การบ้านข้อใหญ่เวที ‘ปฏิรูปการเมือง’ หยุด ‘เงื่อนไข’ ก่อนเกิดการเผชิญหน้า

แสดงความคิดเห็น

รัฐสภา

ที่เรากำลังทำในขณะนี้อย่างที่พูดไว้ตั้งแต่วันแรกคือแม้มีความหวังเพียงแค่ 1% ดิฉันก็จำเป็นที่จะต้องเริ่มดีกว่าที่จะปล่อยให้เวลาสูญเสียไป เราปล่อยเวลาเสียมาแล้วถึง 2 ปี จากนี้ไปเราจะทำอย่างดีที่สุด และเชื่อว่าจะไม่เป็นการเสียเวลา เพราะทุกความคิดเห็นมีค่า อะไรที่สามารถนำไปใช้ได้สามารถสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ดิฉันถือว่าเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น”

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา ถึง “ความคาดหวัง” ที่จะได้รับจากเวทีปฏิรูปการเมืองที่จะเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในวันที่ 25 สิงหาคมนี้ที่ทำเนียบรัฐบาล

การปฏิรูปการเมืองครั้งนี้แม้จะมีความหลากหลายจากผู้ที่ตอบรับเข้าร่วมแต่กลับถูกปฏิเสธจากกลุ่มการเมืองที่อยู่ “ตรงข้าม” กับพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่ม 40 ส.ว.

น่าสนใจว่าหลังเวทีปฏิรูปครั้งแรกจบลง จะมี “รูปธรรม” อะไรออกมาเพื่อที่จะหยุดวิกฤติการเผชิญหน้าทางการเมืองรอบใหม่ที่กำลังเริ่ม “ก่อตัว” ขึ้นอย่างช้า ๆ

ภาพการเผชิญหน้ากันท่ามกลางสายตาของประชาชนในการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของวุฒิสภา ได้สร้างความตกใจให้เกิดในสังคมไทยอีกครั้ง สะท้อนให้เห็นสัญญาณประการหนึ่งได้เป็นอย่างดีว่า หากผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายไม่รีบหาทางออกร่วมกัน การเผชิญหน้ากันระหว่าง “คนไทย” กับ “คนไทย” เกิดขึ้นแน่ในเร็ว ๆ วันนี้

ถึงวันนี้แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของวุฒิสภาจะคืบคลานไปอย่างช้า ๆ แต่ที่สุดแล้ว “เสียงข้างมาก” จะยกมือให้ผ่านผลักดันออกมาเป็นกฎหมายในที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าการต่อต้านจะจบอยู่แค่นั้น เพราะฝ่ายต่อต้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ประกาศไว้แล้วว่า จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพราะมองว่าการแก้ไขครั้งนี้ขัดรัฐธรรมนูญอยู่ในหลายประเด็น

ใช่แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของวุฒิสภาเท่านั้น ทั้งการผลักดันร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่ถูกเปรียบเปรยว่าเป็นการรัฐประหารทางเศรษฐกิจและถูกตั้งข้อสังเกตว่าหมิ่นเหม่จะขัดรัฐธรรมนูญ และการผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะถูกส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่ากระบวนการออกกฎหมายชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่

พรรคประชาธิปัตย์ประกาศไว้แล้วว่า จะเป่านกหวีดยาวหากมีการผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้ผู้เกี่ยวข้องในบางคดีพ้นผิด กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เคยมีท่าทีในเรื่องนี้มาก่อนแล้วเช่นกันว่า ไม่เอาด้วยหากเป็นการออกกฎหมาย “ล้างผิด” ให้พรรคพวกของคนในรัฐบาล

อย่าลืมว่าวันนี้ การต่อต้านรัฐบาลทักษิณคิด ยิ่งลักษณ์ทำ ชัดเจนและเป็นรูปเป็นร่างขึ้นตามลำดับ ยังขาดก็แต่เงื่อนไขที่เหมาะสมเท่านั้น การพบกันของคนระดับแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์กับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯถือเป็นสัญญาณที่รัฐบาลต้องตระหนักว่า หากไม่มีการลดเงื่อนไขลง เอาแต่เดินหน้าเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการเมืองต่อไป โดยมีเป้าหมายจะรวบอำนาจจะยิ่งกระตุ้นในสถานการณ์การต่อต้านรุนแรงมากขึ้น

เวทีปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ ผู้ที่ตอบรับเข้าร่วมทั้งหลายต้องตระหนักว่า เวทีนี้ไม่ใช่เวที “พี่เลี้ยง” ให้กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย แต่เป็นเวทีที่จะหาทางออกร่วมกันว่าจะเดินหน้าเพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

รูปธรรมที่เวทีปฏิรูปต้องมีโดยเร็ว คือการเสนอเงื่อนไขเพื่อลดหรือ “วิกฤติ” ทางการเมือง

อะไรที่เป็น “ความเสี่ยง” และ “หมิ่นเหม่” ต้องเสนอมาตรการให้กับรัฐบาลจัดการ เพื่อแสดงออกให้สังคมเห็นว่า เวทีปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ ไม่ใช่ “ลูกเล่นทางการเมือง” ของรัฐบาล แต่เป็นเวทีความหวังของสังคมไทยอย่างแท้จริง

หลายต่อหลายคนบอกว่า “ปลายทาง” ของการปฏิรูปการเมืองน่าจะลงที่การแก้ไขกติกา อย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับซึ่งน่าจะตรงกับความต้องการทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยที่ประกาศไว้ล่วงหน้าแล้วว่า จะต้องทำกติกาอย่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น “ผลไม้พิษ” ให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงให้จงได้

ดูเหมือนสิ่งที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์กำลังทำอยู่ในตอนนี้จะมีลักษณะที่เรียกว่า “รบไปเจรจาไป” กล่าวคือ แทนที่จะขจัด “เงื่อนไข” เพื่อให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาคุยกัน ก็ผลักดันทั้งการพูดจา ผลักดันทั้งการแก้ไขกติกาไปพร้อมกัน

นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เคยระบุว่า ต้องแยกออกจากกันระหว่างการปฏิรูปการเมืองกับการนิรโทษกรรม

ปฏิรูปการเมืองนั้นเป็นเรื่องอนาคต ขณะที่การนิรโทษกรรมเป็นเรื่องของอดีต

เวทีปฏิรูปจึงเป็นอีกหนึ่งความหวังที่สังคมไทยอยากเห็นความชัดเจนว่าจะมีทางไหนที่จะทำให้สังคมหลุดพ้นออกจาก “วิกฤติความขัดแย้ง” ซึ่งกินระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้นเรื่อย ๆ

แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะถูกปรามาสว่ามีต้นทุนทางด้านการปฏิรูปการเมืองต่ำก็ตาม แต่หากเวทีปฏิรูปมีข้อเสนออะไรที่เป็นรูปธรรมออกมาแล้วรัฐบาลรับไปทำและประสบความสำเร็จ

รีบ ๆ กันหน่อย ไม่เช่นนั้น “สงครามประชาชน” เกิดขึ้นแน่.

ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/politics/228284

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ส.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 25/08/2556 เวลา 02:43:24 ดูภาพสไลด์โชว์ การบ้านข้อใหญ่เวที ‘ปฏิรูปการเมือง’ หยุด ‘เงื่อนไข’ ก่อนเกิดการเผชิญหน้า

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รัฐสภา ที่เรากำลังทำในขณะนี้อย่างที่พูดไว้ตั้งแต่วันแรกคือแม้มีความหวังเพียงแค่ 1% ดิฉันก็จำเป็นที่จะต้องเริ่มดีกว่าที่จะปล่อยให้เวลาสูญเสียไป เราปล่อยเวลาเสียมาแล้วถึง 2 ปี จากนี้ไปเราจะทำอย่างดีที่สุด และเชื่อว่าจะไม่เป็นการเสียเวลา เพราะทุกความคิดเห็นมีค่า อะไรที่สามารถนำไปใช้ได้สามารถสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ดิฉันถือว่าเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา ถึง “ความคาดหวัง” ที่จะได้รับจากเวทีปฏิรูปการเมืองที่จะเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในวันที่ 25 สิงหาคมนี้ที่ทำเนียบรัฐบาล การปฏิรูปการเมืองครั้งนี้แม้จะมีความหลากหลายจากผู้ที่ตอบรับเข้าร่วมแต่กลับถูกปฏิเสธจากกลุ่มการเมืองที่อยู่ “ตรงข้าม” กับพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่ม 40 ส.ว. น่าสนใจว่าหลังเวทีปฏิรูปครั้งแรกจบลง จะมี “รูปธรรม” อะไรออกมาเพื่อที่จะหยุดวิกฤติการเผชิญหน้าทางการเมืองรอบใหม่ที่กำลังเริ่ม “ก่อตัว” ขึ้นอย่างช้า ๆ ภาพการเผชิญหน้ากันท่ามกลางสายตาของประชาชนในการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของวุฒิสภา ได้สร้างความตกใจให้เกิดในสังคมไทยอีกครั้ง สะท้อนให้เห็นสัญญาณประการหนึ่งได้เป็นอย่างดีว่า หากผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายไม่รีบหาทางออกร่วมกัน การเผชิญหน้ากันระหว่าง “คนไทย” กับ “คนไทย” เกิดขึ้นแน่ในเร็ว ๆ วันนี้ ถึงวันนี้แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของวุฒิสภาจะคืบคลานไปอย่างช้า ๆ แต่ที่สุดแล้ว “เสียงข้างมาก” จะยกมือให้ผ่านผลักดันออกมาเป็นกฎหมายในที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าการต่อต้านจะจบอยู่แค่นั้น เพราะฝ่ายต่อต้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ประกาศไว้แล้วว่า จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพราะมองว่าการแก้ไขครั้งนี้ขัดรัฐธรรมนูญอยู่ในหลายประเด็น ใช่แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของวุฒิสภาเท่านั้น ทั้งการผลักดันร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่ถูกเปรียบเปรยว่าเป็นการรัฐประหารทางเศรษฐกิจและถูกตั้งข้อสังเกตว่าหมิ่นเหม่จะขัดรัฐธรรมนูญ และการผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะถูกส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่ากระบวนการออกกฎหมายชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์ประกาศไว้แล้วว่า จะเป่านกหวีดยาวหากมีการผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้ผู้เกี่ยวข้องในบางคดีพ้นผิด กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เคยมีท่าทีในเรื่องนี้มาก่อนแล้วเช่นกันว่า ไม่เอาด้วยหากเป็นการออกกฎหมาย “ล้างผิด” ให้พรรคพวกของคนในรัฐบาล อย่าลืมว่าวันนี้ การต่อต้านรัฐบาลทักษิณคิด ยิ่งลักษณ์ทำ ชัดเจนและเป็นรูปเป็นร่างขึ้นตามลำดับ ยังขาดก็แต่เงื่อนไขที่เหมาะสมเท่านั้น การพบกันของคนระดับแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์กับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯถือเป็นสัญญาณที่รัฐบาลต้องตระหนักว่า หากไม่มีการลดเงื่อนไขลง เอาแต่เดินหน้าเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการเมืองต่อไป โดยมีเป้าหมายจะรวบอำนาจจะยิ่งกระตุ้นในสถานการณ์การต่อต้านรุนแรงมากขึ้น เวทีปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ ผู้ที่ตอบรับเข้าร่วมทั้งหลายต้องตระหนักว่า เวทีนี้ไม่ใช่เวที “พี่เลี้ยง” ให้กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย แต่เป็นเวทีที่จะหาทางออกร่วมกันว่าจะเดินหน้าเพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้อย่างไร รูปธรรมที่เวทีปฏิรูปต้องมีโดยเร็ว คือการเสนอเงื่อนไขเพื่อลดหรือ “วิกฤติ” ทางการเมือง อะไรที่เป็น “ความเสี่ยง” และ “หมิ่นเหม่” ต้องเสนอมาตรการให้กับรัฐบาลจัดการ เพื่อแสดงออกให้สังคมเห็นว่า เวทีปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ ไม่ใช่ “ลูกเล่นทางการเมือง” ของรัฐบาล แต่เป็นเวทีความหวังของสังคมไทยอย่างแท้จริง หลายต่อหลายคนบอกว่า “ปลายทาง” ของการปฏิรูปการเมืองน่าจะลงที่การแก้ไขกติกา อย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับซึ่งน่าจะตรงกับความต้องการทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยที่ประกาศไว้ล่วงหน้าแล้วว่า จะต้องทำกติกาอย่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น “ผลไม้พิษ” ให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงให้จงได้ ดูเหมือนสิ่งที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์กำลังทำอยู่ในตอนนี้จะมีลักษณะที่เรียกว่า “รบไปเจรจาไป” กล่าวคือ แทนที่จะขจัด “เงื่อนไข” เพื่อให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาคุยกัน ก็ผลักดันทั้งการพูดจา ผลักดันทั้งการแก้ไขกติกาไปพร้อมกัน นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เคยระบุว่า ต้องแยกออกจากกันระหว่างการปฏิรูปการเมืองกับการนิรโทษกรรม ปฏิรูปการเมืองนั้นเป็นเรื่องอนาคต ขณะที่การนิรโทษกรรมเป็นเรื่องของอดีต เวทีปฏิรูปจึงเป็นอีกหนึ่งความหวังที่สังคมไทยอยากเห็นความชัดเจนว่าจะมีทางไหนที่จะทำให้สังคมหลุดพ้นออกจาก “วิกฤติความขัดแย้ง” ซึ่งกินระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะถูกปรามาสว่ามีต้นทุนทางด้านการปฏิรูปการเมืองต่ำก็ตาม แต่หากเวทีปฏิรูปมีข้อเสนออะไรที่เป็นรูปธรรมออกมาแล้วรัฐบาลรับไปทำและประสบความสำเร็จ รีบ ๆ กันหน่อย ไม่เช่นนั้น “สงครามประชาชน” เกิดขึ้นแน่. ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/politics/228284 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง