เศรษฐกิจไทยต้อง “Reconstruction” ก้าวสู่ “New Economy” เอา"การเมือง"ไปไว้เรื่องสุดท้าย

แสดงความคิดเห็น

เศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2556 คาดการณ์ว่าคงเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 4 – 5 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯทำนายไว้ ทั้งนี้เพราะปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยยังคงจำกัดอยู่ ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งออก ด้านการลงทุนของภาคเอกชน และด้านการใช้จ่ายของภาครัฐ และเชื่อว่าในอีก 1 – 2 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยก็จะยังไม่เติบโตรุดหน้าเกินไปกว่านี้

การมองอนาคตประเทศไทยควรมองไปข้างหน้าและปรับกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อ ให้ประเทศไทยสามารถก้าวเดินและเติบโตต่อไปบนเวทีโลกได้อย่างเต็มที่ สำหรับปัจจุบันการเปลี่ยนแปลง (Change) ประเทศไทยนั้นไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องสร้างใหม่หมด (Reconstruction) เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เนื่องจากการบริหารโลกต่อจากนี้ไปจะอยู่ในระบอบใหม่ที่เรียกว่า "ข้อตกลง" ประเทศไทยจะต้องเผชิญหน้ากับข้อตกลงทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ข้อตกลงเหล่านี้เป็นเครื่องมือหลักในการบริหารการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของโลก และขับเคลื่อนให้โลกเป็นหนึ่งเดียวภายใต้มาตรฐานและ กฎหมายเดียวกัน หรือที่เรียกว่า “1 มาตรฐาน 1 กฎหมาย = 1 โลก” เป็นการก้าวเดินสู่ระบบ “เศรษฐกิจใหม่” (New Economy)

การค้าในระบบเศรษฐกิจใหม่ จะทำให้ 1. ภาษีนำเข้าสินค้าลดลง 2.พื้นที่ตลาดกว้างขึ้น 3.การแข่งขันรุนแรงขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ 4.การเคลื่อนย้ายทุนเพิ่มขึ้น 5.การเดินทางเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ภายใต้เศรษฐกิจใหม่ที่ว่านี้ นักธุรกิจจะต้องปรับตัวและเปลี่ยนวิธีคิด เนื่องจากปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจที่เคยเรียงลำดับความสำคัญ จาก 1.การเมือง (Politics) 2.เศรษฐกิจ (Economics) 3.สังคม (General Public) และ 4.สิ่งแวดล้อม (Environment) จะต้องเปลี่ยนใหม่เป็น 1.สิ่งแวดล้อม (Environment) 2.สังคม (General Public) 3.เศรษฐกิจ (Economics) 4. การเมือง (Politics)

ธุรกิจหลักที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศไทยภายใต้ระบบเศรษฐกิจใหม่ จะมีด้วยกัน 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1.เกษตรและอาหาร ทั้งนี้เพราะประเทศไทยมีน้ำมันบนดิน มีสินค้าเกษตรที่เป็นได้ทั้งอาหารและพลังงาน และต่อไปอนาคตอาหารจะถูกออกแบบให้เป็นยาด้วยเทคโนโลยีชั้นดี 2.การท่องเที่ยว ประเทศไทยมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์โดยสิ่งที่ต้องเร่งดำเนิน การมากที่สุดคือในเรื่องของความปลอดภัย 3. การบริการด้านสุขภาพ แพทย์ และพยาบาลเป็นอาชีพที่มีความจำเป็นสูงในอนาคต ที่กระทรวงสาธารณะสุขต้องสร้าง เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ

ข้อตกลงต่าง ๆ นี้ถึงแม้จะเป็นเครื่องมือในการบริหารโลกที่กำหนดให้แต่ละประเทศเดินตาม แต่ในขณะเดียวกันก็ใช่เครื่องสกัดกั้นการเติบโต ต้องยอมรับว่าในระบบระบบเศรษฐกิจใหม่โลกจะขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือนี้ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำในการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญโดยผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ได้แก่ 1. ผู้ประกอบการ 2. นักการเมือง 3. ข้าราชการ และ4. NGO จะต้องร่วมกันระดมสมองวางแผนประเทศไทยให้เดินหน้าเพื่อเอาชนะข้อตกลงต่าง ๆ เหล่านี้ให้ได้

โดย นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ที่ปรึกษาอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1371450379&grpid=&catid=05&subcatid=0500 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 18/06/2556 เวลา 03:51:26

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2556 คาดการณ์ว่าคงเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 4 – 5 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯทำนายไว้ ทั้งนี้เพราะปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยยังคงจำกัดอยู่ ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งออก ด้านการลงทุนของภาคเอกชน และด้านการใช้จ่ายของภาครัฐ และเชื่อว่าในอีก 1 – 2 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยก็จะยังไม่เติบโตรุดหน้าเกินไปกว่านี้ การมองอนาคตประเทศไทยควรมองไปข้างหน้าและปรับกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อ ให้ประเทศไทยสามารถก้าวเดินและเติบโตต่อไปบนเวทีโลกได้อย่างเต็มที่ สำหรับปัจจุบันการเปลี่ยนแปลง (Change) ประเทศไทยนั้นไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องสร้างใหม่หมด (Reconstruction) เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เนื่องจากการบริหารโลกต่อจากนี้ไปจะอยู่ในระบอบใหม่ที่เรียกว่า "ข้อตกลง" ประเทศไทยจะต้องเผชิญหน้ากับข้อตกลงทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ข้อตกลงเหล่านี้เป็นเครื่องมือหลักในการบริหารการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของโลก และขับเคลื่อนให้โลกเป็นหนึ่งเดียวภายใต้มาตรฐานและ กฎหมายเดียวกัน หรือที่เรียกว่า “1 มาตรฐาน 1 กฎหมาย = 1 โลก” เป็นการก้าวเดินสู่ระบบ “เศรษฐกิจใหม่” (New Economy) การค้าในระบบเศรษฐกิจใหม่ จะทำให้ 1. ภาษีนำเข้าสินค้าลดลง 2.พื้นที่ตลาดกว้างขึ้น 3.การแข่งขันรุนแรงขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ 4.การเคลื่อนย้ายทุนเพิ่มขึ้น 5.การเดินทางเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ภายใต้เศรษฐกิจใหม่ที่ว่านี้ นักธุรกิจจะต้องปรับตัวและเปลี่ยนวิธีคิด เนื่องจากปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจที่เคยเรียงลำดับความสำคัญ จาก 1.การเมือง (Politics) 2.เศรษฐกิจ (Economics) 3.สังคม (General Public) และ 4.สิ่งแวดล้อม (Environment) จะต้องเปลี่ยนใหม่เป็น 1.สิ่งแวดล้อม (Environment) 2.สังคม (General Public) 3.เศรษฐกิจ (Economics) 4. การเมือง (Politics) ธุรกิจหลักที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศไทยภายใต้ระบบเศรษฐกิจใหม่ จะมีด้วยกัน 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1.เกษตรและอาหาร ทั้งนี้เพราะประเทศไทยมีน้ำมันบนดิน มีสินค้าเกษตรที่เป็นได้ทั้งอาหารและพลังงาน และต่อไปอนาคตอาหารจะถูกออกแบบให้เป็นยาด้วยเทคโนโลยีชั้นดี 2.การท่องเที่ยว ประเทศไทยมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์โดยสิ่งที่ต้องเร่งดำเนิน การมากที่สุดคือในเรื่องของความปลอดภัย 3. การบริการด้านสุขภาพ แพทย์ และพยาบาลเป็นอาชีพที่มีความจำเป็นสูงในอนาคต ที่กระทรวงสาธารณะสุขต้องสร้าง เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ข้อตกลงต่าง ๆ นี้ถึงแม้จะเป็นเครื่องมือในการบริหารโลกที่กำหนดให้แต่ละประเทศเดินตาม แต่ในขณะเดียวกันก็ใช่เครื่องสกัดกั้นการเติบโต ต้องยอมรับว่าในระบบระบบเศรษฐกิจใหม่โลกจะขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือนี้ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำในการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญโดยผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ได้แก่ 1. ผู้ประกอบการ 2. นักการเมือง 3. ข้าราชการ และ4. NGO จะต้องร่วมกันระดมสมองวางแผนประเทศไทยให้เดินหน้าเพื่อเอาชนะข้อตกลงต่าง ๆ เหล่านี้ให้ได้ โดย นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ที่ปรึกษาอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1371450379&grpid=&catid=05&subcatid=0500

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง