รัฐศาสตร์ชุมนุม เปิดหลากโจทย์เก่า-ใหม่ สังคมการเมืองไทย

แสดงความคิดเห็น

24 มิ.ย.56 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนิตยสารวิภาษา จัดงาน รัฐศาสตร์ชุมนุม: สู่ทศวรรษที่เก้าประชาธิปไตยไทย โดยในช่วงบ่ายมีการอภิปรายเรื่อง“รัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทย” ส่วนในช่วงเช้าเป็นงานชุมนุมทางวิชาการ ซึ่งมีการนำเสนองานศึกษาหลายชิ้นจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์สถาบันต่างๆ (อ่านหัวข้อทั้งหมดที่ด้านล่างสุด)

ในการอภิปรายเรื่องรัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทย ยุทธพร อิสระชัย จากรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงปัญหาหลายประการทั้งการเมืองในระบบและการเมืองนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นหลักการเรื่องนิติรัฐ สิทธิเสรีภาพที่ไม่ถูกนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง ความอ่อนแอของรัฐสภา ระบบตรวจสอบที่มีปัญหา การแทรกแซงอำนาจรัฐ ส่วนการเมืองนอกระบบก็ยังมีปัญหาการสร้างความเข้มแข็งของพลเมือง วัฒนธรรมที่จะเอื้ออำนวยต่อการสร้างประชาธิปไตยยังไม่ดีพอ ตอนนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็น ‘มวลชนาธิปไตย’ การเคลื่อนไหวการเมืองแบบมวลชนไม่ได้เป็นภาพเชิงบวกเสมอไป ถ้าประเด็นไม่สร้างสรรค์ต่อระบอบประชาธิปไตย เป็นการที่มวลชนพยายามแทรกตัวสู่อำนาจรัฐ ก็ไม่ต่างจากที่เคยกล่าวหาทุน

เขากล่าวอีกว่าองค์ความรู้ใหม่ของรัฐศาสตร์ที่จะทันต่อความเปลี่ยนแปลง เหล่านี้ก็ยังไม่ดีพอ ทำให้ถูกตั้งคำถามมากว่ารัฐศาสตร์มีบทบาทในการแก้ปัญหาทางการเมืองได้สัก เท่าไร

วิโรจน์ อาลี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของระบบการเมืองไทยเป็นดังที่เบน แอนเดอร์สันเคยเขียนไว้ในหนังสือเมื่อหลายสิบปีก่อนว่า ในช่วงสร้างความเป็นชาติ เราสามารถแยกตัวเองออกจากอำนาจเด็ดขาด ( absolutism) ได้ ซึ่งอำนาจเด็ดขาดก็ความหมายหลากหลาย จนถึงวันนี้ปัญหานี้ก็ยังไม่จบ เหมือนเหตุการณ์พาเราไป แต่ทุกคนก็ต้องการคำตอบเดียวที่สุดโต่ง เช่น ความมั่นคงของชาติสำคัญที่สุด การรักษาไว้ซึ่งสถาบันสำคัญที่สุด เลือกไม่ได้ เชื่อว่าศาลไม่ว่าทำอะไรก็ถูกทั้งหมด เป็นต้น ถ้าไม่สามารถนิยามความเป็นชาติที่วางอยู่บนความเป็นประชาชาติหรือเอาประชาชน เป็นศูนย์กลางได้ก็ถือว่ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ส่วนการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ ก็ยังไม่สามารถทำให้นักศึกษามองไกลและเท่าทันสถานการณ์การต่างๆ ในโลกได้

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากอ้างอิงถึงรัฐศาสตร์อเมริกัน ก็จะมีไว้เพื่อเชิดชูความเป็นอเมริกัน ความเป็นอเมริกันคือประชาธิปไตย รัฐศาสตร์อเมริกันเป็นหนึ่งเดียวกับประชาธิปไตย และอเมริกันก็ส่งออกประชาธิปไตย เรากต้องถามตัวเองว่าตัวตนของรัฐศาสตร์คืออะไร มันทำอะไรบ้าง ปัจจุบันนี้ดูเหมือนรัฐศาสตร์จะไม่มีที่ยืน ขณะที่ผู้คนหันศึกษากฎหมายหรือไม่ก็เศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นรูปธรรมมากกว่า แต่รัฐศาสตร์กลับเน้นตั้งคำถาม เคลื่อนตัวไปมาระหว่างปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ มีความหลากหลายที่ไม่คนอื่นอาจไม่เข้าใจ

ทำไมองค์อธิปัตย์ได้สิทธิตัดสินใจในสภาวะยกเว้น

เกษม เพ็ญภินันท์ นำเสนอเรื่อง“อ่าน Carl Schmitt ในบริบททวิรัฐ” เป็นงานศึกษาที่ยังไม่เสร็จ เน้นศึกษาประโยคสำคัญของ Carl Schmitt ที่ว่า องค์ประชาธิปัตย์เป็นบุคคลสำคัญที่ตัดสินใจในสภาวะยกเว้น ชมิทพยายามเข้าใจองค์อธิปัตย์โดยอธิบายในแง่เทววิทยาทางการเมืองบนพื้นฐาน ของการเมืองสมัยใหม่ที่แปรสภาพมาจากความเข้าใจแบบเก่า องค์อธิปัตย์จึงเป็นบุคคลที่ได้รับเทวสิทธิบางอย่างในสร้างความชอบธรรมให้ ตำแหน่งแห่งที่ของตัวเอง การตัดสินใจต่างๆ ขององค์อธิปัตย์ก็เสมือนภาวะ creation เป็นสภาวะยกเว้นให้เฉพาะบางบุคคลที่จะได้รับสภาวะนั้น เป็นที่มาของ divine right มาสู่กษัตริย์ เป็นบุคคลที่ transcend body ของ God เป็น 2 กายา

สิ่งที่ชมิททำคือการทำให้เทววิทยาส่วนนี้มาบนพื้นฐานของรัฐสมัย รัฐเสรีนิยม องค์อธิปัตย์ไม่ใช่เพียงคนใช้อำนาจ แต่สามารถใช้อำนาจในสภาวะยกเว้น โดยมีสิ่งที่ตัดกันคือ กฎหมายกับสภาวะยกเว้น กฎหมายรองรับการตัดสินใจขององค์อธิปัตย์ และองค์อธิปัตย์ก็ตัดสินใจใช้อำนาจบนพื้นฐานของการได้รับกายกเว้น เป็น free act โดยชมิทเห็นว่าสภาวะยกเว้นนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีสิ่งที่สร้างความ ชอบธรรมให้ตัวเองในลักษณะของบรรทัดฐาน (Norm) เดิมที่วางอยู่บนพื้นฐานของอภินิหาร (miracle) ชมิทอธิบายบนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ที่รองรับการใช้อำนาจนั้น เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 3 ที่อนุญาตให้องค์อธิปัตย์ใช้อำนาจตรงนี้ได้ การอ่านชมิทตรงส่วนนี้จะทำให้เห็นอำนาจรัฐที่ซ้อนรัฐซึ่งเร้นตัวเองบนพื้น ฐานของรัฐแบบ normative state และพยายามอธิบายลักษณะการทำงานนี้ซึ่งอาศัยการทำงานของ legal state ว่าเป็นอย่างไร

การเมืองวัฒนธรรมของ ลูกจีนกู้ชาติ VS หมู่บ้นเสื้อแดง

พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ นำเสนอเรื่อง Politics of Multiculturalism in Thailand โดยระบุว่าข้อถกเถียงใหญ่ของโลกนี้ไม่ได้จบลงที่ประชาธิปไตยแต่เกี่ยวพันไป ถึงการกำหนดตัวนโยบายด้วย การเมืองในวันนี้มีสองเรื่องที่เพิ่มขึ้นคือ สิทธิทางเศรษฐกิจ และ สิทธิทางวัฒนธรรม โดยในเรื่องเศรษฐกิจก็จะมีการพูดถึงสวัสดิการ และเนื่องจากยุโรปมีการเคลื่อนย้ายของคนทำให้ต้องมีการพูดเรื่องวัฒนธรรมอัน หลากหลายของผู้คนด้วยเช่นกัน

สำหรับสถานะของความรู้และการต่อสู้เรื่องนี้ในเมืองไทยไม่เด่นชัดนัก ที่ผ่านมาส่วนมากจะศึกษาเรื่องนโยบายชาวเขา แต่อยากจะนำเสนอมันในบริบททางการเมืองของเสื้อเหลืองและเสื้อแดง เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีการอธิบายประชาธิปไตยทางวัฒนธรรมในแบบของตัวเอง โดยจะเห็นผ่านปรากฏการณ์ ลูกจีนกู้ชาติ กับ หมู่บ้านเสื้อแดง ทั้งนี้ ขอไม่อธิบายในมุมของเศรษฐกิจ ชนชั้น เพราะเห็นว่ามีคนพูดแล้วและเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายประกอบด้วยคนหลากชนชั้นทั้ง คู่

จะเห็นว่าวิธีการต่อสู้ทั้งสองฝ่ายได้ดึงเอา moment บางอันในอดีตมาพยายามปรับใหม่ และเอาคอนเซ็ปท์คนกลุ่มน้อยมาเกี่ยวพัน เช่น การที่ลูกจีนนำปมในอดีตของตัวเองมาต่อสู้ แม้ปมนั้นจะจบไปแล้ว แต่ก็สร้างภาพนี้อีกครั้ง ในการ “กู้ชาติ” กรณีเสื้อแดงจุดสำคัญของการดึงความเป็นชนกลุ่มน้อยเป็นชั่วเวลาสั้นๆ ช่วงถูกปราบ ก่อนยิ่งลักษณ์เป็นรัฐบาล อย่างไรก็ตาม การเกิดหมู่บ้านเสื้อแดงจำนวนมากในขณะนี้เป็นการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ เป็นการแข็งข้อกับรัฐในระดับรากฐาน ดังนั้นจะเห็นว่า การต่อสู้เรื่องประชาธิปไตยไม่ได้ใช้หลักเสรีภาพ ประชาธิปไตยแบบตะวันตกล้วนๆ แต่เชื่อมโยงกับมิติทางประวัติศาสตร์ที่อ้างว่าตัวเองถูกกดขี่ แล้วแปรเปลี่ยนมันเป็นพลังในการกู้ชาติ ในการต่อต้าน ทั้งสองฝ่ายนี้ล้วนแต่มีความเป็นพลเมือง (citizenship) เหมือนกัน แต่ดูเหมือนการเมืองปัจจุบันยังไม่ตอบคำถามของเขา

เสียงข้างน้อย อาจไม่ถูกเสมอไป

ศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ นำเสนอเรื่อง "เสียงข้างน้อยในสังคมประชาธิปไตย" กล่าวว่า รูปแบบของการพูดถึงสิทธิเสียงข้างน้อยที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด คือช่วงก่อนที่จะรณรงค์รับรัฐธรรมนูญในอเมริกายุคต้นๆ federalist เขียนเพื่อจูงใจตัวแทนรัฐนิวยอร์กรับรัฐธรรมนูญของสหภาพ บทความสำคัญชิ้นหนึ่งเขียนโดย Alexander Hamilton ชี้ให้เห็นว่า เสียงข้างมากที่จนและขาดความรู้เป็นอันตราย จึงพยายามจะออกแบบสถาบันทางการเมืองรองรับเสียงข้างน้อยที่ฉลาด จึงเป็นที่มาของการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในอเมริกา นี่เป็นหลักการที่สะท้อนให้เห็นว่าคำนึงถึงเสียงข้างน้อยอย่างเป็นรูปธรรม

ในเมืองไทย 5-6 ปีที่ผ่านมา มีการชุมนุมของทั้งสองฝั่ง ด้านหนึ่งการชุมนุมยืนบนสิทธิของเสียงข้างน้อย แต่มันต่างกับสังคมที่มีพัฒนาการทางสังคมที่มีประชาธิปไตยมายาวนาน เพราะการเคลื่อนไหวของเราพร้อมจะล้มรูปแบบการปกครองประชาธิปไตย ดูได้จากข้อเสนอของ พธม.ที่เสนอ ม.7 หรือกลุ่มที่สนามหลวงที่พยายามเสนอใช้ ม.3 ความน่าสนใจคือการกล่าวอ้างเสียงข้างน้อยในไทย โดยลำพังตัวมันเองไม่สามารถทำงานได้โดยหลักการโดดๆ แต่กลุ่มที่กล่าวอ้างเสียงข้างน้อยต้องผนวกกับปัจจัยอื่นๆ เช่น เรื่องความดี คนดี , การเคลื่อนไหวของกองทัพ ดังนั้น วัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยตามหลักสากล จึงมีปัญหาอยู่ตลอดเวลาในสังคมการเมืองไทย

เรื่องเสียงข้างน้อยในมิติเศรษฐกิจนั้น เสียงข้างน้อยจะเป็นผู้มั่งคั่ง เป็นกลุ่มอภิชนที่เชื่อว่าตัวเองกำหนดทิศทางและหาทางออกของสังคมได้ โดยขอให้คนส่วนใหญ่วางใจและเชื่อใจกลุ่มตนเองเพื่อจะหาทางออกได้ร่วมกัน

ดังนั้นจึงมีสองคำถามที่จะชี้ชวนนักรัฐศาสตร์คือ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องศึกษาเสียงข้างน้อยในสังคมไทยอย่างเป็น รูปธรรมจริงจัง และถึงเวลาหรือยังที่สังคมไทยต้องมาพูดเรื่องระบบเลือกตั้งในปัจจุบัน เพื่อกันไม่ให้เสียงข้างน้อยเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตย

ชุมชนเข้มแข็ง การควบคุมแบบละเอียดของรัฐ

รัชนี ประดับ นำเสนอเรื่อง“ชุมชนเข้มแข็ง: ปฏิบัติการทางอำนาจของรัฐไทยสมัยใหม่” โดยระบุว่านี่เป็นเทคนิควิทยาการของรัฐสมัยใหม่ เป็นวิธีควบคุมของรัฐแบบใหม่ ไม่ได้มีเป้าหมายจากการหลุดรอดจาการควบคุมอย่างที่เข้าใจ

ความเข้าใจต่อชุมชนเข้มแข็ง หลังพฤษภา 35 มักโยงกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง การพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ กระบวนการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 การเผยตัวของคำนี้เป็นปฏิบัติการของวาทกรรมในการพัฒนาท่ามกลางการอุปถัมภ์ ของนักวิชาการ

คำเช่น การพึ่งตนเอง ภูมิปัญญาชาวบ้าน วัฒนธรรมชุมชน เกิดขึ้นในทศวรรษ 2530 โดยอาศัยเครือข่ายอำนาจที่ทำงานใกล้ชิดชุมชนเป็นกลไกดำเนินการ จากที่เป็นกระแสทางเลือกก็เริ่มมาฮิตในทศวรรษ 2540 ร่วมไปกับเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ไม่ต่างอะไรกับศิลปะของการปกครองของรัฐสมัยใหม่ เพียงแต่เน้นให้ประชาชนพึ่งตัวเองมากว่าพึ่งพิงรัฐ รัฐไม่ได้ใช้อำนาจกดบังคับ แต่คำนึงถึงการดูแลประชาชน โดยอาศัยประชาชนเองที่จะมีสำนึกในการดูแลตัวเอง จัดการชีวิตประจำวันกันเอง

หมอประเวศ วะสี ถือเป็นผู้ผลิตวาทกรรมเรื่องนี้ที่รัฐหยิบไปใช้มากที่สุดคนหนึ่ง และมีส่วนอย่างมากของการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง สร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งผ่านองค์กรอิสระ สสส. สกว. พอช. จัดการโปรแกรมพัฒนาที่มีเป้าหมายที่ชุมชน

อย่างไรก็ตาม ชุมชนเข้มแข็งมีลักษณะกำลังพัฒนาแต่ยังไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็ไม่ได้โหยหาอดีตแบบเดิม หากแต่เป็นการก่อตัวชุมชนในแบบใหม่ บริหารจัดการชีวิตโดยอาศัยสำนึกคนในชุมชนเอง ปฏิบัติการเกิดจากการกระตุ้นในเงื่อนไขของความสัมพันธ์อำนาจที่หลากหลาย จึงกลายเป็นความเคลือบแคลงสงสัยต่อเสรีภาพที่เพิ่มขึ้นในกระบวนการสร้างตัว มัน เพราะไม่ได้ปราศจากอำนาจ แต่มองว่าเป็นการพัฒนาเทคนิคการใช้อำนาจอีกรูปแบบ เป็นการควบคุมอย่างละเอียดลออในเปลืองของเสรีภาพแบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ขบวนการนักศึกษา..ที่ไม่ได้เข้าป่า

ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น นำเสนอเรื่อง "การเมืองของอุดมการณ์ของขบวนการนักศึกษา : อิทธิพลทางอุดมการณ์แบบ พคท. ต่อขบวนการนักศึกษาในเมืองหลัง 6 ตุลาคม 2519 ถึงยุคป่าแตก” กล่าวว่า งานศึกษาชิ้นนี้สนใจศึกษาขบวนการนักศึกษา หลัง 6 ตุลา 19 จนถึงป่าแตก โดยมุ่งศึกษากลุ่มที่ปฏิบัติการอยู่ในเมือง ไม่ใช่กลุ่มที่เข้าป่า คำถามสำคัญคือ อุดมการณ์นักศึกษาคืออะไร, ความสัมพันธ์ของขบวนการนักศึกษายุคนั้นกับนโยบายและการเมืองในปัจจุบัน, ขบวนการซ้ายไทยในบริบทการเมืองเหลืองแดงยัง function อยู่หรือไม่ และมีส่วนกำหนดการเคลื่อนไหวเหลืองแดงไหม

แง่การเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรมอุดมการณ์ของนักศึกษา งานประจักษ์ ก้องกีรติ แบ่งเป็น 3 สาย คือ พวกเสรีนิยม, พวกซ้าย ไม่ใช่แบบ พคท.แต่เป็นแบบกุหลาบ สายประดิษฐ์, พวก new left บุปผาชนอเมริกัน หลัง 14 ตุลา 16 บริบทสังคมเริ่มเปิด ส่วน พคท.ก็เริ่มมามีอิทธิพลมากในยุคนี้ จนถูกปราบเมื่อ 6 ตุลา 19 นักศึกษาส่วนใหญ่ก็หนีเข้าป่า พวกที่หลงเหลือในเมืองหรือ “ผู้ปฏิบัติงานในเขตเมือง” นั้นจากหลักฐานต่างๆ การสัมภาษณ์ การอ่านเอกสาร พบว่า การขยายอิทธิพลเชิงอุดมการณ์มีนัยที่สำคัญ 2 อย่าง คือ เป็นการเคลื่อนไหวที่ออกมาจากยุทธศาสตร์ของ พคท.เอง ที่ประเมินแล้วว่าจะต้องขยายเขตงานการปฏิวัติเชื่อมเขตเมืองกับป่าเข้าด้วย กัน กับเป็นส่วนของขบวนการนักศึกษาเอง หากถามว่านักศึกษาสัมพันธ์กับ พคท.ได้อย่างไร เราจะพบว่าหลังการล้อมปราบก็เข้าสู่สถานการณ์ที่เปิดเผยตัวไม่ได้ ด้วยความที่ถูกรัฐไล่ขยี้ในทางการเมืองและต้องการแก้แค้น ทำให้ความต้องการทั้งสองส่วนมาบรรจบกัน จึงเกิดการรื้อฟื้นอุดมการณ์ภายใต้อิทธิพลพคท.ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยธานินทร์ กรัยวิเชียร

ยุทศาสตร์ พคท. รูปธรรมนั้นจะมีหน่วยจัดตั้งพรรคที่อยู่ในเมือง ผู้ปฏิบัติงานทางการเมืองของพรรคแบ่งเป็น 2 พวก คือ พวกนักศึกษารุ่นพี่ที่มีสัมพันธ์กับ พคท.ก่อนหน้า 6 ตุลาอยู่แล้ว กับ ผู้ปฏิบัติงานของพรรคโดยตรง แต่ส่วนใหญ่ส่งรุ่นพี่มาเสียมากกว่า พคท.ออกทฤษฎี “กองหน้าสะพานเชื่อม” ถูกผลิตออกมาจากศูนย์การนำในช่วง 2520-2522 ตั้งอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา แต่นักศึกษาที่เข้าไปในป่าก็เริ่มทะเลาะกับพรรคในป่าแล้วเกี่ยวกับการ วิเคราะห์สังคมไทยตรงนี้ ส่วนในเมืองกลับเป็นหนังอีกม้วนหนึ่ง นักศึกษาในเมืองไม่ค่อยรู้สถานการณ์ในป่า จึงยอมรับอุดมการณ์ พคท.โดยตั้งคำถามน้อย

สำหรับกองหน้าสะพานเชื่อมนั้น พคท.อธิบายว่า ขบวนการนักศึกษาเป็นชนชั้นนายทุนน้อย ไม่ใช่ขบวนปฏิบัติโดยตัวเอง แต่เป็นกองหน้าในการเผยแพร่แนวคิดสังคมวิทยาศาสตร์ เชื่อมกรรมการแรงงาน นักศึกษาก็เชื่อว่าตัวเองเป็นสะพานเชื่อมไปสู่การปฏิวัติ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต่อมาของเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้เปลี่ยนนโยบายเปิดกว้างทางการเมืองมากขึ้น ขบวนการนักศึกษาก็ฟื้นคืนมาภายใต้ยุทธศาสตร์แบบพคท. ขบวนการนักศึกษาในเมืองช่วงนั้นแทบจะเป็นสาขาหนึ่งของพรรคด้วยซ้ำ ภายใต้การชี้นำของ พคท.นี้ก็เกิดเครือข่ายนักศึกษาระหว่างสถาบัน มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบลับลวงพราง นำไปสู่การประท้วงนโยบายเศรษฐกิจ เพราะพูดการเมืองตรงๆ ไม่ได้

ทั้งนี้ หัวข้อทั้งหมดที่มีการนำเสนอได้แก่ เกษม เพ็ญภินันท์ นำเสนอเรื่อง“อ่าน Carl Schmitt ในบริบททวิรัฐ” , พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นำเสนอเรื่อง “politics of multiculturalism in thailand”, บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ นำเสนอเรื่อง “ทัศนียภาพของการต่อต้าน: สู่การเมืองทัศนา”, ณัฐพล ใจจริง นำเสนอเรื่อง “เขียนสามัญชนในสังคมประชาธิปไตยไทย”, ศุภชัย ศุภผล นำเสนอเรื่อง“รุสโซในระบอบปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2745-2490” , ศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ นำเสนอเรื่อง "เสียงข้างน้อยในสังคมประชาธิปไตย", ชนุตร์ นาคทรานนท์ นำเสนอเรื่อง "เหตุผลทางการเมืองและเหตุผลทางตรรกศาสตร์ในการเมืองไทย", ศรัณย์ วงศ์ขจิตร นำเสนอเรื่อง “66/23 ใน ‘ไฟใต้’, ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น นำเสนอเรื่อง "การเมืองของอุดมการณ์ของขบวนการนักศึกษา : อิทธิพลทางอุดมการณ์แบบ พคท. ต่อขบวนการนักศึกษาในเมืองหลัง 6 ตุลาคม 2519 ถึงยุคป่าแตก”, อุเชนทร์ เชียงเสน นำเสนอเรื่อง “หลังการเมืองแบบฝ่ายซ้าย- พคท. (2524-2535): การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและความคิดของนักศึกษา-ปัญญาชนกลุ่มต่างๆ ยุคหลัง “ป่าแตก”, รัชนี ประดับ นำเสนอเรื่อง“ชุมชนเข้มแข็ง: ปฏิบัติการทางอำนาจของรัฐไทยสมัยใหม่”

ขอบคุณ http://prachatai.com/journal/2013/06/47377

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 มิ.ย..56
วันที่โพสต์: 26/06/2556 เวลา 03:53:39

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

24 มิ.ย.56 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนิตยสารวิภาษา จัดงาน รัฐศาสตร์ชุมนุม: สู่ทศวรรษที่เก้าประชาธิปไตยไทย โดยในช่วงบ่ายมีการอภิปรายเรื่อง“รัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทย” ส่วนในช่วงเช้าเป็นงานชุมนุมทางวิชาการ ซึ่งมีการนำเสนองานศึกษาหลายชิ้นจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์สถาบันต่างๆ (อ่านหัวข้อทั้งหมดที่ด้านล่างสุด) ในการอภิปรายเรื่องรัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทย ยุทธพร อิสระชัย จากรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงปัญหาหลายประการทั้งการเมืองในระบบและการเมืองนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นหลักการเรื่องนิติรัฐ สิทธิเสรีภาพที่ไม่ถูกนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง ความอ่อนแอของรัฐสภา ระบบตรวจสอบที่มีปัญหา การแทรกแซงอำนาจรัฐ ส่วนการเมืองนอกระบบก็ยังมีปัญหาการสร้างความเข้มแข็งของพลเมือง วัฒนธรรมที่จะเอื้ออำนวยต่อการสร้างประชาธิปไตยยังไม่ดีพอ ตอนนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็น ‘มวลชนาธิปไตย’ การเคลื่อนไหวการเมืองแบบมวลชนไม่ได้เป็นภาพเชิงบวกเสมอไป ถ้าประเด็นไม่สร้างสรรค์ต่อระบอบประชาธิปไตย เป็นการที่มวลชนพยายามแทรกตัวสู่อำนาจรัฐ ก็ไม่ต่างจากที่เคยกล่าวหาทุน เขากล่าวอีกว่าองค์ความรู้ใหม่ของรัฐศาสตร์ที่จะทันต่อความเปลี่ยนแปลง เหล่านี้ก็ยังไม่ดีพอ ทำให้ถูกตั้งคำถามมากว่ารัฐศาสตร์มีบทบาทในการแก้ปัญหาทางการเมืองได้สัก เท่าไร วิโรจน์ อาลี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของระบบการเมืองไทยเป็นดังที่เบน แอนเดอร์สันเคยเขียนไว้ในหนังสือเมื่อหลายสิบปีก่อนว่า ในช่วงสร้างความเป็นชาติ เราสามารถแยกตัวเองออกจากอำนาจเด็ดขาด ( absolutism) ได้ ซึ่งอำนาจเด็ดขาดก็ความหมายหลากหลาย จนถึงวันนี้ปัญหานี้ก็ยังไม่จบ เหมือนเหตุการณ์พาเราไป แต่ทุกคนก็ต้องการคำตอบเดียวที่สุดโต่ง เช่น ความมั่นคงของชาติสำคัญที่สุด การรักษาไว้ซึ่งสถาบันสำคัญที่สุด เลือกไม่ได้ เชื่อว่าศาลไม่ว่าทำอะไรก็ถูกทั้งหมด เป็นต้น ถ้าไม่สามารถนิยามความเป็นชาติที่วางอยู่บนความเป็นประชาชาติหรือเอาประชาชน เป็นศูนย์กลางได้ก็ถือว่ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ส่วนการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ ก็ยังไม่สามารถทำให้นักศึกษามองไกลและเท่าทันสถานการณ์การต่างๆ ในโลกได้ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากอ้างอิงถึงรัฐศาสตร์อเมริกัน ก็จะมีไว้เพื่อเชิดชูความเป็นอเมริกัน ความเป็นอเมริกันคือประชาธิปไตย รัฐศาสตร์อเมริกันเป็นหนึ่งเดียวกับประชาธิปไตย และอเมริกันก็ส่งออกประชาธิปไตย เรากต้องถามตัวเองว่าตัวตนของรัฐศาสตร์คืออะไร มันทำอะไรบ้าง ปัจจุบันนี้ดูเหมือนรัฐศาสตร์จะไม่มีที่ยืน ขณะที่ผู้คนหันศึกษากฎหมายหรือไม่ก็เศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นรูปธรรมมากกว่า แต่รัฐศาสตร์กลับเน้นตั้งคำถาม เคลื่อนตัวไปมาระหว่างปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ มีความหลากหลายที่ไม่คนอื่นอาจไม่เข้าใจ ทำไมองค์อธิปัตย์ได้สิทธิตัดสินใจในสภาวะยกเว้น เกษม เพ็ญภินันท์ นำเสนอเรื่อง“อ่าน Carl Schmitt ในบริบททวิรัฐ” เป็นงานศึกษาที่ยังไม่เสร็จ เน้นศึกษาประโยคสำคัญของ Carl Schmitt ที่ว่า องค์ประชาธิปัตย์เป็นบุคคลสำคัญที่ตัดสินใจในสภาวะยกเว้น ชมิทพยายามเข้าใจองค์อธิปัตย์โดยอธิบายในแง่เทววิทยาทางการเมืองบนพื้นฐาน ของการเมืองสมัยใหม่ที่แปรสภาพมาจากความเข้าใจแบบเก่า องค์อธิปัตย์จึงเป็นบุคคลที่ได้รับเทวสิทธิบางอย่างในสร้างความชอบธรรมให้ ตำแหน่งแห่งที่ของตัวเอง การตัดสินใจต่างๆ ขององค์อธิปัตย์ก็เสมือนภาวะ creation เป็นสภาวะยกเว้นให้เฉพาะบางบุคคลที่จะได้รับสภาวะนั้น เป็นที่มาของ divine right มาสู่กษัตริย์ เป็นบุคคลที่ transcend body ของ God เป็น 2 กายา สิ่งที่ชมิททำคือการทำให้เทววิทยาส่วนนี้มาบนพื้นฐานของรัฐสมัย รัฐเสรีนิยม องค์อธิปัตย์ไม่ใช่เพียงคนใช้อำนาจ แต่สามารถใช้อำนาจในสภาวะยกเว้น โดยมีสิ่งที่ตัดกันคือ กฎหมายกับสภาวะยกเว้น กฎหมายรองรับการตัดสินใจขององค์อธิปัตย์ และองค์อธิปัตย์ก็ตัดสินใจใช้อำนาจบนพื้นฐานของการได้รับกายกเว้น เป็น free act โดยชมิทเห็นว่าสภาวะยกเว้นนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีสิ่งที่สร้างความ ชอบธรรมให้ตัวเองในลักษณะของบรรทัดฐาน (Norm) เดิมที่วางอยู่บนพื้นฐานของอภินิหาร (miracle) ชมิทอธิบายบนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ที่รองรับการใช้อำนาจนั้น เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 3 ที่อนุญาตให้องค์อธิปัตย์ใช้อำนาจตรงนี้ได้ การอ่านชมิทตรงส่วนนี้จะทำให้เห็นอำนาจรัฐที่ซ้อนรัฐซึ่งเร้นตัวเองบนพื้น ฐานของรัฐแบบ normative state และพยายามอธิบายลักษณะการทำงานนี้ซึ่งอาศัยการทำงานของ legal state ว่าเป็นอย่างไร การเมืองวัฒนธรรมของ ลูกจีนกู้ชาติ VS หมู่บ้นเสื้อแดง พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ นำเสนอเรื่อง Politics of Multiculturalism in Thailand โดยระบุว่าข้อถกเถียงใหญ่ของโลกนี้ไม่ได้จบลงที่ประชาธิปไตยแต่เกี่ยวพันไป ถึงการกำหนดตัวนโยบายด้วย การเมืองในวันนี้มีสองเรื่องที่เพิ่มขึ้นคือ สิทธิทางเศรษฐกิจ และ สิทธิทางวัฒนธรรม โดยในเรื่องเศรษฐกิจก็จะมีการพูดถึงสวัสดิการ และเนื่องจากยุโรปมีการเคลื่อนย้ายของคนทำให้ต้องมีการพูดเรื่องวัฒนธรรมอัน หลากหลายของผู้คนด้วยเช่นกัน สำหรับสถานะของความรู้และการต่อสู้เรื่องนี้ในเมืองไทยไม่เด่นชัดนัก ที่ผ่านมาส่วนมากจะศึกษาเรื่องนโยบายชาวเขา แต่อยากจะนำเสนอมันในบริบททางการเมืองของเสื้อเหลืองและเสื้อแดง เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีการอธิบายประชาธิปไตยทางวัฒนธรรมในแบบของตัวเอง โดยจะเห็นผ่านปรากฏการณ์ ลูกจีนกู้ชาติ กับ หมู่บ้านเสื้อแดง ทั้งนี้ ขอไม่อธิบายในมุมของเศรษฐกิจ ชนชั้น เพราะเห็นว่ามีคนพูดแล้วและเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายประกอบด้วยคนหลากชนชั้นทั้ง คู่ จะเห็นว่าวิธีการต่อสู้ทั้งสองฝ่ายได้ดึงเอา moment บางอันในอดีตมาพยายามปรับใหม่ และเอาคอนเซ็ปท์คนกลุ่มน้อยมาเกี่ยวพัน เช่น การที่ลูกจีนนำปมในอดีตของตัวเองมาต่อสู้ แม้ปมนั้นจะจบไปแล้ว แต่ก็สร้างภาพนี้อีกครั้ง ในการ “กู้ชาติ” กรณีเสื้อแดงจุดสำคัญของการดึงความเป็นชนกลุ่มน้อยเป็นชั่วเวลาสั้นๆ ช่วงถูกปราบ ก่อนยิ่งลักษณ์เป็นรัฐบาล อย่างไรก็ตาม การเกิดหมู่บ้านเสื้อแดงจำนวนมากในขณะนี้เป็นการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ เป็นการแข็งข้อกับรัฐในระดับรากฐาน ดังนั้นจะเห็นว่า การต่อสู้เรื่องประชาธิปไตยไม่ได้ใช้หลักเสรีภาพ ประชาธิปไตยแบบตะวันตกล้วนๆ แต่เชื่อมโยงกับมิติทางประวัติศาสตร์ที่อ้างว่าตัวเองถูกกดขี่ แล้วแปรเปลี่ยนมันเป็นพลังในการกู้ชาติ ในการต่อต้าน ทั้งสองฝ่ายนี้ล้วนแต่มีความเป็นพลเมือง (citizenship) เหมือนกัน แต่ดูเหมือนการเมืองปัจจุบันยังไม่ตอบคำถามของเขา เสียงข้างน้อย อาจไม่ถูกเสมอไป ศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ นำเสนอเรื่อง "เสียงข้างน้อยในสังคมประชาธิปไตย" กล่าวว่า รูปแบบของการพูดถึงสิทธิเสียงข้างน้อยที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด คือช่วงก่อนที่จะรณรงค์รับรัฐธรรมนูญในอเมริกายุคต้นๆ federalist เขียนเพื่อจูงใจตัวแทนรัฐนิวยอร์กรับรัฐธรรมนูญของสหภาพ บทความสำคัญชิ้นหนึ่งเขียนโดย Alexander Hamilton ชี้ให้เห็นว่า เสียงข้างมากที่จนและขาดความรู้เป็นอันตราย จึงพยายามจะออกแบบสถาบันทางการเมืองรองรับเสียงข้างน้อยที่ฉลาด จึงเป็นที่มาของการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในอเมริกา นี่เป็นหลักการที่สะท้อนให้เห็นว่าคำนึงถึงเสียงข้างน้อยอย่างเป็นรูปธรรม ในเมืองไทย 5-6 ปีที่ผ่านมา มีการชุมนุมของทั้งสองฝั่ง ด้านหนึ่งการชุมนุมยืนบนสิทธิของเสียงข้างน้อย แต่มันต่างกับสังคมที่มีพัฒนาการทางสังคมที่มีประชาธิปไตยมายาวนาน เพราะการเคลื่อนไหวของเราพร้อมจะล้มรูปแบบการปกครองประชาธิปไตย ดูได้จากข้อเสนอของ พธม.ที่เสนอ ม.7 หรือกลุ่มที่สนามหลวงที่พยายามเสนอใช้ ม.3 ความน่าสนใจคือการกล่าวอ้างเสียงข้างน้อยในไทย โดยลำพังตัวมันเองไม่สามารถทำงานได้โดยหลักการโดดๆ แต่กลุ่มที่กล่าวอ้างเสียงข้างน้อยต้องผนวกกับปัจจัยอื่นๆ เช่น เรื่องความดี คนดี , การเคลื่อนไหวของกองทัพ ดังนั้น วัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยตามหลักสากล จึงมีปัญหาอยู่ตลอดเวลาในสังคมการเมืองไทย เรื่องเสียงข้างน้อยในมิติเศรษฐกิจนั้น เสียงข้างน้อยจะเป็นผู้มั่งคั่ง เป็นกลุ่มอภิชนที่เชื่อว่าตัวเองกำหนดทิศทางและหาทางออกของสังคมได้ โดยขอให้คนส่วนใหญ่วางใจและเชื่อใจกลุ่มตนเองเพื่อจะหาทางออกได้ร่วมกัน ดังนั้นจึงมีสองคำถามที่จะชี้ชวนนักรัฐศาสตร์คือ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องศึกษาเสียงข้างน้อยในสังคมไทยอย่างเป็น รูปธรรมจริงจัง และถึงเวลาหรือยังที่สังคมไทยต้องมาพูดเรื่องระบบเลือกตั้งในปัจจุบัน

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง