ยุทธวิธี การเมือง จากร่าง ‘นิรโทษกรรม’ ถึงร่าง ‘ปรองดอง’

แสดงความคิดเห็น

พลันที่มติที่ประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยืนตามมติเดิมที่จะยึดถือร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ เป็นตัวหลักในการพิจารณาก่อน

และยังไม่ขยับร่างพ.ร.บ.ปรองดองของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ขึ้นมา

ก็ เป็นความแน่ชัดยิ่งในจังหวะก้าวทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย เป็นจังหวะก้าวที่ให้บทบาทกับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ ก่อน

นั่นก็คือ มุ่งช่วย ‘คนตัวเล็กตัวน้อย’ อย่างเป็นด้านหลัก

ทาง 1 เป็นการช่วยเหลือชาวบ้านที่เข้ามาร่วมชุมนุมและถูกจับกุมคุมขัง ให้รอดพ้น ขณะเดียวกัน ทาง 1 ก็เป็นการไม่กล่าวโทษต่อข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ ชั้นผู้น้อย ซึ่งมิได้เป็นผู้สั่งการ

นั่น ก็คือ ยังถือว่าบรรดา ‘แกนนำ’ อันมีส่วนในการตัดสินใจต้องรับผิดชอบมิใช่ชาวบ้านนั่นก็คือ ยังถือว่าบรรดาระดับสูงที่มีอำนาจ ‘สั่งการ’ อันทำให้มีคนตายต้องรับผิดชอบ

แจ่มแจ้งเป็นที่ประจักษ์

อาจกล่าว ได้ว่าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ มิได้เป็นการช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างที่พรรคประชาธิปัตย์เคยกล่าวอ้าง

เพราะแม้กระทั่ง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็มิได้รับการนิรโทษกรรม

เป็นอันว่าบรรดาแกนนำนปช.จำนวน 26 คนที่ถูกฟ้องร้องกล่าวหาในเรื่องการก่อการร้ายก็จะต้องถูกดำเนินคดีและต่อสู้กันในชั้นศาลต่อไป

แล้วจะไปนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้อย่างไร

เช่น เดียวกับ กรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีบทบาทในการจัดตั้งและรับผิดชอบงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุก เฉิน หรือ ‘ศอฉ.’ อันส่งผลให้มีการตาย 99 ศพก็ไม่ได้รับนิรโทษกรรมเช่นกัน

แกนใหญ่ล้วนต้องนำตัวสู่ ‘ศาล’

มติ ของที่ประชุมส.ส.พรรคเพื่อไทยปรากฏออกมาเช่นนี้อันสอดรับกับความเห็นร่วมของ พรรคร่วมรัฐบาลเท่ากับปฏิบัติการของสมาชิกรัฐสภาต่อร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมมี ความรอบคอบรัดกุม

มิได้เป็นเรื่องของการทำเพื่อครอบครัว ‘ชินวัตร’

หากแต่แท้จริงแล้วยังเป็นการทำให้กับชาวบ้าน และถือเป็นการเริ่มต้นนับ 1 ในเรื่องของการปรองดองสมานฉันท์อย่างแท้จริง

มติเช่นนี้เท่ากับดำเนินไปอย่างแยกหลัก แยกรอง

หลักก็คือเดินหน้าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ ทำตามที่เคยประกาศเป็นสัญญาประชาคมไว้กับชาวบ้านคนเสื้อแดง

เมื่อแยกหลัก แยกรองได้ทุกอย่างก็ราบรื่น

ขณะเดียวกัน ก็ใช่ว่าร่างพ.ร.บ.ปรองดองของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จะไม่มีคุณูปการทางการเมือง

อย่าง น้อยร่างพ.ร.บ.ปรองดองก็ทำให้เนื้อหาอันเป็นแก่นแกนของร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีความเด่นชัด และมิได้เป็นอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหา โจมตี

เท่ากับร่างปรองดองมีส่วนช่วยร่างนิรโทษกรรม

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk9UZzBNVEE1TlE9PQ==&sectionid= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 31/05/2556 เวลา 04:24:42

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พลันที่มติที่ประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยืนตามมติเดิมที่จะยึดถือร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ เป็นตัวหลักในการพิจารณาก่อน และยังไม่ขยับร่างพ.ร.บ.ปรองดองของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ขึ้นมา ก็ เป็นความแน่ชัดยิ่งในจังหวะก้าวทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย เป็นจังหวะก้าวที่ให้บทบาทกับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ ก่อน นั่นก็คือ มุ่งช่วย ‘คนตัวเล็กตัวน้อย’ อย่างเป็นด้านหลัก ทาง 1 เป็นการช่วยเหลือชาวบ้านที่เข้ามาร่วมชุมนุมและถูกจับกุมคุมขัง ให้รอดพ้น ขณะเดียวกัน ทาง 1 ก็เป็นการไม่กล่าวโทษต่อข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ ชั้นผู้น้อย ซึ่งมิได้เป็นผู้สั่งการ นั่น ก็คือ ยังถือว่าบรรดา ‘แกนนำ’ อันมีส่วนในการตัดสินใจต้องรับผิดชอบมิใช่ชาวบ้านนั่นก็คือ ยังถือว่าบรรดาระดับสูงที่มีอำนาจ ‘สั่งการ’ อันทำให้มีคนตายต้องรับผิดชอบ แจ่มแจ้งเป็นที่ประจักษ์ อาจกล่าว ได้ว่าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ มิได้เป็นการช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างที่พรรคประชาธิปัตย์เคยกล่าวอ้าง เพราะแม้กระทั่ง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็มิได้รับการนิรโทษกรรม เป็นอันว่าบรรดาแกนนำนปช.จำนวน 26 คนที่ถูกฟ้องร้องกล่าวหาในเรื่องการก่อการร้ายก็จะต้องถูกดำเนินคดีและต่อสู้กันในชั้นศาลต่อไป แล้วจะไปนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้อย่างไร เช่น เดียวกับ กรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีบทบาทในการจัดตั้งและรับผิดชอบงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุก เฉิน หรือ ‘ศอฉ.’ อันส่งผลให้มีการตาย 99 ศพก็ไม่ได้รับนิรโทษกรรมเช่นกัน แกนใหญ่ล้วนต้องนำตัวสู่ ‘ศาล’ มติ ของที่ประชุมส.ส.พรรคเพื่อไทยปรากฏออกมาเช่นนี้อันสอดรับกับความเห็นร่วมของ พรรคร่วมรัฐบาลเท่ากับปฏิบัติการของสมาชิกรัฐสภาต่อร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมมี ความรอบคอบรัดกุม มิได้เป็นเรื่องของการทำเพื่อครอบครัว ‘ชินวัตร’ หากแต่แท้จริงแล้วยังเป็นการทำให้กับชาวบ้าน และถือเป็นการเริ่มต้นนับ 1 ในเรื่องของการปรองดองสมานฉันท์อย่างแท้จริง มติเช่นนี้เท่ากับดำเนินไปอย่างแยกหลัก แยกรอง หลักก็คือเดินหน้าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ ทำตามที่เคยประกาศเป็นสัญญาประชาคมไว้กับชาวบ้านคนเสื้อแดง เมื่อแยกหลัก แยกรองได้ทุกอย่างก็ราบรื่น ขณะเดียวกัน ก็ใช่ว่าร่างพ.ร.บ.ปรองดองของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จะไม่มีคุณูปการทางการเมือง อย่าง น้อยร่างพ.ร.บ.ปรองดองก็ทำให้เนื้อหาอันเป็นแก่นแกนของร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีความเด่นชัด และมิได้เป็นอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหา โจมตี เท่ากับร่างปรองดองมีส่วนช่วยร่างนิรโทษกรรม ขอบคุณ...http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk9UZzBNVEE1TlE9PQ==§ionid=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ห้องการเมือง