เสนอโมเดล "ปฏิรูปการเมือง"

แสดงความคิดเห็น

แนวคิดปฏิรูปการเมืองของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

หลัง ส่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯและรมช.เกษตรฯ เดินสายเชิญผู้อาวุโสทางการเมืองมา ระดมความเห็นเพื่อให้ประเทศออกจากวิกฤตความขัดแย้ง พร้อมวางโครงสร้างของประเทศไปพร้อมๆ กัน

โดยจะประชุมนัดแรกปลายสัปดาห์นี้ เพื่อวางรูปแบบการดำเนินการและทิศทางการทำงาน

มีความเห็นจากนักวิชาการที่ติดตามประเด็นดังกล่าว ให้การปฏิรูปการเมืองไปสู่เป้าหมายที่เป็นจริงและเกิดประโยชน์มากที่สุด

สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รัฐบาล พยายามดึงเสียงของคนที่มีความคิดกลางๆ ไม่สุดโต่ง เข้าร่วมในสภาปฏิรูปการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสทางการเมือง เพราะเชื่อว่าจะทำให้สังคมไว้วางใจ

แนวคิดแบบนี้ถูกต้องแล้ว แต่สิ่งที่ยากสำหรับการปฏิรูปการเมืองคือ ทำอย่างไรที่จะให้กระบวนการปฏิรูปเชื่อมโยงสังคมได้ด้วย ไม่ใช่เฉพาะนักการเมืองอาวุโสหรือผู้มีอำนาจ ซึ่งตอนนี้กระบวนการเชื่อมโยงสังคมยังไม่มี ทุกฝ่ายยังเห็นนักการเมืองเป็นหลัก

ดัง นั้นรัฐบาลควรมองอะไรให้กว้างกว่าที่ดำเนินการอยู่ เช่น เชิญภาคสื่อสารมวลชนและภาคประชาสังคมเข้าร่วมด้วย พร้อมกับทำให้เห็นชัดเจนว่า การเสนอแนวคิดสภาปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเล่นๆ

ผม ไม่ได้มองว่ารัฐบาลมีความจริงใจหรือไม่ที่ดำเนินการเรื่องนี้ แต่ก็ติดตามการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ถ้ารัฐบาลผ่านช่วงเวลา 1-2 เดือนนี้ไปได้ก็อาจจะเห็นความคืบหน้า

ซึ่งขณะนี้รัฐบาลก็กำลัง พยายามทำอยู่ ถ้าพูดแล้วไม่ทำอย่างนั้นถึงจะมองได้ว่ารัฐบาลหาเสียงหรือต้องการซื้อเวลา แต่สิ่งที่เห็นขณะนี้คือรัฐบาลกำลังเดินหน้า

อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายที่สภาปฏิรูปการเมือง จะประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น เพราะรากฐานของสังคมไทยเป็นสังคมที่แตกแยก แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ มีความขัดแย้งลึกซึ้ง

ดังนั้นรัฐบาลต้องใช้ความอดทน และให้เวลาในการ ดำเนินการ

ส่วน พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรไม่เข้าร่วม จนทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ในที่สุดสภาปฏิรูปการเมืองคงเดินต่อไปไม่ได้นั้น ผมไม่คิดอย่างนั้น ลำพังแค่ 2 กลุ่มนี้ไม่เข้าร่วม คงไม่เป็นปัญหาอะไรมากมาย

สิ่งที่ รัฐบาลควรทำคือ ทำอย่างไรก็ได้ให้กลุ่มอื่นเข้าร่วมมากที่สุด เมื่อถึงวันนั้นกลุ่มที่ไม่เข้าร่วมก็จะมาร่วมเอง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมให้ความร่วมมือที่ จะเดินหน้าไปด้วยกัน

และเมื่อกลุ่มที่เคยปฏิเสธต้องการมาร่วม รัฐบาล ก็ต้องเปิดโอกาสให้เขาเข้ามา

วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สิ่ง สำคัญอยู่ที่เป้าหมายของสภาปฏิรูปการเมืองคืออะไร เมื่อนำไปสู่ข้อสรุปบางอย่างแล้วจะเสนออะไรใหม่ ปฏิรูปอย่างไรบ้างต้องมีความชัดเจน แก้ปัญหาได้จริง

แม้ส่วนตัวจะ เห็นว่ารัฐสภาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาที่มีอยู่แล้ว และดีที่สุด เพราะเป็นที่ที่ทุกฝ่ายได้พูดคุยกัน แต่เมื่อสภาปฏิรูปการเมืองมีการขับเคลื่อนแล้ว ผมก็เอาใจช่วยให้เดินหน้าต่อไป

แต่อยากเสนอแนะว่านอกจากรัฐบาลจะ เชิญผู้อาวุโสหรือกลุ่มอำนาจทางการเมืองแล้ว อีกส่วนที่รัฐบาลต้องไม่ลืมคือ ภาคประชาสังคม รวมถึงนักการเมือง รุ่นใหม่

เพราะคนเหล่านี้จะ มองอนาคตของประเทศคนละแบบกับผู้อาวุโสทางการเมือง ทั้งนี้ก็เพื่อให้สภาปฏิรูปเป็นเวทีที่กว้างพอที่จะให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้ เข้ามามีส่วนร่วม ขณะนี้เพียงแค่นักการเมืองกับภาคธุรกิจตอบรับเข้าร่วมคงไม่เพียงพอ

อย่าง ไรก็ตาม เป็นห่วงว่าสภาปฏิรูปการเมืองจะเหมือนกับคณะกรรมการอื่นๆ ที่เคยแต่งตั้งมา ที่พอขับเคลื่อนไปสักระยะก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือได้ข้อสรุปแล้วนำไปใช้ไม่ได้จริง

หากเป็นเช่นเดิมก็จะไม่เป็นประโยชน์ กลายเป็นสภาปรองดองแต่ไม่ได้ปฏิรูปการเมือง

ทั้งนี้คงยากพอสมควรที่สภาปฏิรูปการเมืองจะพลิกโฉมประเทศไทย เพราะที่เดินอยู่ตอนนี้ยังไม่ตอบโจทย์การแก้ความขัดแย้งที่ยังฝังรากลึก

แต่ ก็เชื่อว่าแนวทางที่รัฐบาลทำอยู่แสดงถึงความจริงใจที่จะแก้ปัญหา ต้องการลดแรงเสียดทานให้กับรัฐบาลเอง หากรัฐบาลดำเนินการต่อเนื่องอีกสัก 2-3 ปี คงช่วยให้ความขัดแย้งลดได้จริง

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตร และกลุ่ม 40 ส.ว.ยังไม่เข้าร่วม อาจเพราะสงสัยว่าสภาปฏิรูปการเมืองจะมีผลแค่ไหน ทำเพื่ออะไร และหากเขาเสนออะไรจะได้รับการตอบสนองรับมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้รัฐบาลต้องทำให้ชัด

ตอนนี้รัฐบาลก็ใช้วิธีการเดินสาย พูดคุยไปก่อน ไม่แน่ว่าในอนาคตฝ่ายที่ยังไม่เข้าร่วมอาจจะมาก็ได้ ถึงเวลานั้นรัฐบาลก็ต้องเปิดโอกาสให้เขาด้วย

ยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

แนวทางนี้ถือได้ว่ารัฐบาลจริงใจที่จะสร้างความปรองดอง ลดความขัดแย้งในสังคมไทย และถือว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ทำตามสัญญาประชาคม จากที่เคยแถลงไว้ว่าจะตั้งสภาดังกล่าวเพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมพูดคุยและเสนอความ คิดเห็น

การประชุมนัดแรกของสภาปฏิรูปการ เมือง ควรกำหนดแนวทางซึ่งเริ่มต้นด้วยการตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับการดำเนินการ ปฏิรูปการเมืองที่ผ่านมาว่า ยังมีปัญหาในด้านใดที่ยังค้างคา ไม่ได้รับการแก้ไข หรือประเด็น ใดที่ตกค้าง ยังไม่ได้ยกขึ้นมาพิจารณา ที่ประชุมก็ควรสะสางประเด็นๆ เก่าให้เรียบร้อย

อีกทั้งภายหลังที่มี การประชุมแล้ว ต้องดูบุคคลที่ถูกเทียบเชิญว่ามีเพียงพอในการแสดงความคิดเห็นหรือไม่ และความเห็นที่เสนอเพียงพอสำหรับกำหนดแนวทางในการประชุมครั้งต่อไปมากน้อย แค่ไหน

หากพิจารณาแล้วยังไม่เพียงพอ สภาปฏิรูปการเมืองจำเป็นต้องเชิญบุคคลเข้ามาเพิ่มเติม โดยเฉพาะบุคคลจากฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งปัจจุบันมีเพียงนายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น

เพราะการปฏิรูปการ เมืองเพื่อสร้างความปรองดองจะต้องรับฟังข้อเสนอจากทุกด้าน รัฐบาลจึงต้องพยายามให้ฝ่ายค้านเข้ามามีส่วนร่วม หาทางเชื่อมต่อสำหรับผู้ไม่เห็นด้วย

แม้จะถูกปฏิเสธ แต่รัฐบาลสามารถใช้วิธีการขอความคิดเห็นที่เป็นการส่วนตัว ตั้งเวทีพิเศษนอกที่ประชุมเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าสภาปฏิรูปการเมือง เป็นการคุยกันเองเฉพาะคนฝั่งรัฐบาล

แนวทางที่ควรหยิบยกขึ้นมาพิจารณา นั้น ควรตั้งโจทย์การปฏิรูปไม่ให้เป็นภาพในวงกว้างเกินไป ที่ประชุมควรเจาะไปทีละประเด็นที่สำคัญ เพื่อสร้างมาตรฐานการดำเนินการปฏิรูปการเมืองให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ

เพราะการปฏิรูปในวงกว้างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือสังคม ก็มีหน่วยงานต่างๆ ของรัฐและคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบอยู่แล้ว

สิ่ง ที่สภาปฏิรูปการเมืองจะมองข้ามไม่ได้คือ การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาเพื่อปรับใช้ จะยิ่งส่งผลให้การปฏิรูปการเมืองเพื่อความปรองดองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดความขัดแย้งในสังคมได้อย่างดี

เชื่อว่าสภาปฏิรูปการเมืองคือจุดเริ่มต้นที่ดี ลบรอยร้าวสำหรับผู้เห็นต่างทางการเมืองได้

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM05qazBNVE15T0E9PQ==&sectionid= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ส.ค.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 20/08/2556 เวลา 03:13:12

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แนวคิดปฏิรูปการเมืองของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หลัง ส่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯและรมช.เกษตรฯ เดินสายเชิญผู้อาวุโสทางการเมืองมา ระดมความเห็นเพื่อให้ประเทศออกจากวิกฤตความขัดแย้ง พร้อมวางโครงสร้างของประเทศไปพร้อมๆ กัน โดยจะประชุมนัดแรกปลายสัปดาห์นี้ เพื่อวางรูปแบบการดำเนินการและทิศทางการทำงาน มีความเห็นจากนักวิชาการที่ติดตามประเด็นดังกล่าว ให้การปฏิรูปการเมืองไปสู่เป้าหมายที่เป็นจริงและเกิดประโยชน์มากที่สุด สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รัฐบาล พยายามดึงเสียงของคนที่มีความคิดกลางๆ ไม่สุดโต่ง เข้าร่วมในสภาปฏิรูปการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสทางการเมือง เพราะเชื่อว่าจะทำให้สังคมไว้วางใจ แนวคิดแบบนี้ถูกต้องแล้ว แต่สิ่งที่ยากสำหรับการปฏิรูปการเมืองคือ ทำอย่างไรที่จะให้กระบวนการปฏิรูปเชื่อมโยงสังคมได้ด้วย ไม่ใช่เฉพาะนักการเมืองอาวุโสหรือผู้มีอำนาจ ซึ่งตอนนี้กระบวนการเชื่อมโยงสังคมยังไม่มี ทุกฝ่ายยังเห็นนักการเมืองเป็นหลัก ดัง นั้นรัฐบาลควรมองอะไรให้กว้างกว่าที่ดำเนินการอยู่ เช่น เชิญภาคสื่อสารมวลชนและภาคประชาสังคมเข้าร่วมด้วย พร้อมกับทำให้เห็นชัดเจนว่า การเสนอแนวคิดสภาปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเล่นๆ ผม ไม่ได้มองว่ารัฐบาลมีความจริงใจหรือไม่ที่ดำเนินการเรื่องนี้ แต่ก็ติดตามการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ถ้ารัฐบาลผ่านช่วงเวลา 1-2 เดือนนี้ไปได้ก็อาจจะเห็นความคืบหน้า ซึ่งขณะนี้รัฐบาลก็กำลัง พยายามทำอยู่ ถ้าพูดแล้วไม่ทำอย่างนั้นถึงจะมองได้ว่ารัฐบาลหาเสียงหรือต้องการซื้อเวลา แต่สิ่งที่เห็นขณะนี้คือรัฐบาลกำลังเดินหน้า อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายที่สภาปฏิรูปการเมือง จะประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น เพราะรากฐานของสังคมไทยเป็นสังคมที่แตกแยก แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ มีความขัดแย้งลึกซึ้ง ดังนั้นรัฐบาลต้องใช้ความอดทน และให้เวลาในการ ดำเนินการ ส่วน พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรไม่เข้าร่วม จนทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ในที่สุดสภาปฏิรูปการเมืองคงเดินต่อไปไม่ได้นั้น ผมไม่คิดอย่างนั้น ลำพังแค่ 2 กลุ่มนี้ไม่เข้าร่วม คงไม่เป็นปัญหาอะไรมากมาย สิ่งที่ รัฐบาลควรทำคือ ทำอย่างไรก็ได้ให้กลุ่มอื่นเข้าร่วมมากที่สุด เมื่อถึงวันนั้นกลุ่มที่ไม่เข้าร่วมก็จะมาร่วมเอง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมให้ความร่วมมือที่ จะเดินหน้าไปด้วยกัน และเมื่อกลุ่มที่เคยปฏิเสธต้องการมาร่วม รัฐบาล ก็ต้องเปิดโอกาสให้เขาเข้ามา วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สิ่ง สำคัญอยู่ที่เป้าหมายของสภาปฏิรูปการเมืองคืออะไร เมื่อนำไปสู่ข้อสรุปบางอย่างแล้วจะเสนออะไรใหม่ ปฏิรูปอย่างไรบ้างต้องมีความชัดเจน แก้ปัญหาได้จริง แม้ส่วนตัวจะ เห็นว่ารัฐสภาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาที่มีอยู่แล้ว และดีที่สุด เพราะเป็นที่ที่ทุกฝ่ายได้พูดคุยกัน แต่เมื่อสภาปฏิรูปการเมืองมีการขับเคลื่อนแล้ว ผมก็เอาใจช่วยให้เดินหน้าต่อไป แต่อยากเสนอแนะว่านอกจากรัฐบาลจะ เชิญผู้อาวุโสหรือกลุ่มอำนาจทางการเมืองแล้ว อีกส่วนที่รัฐบาลต้องไม่ลืมคือ ภาคประชาสังคม รวมถึงนักการเมือง รุ่นใหม่ เพราะคนเหล่านี้จะ มองอนาคตของประเทศคนละแบบกับผู้อาวุโสทางการเมือง ทั้งนี้ก็เพื่อให้สภาปฏิรูปเป็นเวทีที่กว้างพอที่จะให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้ เข้ามามีส่วนร่วม ขณะนี้เพียงแค่นักการเมืองกับภาคธุรกิจตอบรับเข้าร่วมคงไม่เพียงพอ อย่าง ไรก็ตาม เป็นห่วงว่าสภาปฏิรูปการเมืองจะเหมือนกับคณะกรรมการอื่นๆ ที่เคยแต่งตั้งมา ที่พอขับเคลื่อนไปสักระยะก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือได้ข้อสรุปแล้วนำไปใช้ไม่ได้จริง หากเป็นเช่นเดิมก็จะไม่เป็นประโยชน์ กลายเป็นสภาปรองดองแต่ไม่ได้ปฏิรูปการเมือง ทั้งนี้คงยากพอสมควรที่สภาปฏิรูปการเมืองจะพลิกโฉมประเทศไทย เพราะที่เดินอยู่ตอนนี้ยังไม่ตอบโจทย์การแก้ความขัดแย้งที่ยังฝังรากลึก แต่ ก็เชื่อว่าแนวทางที่รัฐบาลทำอยู่แสดงถึงความจริงใจที่จะแก้ปัญหา ต้องการลดแรงเสียดทานให้กับรัฐบาลเอง หากรัฐบาลดำเนินการต่อเนื่องอีกสัก 2-3 ปี คงช่วยให้ความขัดแย้งลดได้จริง ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตร และกลุ่ม 40 ส.ว.ยังไม่เข้าร่วม อาจเพราะสงสัยว่าสภาปฏิรูปการเมืองจะมีผลแค่ไหน ทำเพื่ออะไร และหากเขาเสนออะไรจะได้รับการตอบสนองรับมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้รัฐบาลต้องทำให้ชัด ตอนนี้รัฐบาลก็ใช้วิธีการเดินสาย พูดคุยไปก่อน ไม่แน่ว่าในอนาคตฝ่ายที่ยังไม่เข้าร่วมอาจจะมาก็ได้ ถึงเวลานั้นรัฐบาลก็ต้องเปิดโอกาสให้เขาด้วย ยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แนวทางนี้ถือได้ว่ารัฐบาลจริงใจที่จะสร้างความปรองดอง ลดความขัดแย้งในสังคมไทย และถือว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ทำตามสัญญาประชาคม จากที่เคยแถลงไว้ว่าจะตั้งสภาดังกล่าวเพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมพูดคุยและเสนอความ คิดเห็น การประชุมนัดแรกของสภาปฏิรูปการ เมือง ควรกำหนดแนวทางซึ่งเริ่มต้นด้วยการตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับการดำเนินการ ปฏิรูปการเมืองที่ผ่านมาว่า ยังมีปัญหาในด้านใดที่ยังค้างคา ไม่ได้รับการแก้ไข หรือประเด็น ใดที่ตกค้าง ยังไม่ได้ยกขึ้นมาพิจารณา ที่ประชุมก็ควรสะสางประเด็นๆ เก่าให้เรียบร้อย อีกทั้งภายหลังที่มี การประชุมแล้ว ต้องดูบุคคลที่ถูกเทียบเชิญว่ามีเพียงพอในการแสดงความคิดเห็นหรือไม่ และความเห็นที่เสนอเพียงพอสำหรับกำหนดแนวทางในการประชุมครั้งต่อไปมากน้อย แค่ไหน หากพิจารณาแล้วยังไม่เพียงพอ สภาปฏิรูปการเมืองจำเป็นต้องเชิญบุคคลเข้ามาเพิ่มเติม โดยเฉพาะบุคคลจากฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งปัจจุบันมีเพียงนายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น เพราะการปฏิรูปการ เมืองเพื่อสร้างความปรองดองจะต้องรับฟังข้อเสนอจากทุกด้าน รัฐบาลจึงต้องพยายามให้ฝ่ายค้านเข้ามามีส่วนร่วม หาทางเชื่อมต่อสำหรับผู้ไม่เห็นด้วย แม้จะถูกปฏิเสธ แต่รัฐบาลสามารถใช้วิธีการขอความคิดเห็นที่เป็นการส่วนตัว ตั้งเวทีพิเศษนอกที่ประชุมเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าสภาปฏิรูปการเมือง เป็นการคุยกันเองเฉพาะคนฝั่งรัฐบาล แนวทางที่ควรหยิบยกขึ้นมาพิจารณา นั้น ควรตั้งโจทย์การปฏิรูปไม่ให้เป็นภาพในวงกว้างเกินไป ที่ประชุมควรเจาะไปทีละประเด็นที่สำคัญ เพื่อสร้างมาตรฐานการดำเนินการปฏิรูปการเมืองให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ เพราะการปฏิรูปในวงกว้างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือสังคม ก็มีหน่วยงานต่างๆ ของรัฐและคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบอยู่แล้ว สิ่ง ที่สภาปฏิรูปการเมืองจะมองข้ามไม่ได้คือ การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาเพื่อปรับใช้ จะยิ่งส่งผลให้การปฏิรูปการเมืองเพื่อความปรองดองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดความขัดแย้งในสังคมได้อย่างดี เชื่อว่าสภาปฏิรูปการเมืองคือจุดเริ่มต้นที่ดี ลบรอยร้าวสำหรับผู้เห็นต่างทางการเมืองได้ ขอบคุณ...http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM05qazBNVE15T0E9PQ==§ionid= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง