เช็กชื่อ "ใครเป็นใคร" ในสภาปฏิรูปการเมือง

แสดงความคิดเห็น

นาย บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี, นายอุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานรัฐสภา, นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เสนอไอเดียตั้ง สภาปฏิรูปการเมืองŽ เพื่อหาทางออกให้ประเทศ จากวังวนความขัดแย้งตลอด 7 ปี กับอีก 1 เดือน ภายหลังการก่อรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ก็เกิด คำถามŽ ขึ้นมากมาย เช่น รัฐบาลมีความจริงใจแค่ไหน รัฐบาลต้องการเพียงซื้อเวลา รัฐบาลต้องการลดแรงต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย

และรัฐบาลเล่นละคร เล่นปาหี่ หรือไม่

ในวันที่ 20 สิงหาคม 2 เทพŽ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเปิดรายชื่อผู้เข้าร่วมเวที สภาปฏิรูปการเมืองŽ ที่คาดว่าจะมีจำนวนผู้เข้าร่วม 50 ถึง 100 คนขึ้นไป

ใครเป็นใคร ลองสำรวจตรวจสอบ รายชื่อที่ต้องมีแน่ๆ คือบุคคลดังต่อไปนี้

นาย บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี, นายอุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานรัฐสภา, นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี, พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตหัวหน้าคณะปฏิวัติ 19 กันยายน 2549, นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย, นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี

นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล, นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนา, นายกระมล ทองธรรมชาติ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ, นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ส่วน คนที่สนับสนุนแต่ยังติดเงื่อนไขได้แก่ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพราะต้องการให้สมาชิกสภาสูงทั้งฝ่ายสรรหาและฝ่ายเลือกตั้งเข้าร่วม ด้วย-สลับกันไปให้เกิดความหลากหลาย และ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ที่ติดปัญหาเรื่องสุขภาพ ประกอบกับภรรยาสั่งห้าม และต้องการทำงานอยู่ภายนอกมากกว่าเพราะรู้สึกว่าเป็นอิสระมากกว่า

ก่อน หน้านี้ นายอุกฤษได้เสนอว่าควรจะเชิญ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาร่วมวงถก-เคลียร์บนเวทีนี้ด้วย เพราะบุคคลสำคัญทั้งสองเป็น ตัวละครŽ สำคัญที่ถูกดึงให้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง-เมืองไทยใน ช่วงระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ทาง พล.อ.เปรมได้ปฏิเสธผ่านคนใกล้ชิด ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณหากเข้าร่วมจะต้องมีรูปแบบพิเศษในการปรึกษาหารือ ยังไม่รู้ว่าจะออกมาในรูปแบบไหน

ขณะรายชื่อที่เป็นที่จับตาว่าจะ ตัดสินใจเข้ามาร่วมเวทีนี้หรือไม่ คือ นายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ถือเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่เป็น คู่ ขัดแย้งŽ ทางการเมือง

รวม ไปถึงแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งรัฐบาลก็ยืนยันว่าเปิดกว้างสำหรับผู้ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเข้าร่วม หรือไม่ เปลี่ยนใจมาเข้าร่วมในภายหลังได้

ส่วนในภาคเอกชน-ธุรกิจนั้น 4 ภาคหลัก ได้แก่ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ตอบรับเข้าร่วมสภาปฏิรูปอย่างพร้อมเพรียง

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมฯเปิดใจว่า ในฐานะสภาอุตสาหกรรมฯถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะช่วยกัน

โดย มีเป้าหมายเรื่องของผลประโยชน์ของประเทศชาติ ในการที่จะสามารถพัฒนาเดินไปข้างหน้า ซึ่งเราก็เป็นห่วงประเทศในระยะกลางและระยะยาวที่จะเดินไปข้างหน้า

เพราะ สิ่งที่เราเผชิญเป็นสิ่งที่เราเผชิญนอกเหนือจากประเทศอื่น และต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว และเริ่มบั่นทอนศักยภาพของเราไปทีละน้อย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะได้พูดคุยกัน ส่วนผลจะออกมาอย่างไรยังไม่ทราบ

รูป แบบ โครงสร้างจะเป็นอย่างไร ก็ยังไม่มีแนวทางว่าจะเป็นอย่างไรแน่ คงขึ้นอยู่กับการพูดคุยกัน แต่ทั้งหมดสิ่งที่ทำคือการหารือกันต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ ความไว้วางใจกัน และเน้นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก

สภา อุตสาหกรรมฯเป็นห่วงเรื่องของรูปแบบ หากจะต้องตั้งเป็นกรรมการที่ตีความได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองอาจจะการ เข้ามามีส่วนร่วมไม่ได้ ส่วนเรื่องที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของทุกส่วน

ด้าน นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บอกว่า ทุกคนรู้สึกดีใจที่รัฐบาลมีเจตนาที่จะเห็นเรื่องของการปรองดอง เพราะว่าหากมองในระยะยาวแล้วเรื่องความมั่นคงของการเมือง เป็นสิ่งที่ทำให้ภาคธุรกิจมองได้ยาวขึ้น นักลงทุนต่างๆ ก็จะมีความไว้วางใจ

เพราะ เวลานี้เวลาเขาถามเรา เราไม่สามารถตอบเขาได้ ตอบไม่เต็มปาก ทูตหลายประเทศมาพบและถามว่าจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องหาทางเลียบๆ เคียงๆ ไป

เพราะ ฉะนั้นหากมีการพูดคุยกันได้เบื้องต้นในหลักการ ซึ่งเราต้องการให้ประสบความสำเร็จ ถึงแม้ว่าต้องใช้เวลานานเท่าใดก็แล้วแต่ ผมคิดว่าทุกคนในชาติก็จะมีความสุข จึงยินดีที่จะเข้าร่วม

เช่นเดียว กับ นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย ระบุว่า อยากเห็นเศรษฐกิจมีความมั่นคง เดินหน้าไปได้ เพราะเกรงว่าหากเป็นเช่นนี้อยู่ เมื่อเข้าสู่เออีซีประเทศไทยจะติดลบ และการที่มีเวทีที่จะคุยกันว่าความสำคัญในแต่ละเรื่องอยู่ที่ไหนก็เป็นสิ่ง ที่ดี ส่วนในด้านการเมืองนี้ก็อยากเห็นความเป็นหนึ่งเดียวกัน

อย่าง ไรก็ตาม มีประเด็นปัญหาที่เป็นข้อถกเถียงว่าเวทีนี้จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ เพราะฝ่ายที่เห็นต่างยังไม่ตอบรับการเข้าร่วมในครั้งนี้

นายพงศ์เทพ ในฐานะผู้ประสานงานอธิบายว่าจะนัดหารือนัดแรกในวันที่ 25 สิงหาคม เวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้แต่ละคนที่เข้าร่วมมีมุมมองและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของประเทศ ไทยอย่างไรบ้าง

สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วม คาดว่าจะมีประมาณ 50 คน ซึ่งจะสามารถเปิดเผยรายชื่อได้ในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ เชื่อว่าเวทีนี้ที่ประกอบไปผู้ที่มีความหลากหลายจะสามารถทำให้เวทีนี้เดิน หน้าต่อไปได้แน่นอน

เพราะเวทีนี้จะมองประเทศไทยในอนาคตข้างหน้าเป็น หลัก ส่วนคู่ขัดแย้งต่างๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงาน หากเขายังไม่ตอบรับขณะนี้เราก็ไม่กังวล

เพราะเชื่อว่าเมื่อเขาเห็น การหารือนัดแรกว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นและความบริสุทธิ์ใจในการแก้ปัญหา บุคคลต่างๆ ที่ยังลังเลก็จะสบายใจและคงจะตอบรับเข้าร่วมมากขึ้น โดยจะใช้เวทีนี้เป็นหลักในการที่จะให้บุคคลที่เข้าร่วมเป็นผู้เชื้อเชิญ บุคคลต่างๆ ให้มาเข้าร่วมมากขึ้น

เป็นอีกความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและต้องจับตามองเป็นพิเศษ

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1376636608&grpid=01&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ส.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 17/08/2556 เวลา 04:10:37 ดูภาพสไลด์โชว์ เช็กชื่อ "ใครเป็นใคร" ในสภาปฏิรูปการเมือง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นาย บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี, นายอุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานรัฐสภา, นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เสนอไอเดียตั้ง สภาปฏิรูปการเมืองŽ เพื่อหาทางออกให้ประเทศ จากวังวนความขัดแย้งตลอด 7 ปี กับอีก 1 เดือน ภายหลังการก่อรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็เกิด คำถามŽ ขึ้นมากมาย เช่น รัฐบาลมีความจริงใจแค่ไหน รัฐบาลต้องการเพียงซื้อเวลา รัฐบาลต้องการลดแรงต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และรัฐบาลเล่นละคร เล่นปาหี่ หรือไม่ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2 เทพŽ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเปิดรายชื่อผู้เข้าร่วมเวที สภาปฏิรูปการเมืองŽ ที่คาดว่าจะมีจำนวนผู้เข้าร่วม 50 ถึง 100 คนขึ้นไป ใครเป็นใคร ลองสำรวจตรวจสอบ รายชื่อที่ต้องมีแน่ๆ คือบุคคลดังต่อไปนี้ นาย บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี, นายอุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานรัฐสภา, นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี, พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตหัวหน้าคณะปฏิวัติ 19 กันยายน 2549, นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย, นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล, นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนา, นายกระมล ทองธรรมชาติ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ, นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่วน คนที่สนับสนุนแต่ยังติดเงื่อนไขได้แก่ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพราะต้องการให้สมาชิกสภาสูงทั้งฝ่ายสรรหาและฝ่ายเลือกตั้งเข้าร่วม ด้วย-สลับกันไปให้เกิดความหลากหลาย และ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ที่ติดปัญหาเรื่องสุขภาพ ประกอบกับภรรยาสั่งห้าม และต้องการทำงานอยู่ภายนอกมากกว่าเพราะรู้สึกว่าเป็นอิสระมากกว่า ก่อน หน้านี้ นายอุกฤษได้เสนอว่าควรจะเชิญ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาร่วมวงถก-เคลียร์บนเวทีนี้ด้วย เพราะบุคคลสำคัญทั้งสองเป็น ตัวละครŽ สำคัญที่ถูกดึงให้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง-เมืองไทยใน ช่วงระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ทาง พล.อ.เปรมได้ปฏิเสธผ่านคนใกล้ชิด ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณหากเข้าร่วมจะต้องมีรูปแบบพิเศษในการปรึกษาหารือ ยังไม่รู้ว่าจะออกมาในรูปแบบไหน ขณะรายชื่อที่เป็นที่จับตาว่าจะ ตัดสินใจเข้ามาร่วมเวทีนี้หรือไม่ คือ นายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ถือเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่เป็น คู่ ขัดแย้งŽ ทางการเมือง รวม ไปถึงแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งรัฐบาลก็ยืนยันว่าเปิดกว้างสำหรับผู้ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเข้าร่วม หรือไม่ เปลี่ยนใจมาเข้าร่วมในภายหลังได้ ส่วนในภาคเอกชน-ธุรกิจนั้น 4 ภาคหลัก ได้แก่ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ตอบรับเข้าร่วมสภาปฏิรูปอย่างพร้อมเพรียง นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมฯเปิดใจว่า ในฐานะสภาอุตสาหกรรมฯถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะช่วยกัน โดย มีเป้าหมายเรื่องของผลประโยชน์ของประเทศชาติ ในการที่จะสามารถพัฒนาเดินไปข้างหน้า ซึ่งเราก็เป็นห่วงประเทศในระยะกลางและระยะยาวที่จะเดินไปข้างหน้า เพราะ สิ่งที่เราเผชิญเป็นสิ่งที่เราเผชิญนอกเหนือจากประเทศอื่น และต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว และเริ่มบั่นทอนศักยภาพของเราไปทีละน้อย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะได้พูดคุยกัน ส่วนผลจะออกมาอย่างไรยังไม่ทราบ รูป แบบ โครงสร้างจะเป็นอย่างไร ก็ยังไม่มีแนวทางว่าจะเป็นอย่างไรแน่ คงขึ้นอยู่กับการพูดคุยกัน แต่ทั้งหมดสิ่งที่ทำคือการหารือกันต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ ความไว้วางใจกัน และเน้นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก สภา อุตสาหกรรมฯเป็นห่วงเรื่องของรูปแบบ หากจะต้องตั้งเป็นกรรมการที่ตีความได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองอาจจะการ เข้ามามีส่วนร่วมไม่ได้ ส่วนเรื่องที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของทุกส่วน ด้าน นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บอกว่า ทุกคนรู้สึกดีใจที่รัฐบาลมีเจตนาที่จะเห็นเรื่องของการปรองดอง เพราะว่าหากมองในระยะยาวแล้วเรื่องความมั่นคงของการเมือง เป็นสิ่งที่ทำให้ภาคธุรกิจมองได้ยาวขึ้น นักลงทุนต่างๆ ก็จะมีความไว้วางใจ เพราะ เวลานี้เวลาเขาถามเรา เราไม่สามารถตอบเขาได้ ตอบไม่เต็มปาก ทูตหลายประเทศมาพบและถามว่าจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องหาทางเลียบๆ เคียงๆ ไป เพราะ ฉะนั้นหากมีการพูดคุยกันได้เบื้องต้นในหลักการ ซึ่งเราต้องการให้ประสบความสำเร็จ ถึงแม้ว่าต้องใช้เวลานานเท่าใดก็แล้วแต่ ผมคิดว่าทุกคนในชาติก็จะมีความสุข จึงยินดีที่จะเข้าร่วม เช่นเดียว กับ นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย ระบุว่า อยากเห็นเศรษฐกิจมีความมั่นคง เดินหน้าไปได้ เพราะเกรงว่าหากเป็นเช่นนี้อยู่ เมื่อเข้าสู่เออีซีประเทศไทยจะติดลบ และการที่มีเวทีที่จะคุยกันว่าความสำคัญในแต่ละเรื่องอยู่ที่ไหนก็เป็นสิ่ง ที่ดี ส่วนในด้านการเมืองนี้ก็อยากเห็นความเป็นหนึ่งเดียวกัน อย่าง ไรก็ตาม มีประเด็นปัญหาที่เป็นข้อถกเถียงว่าเวทีนี้จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ เพราะฝ่ายที่เห็นต่างยังไม่ตอบรับการเข้าร่วมในครั้งนี้ นายพงศ์เทพ ในฐานะผู้ประสานงานอธิบายว่าจะนัดหารือนัดแรกในวันที่ 25 สิงหาคม เวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้แต่ละคนที่เข้าร่วมมีมุมมองและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของประเทศ ไทยอย่างไรบ้าง สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วม คาดว่าจะมีประมาณ 50 คน ซึ่งจะสามารถเปิดเผยรายชื่อได้ในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ เชื่อว่าเวทีนี้ที่ประกอบไปผู้ที่มีความหลากหลายจะสามารถทำให้เวทีนี้เดิน หน้าต่อไปได้แน่นอน เพราะเวทีนี้จะมองประเทศไทยในอนาคตข้างหน้าเป็น หลัก ส่วนคู่ขัดแย้งต่างๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงาน หากเขายังไม่ตอบรับขณะนี้เราก็ไม่กังวล เพราะเชื่อว่าเมื่อเขาเห็น การหารือนัดแรกว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นและความบริสุทธิ์ใจในการแก้ปัญหา บุคคลต่างๆ ที่ยังลังเลก็จะสบายใจและคงจะตอบรับเข้าร่วมมากขึ้น โดยจะใช้เวทีนี้เป็นหลักในการที่จะให้บุคคลที่เข้าร่วมเป็นผู้เชื้อเชิญ บุคคลต่างๆ ให้มาเข้าร่วมมากขึ้น เป็นอีกความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและต้องจับตามองเป็นพิเศษ ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1376636608&grpid=01&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง