื่อปฏิเสธทักษิณ หรือปฏิเสธทักษิณเพื่อปฏิเสธประชาธิปไตย" ด้วย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้น รวมถึงความขัดแย้งทางการเมืองช่วงทศวรรษ 2540 ถึงปัจจุบันว่าเราจะเข้าใจเรื่องนี้ว่าอย่างไร

เราอาจจะต้องเริ่มคิดกันที่" อำนาจ" ให้ชัดเจน ทุกสังคมเกิดขึ้นมาได้จากความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และที่สำคัญอำนาจนั้นไม่ได้มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน อำนาจในความหมายกว้าง อันหมายถึงศักยภาพในการทำให้คนอื่นกระทำไปตามที่ตนเองต้องการนั้นมีที่มา หลากหลาย เวลาคนไทยคิดถึงอำนาจ เรามักจะคิดว่ามันเป็นก้อนเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วผมคิดว่าอย่างน้อยที่สุดก็มาจากสามด้านด้วยกัน ได้แก่ อำนาจทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจ และทางด้านวัฒนธรรม

อำนาจทั้งหมดสามด้านจะปฏิสัมพันธ์กันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งอำนาจทั้งสามด้านนี้ รูปแบบสังคมจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ของอำนาจสามด้านนี้ สิ่งสำคัญคือทำไมชนชั้นสูงและชนชั้นกลางคิดแบบที่อาจารย์ทามาดะเสนอ ผมจึงเสนอว่าจะต้องมาดูว่าอำนาจทั้งสามด้านมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร

ในการนำเสนอของอรรถจักร์ ตอนหนึ่งกล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของอำนาจทั้งสามด้านคือ หลัง 2516 ที่อำนาจของรัฐบาลเผด็จการหลุดไปอำนาจทั้งหลายอยู่ในสภาพ "หัวเปียงกัน" (เท่าเทียมกัน) อำนาจทั้งหมดจึงวิ่งเข้าหาสถาบันกษัตริย์ จึงยิ่งทำให้สถาบันกษัตริย์ ดำรงสถานะเป็นอำนาจทาง Social Power

ต่อมาความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังปี 2540 ทำให้ดุลย์ทางอำนาจทั้งสามสั่นคลอน กลุ่มทุนที่ควบคุมเศรษฐกิจไทยได้แก่ทุนการเงินนั้นพัง การพังทลายของกลุ่มทุนการเงินได้เปิดโอกาสให้แก่กลุ่มทุนอื่นๆ เพิ่มบทบาทของตนเองมากขึ้นด้วย ทักษิณ ชินวัตร ก็โผล่ขึ้นมาและเริ่มทำให้ระบบราชการที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอิสระ สูญเสียความมั่นคง เพราะว่าทักษิณเข้าไปโยกย้ายทหารโดยผิดขนบเดิม ขนบคืออะไร ขนบเดิมคือต้องเข้าไปหา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

ทันทีที่ทักษิณไม่ทำตามขนบชนชั้นนำ ปัญหาเกิด ทักษิณทำให้ดุลอำนาจสั่นคลอน คนที่จะรักษาดุลยภาพเริ่มสั่นคลอน ดังนั้นมันจึงเป็นแรงผลักให้ชนชั้นกลางและชนชั้นนำกลุ่มหนึ่ง

และอารมณ์ความรู้สึกของการสูญเสียสมดุลทางการเมืองนั้นได้ทวีสูงขึ้นภาย หลังจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพราะกลุ่มนี้ได้เน้นให้ประชาชนรู้สึกว่าการมีอำนาจเด็ดขาดของทักษิณชิน วัตรกระทบกระเทือนพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งอำนาจในการรักษา" ดุลยภาพ" ของสังคม โดยมีการชูประเด็นว่า "สู้เพื่อในหลวง" สู้เพื่อรักษาดุลยอำนาจนี้

อย่างไรก็ตามดุลยภาพเป็นเพียงจังหวะหนึ่งของประวัติศาสตร์และในความเป็น จริงนั้นดุลยภาพอาจไม่มีจริง ดุลยภาพจริงๆ นั้นไม่มีจริง เพราะในสังคมเปลี่ยนตลอด ถ้าหากเรายังยึดว่าดุลยภาพเป็น "อกาลิโก" เกิดความขัดแย้งแน่

ดังนั้น จะทำอย่างไรที่จะทำให้ชนชั้นนำไทยมองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเวลา นี้และมองหาทางเดิน เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่ต้องเปลี่ยนอย่างชัดเจน ถ้าหากไม่เปลี่ยนปัญหามันก็จะยิ่งยุ่งมากขึ้น

สุดท้าย อรรถจักร์ กล่าวถึงการที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแถลงยุติบทบาท การดำรงอยู่ของพันธมิตประชาชนเพื่อประชาชาธิปไตยอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการ เคลื่อนไหวของกลุ่มอื่นๆ จึงยุติบทบาทไป ปล่อยให้กลุ่มอื่นทำ สิ่งที่เกิดขึ้นคือตัวแทนที่เคลื่อนไหวในนามดุลยภาพก็รู้ตัวเองว่าหมดน้ำยา แต่ว่าสิ่งสำคัญคือเราอ่านจดหมาย อ่านแถลงการณ์ฉบับนี้ ดูว่าคนกลุ่มนี้อ่านสถานการณ์ทางสังคมอย่างไร

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ การรับรู้สมดุลของอำนาจเปลี่ยนไปแล้ว การเคลื่อนไหวของพันธมิตรก็รู้ตัวอยู่ว่าการดิ้นรน หรือสู้บนเรื่องการรักษาดุลยภาพแบบเดิมเป็นไปไม่ได้ ผมคิดว่าการรับรู้ดุลยภาพแบบใหม่กำลังเกิดขึ้นการเมืองประชาธิปไตยที่ต้องมี การเลือกตั้ง ผมเชื่อว่าจะเดินหน้า ผมเชื่อว่ารัฐประหารไม่น่าจะเกิดขึ้น การสร้างดุลยภาพแบบใหม่กำลังจะเกิดขึ้น พรรคการเมืองกำลังจะกลายเป็นฐานที่สำคัญ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ปรับตัวไม่ได้ ก็เชื่อว่าจะมีพรรคอื่นขึ้นมาแทน หรืออย่างน้อยที่สุดเชื่อว่าจะมีการต่อรองในระดับล่าง ความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มจัดตั้งทางสังคมจะมีส่วนกดดันพรรคการเมืองมากขึ้น

ผมคิดว่าเป็นจังวะของสังคมไทยที่จะต้องเปลี่ยน ผมมองโลกในแง่ดีว่า เราจะก้าวไปสู่อนาคตที่จะดีมากขึ้น กระแสของการที่จะผลักดันคนมาสู่การรักษาดุลภาพแบบเดิมคงจะหมดพลังลงไป

ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/08/48403 (ขนาดไฟล์: 167)

ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 27/08/2556 เวลา 04:32:06

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 56 ซึ่งเป็นวันแรกของการประชุมวิชาการนานาชาติ: ไทยศึกษาในสายลมตะวันออก (International Conference: Thai Studies through the East Wind) ซึ่งจัดที่โรงแรมฟูรามา จ.เชียงใหม่ ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอหัวข้อ "ดุลยภาพทางการเมืองในสายตาชนชั้นนำไทย" อรรถจักร์ นำเสนอว่า สิ่งที่้ต้องคิดต่อจากการนำเสนอของอาจารย์ทามาดะและนักวิชาการคนอื่น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ก็คือ มีกระบวนการที่เรียกว่า "ปฏิเสธประชาธิปไตยเพื่อปฏิเสธทักษิณ หรือปฏิเสธทักษิณเพื่อปฏิเสธประชาธิปไตย" ด้วย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้น รวมถึงความขัดแย้งทางการเมืองช่วงทศวรรษ 2540 ถึงปัจจุบันว่าเราจะเข้าใจเรื่องนี้ว่าอย่างไร เราอาจจะต้องเริ่มคิดกันที่" อำนาจ" ให้ชัดเจน ทุกสังคมเกิดขึ้นมาได้จากความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และที่สำคัญอำนาจนั้นไม่ได้มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน อำนาจในความหมายกว้าง อันหมายถึงศักยภาพในการทำให้คนอื่นกระทำไปตามที่ตนเองต้องการนั้นมีที่มา หลากหลาย เวลาคนไทยคิดถึงอำนาจ เรามักจะคิดว่ามันเป็นก้อนเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วผมคิดว่าอย่างน้อยที่สุดก็มาจากสามด้านด้วยกัน ได้แก่ อำนาจทางด้านการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจ และทางด้านวัฒนธรรม อำนาจทั้งหมดสามด้านจะปฏิสัมพันธ์กันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งอำนาจทั้งสามด้านนี้ รูปแบบสังคมจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ของอำนาจสามด้านนี้ สิ่งสำคัญคือทำไมชนชั้นสูงและชนชั้นกลางคิดแบบที่อาจารย์ทามาดะเสนอ ผมจึงเสนอว่าจะต้องมาดูว่าอำนาจทั้งสามด้านมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร ในการนำเสนอของอรรถจักร์ ตอนหนึ่งกล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของอำนาจทั้งสามด้านคือ หลัง 2516 ที่อำนาจของรัฐบาลเผด็จการหลุดไปอำนาจทั้งหลายอยู่ในสภาพ "หัวเปียงกัน" (เท่าเทียมกัน) อำนาจทั้งหมดจึงวิ่งเข้าหาสถาบันกษัตริย์ จึงยิ่งทำให้สถาบันกษัตริย์ ดำรงสถานะเป็นอำนาจทาง Social Power ต่อมาความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังปี 2540 ทำให้ดุลย์ทางอำนาจทั้งสามสั่นคลอน กลุ่มทุนที่ควบคุมเศรษฐกิจไทยได้แก่ทุนการเงินนั้นพัง การพังทลายของกลุ่มทุนการเงินได้เปิดโอกาสให้แก่กลุ่มทุนอื่นๆ เพิ่มบทบาทของตนเองมากขึ้นด้วย ทักษิณ ชินวัตร ก็โผล่ขึ้นมาและเริ่มทำให้ระบบราชการที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอิสระ สูญเสียความมั่นคง เพราะว่าทักษิณเข้าไปโยกย้ายทหารโดยผิดขนบเดิม ขนบคืออะไร ขนบเดิมคือต้องเข้าไปหา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ทันทีที่ทักษิณไม่ทำตามขนบชนชั้นนำ ปัญหาเกิด ทักษิณทำให้ดุลอำนาจสั่นคลอน คนที่จะรักษาดุลยภาพเริ่มสั่นคลอน ดังนั้นมันจึงเป็นแรงผลักให้ชนชั้นกลางและชนชั้นนำกลุ่มหนึ่ง และอารมณ์ความรู้สึกของการสูญเสียสมดุลทางการเมืองนั้นได้ทวีสูงขึ้นภาย หลังจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพราะกลุ่มนี้ได้เน้นให้ประชาชนรู้สึกว่าการมีอำนาจเด็ดขาดของทักษิณชิน วัตรกระทบกระเทือนพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งอำนาจในการรักษา" ดุลยภาพ" ของสังคม โดยมีการชูประเด็นว่า "สู้เพื่อในหลวง" สู้เพื่อรักษาดุลยอำนาจนี้ อย่างไรก็ตามดุลยภาพเป็นเพียงจังหวะหนึ่งของประวัติศาสตร์และในความเป็น จริงนั้นดุลยภาพอาจไม่มีจริง ดุลยภาพจริงๆ นั้นไม่มีจริง เพราะในสังคมเปลี่ยนตลอด ถ้าหากเรายังยึดว่าดุลยภาพเป็น "อกาลิโก" เกิดความขัดแย้งแน่ ดังนั้น จะทำอย่างไรที่จะทำให้ชนชั้นนำไทยมองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเวลา นี้และมองหาทางเดิน เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่ต้องเปลี่ยนอย่างชัดเจน ถ้าหากไม่เปลี่ยนปัญหามันก็จะยิ่งยุ่งมากขึ้น สุดท้าย อรรถจักร์ กล่าวถึงการที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแถลงยุติบทบาท การดำรงอยู่ของพันธมิตประชาชนเพื่อประชาชาธิปไตยอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการ เคลื่อนไหวของกลุ่มอื่นๆ จึงยุติบทบาทไป ปล่อยให้กลุ่มอื่นทำ สิ่งที่เกิดขึ้นคือตัวแทนที่เคลื่อนไหวในนามดุลยภาพก็รู้ตัวเองว่าหมดน้ำยา แต่ว่าสิ่งสำคัญคือเราอ่านจดหมาย อ่านแถลงการณ์ฉบับนี้ ดูว่าคนกลุ่มนี้อ่านสถานการณ์ทางสังคมอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ การรับรู้สมดุลของอำนาจเปลี่ยนไปแล้ว การเคลื่อนไหวของพันธมิตรก็รู้ตัวอยู่ว่าการดิ้นรน หรือสู้บนเรื่องการรักษาดุลยภาพแบบเดิมเป็นไปไม่ได้ ผมคิดว่าการรับรู้ดุลยภาพแบบใหม่กำลังเกิดขึ้นการเมืองประชาธิปไตยที่ต้องมี การเลือกตั้ง ผมเชื่อว่าจะเดินหน้า ผมเชื่อว่ารัฐประหารไม่น่าจะเกิดขึ้น การสร้างดุลยภาพแบบใหม่กำลังจะเกิดขึ้น พรรคการเมืองกำลังจะกลายเป็นฐานที่สำคัญ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ปรับตัวไม่ได้ ก็เชื่อว่าจะมีพรรคอื่นขึ้นมาแทน หรืออย่างน้อยที่สุดเชื่อว่าจะมีการต่อรองในระดับล่าง ความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มจัดตั้งทางสังคมจะมีส่วนกดดันพรรคการเมืองมากขึ้น ผมคิดว่าเป็นจังวะของสังคมไทยที่จะต้องเปลี่ยน ผมมองโลกในแง่ดีว่า เราจะก้าวไปสู่อนาคตที่จะดีมากขึ้น กระแสของการที่จะผลักดันคนมาสู่การรักษาดุลภาพแบบเดิมคงจะหมดพลังลงไป ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/08/48403 ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง