จับตาเซ่น'ยุทธศักดิ์'รักษารัฐนาวา : ขยายปมร้อน โดยทีมข่าวความมั่นคง

แสดงความคิดเห็น

น่าสนใจว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (รมช.กลาโหม) จะอยู่บนเก้าอี้ที่ต้องทำงานร่วมกับผู้บัญชาการเหล่าทัพ (ผบ.เหล่าทัพ) ได้อย่างไร ถึงจะไม่เป็นที่ยืนยันว่า คลิปเสียงสนทนาของชาย 2 คนมีเสียงของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ รวมอยู่ด้วยหรือไม่ แต่ความเชื่อของสังคม และความเชื่อถือย่อมไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

บรรดา ผบ.เหล่าทัพ เองก็เถอะ!

ต่อให้ปากบอกว่าไม่ติดใจ แต่สายตาและความรู้สึกลึกๆ เป็นอย่างนั้นหรือ

นั่นย่อมหมายความว่า การที่จะบริหารคนบริหารงานบนความ "หวาดระแวง" ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อตัว พล.อ.ยุทธศักดิ์ และต่อรัฐบาล โดยเฉพาะกับวาระการ "แต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร" ภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งคลิปเสียงสนทนานั้นได้ปล้นความไว้วางใจไปหมดสิ้นแล้ว !!

ส่วนรายชื่อในคลิปที่ได้ "จัดวาง" คนของตัวเองไว้ในไลน์ทั้งหมดนั้นก็ต้อง "รื้อใหม่หมด" เพราะถ้าไม่รื้อก็เท่ากับยอมรับว่า คลิปเป็นของจริง และการที่จะผลักดันนายทหารที่มีโปรไฟล์ใกล้ชิดกับฝ่ายการเมืองขึ้นไปสู่ ตำแหน่ง ผบ.เหล่าทัพ รวมทั้งระดับ 5 เสือ และระดับคุมกำลัง ก็คงไม่สะดวกโยธินเหมือนก่อน ด้วยการจับจ้องจากสังคมที่จะส่งแรงกดดันไปยังกองทัพและรัฐบาล

เมื่อมองไปทางไหนก็เจอแต่อุปสรรคขวากหนาม การเลือกที่จะเสียสละตัวเอง เพื่อประคองรัฐนาวาที่กำลังง่อนแง่นเต็มทน ด้วยสารพัดข้อกล่าวหาทั้งการทุจริต และการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ จึงน่าจะเป็นทางออกที่น่าจะดีที่สุดต่อทั้ง พล.อ.ยุทธศักดิ์ รวมทั้งต่อรัฐบาล และกองทัพในระยะยาว

เพื่อปลดชนวนระเบิดที่รายล้อมรัฐบาลอยู่ในขณะนี้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ อาจถึงขั้นต้องแสดงสปิริต เพราะถ้าไม่ ก็จะถูกตอกย้ำว่า เป็นการเข้ามาทำภารกิจตามใบสั่งจากแดนไกล

อย่างไรก็ตาม แม้คลิปดังกล่าวจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อรัฐบาล แต่อีกทางหนึ่งข่าวคลิปดังกล่าวก็ "กลบ" ข่าวในเชิงลบของรัฐบาลไปหมดสิ้น ทั้งการบริหารงานที่ผิดพลาด ส่อทุจริตและสุ่มเสี่ยงต่อข้อกฎหมายในการดำเนินโครงการเมกะโปรเจกท์ต่างๆ

แต่ถึงกระนั้น ถ้าจะแสดงสปิริตกันจริงๆ ก็เป็นเพียงการ "แก้ปัญหาเฉพาะหน้า" เท่านั้น เพราะนับตั้งแต่เป็นข่าวเป็นต้นมา การแบ่งงานภายในกระทรวงกลาโหมก็ยังไม่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เพราะนายกฯ ที่เป็นพลเรือนและไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารย่อมไม่สามารถทำงานด้วย ตนเองได้

เบื้องต้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม รับภาระงานของส่วนของ รมช.กลาโหม ไปพลางๆ ก่อน

นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์กันว่า การแต่งตั้ง พล.อ.ยุทธศักดิ์ เป็น รมช.กลาโหม เพียงเพื่อต้องการ "เพิ่มเสียงโหวต" ในคณะกรรมการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลเป็นหลัก โดยมีภารกิจเข้ามาจัดระเบียบกองทัพให้อยู่ในกรอบที่ฝ่ายการเมืองสามารถ คอนโทรลได้ โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายที่กำลังจะมีขึ้น

แม้ในการแต่งตั้งโยกย้ายเที่ยวนี้จะมีตำแหน่งระดับ ผบ.เหล่าทัพ ว่างลงเพียง 2 ตำแหน่ง คือ ปลัดกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารเรือ แต่เป้าหมายหลักของฝ่ายการเมืองน่าจะมองไปถึงการผลักดันคนของตนเข้าสู่ ตำแหน่ง "5 เสือ" ของเหล่าทัพหลักมากกว่า เพื่อจัดวางคนในไลน์ของตนขึ้นไปจ่อเก้าอี้ ผบ.เหล่าทัพในปี 2557

เป็นปี พ.ศ.2557 ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ และพล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จะเกษียณอายุราชการพร้อมกันถึง 3 เหล่าทัพ

เป็นห้วงเวลาที่เหมาะเจาะที่สุดที่ฝ่ายการเมืองจะ "ล้างบาง" ขั้วอำนาจเก่า จัดแถวกองทัพใหม่ แล้วผลักดันคนของตัวเองเข้าไปแทน เพื่อประกันความมั่นคงของรัฐบาล ซึ่งเสียงในคลิปกล่าวไว้ด้วยความกระหยิ่มใจว่า "ปี 57 เกลี้ยงทุกเหล่า"

ทว่า เมื่อคลิปลับไม่เป็นความลับอีกต่อไป ความปรารถนาในการยึดครองเหล่าทัพก็ย่อมไม่ใช่เรื่องขนมอย่างที่คาด แต่ถึงอย่างไรความพยายามในการยึดครองกองทัพก็จะต้องเดินหน้าอยู่ดี เพราะกองทัพถือเป็นสถาบัน "ด่านสุดท้าย" ที่จะการันตีความสบายใจให้แก่คนแดนไกลได้ว่า ความฝันในการกลับบ้านจะไม่พังครืนดั่งปราสาททรายปะทะคลื่นเหมือนเช่นที่ ผ่านๆ มา

"น.ส.ยิ่งลักษณ์ น่าจะควบตำแหน่ง รมว.กลาโหม ประมาณ 2-3 เดือน จนกว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารจะแล้วเสร็จ และอาจจะมีการปรับคณะครม.ปู 6 โดยอาจจะมีการผลักดันให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหมคนที่ 62 ก็เป็นได้" คนในกองทัพวิเคราะห์ไว้เช่นนั้น

ส่วนแผนการจะสมความมุ่งมาดปรารถนาหรือไม่ต้องจับตาดูกันต่อไป โดยเฉพาะบันไดขั้นแรกๆ ของแผน คือ การตัดสินใจอยู่หรือไปของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ รวมทั้งโผแต่งตั้งโยกย้ายปี 2556 ที่จะมีการต่อรองประลองกำลังกันอย่างหนักระหว่างกองทัพกับฝ่ายการเมือง ท่ามกลางมรสุมทางการเมืองที่จะทวีกำลังแรงขึ้นทุกขณะ โดยมีกองทัพเป็นหนึ่งในปัจจัย "ชี้เป็นชี้ตาย" ให้แก่รัฐบาล

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130716/163517/จับตาเซ่นยุทธศักดิ์รักษารัฐนาวา.html#.UeSyM6ykPZ (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ค.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 16/07/2556 เวลา 03:20:01

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น่าสนใจว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (รมช.กลาโหม) จะอยู่บนเก้าอี้ที่ต้องทำงานร่วมกับผู้บัญชาการเหล่าทัพ (ผบ.เหล่าทัพ) ได้อย่างไร ถึงจะไม่เป็นที่ยืนยันว่า คลิปเสียงสนทนาของชาย 2 คนมีเสียงของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ รวมอยู่ด้วยหรือไม่ แต่ความเชื่อของสังคม และความเชื่อถือย่อมไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป บรรดา ผบ.เหล่าทัพ เองก็เถอะ! ต่อให้ปากบอกว่าไม่ติดใจ แต่สายตาและความรู้สึกลึกๆ เป็นอย่างนั้นหรือ นั่นย่อมหมายความว่า การที่จะบริหารคนบริหารงานบนความ "หวาดระแวง" ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อตัว พล.อ.ยุทธศักดิ์ และต่อรัฐบาล โดยเฉพาะกับวาระการ "แต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร" ภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งคลิปเสียงสนทนานั้นได้ปล้นความไว้วางใจไปหมดสิ้นแล้ว !! ส่วนรายชื่อในคลิปที่ได้ "จัดวาง" คนของตัวเองไว้ในไลน์ทั้งหมดนั้นก็ต้อง "รื้อใหม่หมด" เพราะถ้าไม่รื้อก็เท่ากับยอมรับว่า คลิปเป็นของจริง และการที่จะผลักดันนายทหารที่มีโปรไฟล์ใกล้ชิดกับฝ่ายการเมืองขึ้นไปสู่ ตำแหน่ง ผบ.เหล่าทัพ รวมทั้งระดับ 5 เสือ และระดับคุมกำลัง ก็คงไม่สะดวกโยธินเหมือนก่อน ด้วยการจับจ้องจากสังคมที่จะส่งแรงกดดันไปยังกองทัพและรัฐบาล เมื่อมองไปทางไหนก็เจอแต่อุปสรรคขวากหนาม การเลือกที่จะเสียสละตัวเอง เพื่อประคองรัฐนาวาที่กำลังง่อนแง่นเต็มทน ด้วยสารพัดข้อกล่าวหาทั้งการทุจริต และการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ จึงน่าจะเป็นทางออกที่น่าจะดีที่สุดต่อทั้ง พล.อ.ยุทธศักดิ์ รวมทั้งต่อรัฐบาล และกองทัพในระยะยาว เพื่อปลดชนวนระเบิดที่รายล้อมรัฐบาลอยู่ในขณะนี้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ อาจถึงขั้นต้องแสดงสปิริต เพราะถ้าไม่ ก็จะถูกตอกย้ำว่า เป็นการเข้ามาทำภารกิจตามใบสั่งจากแดนไกล อย่างไรก็ตาม แม้คลิปดังกล่าวจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อรัฐบาล แต่อีกทางหนึ่งข่าวคลิปดังกล่าวก็ "กลบ" ข่าวในเชิงลบของรัฐบาลไปหมดสิ้น ทั้งการบริหารงานที่ผิดพลาด ส่อทุจริตและสุ่มเสี่ยงต่อข้อกฎหมายในการดำเนินโครงการเมกะโปรเจกท์ต่างๆ แต่ถึงกระนั้น ถ้าจะแสดงสปิริตกันจริงๆ ก็เป็นเพียงการ "แก้ปัญหาเฉพาะหน้า" เท่านั้น เพราะนับตั้งแต่เป็นข่าวเป็นต้นมา การแบ่งงานภายในกระทรวงกลาโหมก็ยังไม่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เพราะนายกฯ ที่เป็นพลเรือนและไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารย่อมไม่สามารถทำงานด้วย ตนเองได้ เบื้องต้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม รับภาระงานของส่วนของ รมช.กลาโหม ไปพลางๆ ก่อน นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์กันว่า การแต่งตั้ง พล.อ.ยุทธศักดิ์ เป็น รมช.กลาโหม เพียงเพื่อต้องการ "เพิ่มเสียงโหวต" ในคณะกรรมการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลเป็นหลัก โดยมีภารกิจเข้ามาจัดระเบียบกองทัพให้อยู่ในกรอบที่ฝ่ายการเมืองสามารถ คอนโทรลได้ โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายที่กำลังจะมีขึ้น แม้ในการแต่งตั้งโยกย้ายเที่ยวนี้จะมีตำแหน่งระดับ ผบ.เหล่าทัพ ว่างลงเพียง 2 ตำแหน่ง คือ ปลัดกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารเรือ แต่เป้าหมายหลักของฝ่ายการเมืองน่าจะมองไปถึงการผลักดันคนของตนเข้าสู่ ตำแหน่ง "5 เสือ" ของเหล่าทัพหลักมากกว่า เพื่อจัดวางคนในไลน์ของตนขึ้นไปจ่อเก้าอี้ ผบ.เหล่าทัพในปี 2557 เป็นปี พ.ศ.2557 ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ และพล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จะเกษียณอายุราชการพร้อมกันถึง 3 เหล่าทัพ เป็นห้วงเวลาที่เหมาะเจาะที่สุดที่ฝ่ายการเมืองจะ "ล้างบาง" ขั้วอำนาจเก่า จัดแถวกองทัพใหม่ แล้วผลักดันคนของตัวเองเข้าไปแทน เพื่อประกันความมั่นคงของรัฐบาล ซึ่งเสียงในคลิปกล่าวไว้ด้วยความกระหยิ่มใจว่า "ปี 57 เกลี้ยงทุกเหล่า" ทว่า เมื่อคลิปลับไม่เป็นความลับอีกต่อไป ความปรารถนาในการยึดครองเหล่าทัพก็ย่อมไม่ใช่เรื่องขนมอย่างที่คาด แต่ถึงอย่างไรความพยายามในการยึดครองกองทัพก็จะต้องเดินหน้าอยู่ดี เพราะกองทัพถือเป็นสถาบัน "ด่านสุดท้าย" ที่จะการันตีความสบายใจให้แก่คนแดนไกลได้ว่า ความฝันในการกลับบ้านจะไม่พังครืนดั่งปราสาททรายปะทะคลื่นเหมือนเช่นที่ ผ่านๆ มา "น.ส.ยิ่งลักษณ์ น่าจะควบตำแหน่ง รมว.กลาโหม ประมาณ 2-3 เดือน จนกว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารจะแล้วเสร็จ และอาจจะมีการปรับคณะครม.ปู 6 โดยอาจจะมีการผลักดันให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหมคนที่ 62 ก็เป็นได้" คนในกองทัพวิเคราะห์ไว้เช่นนั้น ส่วนแผนการจะสมความมุ่งมาดปรารถนาหรือไม่ต้องจับตาดูกันต่อไป โดยเฉพาะบันไดขั้นแรกๆ ของแผน คือ การตัดสินใจอยู่หรือไปของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ รวมทั้งโผแต่งตั้งโยกย้ายปี 2556 ที่จะมีการต่อรองประลองกำลังกันอย่างหนักระหว่างกองทัพกับฝ่ายการเมือง ท่ามกลางมรสุมทางการเมืองที่จะทวีกำลังแรงขึ้นทุกขณะ โดยมีกองทัพเป็นหนึ่งในปัจจัย "ชี้เป็นชี้ตาย" ให้แก่รัฐบาล ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130716/163517/จับตาเซ่นยุทธศักดิ์รักษารัฐนาวา.html#.UeSyM6ykPZ คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง